วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

เวทีรับฟัง-ประชาพิจารณ์ ด้านสุขภาพ บอกเสี่ยงตายหมู่ นอกประเด็น



ขอเชิญประชาชนเข้าร่วมเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงรายการ โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ

คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุงรายการ "โครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ"

สิ่งที่คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อการปรับปรุงรายการโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพนำเสนอในเว็บไซต์นี้ทั้งหมด (ยกเว้น รายชื่อคณะอนุกรรมการฯ และกฎกติกาการเข้าประชุม) เช่น ร่าง 19 ประเภท โครงการหรือกิจการ รุนแรงวิธีการประเมินความรุนแรง ข้อเสนอปรับแก้ร่าง 19 ประเภท โดยผู้ใดก็ตาม ฯลฯ ไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้าย ขอเชิญทุกท่านให้ความคิดเห็นต่อทุกประเด็นได้โดยเสรี แต่หากให้ข้อคิดเห็นนั้นๆ มีเหตุผลและเอกสารอ้างอิง (ถ้ามี) ได้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

26 มี.ค. 53 วันนี้ผมมีโอกาส ไปร่วมประชุมด้วย เข้าไป ร่วม 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 โรงไฟฟ้า และ นิวเคลียร์ กลุ่ม 2 เรื่อง ปิโตรเคมี - นิคมอุตฯ ภาพของการประชุม ก้อเป็นแบบทั่วไป ที่มีประชาชนที่อยากพูด แต่ไม่ค่อยได้รับความใส่ใจ เวทีถกกัน จึงเป็นของ ภาครัฐ-คณาจารย์-กลุ่มอุตสาหกรรม ที่พูดแล้วก้อจดบันทึกกันไว้ สุดท้ายก้อจะออกมาบอกว่า นี่ไงคุยกันมาแล้ว ไปมาทั่วประเทศ มาจากผู้คนหลายภาคส่วน

ผมเข้าไป ร่วมกลุ่ม 2 ห้องราชเทวี 1 - ประธานฯในที่ประชุม แจ้งว่าเรื่องที่ผมจะนำเสนอไม่ใช่ประเด็นที่จะรับฟัง

พอถึง ช่วงข้อเสนอทั่วไป - ผมเอาเรื่องที่จะพูด ไปถามไถ่ ประธานฯในที่ประชุม ปรากฎว่า แจ้งว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นที่จะรับฟัง ผมก้อเฉย รอจนหลายๆท่านนำเสนอกันไป แล้วสุดท้ายไม่มีใคร ผมก้ออกไปบ้าง

ประเด็นแรก - เรื่องงานทดสอบระบบ ของโรงงาน ซึ่งผมมองว่าเป็นกิจกรรมที่จะส่งผลกระทบรุนแรง เนื่องจากท่อต่างๆ ระบบต่างๆ ยังไม่ครบสมบูรณ์ โอกาสการรั่วไหลสูง และเหตระเบิดบ่อยๆ ก้อเกิดในขณะ ทดสอบระบบ เช่นโรงไฟฟ้าก๊าซ ในอเมริกา

ก่อนประเด็นสอง - ผมถามว่า มีผู้ใดในห้องประชุมบ้าง ที่พักแถวมาบตาพุด ปรากฎว่า มีคนเดียว รวมผมด้วยอีก 1 นี่ล่ะครับ การประชุมรับฟังที่มี อานิสงมาจากปัญหามาบตาพุด แต่มีคนมาบตาพุด มา 1 (ผม) อีกคนนั้นอยู่บ้านฉาง จากคนที่นั่งประชุมรวมกันหลักร้อย

ประเด็นสอง - ผมชี้เรื่อง มีมากกว่า 3 โรงงาน ในมาบตาพุด ไม่ตอกเสาเข็มฐานราก ประธานฯบอกไม่รับฟังแต่จะพูดก้อพูด เพราะไม่เกี่ยวข้องให้ไปแจ้งที่อื่น ผมแจงว่า เป็นวิศวกรโยธา และการเลือกใช้ฐานรากโดยไม่ตอกเสาเข็มไม่ควรใช้กับโครงสร้างหลักของโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมก๊าซและสารเคมี แต่ถ้าเป็นโรงงานปลากระป๋อง อาคารสำนักงาน คงไม่มีออกมาโวยวาย มีการบอกประเด็นว่าดินรับได้ มีคนเถียงแทนเยอะ ผมบอกว่า มันอาจทรุดพังจนระเบิด เพราะบริเวณดังกล่าวมีคลังก๊าซขนาดใหญ่ การระเบิดต่อเนื่องแบบโดมิโน่ เพราะมีโรงงานอยู่จำนวนมาก ผมโดนตัดบทไม่ให้พูดหลายครั้งต่พยายามพูดไป ตามที่ดัรับรู้ข้อมูลมา แต่สุดท้ายก้อถูกบอกให้หยุด ... ผมเตรียมเอกสารไปหลายชุด แจ้งว่าใครต้องการให้มารับได้

!!! ... เรื่องเสี่ยงตายหมู่ ไม่รับฟัง เพราะฟัง ... เฉพาะเสี่ยงเรื่องสุขภาพ ?

ประชุมรับฟังครั้งที่ 6 อาจจะไม่ไป - จะส่งตรงประธาน คกก.4 ฝ่าย และสื่อมวลชนที่ให้ความสนใจเท่านั้น

ทบทวน.....การจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งได้ให้ องค์การอิสระให้ความเห็นประกอบ ก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว ขอเชิญประชาชนเข้าร่วมเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงรายการ โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพโดย คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุงรายการ "โครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ"

คณะกรรมการแก้ไขปัญหา การปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (คณะกรรมการ 4 ฝ่าย)

โดย คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุงรายการ โครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ”*

*“โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพหมายถึง โครงการหรือกิจกรรมขนาดใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสุขภาพ จนไม่สามารถฟื้นฟูสภาพ หรือทดแทน หรือชดเชยได้อย่างเหมาะสมหรือต้องใช้เวลานานในการฟื้นฟูสภาพ

หากโครงการใดตรงกับความหมายข้างต้น จะต้องศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และ จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งได้ให้ องค์การอิสระให้ความเห็นประกอบ ก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว

ขอเชิญประชาชนเข้าร่วมเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงรายการ โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ

ครั้งที่ 1 วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 เชียงใหม่

ครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 ขอนแก่น

ครั้งที่ 3 วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2553 ชลบุรี

ครั้งที่ 4 วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2553 นครศรีธรรมราช

ครั้งที่ 5 วันพุธที่ 17 มีนาคม 2553 กรุงเทพมหานคร เลื่อนมาเป็น 26 มีนาคม 2553

กำหนดการ

เวลา 08.00 น. - 16.00 น. การเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการ (Technical Hearing)

และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป (Public Hearing)

ครั้งที่ 6 วันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2553 กรุงเทพมหานคร

กำหนดการ

เวลา 08.00 น. – 12.00 น. สรุปเนื้อหาการให้ความเห็นจาก 5 ครั้งแรก

เวลา 13.00 น. – 16.00 น. การปรึกษาหารือเพื่อหาข้อสรุปในภาพรวม ก่อนนำเสนอคณะกรรมการ 4 ฝ่าย เพื่อพิจารณา

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

มัวแต่บ้า การเมือง!!! ... ปล่อยจน สุนัขป่วยหนัก


มัวแต่ บ้าการเมือง ... ทั้งๆรู้ว่า ทิชชู่ป่วยมาก มาหลายวัน หลังจากไปฉีดวัคซีนฟรี + ยาฆ่าเห็บหมัด
อยู่กันมา ตั้ง 13 ปี ป่วยก้อยังให้นอนตากยุงหน้าบ้าน วันนี้ พาไปพบหมอ ไม่กินน้ำ ไม่กินอาหาร ตอนแรกคิดว่าน้อยใจ ให้น้ำเกลือ + เอาเลือดไปตรวจ ตอนนี้ ยังนอนซม ...
เฮ้อ!!! น่าเบื่อจริงๆ การเมืองไทย ... คนชอบใส่เสื้อแดงไล่อำมาตย์ ไม่งั้นคงมีเวลาใส่ใจมากกว่านี้



26 มี.ค. 53 ต้องไปประชุมประชาพิจารณ์ กทม. อีก ... ถ้าไม่ไป เค้าจะคุยเรื่องที่พยายามส่งไปให้พิจารณา หรือเปล่าก้อไม่รู้ ส่งเพิ่มเติมให้ศาลปกครอง ไปแล้ว ตั้งแต่ 22 ก.พ.53 วันนี้ 22 มี.ค.53 ครบเดือนพอดี ทุกอย่างยังเงียบ ท่ามกลางความห่วงกังวลของหลายๆ คน หลายฝ่าย ที่รับรู้เรื่อง



ทิชชู่ - อายุ 13 ปี เิกิดที่ระยอง เป็นสุนัข แถวชายทะเล ที่ถูกเก็บมาเลี้ยง ตั้งแต่ อายุประมาณ 1 เดือน


ให้น้ำเกลือ + หมอยังไม่วินิจฉัย รอผลตรวจเลือด เคยค่าตับสูง อาการล่าสุดกินน้ำมาก ฉี่บ่อย

หมอสงสัยว่าจะเป็นโรคไต บอกให้ทำใจ - แต่นั่งร้องให้โฮๆ ไป 2-3 รอบแล้ว ตอนนี้หลับ!!! คงได้แต่เฝ้าดูอาการตลอดทั้งคืน รอจนเช้า จะรีบพาไปให้น้ำเกลืออีก


วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

พลังงานไทย พลังงานใคร (3/3)

ขออนุญาต นำเรื่องราว-ข้อเท็จจริงมาตีแผ่ เพื่อให้สังคมตาสว่าง
และกรณี โรงแยกก๊าซของ ปตท. อาจเปิดไม่ได้เร็ววันแบบที่หลายฝ่ายต้องการ
เอกสารเผยแพร่สำหรับประชาชน ของคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลฯ
รสนา โตสิตระกูล ประธานฯ
(คลิ๊กขวาที่รูปเปิดในหน้าต่างใหม่ เพื่ออ่านรายละเอียด)







พลังงานไทย พลังงานใคร (2/3)

ขออนุญาต นำเรื่องราว-ข้อเท็จจริงมาตีแผ่ เพื่อให้สังคมตาสว่าง
และกรณี โรงแยกก๊าซของ ปตท. อาจเปิดไม่ได้เร็ววันแบบที่หลายฝ่ายต้องการ
เอกสารเผยแพร่สำหรับประชาชน ของคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลฯ
รสนา โตสิตระกูล ประธานฯ
(คลิ๊กขวาที่รูปเปิดในหน้าต่างใหม่ เพื่ออ่านรายละเอียด)











พลังงานไทย พลังงานใคร (1/3)

ขออนุญาต นำเรื่องราว-ข้อเท็จจริงมาตีแผ่ เพื่อให้สังคมตาสว่าง
และกรณี โรงแยกก๊าซของ ปตท. อาจเปิดไม่ได้เร็ววันแบบที่หลายฝ่ายต้องการ
เอกสารเผยแพร่สำหรับประชาชน ของคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลฯ
รสนา โตสิตระกูล ประธานฯ
(คลิ๊กขวาที่รูปเปิดในหน้าต่างใหม่ เพื่ออ่านรายละเอียด)








- มีต่อ -


วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

ค่าชดเชย ก๊าซ LPG ไม่เป็นธรรมต่อสังคม



ข่าว 15 มี.ค. 53 - กองทุนน้ำมัน เงินจากการใช้น้ำมันแพง ใช่หรือไม่

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้รับทราบประ มาณการฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่เดือน มี.ค.-ธ.ค. 53 ตามที่กระทรวงพลัง งานเสนอ โดยคาดว่าเมื่อถึงเดือน ธ.ค. 53 ฐานะเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสุทธิจะอยู่ที่ 24,150 ล้านบาท โดยมีรายรับจากเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ 33,462 ล้านบาท มีรายจ่ายของกองทุนฯ 30,016 ล้านบาท

ทั้งนี้แยกเป็นรายจ่ายเงินชดเชยน้ำมันแก๊สโซฮอล์และบี 5 รวม 5,461 ล้านบาท จ่ายชดเชยการผลิตน้ำมันยูโร 4 จำนวน 1,591 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนรถแท็กซี่ให้มาใช้ก๊าซเอ็นจีวี จากเดิมที่ใช้ก๊าซแอลพีจี 1,200 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการตรึงราคาก๊าซเอ็นจีวี 1,800 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการชดเชยการนำเข้าก๊าซแอลพีจี 19,251 ล้านบาท และชดเชยค่าขนส่ง 714 ล้านบาท ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 มี.ค. กองทุนน้ำมันฯ มีเงินสุทธิ ที่ 20,754 ล้านบาท

นอกจากนี้กระทรวงพลังงานคาดว่าราคาเฉลี่ยก๊าซแอลพีจี ในตลาดโลกในปี 53 จะอยู่ที่ระดับ 687 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และคาดว่าไทยจะนำเข้าก๊าซแอลพีจี รวมทั้งสิ้น 1,718,000 ตัน เนื่องจากประมาณการว่าตลอดทั้งปีจะมีความต้องการใช้ 5,475,000 ตัน แต่มีกำลังการผลิตเพียง 3,756,000 ตัน ทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีภาระในการชดเชยการนำเข้าก๊าซแอลพีจีให้ ปตท. ทั้งปี 53 ประมาณ 22,480 ล้านบาท

ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือแอลพีจี ในประเทศ หลังจากที่โรงแยกก๊าซโรงที่ 6 ของ ปตท. ได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดนั้น ได้เพิ่มความสามารถในการนำเข้าก๊าซแอลพีจีด้วยการบริหารจัดการคลังก๊าซเขาบ่อยาให้รับก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้นจาก 88,000 เป็น 110,000 ตันต่อเดือน

ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือแอลพีจี ในประเทศ หลังจากที่โรงแยกก๊าซโรงที่ 6 ของ ปตท. ได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดนั้น ได้เพิ่มความสามารถในการนำเข้าก๊าซแอลพีจีด้วยการบริหารจัดการคลังก๊าซเขาบ่อยาให้รับก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้นจาก 88,000 เป็น 110,000 ตันต่อเดือน


ตกลง พลังไทย พลังงานใคร - ตามไปอ่านต่อ
* ผลประโยชน์ประชาชน ที่ประชาชนควรต้องรับรู้ *

เขียนโดย สาวันณุ
วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม 2010 เวลา 12:43
ชวนอ่าน เอกสารเผยแพร่ ของคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในคณะกรรมธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมภิบาล วุฒิสภา เรื่องพลังงาน ของคนไทย ที่คนไทยอาจยังไม่ทราบ อ่าน Frown <- โหลดไปอ่าน และส่งต่อ

เรื่อง ราคาก๊าซ - รายงานเก่า ที่ยังอ้างอิงได้

โดย

อ.วีระชัย ถาวรทนต์ weerachais@yahoo.com (weerachais@yahoo.com)

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

มีคำถามมากมายในกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายที่จะตรึงก๊าซหุงต้ม ต่อไปอีก ทั้งๆที่ต้องจ่ายค่าชดเชยราคาก๊าซ มหาศาล ทั้งในรูปที่มาจากกองทุนน้ำมันและรัฐ ทำไมไม่ใช่ความรับผิดชอบของ ปตท. * แก้ไขเพิ่มเติม

ก่อนอื่นต้องขออนุญาตย้อนไปในสมัยที่ยังทำงานในฐานะอนุกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้เคยให้ความเห็นต่อผู้แทนของกระทรวงพลังงานมาโดยตลอดว่า ผู้ส่งออกก๊าซหุงต้มตามมาตรา 7 นั้นมีกำไรเกินควร โดยสูงมากเกือบกิโลกรัมละ 8 บาท ในขณะที่เมื่อขายในประเทศมีค่าการตลาดเพียง 3.25 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นเงินกำไรส่วนเกินปีละเกือบ 10,000 ล้านบาท

ทำไมไม่เก็บภาษีส่งออกหรือหาวิธีการอื่นๆ ที่จะนำกำไรส่วนเกินเหล่านั้นซึ่งไม่ต้องเสียภาษีมาช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้ในประเทศให้ได้ใช้ก๊าซหุงต้มในราคาที่ถูกลง แต่กลับไม่มีคำตอบใดๆจากกระทรวงพลังงานเลย ในวันที่ 3 มิถุนายน 2549

ผมก็ได้เรียกร้องเรื่องนี้ผ่านรายการวิทยุอีกครั้งในคลื่น 90.5 โดยผมคิดว่าคนไทยน่าจะได้รับทราบความจริงกันบ้าง ดังนั้น จึงเป็นที่มาของบทความฉบับนี้ที่จะบอกกล่าวให้ประชาชนได้เข้าใจอย่างแท้จริง

ก๊าซหุงต้ม (LPG) มาจาก 2 ทาง กล่าวคือ เป็นผลพลอยได้ (by product, เรียกของเหลือจากการผลิตก็ได้) ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันในสัดส่วนประมาณ 40% ส่วนที่เหลือประมาณ 60% ซึ่งเป็นส่วนหลักนั้นได้จากผลพลอยได้ (by product) ที่เหลือมาจากการแยกก๊าซธรรมชาตินั่นเอง

เป็นหลักการที่ใช้มาตลอดและเป็นที่ยอมรับ ตัวอย่างเช่น ราคาก๊าซธรรมชาติที่ ปตท. ขายให้การไฟฟ้า คิดจากราคาเนื้อก๊าซเฉลี่ยที่ปากหลุม บวกกับค่ากำไร หรือ margin แล้วบวกกับต้นทุนส่วนเพิ่มที่คิดบนค่าผ่านท่อ

โดยหลักการของการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติตั้งแต่ปากหลุมนั้น ใช้วิธีคิดจากต้นทุน หรือ cost plus นั่นคือเอาต้นทุน บวกด้วยกำไรพอสมควร

ประเด็นก็คือว่า ก๊าซหุงต้ม (LPG) เมื่อเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ หรือผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน ต้นทุนส่วนเพิ่มจริงๆ นั้นเกือบไม่มีเลย เพราะการคิดต้นทุนการแยกก๊าซธรรมชาติ กับกำไรบางส่วนได้รวมอยู่ในราคาก๊าซธรรมชาติที่ขายให้การไฟฟ้า หรือขายให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ไปแล้ว

อีกด้านหนึ่งเช่นเดียวกันต้นทุนต่างๆ ของโรงกลั่นน้ำมันก็ได้สะท้อนอยู่ในค่าการกลั่นน้ำมัน และสะท้อนอยู่ในราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อเป็นดังที่กล่าว ก็อาจพอสรุปได้ว่า ก๊าซหุงต้ม (LPG) มีต้นทุนเพื่อให้ได้มาต่ำมาก เพราะต้นทุนส่วนใหญ่ได้ถูกสะท้อนไปกับราคาขายก๊าซธรรมชาติ และราคาน้ำมันสำเร็จรูปแล้ว

แต่โครงสร้างการตั้งราคาขายก๊าซหุงต้ม (LPG) กลับสวนทางอย่างสิ้นเชิงกับการตั้งราคาขายก๊าซธรรมชาติ โดยเอาราคาประกาศปิโตรมิน ของทางตะวันออกกลาง ที่ซาอุดีอาระเบีย เป็นเกณฑ์ หักด้วยค่าใช้จ่ายในการขนส่งจากซาอุฯ มากรุงเทพฯ คงที่ที่ 16 US$ ต่อตัน ซึ่งกำหนดเพดานไว้ไม่เกิน 315 US$ ต่อตัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ราคาตามประกาศ ปิโตรมิน (ตั้งเป็นตุ๊กตา) 500 US$/Ton

หักค่าขนส่ง - 16 US$/Ton

คิดที่เพดาน 315 US$/Ton

คิดอัตราแลกเปลี่ยน 40 บาทต่อ US$ เป็น 12.6 บาทต่อกิโลกรัม

ภาษีสรรพสามิต 2.17 บาทต่อกิโลกรัม

ภาษีเทศบาล 0.217 บาทต่อกิโลกรัม

กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ชดเชย) -2.5301 บาทต่อกิโลกรัม

ราคาขายส่ง ณ คลังก๊าซ 12.4569 บาทต่อกิโลกรัม

(รัฐต้องชดเชยค่าขนส่งอีก 2-4 บาทต่อกิโลกรัม)

ค่าการตลาด 3.2534 บาทต่อกิโลกรัม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1.0997 บาทต่อกิโลกรัม

ราคาขายปลีก (รวม VAT) 16.8140 บาทต่อกิโลกรัม

ถึงแม้ว่าจะมีการตรึงราคาอยู่ทำให้รัฐต้องสูญเงินไปโดยเฉลี่ย 5 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับการชดเชยของกองทุนน้ำมันและค่าขนส่ง แต่ค่าการตลาดที่ผู้ค้าได้รับนั้นสูงถึง 3.25 บาทต่อกิโลกรัม เหมือนการันตีกำไรให้เอกชน โดยที่รัฐได้รายได้จากภาษีเพียง 3.4867 บาทต่อกิโลกรัม แต่รัฐกลับต้องชดเชยสูงถึงประมาณ 5 บาทต่อกิโลกรัม รัฐไม่ได้อะไรเลย

ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นเอกชนผู้ส่งออก ตามมาตรา 7 อาทิเช่น ปิคนิค, ปตท. ,สยามแก๊ส, worldgas, ยูนิค ,คาลเท็กซ์ คงส่งออกกันพอควร (ปตท.อาจจะมีหน้าที่หลักที่จะต้องจัดให้ผู้ใช้ในประเทศมีก๊าซหุงต้มใช้เพียงพอก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงส่งออก) วิธีการจัดสรรโควตาส่งออกในอดีตก่อนปี 2549 นั้น ใช้วิธีตกลงกัน จัดสรรกันเองในกลุ่มผู้ค้าตามมาตรา 7 โดยมีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเป็นเจ้าภาพในการตกลงกัน

จากตัวเลขเห็นได้เลยว่าได้กำไรขั้นต่ำอยู่แล้วประมาณเกือบ 200 US$/Ton (เพราะราคาต่างประเทศสูงมากกว่า 500 US$/Ton บางช่วงมากกว่า 600 US$/Ton ด้วยซ้ำ) หรือเกือบ 8 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งตกอยู่ในมือเอกชนล้วนๆ รัฐไม่ได้อะไรเพราะการส่งออกไม่มีการเสียภาษี คิดเป็นตัวเลขคร่าวๆ ส่งออกปีละประมาณ 900,000 ตัน เป็นเงินประมาณ 6,660 ล้านบาทต่อปี (=185 x 40 x 900,000)

คงต้องมีผู้ได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้ เป็นประเด็นที่นำสืบต่อไปน่าจะไม่ยาก เพราะผู้ค้าก๊าซหุงต้มตามมาตรา 7 ก็มีจำกัด อาทิเช่น ปิคนิคแก๊ส, ปตท.,สยามแก๊ส, worldgas, ยูนิค, คาลเท็กซ์ เป็นต้น ฉะนั้นน่าจะพอเห็นภาพพอควร และจะสามารถนำไปสู่วิธีที่จะทำให้ราคาก๊าซหุงต้มลดลงในระยะสั้น และระยะยาวดังนี้

1. จัดเก็บค่าโควตาการส่งออกก๊าซหุงต้ม (LPG) เหมือนกับการเก็บค่าพรีเมียมข้าวในอดีต แล้วออกกฎหมายนำมูลค่าเงินที่เก็บได้นำมาลดราคาค่าก๊าซหุงต้มที่ขายในประเทศ ทดลองคิดเก็บค่าโควตาการส่งออกที่ 3 บาทต่อกิโลกรัม เอกชนยังได้เยอะอยู่ถ้าส่งออก เพราะไม่ต้องเสียภาษีในประเทศเลย คำนวณง่ายๆ ดังนี้ เก็บค่าโควตาส่งออกที่ 3 บาทต่อกิโลกรัม หรือ 3,000 บาทต่อตัน จากปริมาณส่งออกโดยเฉลี่ยที่ 900,000 ตันต่อปี สำหรับปริมาณการใช้ในประเทศอยู่ที่ประมาณ 2.1 ล้านตันต่อปี มีประมาณ 1.155 ล้านตันใช้ในครัวเรือน (55%) ส่วนที่เหลือก็ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และขนส่ง

ถ้านำกำไรส่วนเกินจากการส่งออกดังกล่าวมาชดเชยให้ผู้ใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือนเท่านั้น โดยที่การชดเชยจากกองทุนน้ำมันยังเป็นเหมือนเช่นในปัจจุบัน ผลจะทำให้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือนจะลดลง 2.3 บาทต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 34.5 บาทต่อถัง สำหรับถังขนาด 15 กิโลกรัม ซึ่งใช้ปกติในครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันขายอยู่เฉพาะราคาเนื้อก๊าซ (เปลี่ยนถัง) ถังละ 265 บาท ถ้าไม่รวมค่าขนส่ง (ซื้อหน้าร้าน) ก็คิดที่ 255 บาทต่อถัง

ดังนั้น ในกรณีดังกล่าวนี้ก็จะสามารถลดราคาลงได้เท่ากับ 34.50 บาทต่อถัง นั่นคือประชาชนจะสามารถซื้อได้ที่ราคา 220.50 บาทต่อถัง (ไม่รวมค่าขนส่งถึงบ้าน) หรือถ้าจะนำกำไรส่วนเกินเหล่านี้มาชดเชยเงินที่กองทุนน้ำมันชดเชยอยู่ก็จะเป็นประโยชน์ ทำให้ไม่ต้องอ้างว่าขณะนี้รัฐได้ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ผลก็คือสามารถปล่อยลอยตัวได้เลยและประชาชนไม่ได้รับผลกระทบ

2. ในระยะยาว เห็นจะต้องเข้าไปสู่การปรับโครงสร้างการตั้งราคาก๊าซหุงต้ม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องอาศัยคณะกรรมการจากหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาถกเถียงกัน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องอาศัยหลักการการตั้งราคาที่ให้สะท้อนต้นทุนส่วนเพิ่มที่แท้จริง ไม่ใช่กำหนดเพดานไว้ที่ 315 US$/Ton ผมเชื่อว่าต้นทุนการผลิตก๊าซหุงต้มจริงๆ ต่ำมาก เพราะเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันและการแยกก๊าซธรรมชาติ

ในเมื่อโครงสร้างก๊าซธรรมชาติตั้งแต่ต้นทางจากอ่าวไทยนั้นใช้หลักการต้นทุนเป็นตัวตั้งราคา แต่พอมาเป็นก๊าซหุงต้มซึ่งเป็นผลพลอยได้แท้ๆ กลับเปลี่ยนไปใช้ราคาที่แพงขึ้น หรือเป็นราคากลางที่ซาอุฯ เหล่านี้ไม่เป็นธรรมกับคนไทยเจ้าของประเทศอย่างแน่นอน

3. ค่าการตลาดที่สูงถึง 3.25 บาทต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 1.625 บาทต่อลิตรนั้น ควรจะพิจารณาทบทวนลดลง เพราะสูงมากเมื่อเทียบกับน้ำมันสำเร็จรูปที่ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1 บาทต่อลิตร อีกทั้งบางช่วงยังไม่ถึง 1 บาทต่อลิตรเลย ทำไมต้องทำให้เอกชนที่เป็นผู้ค้าก๊าซหุงต้มมีกำไรเกินปกติด้วย

กล่าวโดยสรุปพวกเราคนไทยน่าจะพอคิดได้ว่าการบริหารจัดการด้านพลังงานของประเทศนั้น มีผลประโยชน์ซ่อนอยู่กลับกลุ่มคนบางกลุ่ม ไม่ใช่เป็นประโยชน์ของคนไทยทั้งประเทศ น่าจะถึงเวลาแล้วที่พวกเราคนไทยควรที่จะเรียกร้องการปรับโครงสร้างธุรกิจพลังงานทั้งระบบอย่างจริงจัง เอาไว้ในบทความต่อๆ ไป จะเริ่มตีแผ่โครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ และโครงสร้างค่าไฟฟ้ากันต่อไป

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ปตท.พลังไทย เพื่อใคร? - รายงานเก่าที่อ้างอิงได้

ฝ่ายเผยแพร่เพื่อการมีส่วนร่วม เรียบเรียง

มีคนเคยตั้งคำถามกับเราว่า กำไรของ ปตท. กลับคืนไปที่ใคร?”

ที่... ปากท้อง ที่... สมอง ที่... รอยยิ้ม ที่.... ลมหายใจ ที่... ชีวิต ........

ผู้คนทั่วไปคงคุ้นหูคุ้นตากับโฆษณาของ ปตท. ซึ่งเผยแพร่ให้ดูทางทีวีตลอดช่วงปีที่ผ่านมาเป็นอย่างดี อย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ นี่เป็นโฆษณาที่ทำออกมาได้ดีอย่างยิ่ง ทั้งภาพและเสียงชวนให้ใครๆ เคลิบเคลิ้มคล้อยตามไปกับเนื้อหาที่สื่อออกมาให้เห็นถึงคุณูปการของผู้บริหาร ปตท. และรัฐบาล ซึ่งทำให้กับประชาชนคนไทยทั้งประเทศ จนรู้สึกซาบซึ้งจนน้ำตาเล็ดน้ำตาไหล

แต่หากได้รับรู้ข้อมูลต่อไปนี้ ความรู้สึกของคุณอาจเปลี่ยนไป

ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน นักวิชาการอิสระ๑ ซึ่งทำงานวิเคราะห์วิจัยให้ภาคประชาชนในเรื่องพลังงาน ได้ทำรายงานการศึกษาในเรื่องของการแปรรูป ปตท. โดยชี้ให้เห็นว่า ปตท. หรือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่ถูกแปรรูปโดยใช้ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ และโอนสิทธิประโยชน์ อำนาจรัฐให้แก่บริษัท ทั้งสิทธิในการผูกขาดกิจการท่อก๊าซ สิทธิในการเวนคืน สิทธิในการยกเว้นภาษีต่างๆ เมื่อมีการเปิดขายหุ้นเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๔ นั้น หุ้นถูกจองหมดภายในเวลา ๑:๑๗ นาที ซึ่งหุ้นที่ขายในขณะนั้นราคา ๓๕ บาทต่อหุ้น ปัจจุบันราคาหุ้น ปตท. ได้พุ่งสูงขึ้นมาอยู่ที่ ๒๐๘ บาทต่อหุ้น เป็นการเพิ่มสูงขึ้นถึง ๖ เท่าภายในเวลาเพียง ๔ ปีเท่านั้น

เธอได้ระบุไว้ในรายงานว่า บทเรียนจากการแปรรูป ปตท. นั้น คือ

๑. เป็นการแปลงทรัพย์สมบัติชาติและอำนาจอธิปไตย ให้เป็นทุนของคนกลุ่มหนึ่ง จากเดิม ปตท. เป็นองค์กรของรัฐที่ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ กลับกลายเป็นบริษัทเอกชนซึ่งดำเนินการเพื่อกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้น ปตท. ได้กลายเป็นแหล่งแสวงหาผลประโยชน์ของญาติสนิทและผู้ใกล้ชิดของผู้นำรัฐบาล ดังที่ระบุไว้ว่า จากข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ปตท.และรายชื่อคณะกรรมการ ปตท.เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่มาดำรงตำแหน่งระดับสูงของ ปตท. นั้นส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการ และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในรัฐบาล โดยเฉพาะตระกูลชินวัตร เช่น คณะกรรมการ ปตท. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นน้องเขยของนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และนายโอฬาร ไชยประวัติ ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทชินคอร์ป และนายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร นอกจากนี้ในรายชื่อผู้บริหาร ปตท. มีชื่อนายทรงวุฒิ ชินวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร โดยเพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งในปี ๒๕๔๗ ก่อนหน้านี้ไม่มีชื่อ จากรายชื่อเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า มีอิทธิพลทางการเมืองมาแทรกซึมอยู่

๒. เป็นการแปรรูปสิทธิผูกขาดให้กลายเป็นใบ อนุญาตตลอดชีพให้บริษัทเอกชนล้วงกระเป๋าผู้บริโภค แม้ปัจจุบัน ปตท.จะมีสถานะเป็นบริษัท แต่ในการแปรรูป ปตท.นั้น ได้มีการโอนสิทธิประโยชน์ในฐานะรัฐวิสาหกิจและอำนาจรัฐบางอย่างให้แก่ ปตท. ด้วย ที่สำคัญได้แก่ สิทธิในการผูกขาดกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สิทธิในการเวนคืน และสิทธิในการยกเว้นภาษีต่างๆ เป็นต้น ดังจะเห็นได้ว่า ปัจจุบัน ปตท.ยังคงเป็นผู้ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวในการจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย จึงแทบจะปราศจากความเสี่ยงในการลงทุน

๓. อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคำมั่นสัญญาของรัฐบาล รัฐบาลเคยให้คำมั่นสัญญาไว้กับประชาชนก่อนจะแปรรูปว่า จะแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากธุรกิจส่วนอื่นภายใน ๑ ปี เพื่อเปิดทางให้มีการแข่งขันลดการผูกขาดการจัดหาก๊าซ และจะจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสาขาก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้าที่มีพระราชบัญญัติรองรับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค แต่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น

๔. ผลประโยชน์นักเล่นหุ้นสำคัญกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม สำหรับนักลงทุนนั้นรัฐกลับประกันผลตอบแทนการลงทุนขยายท่อก๊าซให้อย่างงาม (IRROE = ๑๖ เปอร์เซ็นต์) โดยนายแพทย์พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานฯ ได้กล่าวชี้แจงต่อข้อสังเกตของนายเจน นำชัยศิริ จากสภาอุตสาหกรรม (ในงานเสวนาโต๊ะกลมที่ประชาชาติธุรกิจเมื่อวันที่ ๗ ม.ค.๒๕๔๗) ถึงความเหมาะสมของการที่ ครม. มีมติให้ประกันผลตอบแทนการลงทุนท่อก๊าซของ ปตท.ในระดับที่สูงมาก (๑๖ เปอร์เซ็นต์) ทั้งที่เป็นกิจการผูกขาดว่า รัฐไม่สามารถทำอะไรได้เพราะตอนขายหุ้นจอง ปตท. ได้เขียนล็อกไว้แล้วว่า Equity IRR ของ ปตท. จะต้องเท่ากับ ๑๖ เปอร์เซ็นต์

๕. อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจ ธรรมาภิบาลของรัฐบาลผ่านตลาดหุ้น เพราะธรรมาภิบาลผ่านกลไกของตลาดหุ้นไม่ใช่หลักประกันของประชาชน ข้ออ้างที่ว่า ปตท.ยังเป็นรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากคำว่า รัฐวิสาหกิจนิยามไว้เพียงว่า รัฐจะต้องถือหุ้นในบริษัทอย่างต่ำ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ณ ปัจจุบัน ปตท. มีหุ้นส่วนเป็นของเอกชนถึง ๔๘ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งที่เหลือเป็นของรัฐบาลเพียงแค่ ๕๒ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อีกทั้งเรื่องการรั่วไหลของผลประโยชน์ซึ่งเคยเป็นของ ปตท. อันได้แก่ ผลกำไรนับแต่มีการแปรรูป จำนวน ๑๙๐,๒๘๔ ล้านบาท ซึ่งควรตกเป็นของรัฐ กลับต้องแบ่งไปให้เอกชนทั้งในรูปของเงินปันผล จำนวนกว่า ๑๗,๐๐๐ ล้านบาท และในรูปแบบของราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น จาก ๓๕ บาทต่อหุ้น เป็น ๒๐๘ บาทต่อหุ้น (ณ วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๘) ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ ๒๓๔,๐๐๐ ล้านบาท๒

รวมไปถึงการที่เจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารของกระทรวงพลังงานซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงในการดูแลผลประโยชน์ในเรื่องพลังงาน และปากท้องของผู้ใช้พลังงาน กลับทำงานโดยหวังเบี้ยประชุมในการประชุมแต่ละครั้ง (ครั้งละไม่ต่ำกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท) และเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทมากกว่ารักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ

และนอกจากผู้ถือหุ้นบริษัท ปตท. ที่ได้ รับประโยชน์เป็นกอบเป็นกำจากการแปรรูป ปตท. แล้ว พนักงานบริษัท ปตท. เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้ว่า ค่าจ้างพนักงาน ปตท. ในปี ๒๕๔๓ ที่ได้รับเฉลี่ย ๘๑๗,๐๐๐ บาท/คน/ปี เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย ๑,๑๔๒,๐๐๐ บาท/คน/ปี ในปี ๒๕๔๖ หรือเพิ่มขึ้นถึง ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลาเพียง ๓ ปี

สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนโดยตรง ซึ่งนั่นคือ

น้ำมัน ก่อนการแปรรูป ปตท.เคยมีบทบาทหลักในการตรึงราคาน้ำมันในภาวะที่ราคาในตลาดโลกสูง ซึ่งเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ ไม่ใช่คิดถึงผลประโยชน์ของ ปตท.เป็นตัวตั้ง แต่หลังจากแปรรูป ปตท.แล้ว เมื่อรัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมัน รัฐต้องใช้กองทุนน้ำมันในการตรึงราคาน้ำมัน ซึ่งขณะนั้น (มีนาคม ๒๕๔๘) ปรากฏว่ากองทุนน้ำมันมีหนี้สะสมจากการตรึงราคาน้ำมันถึง ๗ หมื่นล้านบาทแล้ว ในขณะที่การบริโภคน้ำมันไม่ได้ลดลงตามกลไกราคาที่แท้จริง หนี้สินก้อนมหึมานี้จะกลายเป็นภาระของผู้บริโภคในอนาคต เพราะเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง รัฐบาลก็จะไม่สามารถลดราคาน้ำมันในประเทศได้ เนื่องจากต้องหาเงินไปชดเชยกองทุนน้ำมัน โดยสรุปแล้ว ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากการตรึงราคาน้ำมันก็คือ ปตท. ในฐานะผู้ขายน้ำมัน

ก๊าซหุงต้ม ก่อนการแปรรูป รัฐบาลใช้นโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้มเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ก๊าซในราคาถูก แต่ในปี ๒๕๔๔ ซึ่งมีการแปรรูป ปตท. รัฐบาลได้ประกาศราคาก๊าซหุงต้มลอยตัว ทำให้ราคาสูงขึ้นเป็นลำดับ จากราคาถังละ ๑๖๐ บาท ปัจจุบันราคาถังละเกิน ๓๐๐ บาทแล้ว ก๊าซหุงต้มถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชั้นล่าง และส่วนหนึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถแท็กซี่ แต่ก๊าซหุงต้มถือเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และ ปตท.กำลังหาช่องทางที่จะจำหน่ายเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นอีก

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันธุรกิจของปตท. มีเป้าหมายหลักอยู่ที่กำไรสูงสุดโดยการผลักภาระให้ประชาชนก็คือ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๗ ปตท.ได้ลดการส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยให้แก่ กฟผ.ปริมาณ ๑๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพื่อนำก๊าซจำนวนดังกล่าวไปให้แก่ภาคอุตสาหกรรมเอกชน ซึ่งได้ราคาสูงกว่า กฟผ. ทำให้ กฟผ. ต้องใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าแทนเป็นเวลา ๑๐ เดือน โดยต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น ๑,๕๐๐ ล้านบาททำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าเอฟทีเพิ่มขึ้น ๑๕๐ ๒ สตางค์ต่อหน่วย (นสพ.กรุงเทพธุรกิจ, ๒๒ พ.ย.๔๗) ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นหากรัฐบาลได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ก่อนแปรรูป โดยการเปิดให้มีการแข่งขันในธุรกิจจัดหาก๊าซ และมีการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมากำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ

สรุปแล้ว บทเรียนจากกรณี ปตท. คือ การแปรรูป... คือ การปล้นเงียบ และปล้นอย่างถูกกฎหมาย อย่างสง่างาม แล้วเราควรจะปล่อยให้ กฟผ. เจริญรอยตาม ปตท.?

คงต้องขอปิดท้ายด้วย โฆษณา ปตท. โดย ทีมงาน ผู้จัดกวน ที่ว่า

เราอยากให้ทุกคนรู้ว่า กำไรของกลุ่มบริษัท ปตท. ๓๐ เปอร์เซ็นต์ กลับไปสู่คนบางจำพวก

เป็นงบประมาณในการพัฒนาครอบครัวกลุ่มผู้ถือหุ้น

ซึ่งเป็นการขูดรีดเลือดเนื้อประชาชนจากกำไรมหาศาลของโรงกลั่นและก๊าซธรรมชาติ

ปตท. แข็งแรงเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของนายทุน

บริษัท ปตท. จำกัด (บางคน)

พลังไทย เพื่อใคร?”

เรียบเรียงจาก

- บทเรียนจากการแปรรูป ปตท. โดย ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน นักวิชาการอิสระ

- ประสบการณ์จากกรณี ปตท. แปรรูป...ประชาชนได้อะไร? กลุ่มพลังไท/กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต

- www.manager.co.th

--------------------------------------------------------------------------------

ปตท. พลังไทย เพื่อใคร .- รายการของคุณสัญา คุนากร

« เมื่อ: 27 มกราคม 2010, 01:23:16 PM »

--------------------------------------------------------------------------------

ใครดูรายการของคุณสัญา คุนากร

ได้คุยเรื่องน้ำมันในประเทศไทย ฟังเเล้วช๊อคจริงๆครับเพื่อนๆ

ทางคุณสัญาได้เชิญอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงพลังงานมาเล่าให้ฟัง

ซึ่งผู้ใหญ่ท่านนี้เป็นข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพลังงานในสมัยพลเอกเปรม

ได้ฟังท่านเล่าเเล้วผมขนลุก...ครับ

ผมเข้าใจผิดมาตลอดว่าเมืองไทยไม่สามารถผลิตนำมันได้เองต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

ซึ่งท่านบอกว่าเมืองไทยมีกำลังผลิตได้ 1,000,000 บาร์เรล/วัน(ปตท.)

เเละเมืองไทยใช้น้ำมันวันละ 700,000 บาเรล/วัน

เเละเมืองไทยส่งออกน้ำมันประมาณ 100,000 บาเรล/วัน

ฟังเเล้วเพื่อนคิดยังงัยครับ

เเละที่เเย่กว่านั้น..น้ำมันที่ส่งออกไปขายในต่างประเทศราคาถูกกว่าที่ขายในเมืองไทยหลายบาทถ้าเทียบต่อลิตร

ตอนนี้มาเลเซียใช้น้ำมันเบนซินเเละดีเซลประมาณลิตรละ 20 บาทต้นๆ

ท่านบอกว่าสาเหตุที่ทำให้น้ำมันราคาเเพง เพราะว่าอธิบดีหรือผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงพลังงานถือหุ้นบริษัทโรงกลั่น

ทำให้ไม่มีการเข้ามาจัดการเเละดูเเล

ราคาที่ปรับขึ้นทีละ .50 บาทเป็นการขึ้นจากโรงกลั่นซึ่งราคาที่ปรับขึ้นไม่ได้มาจาก cost ต้นทุน

เเต่ป็นราคาที่ตั้งขึ้นมาลอยๆ โดยอ้างอิงจากตลาดที่ผันผวนมากที่สุด

ในที่นี้ท่านยกตัวอย่างตลาดสิงคโปร์ เเต่จริงๆเราซื้อจากตะวันออกกลาง

เเละอีกอย่างที่น่าตกใจ ท่านบอกว่าในประเทศไทยมี stock น้ำมัน 2 เดือนเเละหมุนเวียนอย่างนี้เรื่อยๆ

พอเวลากระทรวงปรับน้ำขึ้นพวกพ่อค้าเอาน้ำมันใน stock มาปรับขึ้นด้วย

คิดดูเอาเองว่าเป็นเงินเท่าไหร่

ไทยใช้ 700,000 บาเรล/วัน ( 1 บาเรล = 159 ลิตร )

2 เดือนกี่ลิตร ลิตรละ .50 บาท ลองคูณดู

บริษัทที่ได้กำไรเยอะมากคือ ปตท เพราะมีโรงกลั่น 5 โรง อีก 2 โรงเป็นของเอกชน

รวมในประเทศไทยมีโรงกลั่น 7 โรง เป็นของ ปตท 5 โรง

เเล้วท่านสรุปกำไรของปตทในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ประมาณปี 2540-2544 ปตท กำไรปีละ 22,000 ล้านบาทครับ

ฟังเเล้วเป็นงัยครับพี่น้อง...

กำไรเท่ากับงบประมาณ 1 กรมเลยทีเดียว

เเละที่สุดยอดกว่านั้น ปี 2545-2550 ปตทกำไรเพิ่มเป็น 50,000ล้านบาท/ปี

เเละที่สุดๆ คือ ในปี 2548 กำไร 195,000 ล้านบาท

ฟังเเล้วอยากให้ลูกทำงานบริษัท ปตท มั้ยครับเพื่อนๆ

กำไรดังกล่าวมาจากอะไรลองคิดดูครับ

ประชาชนตาดำๆอย่างเราเสียค่าน้ำมันลิตรละ 36 บาท

ถ้าเป็นรัฐบาลก่อนๆ น้ำมันขึ้น 3 บาท รัฐมนตรี นายก ต้องก้นร้อนเเล้ว

เเล้วรัฐบาลน ี้ล่ะ..ตอนนี้ขึ้นไปกี่บาทเเล้ว เพื่อนๆลองคิดดูเเล้วกัน

ถ้า ปตท ลดกำไรลงเท่ากับ 20,000 ล้านบาท/ปี

เเค่นี้เราก็ใช้นำมันลิตร 20 บาทเเล้วครับ

(นี่เเหละเหตุผลที่ไม่อยากให้เเปรรูปอุตสาหกรรมพวกนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน)

นี่คือเหตุผลว่าทำไมพนักงานการไฟฟ้าถึงได้ประท้วงเวลามีการเเปรรูป

เพราะมันจะเป็นเหมือนน้ำมัน ซึ่งพอเข้าตลาดหุ้นจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนตามมา

อธิบดี รัฐมนตรี เมียอธิบดี เมียรัฐมนตรี ถือหุ้นโรงกลั่น

ทำให้ไอ้พวกนี้ไม่เข้าไปดูเเลเเละจัดการอย่างจริงจัง

ทำให้น้ำมันเเตะลิตรละ 40 บาทเเล้ว ณ ปัจจุบัน

มาร่วมมือกันดีไหม...

ด้วยการเติม esso, shell

และถ้าจะให้ดีกว่านี้..เราต้องร่วมมือกันไม่ซื้อมากกว่าที่จำเป็นต้องใช้

ถ้าทุกครั้งเราเคยเติม 1000 บาทหรือเต็มถ้ง.. คราวนี้เราจะไม่เติมมากกว่าที่เราจำเป็นต้องใช้

ตัวอย่างเช่น วันนี้จะวิ่ง 30 กม. เราก็เติม 4.5 ลิตรหรือ 200 บาท

จะวิ่งอีก 70 กม. เราก็เติม 10 ลิตรหรือ 400 บาท

จะวิ่งอีก 100 กม. เราก็เติม 14 ลิตรหรือ 500 บาท

อย่าเติมเยอะ...

ไม่ต้องไปตุนเพราะกลัวว่าพรุ่งนี้จะขึ้นราคา

คราวนี้สต็อกน้ำมันในคลังก็จะล้น

เพราะปริมาณที่เคยขายทุกวันก็จะถูกเลื่อนให้ต้องเก็บไปขายในอนาคต

ถ้ามันยังอยากขายก็ต้องลดราคาลงมา ให้มันรู้ว่าไผเป็นไผ

เคยมีคนศึกษากรณีไข่ไก่แพง และได้ลองทำล้กษณะนี้ได้ผลมาแล้ว

สั่งสอนให้บทเรียนมันหน่อย เริ่มลงมือปฏิบัติการได้เลย

ไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย ขอเพียงช่วยกันกระจายข่าวไปให้มากที่สุด

สามัคคีคือพลัง...

ส่งมาให้อ่านกันเพราะอยากให้ราคาน้ำมันลดลงจริงๆ

พวกเราโดนโอเปครวมหัวขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรม ก็น่าจะมีมาตรการที่จะต่อสู้ ตอบโต้กลับไปบ้าง

ข้อเสนอนี ้ก็น่าจะเป็นข้อเสนอหนึ่งที่ถ้าร่วมกันทำจริงๆ ก็น่าจะแสดงอะไรออกมาได้บ้าง