วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเลือก ... ที่จะตัดสินใจ เพื่อ ขจัดความเสี่ยง

การเลือก ที่สุดท้าย ... ต้องลงเอยด้วยการตัดสินใจ ตัดสินใจบนความรอบคอบถี่ถ้วนแล้ว มองทุกปัญหา ทุกสภาวะแวดล้อมแล้ว องค์ประกอบต่างๆ ผลกระทบต่างๆ ถึงเวลาที่จำเป็นต้องเลือก เลือกแบบที่ไม่ใช่ การโยน...หัวหรือก้อย หรือ ดึงกลีบกุหลาบ ผลกระทบต่างๆ ... แลกกับ ทางหนีจากความเสี่ยง โดยไม่ต้องมีใครมาจุดเทียน จุดโคมลอย แถวๆ มาบตาพุด เมื่อวันครบรอบ ที่รำลึกถึง ความทุรนทุราย ... ของผู้คน


การตัดสินใจ(Decision Making) หมายถึง กระบวนการหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด จากทางเลือกหลายๆทางที่ได้พิจารณาแล้วว่าเป็นทางเลือกที่สามารถทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายได้การตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญมากในการบริหารจัดการ เพราะจะต้องทำการตัดสินใจทุกๆ ขั้นตอนในการปฏิบัติตามหน้าที่ทางการบริหาร(Management Function) เริ่มตั้งแต่การตัดสินใจในเรื่องการวางแผน การจัดองค์การ บริหารงานบุคคลการสั่งการ การประสานงานและการควบคุม
การตัดสินใจเป็นกระบวนการของการหาโอกาสที่จะการหาทางเลือกที่เป็นไปได้ และการเลือกทางเลือกที่มีอยู่หลายๆ ทางเลือกและได้แบ่งการตัดสินใจออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. การตัดสินใจที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (Program decision) เป็นการตัดสินใจตามระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบแผนที่เคยปฏิบัติมาจนกลายเป็นงานประจำ(Routine) เช่นการตัดสินใจเกี่ยวกับการลาของพนักงาน การอนุมัติการเบิกจ่ายเงินไปราชการ การอนุมัติการใช้อาคารสถานที่ เป็นต้น การตัดสินใจแบบกำหนดไว้ล่วงหน้านี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้บริหารเลือกทางเลือกได้น้อย เพราะเป็นการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอน
2. การตัดสินใจที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า (Non – Program decision) เป็นการตัดสินใจในเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน และไม่มีกฎเกณฑ์ไม่มีระเบียบ จึงเป็นเรื่องที่ลำบากใจกับผู้บริหารพอสมควร ซึ่งบางครั้งผู้บริหารจะต้องคิดถึงเรื่องความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นด้วยเช่นการตัดสินใจที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ การตัดสินใจที่จะขยายสาขาของธุรกิจเพิ่ม การตัดสินใจที่จะลงทุนในธุรกิจตัวใหม่ เป็นต้น

ขั้นตอนการตัดสินใจ สามารถแบ่งออกได้เป็นดังนี้ คือ
ขั้นที่ 1 การระบุปัญหา(Define problem) เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะต้องระบุปัญหาได้ถูกต้อง จึงจะดำเนินการตัดสินใจในขั้นตอนต่อๆ ไปได้
ขั้นที่ 2
การระบุข้อจำกัดของปัจจัย(Identify limiting factors) เป็นการระบุปัญหาได้ถูกต้องแล้ว นำไปพิจารณาถึงข้อจำกัดต่างๆ ขององค์กร โดยพิจารณาจากทรัพยากรซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการผลิต
ขั้นที่ 3
การพัฒนาทางเลือก(Development alternative) ขั้นตอนที่ผู้บริหารต้องพัฒนาทางเลือกต่างๆขึ้นมาซึ่งทางเลือกเหล่านี้ควรเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพและมีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาให้น้อยลงหรืให้ประโยชน์สูงสุด เช่น เพิ่มการทำงานกะพิเศษ เพิ่มการทำงานล่วงเวลาโดยใช้ตารางปกติ เพิ่มจำนวนพนักงาน
ขั้นที่ 4
การวิเคราะห์ทางเลือก(Analysis the altematives) เมื่อได้ทำการพัฒนาทางเลือกต่างๆ โดยนำเอาข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกมาเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบ ควรพิจารณาว่าทางเลือกนั้นนำมาใช้ จะเกิดผลต่อเนื่องอะไรตามมา
ขั้นที่ 5
การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด(Select the best alternative) เมื่อผู้บริหารได้ทำการวิเคราะห์ และประเมินทางเลือกต่างๆ แล้ว ผู้บริหารควรเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิจารณาว่าทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเดียว
ขั้นที่ 6
การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ(Implernent the decision) เมื่อผู้บริหารได้หาทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว ก็ควรมีการนำผลการตัดสินใจนั้นไปปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 7
การสร้างระบบควบคุมและประเมินผล(Establish a control and evaluation system) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตัดสินใจ ได้แก่การสร้างระบบการควบคุมและประเมินผลซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลย้อนกลับที่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยให้ผู้บริหารแก้ปัญหาหรือทำการตัดสินใจใหม่ได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น