วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปตท จะดันทุรัง เปิดโรงแยกก๊าซ ที่ 6 ด้วยข้ออ้าง ต่างๆ


ปตท.นำเข้าคลังลอยน้ำขนส่งแอลพีจีทางเรือครั้งแรกในไทย หลังการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นจนต้องนำเข้าแอลพีจีเกินขีดรองรับของคลังก๊าซเขาบ่อยา
บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) นำเข้าเรือคลังลอยน้ำขนส่งแอลพีจี เพื่อรองรับปริมาณการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นวันละ 1 ล้านบาท
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า จากความต้องการใช้แอลพีจีที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าเพิ่มขึ้นจาก 88,000 ตันต่อเดือน เป็น 110,000 ตันต่อเดือน ปตท.จึงจำเป็นต้องนำเข้าเรือคลังลอยน้ำ และการขนถ่ายระหว่างเรือ ณ คลังก๊าซเขาบ่อยา จังหวัดชลบุรี ในการนำเข้าแอลพีจี 44,000 ตันต่อเดือน ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายค่าดำเนินการวันละ 1 ล้านบาท โดย ปตท.แบกรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นผู้จ่ายชดเชยคืนให้ นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุ กูล ยังกล่าวถึงโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 ด้วยว่า หากสามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ จะเพิ่มกำลังผลิตแอลพีจีได้ 100,000 ตันต่อเดือน ซึ่งเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ แต่หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะทำให้การนำเข้าแอลพีจีสูงถึง 150,000 – 170,000 ตันต่อเดือน และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าคลังลอยน้ำเพิ่มอีก 2 ลำ ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 – มกราคม 2553 ไทยนำเข้าแอลพีจีแล้ว 1.3 ล้านตัน หรือ คิดเป็นมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท
ด้านนายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 มีความพร้อมในการผลิตแอลพีจี แต่ต้องรอความชัดเจนกฎเกณฑ์การดำเนินงานตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 หากได้ข้อสรุปเร็ว จะช่วยลดปริมาณการนำเข้าและลดภาระเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้มองว่า แนวทางที่ช่วยแก้ปัญหาได้ดีที่สุดในระยะยาว คือ การปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการสูบถ่ายแอลพีจีจากคลังลอยน้ำ (Floating Storage Unit) ลงเรือลำเลียง ว่า จากความต้องการแอลพีจีที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 อันเนื่องมาจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ประกอบกับการที่โครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 ของ ปตท. ยังอยู่ภายใต้คำสั่งระงับโครงการของศาลปกครอง จึงไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน ทำให้คาดการณ์ว่าในปีนี้จะต้องมีการนำเข้าแอลพีจีสูงกว่า 1 แสนตันต่อเดือน ซึ่งเป็นปริมาณมากเกินกว่าที่คลังแอลพีจี ปตท. ที่เขาบ่อยา จ.ชลบุรี จะรองรับได้ดังนั้น คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) จึงได้เห็นชอบให้กระทรวงพลังงานประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับกฎระเบียบ เพื่อสนับสนุนให้ ปตท. สามารถนำเข้าแอลพีจีโดยการใช้คลังลอยน้ำและการขนถ่ายระหว่างเรือ “กระทรวงพลังงานตระหนักดีถึงปัญหาเรื่องแอลพีจีที่ประเทศต้องเผชิญอยู่ขณะนี้และเฝ้าระวังมาตลอดเพื่อไม่ให้กระทบกับประชาชนและภาคธุรกิจ ซึ่งที่ผ่านมา ปตท. ได้ทำหน้าที่ในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี แต่ต้องยอมรับว่าราคาแอลพีจีในตลาดโลก เป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ และปรับสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งย่อมกระทบต่อกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องนำมาใช้ในการตรึงราคา ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าว โดยได้ขอความร่วมมือทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการในเรื่องของการจัดหาแอลพีจีให้เพียงพอในทุกภาคส่วน โดยเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และกระทบกับภาคประชาชนน้อยที่สุด” ด้านนายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ประเทศไทยต้องเปลี่ยนจากผู้ส่งออกแอลพีจีมาเป็นผู้นำเข้าตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ปัจจุบัน ปตท.นำเข้าก๊าซแอลพีจีแล้ว 1.3 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท จากการเริ่มนำเข้าครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2551 สำหรับในปี 2553 จากการคาดการณ์ว่าการนำเข้าแอลพีจีจะเพิ่มสูงขึ้นจนเกินขีดความสามารถปัจจุบันของคลังก๊าซเขาบ่อยา ซึ่งเป็นคลังรองรับการนำเข้าแอลพีจีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ปตท.จึงได้เตรียมความพร้อมในการรองรับเพิ่มเติมด้วยการใช้เรือนำเข้าเป็นคลังลอยน้ำ โดยการดำเนินการครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากกระทรวงพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และกรมเจ้าท่า“แม้ว่าในปัจจุบันโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 จะมีความพร้อมในการผลิตแอลพีจี แต่ยังต้องรอความชัดเจนในกฎเกณฑ์การดำเนินงานตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ซึ่งหากเร่งรัดให้ได้ข้อสรุปในประเด็นดังกล่าวโดยเร็ว ด้วยกำลังการผลิตกว่า 1 ล้านตันต่อปีของโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 ก็จะสามารถช่วยลดปริมาณการนำเข้า และลดภาระเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันได้ นอกจากนี้ ปตท. ยังได้ปรับเลื่อนการหยุดซ่อมบำรุงของโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 1,2,3 และ 5 ออกไป เพื่อช่วยบรรเทาสถานการณ์เพิ่มเติมอีกทางหนึ่งด้วย และ ปตท. ขอยืนยันความพร้อมในการผลิต จัดหา และจัดส่งปิโตรเลียม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ” นายปรัชญา กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น