วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทำไมจึงกล่าวหาว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ เป็น รัฐบาล...แม่ปู !!!

สั้นๆ ง่ายๆ เลยครับ ก้อตรงที่ รัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ทำไม่รู้ไม่ชี้ กับโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.เสี่ยงสูง หลงทิศหลงทางกับการบริหารรัฐกิจ แต่คอยชี้นำคนอื่นๆ ว่าต้องมีทิศมีทาง แถมยังเลือดเย็นอีก จึงไม่ต่างอะไร กับแม่ปู ...ไงครับ !!!
โครงการโรงแยกก๊าซหน่วยที่6 ของบมจ.ปตท.(PTT)ไม่ได้อยู่ในข่ายโครงการที่มีผลกระทบร้ายแรงตามประกาศ แล้วที่เสี่ยงทรุดพัง อาจระเบิดลุกลามร้ายแรง นี่มันควรเป็นโครงการประเภทไหน?!
โครงการ นรกแตก หรือโครงการจากนรก
แล้วโครงการแบบนี้ ผ่าน สวล.มาได้อย่างไร
ความจริงวันนี้ ... ที่ภาครัฐหรือภาคอุตสาหกรรม
คงไม่ต้องออกมาบอกแล้วว่า นักลงทุนต่างชาติกดดัน
เพราะ เจโทร(กรุงเทพ) รับรู้เรื่องนี้แล้ว แถมมีความห่วงใย และหวังอย่างสูงยิ่งว่า
รัฐบาลโดยการนำของนายอภิสิทธิ์ จะต้องทำอะไรที่เหมาะสม
หอการค้าไทยและต่างประเทศรับรู้เรื่องนี้กันทั้งหมด
แม้ไม่มีใครกระโตกกระตาก ... รวมทั้งหอการค้าอเมริกัน ในไทยด้วย
ถึงวันนี้ ... รัฐบาลไทย แม้จะประกาศว่า
โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. ไม่ส่งผลกระทบรุนแรง
แต่เชื่อว่า ... หลายคนยังรู้สึกหัวขนลุก แม้ไม่ได้มานอนอยู่มาบตาพุด
และคงภาวนา อย่าให้เกิดเหตุร้าย เหตุสลด
เพราะนักลงทุน มาลงทุนตรงนี้รวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก
และถ้าตรงนี้ มันวอดวายเป็นทะเลเพลิง ... ล่ะ!
อยากให้ยอมรับความจริงกันครับว่า ... มันเสี่ยงสูงมาก
และการเฉยชา ของทุกภาคส่วน รวมทั้งสื่อมวลชนทั้งหมด
นักสิ่งแวดล้อมและผู้ใส่ใจทั้งหมด
ผู้ที่ทำงานประชาสังคมต่างๆ องค์กรเอกชนต่างๆ
จะไม่ต่างอะไรกับการเป็น ... แม่ปู
ที่บอกให้คนอื่นๆ เดินไปในทิศทาง ... ที่คิด
แล้วก้อ ... ปูเป็นสัตว์เลือดเย็น ครับ!

ชีวิตผู้คนในมาบตาพุด
รวมทั้งพนักงานในโรงงานต่างๆจำนวนมาก
คงไม่มีค่าไม่มีความหมาย
สำหรับคำว่า ค่าความเป็นมนุษย์
กับวันนี้ ... ที่พวกท่านๆ กำลังป่ายปีนกันอยู่

คัทเอ้าท์ ขนาดใหญ่ที่เตรียมออกแบบไว้ เพื่อให้ผู้คนรับรู้


บ่อยครั้งที่มีคนถามผมว่า ที่ผมบอกว่า โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. เสี่ยงสูงนั้น มันเสี่ยงแค่ไหน

ผมทำงานเป็นวิศวกรควบคุมโครงการ ในช่วงเริ่มงานก่อสร้างโรงแยกก๊าซใหม่ เรารู้ว่า โครงการมีความเร่งรัดมาก เพราะค่าปรับวันละหลายแสน ทั้งที่งานไม่กี่ร้อยล้าน ตอนนั้นปริมาณคนงานที่ทำอยู่ในโครงการต่างๆ ขยับกันยากมาก เพราะมีหลายโครงการยังไม่จบเสร็จ ยังมีความเร่งรัด และงานตรงโรงแยกก๊าซ จะต้องใช้แรงงาน มากกว่า 700 คน แบบเต็มทีม ทีมงานที่เคยทำงานในมาบตาพุด ติดงานในส่วนโครงการเดิมที่ยังทำไม่เสร็จ และปัญหาการเมืองในบริษัทฯ ทีมงานที่ส่งมาทำงานที่ โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. คือชุดที่ทำโครงการเอื้ออาทรในกรุงเทพ ที่โครงการถูกยุบ ทั้งคนงานทั้งทีมวิศวกร ไม่คุ้นเคยกับงานสร้างโรงงาน โดยเฉพาะสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในมาบตาพุด ซึ่งมีความยุ่งยากเรื่องงานเอกสาร งานเซฟตี้ งาน QA/QC และวิธีการทำงานต่างๆ ตรงนี้ ก้อเป็นส่วนหนึ่งในความวิตกกังวลว่า หลายๆฐานรากจะถูกหมกเม็ด แล้วตรงนี้จะต่างแบบไหน ก้อคิดกันดูเองว่า ถ้าเอาคนทำงานก่อสร้างทาง ก่อสร้างถนน มา 20 ปี มาสร้างตึกสูง หรือเอาช่างซ่อมจักรยาน มาซ่อมมอเตอร์ไซด์นั่นแหละ ทำได้ครับ แต่ความชำนาญความคุ้นเคยงานมันแตกต่างกัน เหมือนผมกำลังบอกว่า บริษัทจัดทีมงานไม่เหมาะสม มาทำงาน งานโครงการนี้

ตามข้อมูลสำรวจดินและวิธีการออกแบบของ ปตท. ซึ่งสามารถสร้างได้จริงแบบนี้

ลักษณะดินที่ว่าแข็งแรงมาก ดูสีของดิน มันเป็นดินทรายหรือโคลนขาว

รวมทั้งวิธีการก่อสร้าง มันปลอดภัยสมอ้างตามโฆษณาชวนเชื่อหรือไม่ ตรงนี้ไง ชี้ให้เห็นว่า งานมีความเร่งรัดสูงแค่ไหน ควบคุมโดยวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลก โชคดีของคนงานที่ไม่ถูกดินถล่มทับ ดินแข็งด้านบน เป็นดินที่เกิดจากการปรับถมบดอัดใหม่ ชั้นล่างระดับ 10-12 เมตร เป็นโคลนขาวเวลาเจอน้ำ จะลักษณะเดียวกับดินสอพอง หรือไม่ต้องลองดู ดินที่ขุดขึ้นมาโดนฝน เหยียบแล้วจมจนมิดถึงหัวเข่า

ประกอบกับการปกปิดข้อมูล ความแข็งแรงของดินที่ใช้ในการออกแบบซึ่งสูงมาก และการออกแบบใช้ค่ารับน้ำหนักประลัย หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Ultimate Design Concept ซึ่ง ปตท. อ้างว่า มีการกดทดสอบค่ารับน้ำหนักของดิน ได้สูงถึง 120 ตันต่อตารางเมตร ดินจึงทรุดตัวลง 1 นิ้ว แต่จริงๆแล้วใช้ค่ารับน้ำหนักประลัยเพียงแค่ 90 ตันต่อตารางเมตร มาใช้ในการออกแบบ ถึงตรงนี้ เข้าใจยาก ผมบอกให้ลองนึกภาพ ถ้าสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีต จะสร้างได้สูงขนาดตึก 8 ชั้น สูงเท่าตึกซีบอร์ด (ตึกตรงสามแยกก่อนถึงแยกเข้านิคมมาบตาพุดนั่นแหละ) มันจะทรุดตัวลงแค่ 1 นิ้ว สำหรับเรื่องการทรุดตัวอีก เข้าใจยาก ทรุดทันทีทรุดต่อเนื่องมันแบบไหน ตรงนี้ แบบบ้านๆ ต้องให้นึกถึง ถังเก็บน้ำที่ชุมชนเอามาแจก ถ้าวางมันกับพื้นดิน ก่อนวางก้อจะต้องปรับพื้นให้เรียบ แล้วตบๆดินให้แน่นก่อน เวลาวางมันจะได้ไม่ทรุดเอียง ทีนี้พอเติมน้ำจนเต็ม ก้นถังมันจะทรุดลงไปประมาณครึ่งนิ้วอะไรแบบนั้น ตรงนี้คือทรุดทันที ทีนี้ถ้าเราวางมันทิ้งไว้ สัก 2-3 ปี ก้นถังมันอาจจะทรุดลงไปสัก 2-3 นิ้ว กรณีดินอ่อนอาจทรุดลงเป็นฝ่ามือเป็นคืบ ตรงนี้อาจเรียกว่าทรุดตัวต่อเนื่อง บ้านผมที่บ้านนอก โอ่งลูกใหญ่ๆ เวลายกย้ายที่ บางลูกลงไปเป็นคืบ ยิ่งถ้ามีน้ำท่วมถึงอาจลงไปเป็นศอก เป็นเรื่องปกติของดินและการรับน้ำหนัก

โรงงานอื่นๆ รวมทั้งที่อยู่บนเนินสูง ทำไมเขาตอกเสาเข็ม แต่โรงแยกก๊าซแอ่งน้ำท่วม

อ้างว่าดินแข็งแรงจนไม่ต้องตอกเสาเข็ม

แบบก่อสร้าง และข้อกำหนดก่อสร้างที่ไม่มีข้อมูลเลยว่า ปตท.ใช้ค่ารับน้ำหนักสูงมาก

ปกปิดไว้ เพราะกลัวไม่มีผู้รับเหมาเจ้าไหนกล้าทำให้ แบบนั้นหรือเปล่า

ส่วนหนึ่งของรายงานที่บันทึกการทรุดตัวของโครงสร้างต่างๆ ที่ ปตท. แถลงว่า ตรวจสอบและควบคุมมาโดยตลอดและไม่พบการทรุดตัวที่ผิดปกติเลย ทั้งที่ในเดือน พฤษภาคม 2552 มีการทรุดจำนวนมาก ซ่อมสร้างขึ้นใหม่ แต่ไม่มีการตรวจสอบ-ติดตามอะไร ที่เป็นรูปธรรม อ้างว่า คนทำย้ายออกกันไปหมด ข้อมูลเดิม ติดตามได้ยาก ทำขึ้นใหม่ต้องใช้เวลา

มีคนชอบบอกว่า ผมชอบนำเสนองานในเชิงวิชาการจนเข้าใจยาก หรือคนมองไม่เห็นความเสี่ยง อันที่จริงแล้ว เรามีการหารือกันเรื่องความเข้าใจของสาธารณะบ่อยๆ ว่าทำอย่างไร จะทำให้คนเข้าใจง่ายและหันมาให้ความสนใจเรื่องความแข็งแรง ผมคนหนึ่งที่เคยวิจารณ์ว่าทุกส่วนทุกฝ่ายเข้าใจดีนะว่า ความแข็งแรงคืออะไร แบบชาวบ้านๆ เค้าไม่กล้าเอาเก้าอี้พลาสติกขาอ่อนๆ มาเหยียบยืนต่อตัวขึ้นหยิบของในที่สูง อันนี้เขาเข้าใจเรื่องความแข็งแรง เขารู้ว่ารถเขาสามารถบรรทุกอะไรได้เท่าไหร่ เขาเข้าใจเรื่องสมรรถนะ อะไรเพิ่งเกิดขึ้นที่มาบตาพุด วันที่ก๊าซคลอรีนรั่ว ชาวบ้าน-สื่อมวลชนจำนวนมากบอกตรงกันว่า ถังคลอรีนทรุดพัง ฐานรับน้ำหนักไม่ไหว มันไม่มีความสลับซับซ้อนอะไร ถ้าคุณไปซื้อคอนโดอยู่แล้วบังเอิญคุณไปรู้ว่า คอนโดสูง 10 ชั้น สร้างโดยไม่ตอกเสาเข็ม ผมถามจริงๆว่า คุณกล้าขึ้นไปอยู่มั้ย เพราะอะไร คุณคงเห็นว่ามันไม่น่าจะปลอดภัย แต่เจ้าของโครงการกลับบอกว่ามีบริษัทก่อสร้างชั้นนำมาออกแบบก่อสร้างให้และดินแข็งแรงมาก อีกทั้งวิศวกรควบคุมงานเป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลก เอาวิศวกรจำนวนมากมีนั่งชี้แจงอธิบาย ผมถามจริงๆ ว่า ถ้าคุณยังไม่ได้ซื้อ คุณจะซื้อมันมั้ย ถึงตรงนี้ มันคือการตัดสินใจที่คุณจะเชื่อและซื้อเพื่ออยู่อาศัย หรือจะซื้อไว้หลอกขายคนอื่นเอากำไร นั่นมันก้ออีกเรื่อง

ภาพที่บอกว่า ความจริงคืออะไร แต่ทำไม ปตท. กล้าเสี่ยง ถ้า โรงแยกก๊าซ ปตท. อยู่ในป่าหรือเกาะร้าง ปราถนาจะเสี่ยงกันอย่างไรก้อทำกันไปเถอะ แต่ตรงนี้ โรงแยกก๊าซ อยู่ในเขตเทศบาล อยู่ติดตลาดติดชุมชน มาสร้างความเสี่ยง ที่น่าสยดสยองถ้าเกิดเหตุสลด แล้วอ้างว่า ก่อสร้างบนมาตรฐานสูง แม้ไม่ตอกเสาเข็ม

ให้ดูซ้ำๆ อีก เพื่อจะได้คิดซ้ำๆ ว่าที่ ปตท. บอกว่า ดินแข็งถึงแข็งมาก เป็นแอ่งน้ำท่วม เมื่อฝนตกหนัก เพราะถึงอย่างไร ปตท. เป็นองค์กร ที่น่าเชื่อถือ ดูรูปนี้อีกครั้ง เพื่อที่จะได้รู้ว่า ที่เชื่อเชื่อเพราะอะไร ทั้งๆที่ไม่ได้หลับหูหลับตา ดูฟังแต่ โฆษณาชวนเชื่อได้ทุกวัน จากสื่อทุกแขนง ที่วันนี้ สื่อไทยยังคงทำแบบนั้น และยังปิดกั้นการรับรู้ความเสี่ยงของภาคประชาชนอีกด้วย
กดเข้าไปดู ว่าขนาด สื่อเครือเนชั่น ยังเป็นแบบนี้
http://www.oknation.net/blog/airfresh-society

ถังก๊าซขนาดนี้ 6,000 คิว 12 ลูกอยู่ระหว่างกลางโรงแยกก๊าซ ที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน ของ ปตท. และทั้งหมดมันไม่ได้ตอกเสาเข็ม คนที่ไม่กลัวคงเป็นคนที่อยู่ห่างไกล

แต่เชื่อหรือไม่ว่า คนมาบตาพุดจำนวนมากก้อไม่กลัว เพราะผู้นำชุมชนบอกว่าถ้าตายก้อตายพร้อมกันหมด ไม่เหงา และไม่เชื่อ เพราะเชื่อ ปตท. บอกว่ามันดีและปลอดภัยแล้ว

แล้วเรื่อง คลังก๊าซแอลพีจีระเบิดล่ะ ตรงนี้เกินจริงจนสร้างความหวาดกลัวมั้ย เพราะ ปตท. น่าจะต้องควบคุมได้ บริษัท เขาใหญ่ปานนั้น จะมาทำอะไรเสี่ยงให้เสียหายได้อย่างไร เขาต้องมีมาตรการเฝ้าระวัง อย่างน้อยก้อรู้เรื่องนี้แล้ว เขาน่าจะทำอะไรไปแล้ว ใครจะปล่อยให้เสี่ยงสูงมาก ถึงตรงนี้ผมเลยจัดให้ว่าความมั่นใจสูง ของ ปตท. เป็นอีกหนึ่งประเด็นความเสี่ยงที่ผมให้ความสนใจมาก ความที่มั่นใจว่ามีวิศวกรต่างชาติมาก่อสร้างมาควบคุมงานงานให้นั่นแหละ ที่มีการระเบิดพังสร้างความเสียหายใหญ่หลวงกับโลก แบบแท่นเจาะน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก คนอเมริกันเจอเข้าไปเต็มๆ ทั้งที่มีเทคโนโลยี่ดี มีผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก ยังแก้ไขกันอยู่หลายเดือน ในจีนเอง ท่อส่งน้ำมันระเบิด ตูมเละ แค่นักดับเพลิงและอาสาสมัคร ยังใช้กันหลายพันคน รายงานความเสียหายเงียบสนิท แท่นเจาะน้ำมัน ของ ปตท. เอง ที่ระเบิดเมื่อปลายปีก่อน เดือน พ.ย. 52 ตรงนั้น ปตท. รู้ล่วงหน้ามา 2 เดือนกว่า แก้ไขโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก สุดท้าย ตูมเละ ... นกกับสัตว์น้ำ จำนวนมากได้รับผลกระทบ ตรงนั้นมันอยู่กลางทะเล แต่คลังก๊าซของ ปตท. ที่บอกว่าเทียบกับรถก๊าซ 4,200 คัน มันจอดรวมกันอยู่ห่างตลาด กิโลเศษๆ ตรงนี้ไง มันน่าหวาดเสียว

ไฟไหม้ใกล้คลังก๊าซ ที่อาจระเบิดรุนแรง แบบ BLEVE ที่นักผจญเพลิง ตายมาแล้วมากต่อมาก ถ้าเกิดเหตุแล้ว จะมีสักกี่คนกล้าเข้าไประงับเหตุ แบบเวลาซ้อม มาตรการการหลบภัย-รับมือ-จัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำได้จริงๆ หรือ หรือเขียนไว้ แล้วเก็บใส่แฟ้ม

เอ้า แล้วมันจะระเบิดอย่างไร ตรงนี้ ผมให้นึกภาพในอากาศนะ สมมุติเป็นโรงประปา ก้อแล้วกัน จริงๆแล้วเรื่องการทรุดตัวเป็นเรื่องปกติทั่วไป ถ้ากับอาคารเป็นตึก มันก้อจะแตกร้าวให้เห็น หรือบ้านใครไม่ร้าวไม่แตก มันเป็นเรื่องธรรมชาติที่หาความแน่นอนอะไรไม่ได้ เพราะจู่ๆ ถ้ามันเกิดการทรุดตัวขยายตัวไม่เท่ากัน เอาเป็นว่าเรานึกถึงภาพ โครงอาคารรับท่อประปา 2 จุดมันทรุดไม่เท่ากัน ข้อต่อตรงหน้าแปลนที่มีน๊อตยึดนั่นแหละ ท่อใหญ่ๆ ถ้ามันปริแตกน้ำก้อจะรั่วไหลออกมา พุ่งแรงมาก ถ้ามีแรงดันน้ำสูงมาก กว่าที่จะปิดวาล์วหรือควบคุมได้ มันคงเปียกปอนไปทั่วหมด ทีนี้การซ่อมหน้าแปลนแตกเนื่องจากจะการทรุด ตรงนี้มันไม่ใช่เรื่องง่าย อาจต้องขยับแนวใหม่ ผมว่าลองเปลี่ยนจากน้ำมาเป็นก๊าซแอลพีจีเหลวที่รั่วออกมาดีกว่า ก๊าซแอลพีจีเหลว จะเปลี่ยนเป็นก๊าซด้วยปริมาตรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 250 เท่า ถ้านึกภาพท่อน้ำแตกรั่ว คงนึกภาพออกว่ามันเป็นแบบไหน ทีนี้เพิ่มปริมาณอีก 250 เท่ากับที่นึก แล้วมันบังเอิญว่า มันเป็นก๊าซไวไฟคนเจอว่ามันรั่วจะเข้าไปปิด หรือจะวิ่งหนี ถ้ามันรั่วมากๆ มันไม่ใช่วาล์วถังก๊าซหุงต้มตามบ้าน แล้วอีกคุณสมบัติหนึ่งของ ก๊าซแอลพีจีเหลว จุดที่รั่วไหลมันจะควบแน่นเป็นน้ำแข็งอุดตัวมันเอง แต่ไม่ใช่ว่ามันจะหยุดนะ พอมันอุดแล้วมันจะทำให้ท่อระเบิด เกิดลุกไหม้เองได้ แม้ไม่มีประกายไฟ ตรงนี้ไง ที่บอกว่าเสี่ยงมาก แล้วเราก้อไม่รู้ว่า ตรงไหนมันจะทรุดมันจะแตก เพราะมันมีความเสี่ยงทุกพื้นที่ การระเบิดจากจุดเล็กๆ ถ้าเดชะบุญแก้ไขได้ปัญหาก้อจบ แต่ถ้าไม่ได้ล่ะมันลุกลามไวมาก และถ้าลุกลามมาถึง คลังก๊าซที่ว่าล่ะ แบบที่เคยเกิดในเม็กซิโก ประมาณปี 1980 ระเบิดต่อเนื่องยาวนาน เกือบ 9 ชม. ทั้งโรงงานทั้งชุมชนราบคาบ ตรงนี้ มีก๊าซมากกว่าที่เคยเกิดในเม็กซิโกถึง 7 เท่า และดันมีโรงงานอันตรายหลายร้อยโรงในมาบตาพุดที่อยู่ในรัศมีการระเบิด ถ้ามันระเบิดต่อๆ กันอีกล่ะ พอแล้วครับ ... เลิกนึกภาพไปเลย สึนามิไฟ ดีๆนี่เอง มันเป็นจินตนาการที่เลวร้ายสุดๆนะครับ ตรงนี้ ถามว่ามีโอกาสแค่ไหน ผมบอกแล้วว่า เราเปิดโอกาสให้มันเกิดไง เรารู้ใช่มั้ยว่า ถ้ามันแข็งแรงไม่เพียงพอ มันจะทรุดมันจะพัง แต่บังเอิญว่า ที่มันเสี่ยงทรุดพังเป็นโรงงานก๊าซไวไฟ แถมมีคลังก๊าซแอลพีจีขนาดมหึมา ถึงตรงนี้ เลยบอกว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์เลือดเย็นมาก เพราะรู้ตรงนี้มาตั้งนานแล้ว 7 เดือนนี่นานมั้ย ทั้งๆที่ยุ่งอยู่กับเรื่องเดียงกันคือเรื่องมาบตาพุด รู้ว่ามันเสี่ยงทรุดพังระเบิดลุกลามได้ ... คงกลัวครับว่า การหยุดโรงแยกก๊าซ แล้วมันจะกระทบเศรษฐกิจ แต่ถ้าเกิดสึนามิไฟ ล่ะ ประเทศไทยจะต้องใช้เวลากี่ปีที่จะฟื้นตัว เพราะชอบบอกกันจัง ว่ามีเงินลงทุนตรงนี้หลายแสนล้าน ไอ้ที่ลงทุนไปแล้วด้วย นั่นเท่าไหร่ มันจะไม่ใช่แค่แบบไฟไหม้ห้างใน กรุงเทพฯ ที่มาบตาพุดพอเกิดเหตุแล้ว ผมอยากรู้ว่า หมอพรทิพย์จะต้องรอเวลากี่วันถึงจะกล้าเข้ามาเก็บซาก คงต้องรอจนก๊าซอันตรายต่างๆจำนวนมาก มันเจือจางก่อน ถึงเวลาหรือยังครับ ที่ทำไม...เราต้องจินตนาการถึง เรื่องร้ายที่สุด เพื่อให้เรารู้จักระมัดระวัง ไม่เปิดโอกาสให้มันเสี่ยง แบบที่เจโทรทำไงครับ สมาคมนักลงทุนญี่ปุ่น พอรับรู้เรื่องนี้แล้ว ตอบจดหมายทันทีเลย เพราะรู้ว่ามันไม่ปกติ แต่ไม่รู้ว่า เขากดดันอะไรรัฐบาลกับเรื่องนี้บ้าง เพราะเราได้ทำจดหมายขอบคุณจดหมายที่ตอบมา และขอให้เขาหาช่องทางที่เหมาะสมดำเนินการหยุดความเสี่ยงสูงมากนี้ โดยไปเร่งรัดรัฐบาลจัดการปัญหาความเสี่ยงของโรงแยกก๊าซ ปตท. - อยากรู้อะไรอีกช่วยถาม แล้วผมจะตอบแบบบ้านๆง่ายๆ หรือจะโทรมาคุยก้อได้ครับ ไม่ว่ากัน

ภาครัฐ นายกรัฐมนตรี รมต. อีกหลายคน รับรู้เรื่องนี้ รวมทั้ง นายสาธิต สส. ระยอง ซึ่งทุกส่วนของรัฐ เก็บข้อมูลจำนวนมากเข้าแฟ้มไว้แล้ว / รอเกิดเหตุ รัฐบาลพร้อมจัดงบเยียวยา แต่เงินไปไม่ถึง มือผู้ประสพภัย จัดงบเยียวยา งานถนัดที่อยากจัดบ่อยๆ เยียวยาบ่อยๆ การแก้ปัญหา คงทำแบบแก้น้ำแล้ง คือนั่งรอเวลาให้ฝนตกลงมา น้ำท่วมปีก่อน เงินเยียวยังแจกไปไม่ถึง ปีนี้กำลังจะท่วมอีกแล้ว

เหตุที่รัฐบาล แก้ปัญหาด้วยการประกาศสภาวะฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยมีเครื่องมือจำนวนมาก ประชาชนจำนวนมาก สื่อจำนวนมาก เจ้าหน้าที่รัฐจำนวนมาก และใช้งบประมาณจำนวนมาก - แต่ทำไม ... ยังปล่อยให้เกิด - อดีตทำให้เรารู้ว่าปัจจุบันจะต้องตัดสินใจอย่างไร กับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง

เผาราชประสงค์ และสถานที่ราชการต่างๆ น่าจะเป็นเรื่องที่ทุกส่วนต้องตระหนัก ว่าเรื่องนี้รัฐบาลเองและกลุ่มนักธุรกิจต่างๆ รับรู้กันมานานมากกว่า 4 เดือนว่าจะเกิดเหตุการณ์ขึ้น ถามว่า มีการระวังป้องกันอย่างไร รัฐบาลเองบอกว่าประชาชนอย่ายุ่งจะเป็นเรื่องลุกลาม สุดท้ายรัฐบาลก้อป้องกันไม่ได้ ครั้นจะชดเชยอะไรๆ รัฐบาลก้อไม่สามารถทำได้ และยังมีอีกหลายฝ่ายออกมาว่า ทำไมต้องเอาเงินภาษีประชาชนมาชดเชย ข้อผิดพลาด การดำเนินการที่ผิดพลาดของรัฐบาล และตรงนี้เองที่บอกว่า โรงงานต่างๆในมาบตาพุด นักลงทุนต่างๆ รวมทั้งหอการค้าต่างๆ ที่ต้องออกมารักษาผลประโยชน์ของตัวเอง คงรวมทั้งนักธุรกิจ พ่อค้าแม่ขาย ในมาบตาพุดด้วย อุตส่าห์ขวนขวาย หาเงินสร้างตัวตน สร้างความรุ่งเรือง กันมาแบบเหนื่อยยากยาวนาน ถ้าวันหนึ่งมันต้องมอดไหม้ ไปในทะเลเพลิง ก้อเป็นเพราะวันนี้ ไม่ได้ออกมาเรียกร้องให้ ปตท. หยุดเพื่อปลดปล่อยความเสี่ยง หรือจะอยู่กับความเสี่ยงกันไป จึงอยากให้ดู เหตุไฟไหม้ราชประสงค์และสถานที่ราชการต่างๆ ที่หลายส่วนหลายฝ่าย คิดว่ามันไม่น่าเกิดมันก้อเกิดไปแล้ว

(เผาราชประสงค์ = ความประสงค์ของพระราชา ถูกเผาผลาญ)

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นายกฯ มีอำนาจสั่งปลดล็อค จริงหรือ!!! ทำไม ไม่รอศาลสั่ง ...

นายกฯ มีอำนาจสั่งปลดล็อค จริงหรือ!!!

หรือยังต้องรอศาลปกครองมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ... คำสั่งเดิม ที่สั่งคุ้มครองชั่วคราว

หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลับไปศึกษาการประกาศ 18 ประเภทกิจการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
ในวันนี้(23 ส.ค.) ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวลด้อมแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน คาดว่าจะสามารถประกาศประเภทกิจการดังกล่าว เพื่อปลดล็อกโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งขณะนี้มีอยู่ 64 โครงการที่ยังรอความชัดเจนจากคณะกรรมการชุดดังกล่าว และให้เป็นไปตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม 18 ประเภทกิจการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน เป็นไปตามการเสนอของคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน

มาร์คเคาะมาบตาพุดวันนี้
0
เอกชนคาดหวังเดินหน้าสร้างเชื่อมั่น-ดึงลงทุนบูม

เอกชนลุ้นระทึกบอร์ดสิ่งแวดล้อมเคาะประเภทกิจการรุนแรงจันทร์นี้ หวังกิจการเดินหน้าฟื้นเชื่อมั่นหลังล่าช้ามานาน เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกหวังชัดเจนทั้งประเภทและพื้นที่ ยันเขตควบคุมมลพิษทุกกิจการควรทำเอไอเอ

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ภาคเอกชนมีความคาดหวังจะเห็นการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (บอร์ด สวล.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 23 ส.ค.นี้ จะสามารถกำหนดประเภทกิจการที่มีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ อย่างเป็นทางการให้ชัดเจน เพื่อกำหนดกรอบการปฏิบัติตามมาตรา 67 (2) แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยเฉพาะกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ซึ่งที่ผ่านมาได้ใช้เวลานานไปพอสมควรแล้ว หากต้องล่าช้าไปอีกจะยิ่งฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนให้ต่ำลง

ตามที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ไขปัญหามาบตาพุดได้วางกรอบประเภทกิจการรุนแรงไว้ 18 ประเภทนั้นไม่ได้หมายความว่าจะแก้ไขไม่ได้ แต่ไม่ใช่ปรับจนไม่เหลือเค้าโครงเดิมเท่านั้น ซึ่งถ้าเห็นว่าบางกิจการยังไม่ชัดเจนก็ค้างไว้ก่อน แต่ที่เหลือควรจะประกาศออกมานักลงทุนจะได้ชัดเจนว่าจะต้องทำอย่างไรไม่ใช่คลุมเครือเช่นทุกวันนี้ ซึ่งหากต้องช้าไปอีกคงจะต้องชี้แจงเหตุผลด้วย โดยเอกชนยืนยันว่า HIA ในโลกนี้ไทยแทบจะดีที่สุดแล้วนายพยุงศักดิ์ กล่าว

นายชุษณะ วีระพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงงาน บริษัท ไทยน๊อคซ์ สเตนเลส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการผลิตเหล็กแผ่นไร้สนิมรีดเย็น ระยะที่ 3 ตั้งอยู่ที่สวนอุตสาหกรรมระยอง อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง เป็นหนึ่งในโครงการที่ถูกคำสั่งศาลปกครองระงับชั่วคราว ขณะนี้บริษัทฯ อยู่ในระหว่างการรอสรุปบัญชีรายชื่อประเภทกิจการรุนแรง ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) และเปิดประชาพิจารณ์เสร็จสิ้นแล้วในทุกกระบวนการโดยดำเนินการร่วมกับภาคประชาชน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐในจังหวัดระยอง ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างกว้างขวาง และกำลังสรุปผลขั้นสุดท้ายเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนอีกครั้งในเดือนตุลาคมนี้ จากนั้นจะนำเสนอรายงานต่อสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรแห่งชาติ (สผ.) ต่อไป

นายสุทธิ อัฌชาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า ทุกฝ่ายรอการประกาศประเภทกิจการรุนแรงอยู่ซึ่งหากจะต้องรอไปอีกจะต้องมีเหตุผล เพราะที่ผ่านมาถือว่าได้มีการเปิดประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวาง ซึ่งเครือข่ายฯ ต้องการเห็นการประกาศทั้งประเภทกิจการรุนแรงและพื้นที่ที่ชัดเจน ซึ่งหากไม่กำหนดจะเป็นการไปเพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการวินิจฉัยตีความซึ่งอาจนำมาซึ่งความไม่โปร่งใสได้ในระยะยาว

เราต้องการเห็นการประกาศประเภทและพื้นที่กิจการรุนแรงซึ่งได้หารือเรื่องนี้กับนายกฯ ไปแล้ว เช่นกรณีจังหวัดระยองควรจะเป็นกิจการรุนแรงทั้งหมดเพราะถือว่าเป็นเขตควบคุมมลพิษ กรณีกิจการบางอย่างไม่เข้าข่ายแต่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ก็ควรจะถือเป็นกิจการรุนแรงที่จะต้องทำ HIA” นายสุทธิ กล่าว

นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีเออาร์ กล่าวว่า คาดหวังว่าการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (บอร์ดสิ่งแวดล้อม) ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ จะมีการกำหนดประเภทกิจการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างร้ายแรงออกมาได้ เพื่อให้เอกชนมีกรอบในการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เพราะไม่เช่นนั้นก็จะไม่รู้ว่าโครงการไหนเข้าข่ายเป็นกิจการรุนแรงหรือไม่เป็นกิจการรุนแรง นอกจากนี้ยังทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ครบตามองค์ประกอบกฎหมาย

ที่ผ่านมาก็ถือว่าการดำเนินการล่าช้ามาพอสมควรแล้ว ภาคเอกชนจึงอยากให้มีการประกาศประเภทกิจการรุนแรงออกมา ซึ่งหากมีการประกาศออกมาก็จะทำให้ช่วยฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งเก่าและใหม่ให้ตัดสินใจกลับเข้ามาลงทุนไทยได้"

นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ได้กำหนดทิศทางนโยบายส่งเสริมการลงทุนในอีก 3 ปี ข้างหน้า (2553-2555) เน้นเรื่องการลงทุนที่ยั่งยืนมากขึ้น บีโอไอศึกษามาตรการสิทธิประโยชน์การลงทุน 4 ด้าน คือ 1.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่อุตสาหกรรมความรู้ 2.การพัฒนาความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3.การส่งเสริมการลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน 4.การสร้างฐานอุตสาหกรรมและบริการจากความคิดสร้างสรรค์และความเป็นไทย คาดว่าจะเสนอรายงานผลการศึกษาสิทธิประโยชน์อุตสาหกรรมบริการให้บอร์ดบีโอไอพิจารณาในเดือน กันยายน

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เตรียมขึ้นป้าย ที่มาบตาพุด ถ้ารัฐบาลประกาศปลดล็อคโรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. เสี่ยงทรุดพังระเบิด ในเร็ววันนี้


กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น เตรียมขึ้นป้าย ที่มาบตาพุด
ถ้ารัฐบาลประกาศปลดล็อคโรงแยกก๊าซ ปตท. เสี่ยง!!!
ทรุดพัง อาจระเบิดลุกลามร้ายแรง
ผลกระทบรุนแรง ทุกชีวิต ทุกโรงงาน ในมาบตาพุด
รู้ว่า เสี่ยงสูงมาก ... มาตั้งนาน ไม่ทำอะไร
ถึงวันนี้ จะประกาศให้โรงแยกก๊าซ เป็นโครงการไม่ส่งผลกระทบรุนแรง
เห็นชีวิตคนมาบตาพุด เห็นคนมาบตาพุด เป็นตัวอะไรรึ

ป้าย ขนาด ความยาว 10 เมตร สูง 2-3 เมตร
ติดบริเวณสะพานลอยมาบตาพุด 2 ชุด
หน้าศูนย์ราชการ 4 ชุด 2 ฝั่งถนน ฝั่งละ 2 ชุด
เกาะกลางถนนเลี่ยงเมืองมาบตาพุดเข้านิคม 2 ชุด
บริเวณหน้าโรงแยกก๊าซ เสี่ยง 2 ชุด
รวม 10 ชุด งบประมาณ 18,000-20,000 บาท
ป้ายแบบไหนดี บอกพฤติกรรม ... รัฐบาล จอมสร้างภาพ

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ระยอง แถลงข่าว - เรื่องโรงแยกก๊าซ ใหม่ ปตท. เสี่ยง - 8 สิงหาคม 2553

ข่าวที่อาจแถลงไม่หมด หรือจดกันไม่ทัน

สวัสดีครับ ผมนายศรัลย์ ธนากรภักดี ในนามผู้ประสานงานกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ระยอง และเป็นวิศวกรโยธา ครับผมจะพูดช้าๆ จะได้จดทัน หรือบันทึกทัน เพราะเรื่องที่จะพูดนี้มีความอ่อนไหวมาก

หลายเดือนก่อน เราพูดกันถึงเรื่อง ปัญหาอุบัติภัยสารเคมีและก๊าซอันตราย โรงงานอันตรายต่างๆ ที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เราพูดกันเราประชุมกัน หาข้อสรุปกัน นานมากกว่า 9 เดือน จนบัดนี้ดูเหมือนยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน

แต่ วันนี้ ที่ผมจะพูด จะพูดเรื่อง หายนะภัย ที่มีผลกับชีวิตและสภาวะแวดล้อมในวงกว้าง และจะส่งผลกระทบกับเรื่องเศรษฐกิจด้วย ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่ใหญ่เอามากๆ เพราะเมื่อไม่กี่วันมานี้ ทางกลุ่มได้ทำจดหมายถึง ประธานเจโทร กรุงเทพ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ส่งไปตอนดึกของคืนวันอังคาร ที่ 3 ส.ค. ได้จดหมายถูกตอบ เช้าวันศุกร์ที่ 6 ส.ค. คิดดูสิครับ จดหมายฉบับนี้ ท่านประธานเจโทร คงได้อ่าน ตอนสายๆ หรือบ่าย วันพุธที่ 4 ส.ค. พร้อมกับดูรายละเอียดต่างๆ ตามที่จดหมายอ่านถึง ดูข้อมูลต่างๆ ประกอบการตัดสินใจที่จะตอบ วันพฤหัสที่ 5 ส.ค. ตอนสายๆ อาจจะตัดสินใจที่ จะตอบ เพราะต้องร่าง และตรวจทาน อย่างรอบคอบ ถึงแม้จะตอบ คนที่ไม่เคยรู้จัก แต่ชื่อคุ้นเคยมาก จดหมายที่กลุ่มส่งไป ในนาม คนมาบตาพุด ระยอง ท่านประธานเจโทร คงต้องตอบด้วยความระมัดระวังมาก เพราะเป็นเรื่องที่อาจส่งผลกระทบกับธุรกิจและนักลงทุนของชาวญี่ปุ่นด้วย ท่านตอบมาด้วยความเร่งร้อนที่ต้องใช้ความรอบคอบ แสดงถึงความกังวลและห่วงใยในปัญหานี้ พร้อมกับแจ้งมาซ้ำๆย้ำๆ ถึงวิธีคิดและดำเนินการต่างๆ ของชาวญี่ปุ่น นักธุรกิจญี่ปุ่น เกี่ยวกับโรงงาน และความแข็งแรงปลอดภัยของโครงสร้าง และอ้างถึงสามัญสำนึกของชาวญี่ปุ่น ว่ามีความใส่ใจกับเรื่องความปลอดภัยเรื่องความแข็งแรงของโครงสร้างต่างๆมาก เพราะประเทศญี่ปุ่นต้องเผชิญหายนะภัยจากธรรมชาติที่โหดร้าย บ่อยครั้ง ทั้งแผ่นดินไหว ทั้งพายุต่างๆ ประกอบกับมีประชาชนจำนวนมาก ถึง 120 ล้านคน ในพื้นที่จำกัด มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก จึงเป็นเรื่องที่บอกว่า คนญี่ปุ่นทำไมต้องสนใจเรื่องความปลอดภัยกับการก่อสร้างต่างๆ มาก และมีความเข้าใจดีกับเรื่องที่พึ่งได้รับรู้ ... หายนะภัยของมาบตาพุด ที่รอว่าจะเกิดวันไหน และกำลังเผชิญกันอยู่กับความเสี่ยงนั้น ในขณะนี้ และหวังอย่างสูงยิ่งว่า ครับต้องใช้คำว่าหวังอย่างสูงยิ่ง เพราะใช้ว่า Highly Hope หวังอย่างสูงยิ่งว่า นายกอภิสิทธิ์ และรัฐบาลไทย จะจัดการปัญหานี้อย่างเหมาะสม ยังงงว่า ทำไมไม่หยิกมือนายกอภิสิทธิ์ ที่จะให้หยุดความเสี่ยงนี้ โดยพลัน เพราะเรื่องราวนี้ นายกอภิสิทธิ์ รมต. ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ รับรู้เรื่องนี้ กันมานานมากแล้ว และยังย้ำอีกว่า รัฐบาลจะให้ปฏิบัติต่อเรื่องนี้อย่างไร แต่ผมเชื่อว่า ญี่ปุนไม่ถึงขนาดจะถอนการลงทุน

มาถึงตอนนี้ เรามาดูครับว่า อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้ท่านประธานเจโทร ต้องตอบ จดหมายอย่างเร่งด่วน และเรื่องนี้เป็นเรื่องอะไร ผมอยากให้ พักหูดูวีดิโอ เรื่องนี้กันก่อน ดูแล้ว จะอึ้ง!!! ว่าเกิดเหตุนี้ กับประเทศไทย โดยบริษัท ที่น่าเชื่อถือมากที่สุด ในประเทศ และรัฐบาลไทยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รับรู้กันนานมากแล้วแต่ทำไมกลับนิ่งเฉยกันหมด โดยไม่ทำอะไรเลย เป็นเวลานาน ....

....................................

ผมเป็นวิศวกรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ มาตั้งแต่เรื่องราคา เรื่องแผนงานที่เร่งรัด เรื่องการนำเสนอแผนที่จะเข้าทำงาน ให้ได้ประสิทธิผล ให้คำแนะนำปรึกษา ในหลากหลายเรื่อง ติดตามเร่งรัดงาน แต่ไม่เคยได้เข้าไปดูหน้างานเลย เข้าไป 1 ครั้ง เพื่อร่วมประชุมตอนวัสดุนั่งร้านไม่เพียงพอ แต่มีความเร่งด่วนมาก ไม่ได้ไปยืนตากแดดดูงาน คุมงาน ก้อแบบนั้นครับ

และความจริง ผมคิดว่าสื่อมวลชน จำนวนมากรับรู้เรื่องนี้กันมานานมากระดับหนึ่ง แต่ไม่รู้ทำไมเฉยชากันอยู่นาน รายละเอียดเยอะ แต่น่าที่จะเข้าใจได้ง่าย เพราะทางกลุ่มเองนำเสนอให้ดูแบบง่ายๆ โครงสร้างหอพิเศษสำคัญสูงเท่าตึก 10 ชั้น โดยไม่ตอกเสาเข็ม ไม่น่าที่จะต้องใช้ เทคนิคอะไรมากในการอธิบาย หรือเข้าใจ เพราะน่าจะเป็นสำนึกของคนโต ก้อน่าที่จะเข้าใจอะไรได้ง่ายๆ แต่ดูเหมือน ทุกภาคส่วนไม่เข้าใจ ทุกฝ่ายเงียบกันหมด เหมือนกับรอให้เกิดเหตุก่อนหรืออย่างไร ให้มีผู้คนตายกันมากๆ ก่อน หรืออย่างไร (ตรงนี้ หลายคนในกลุ่มฝากมาถาม)

ผมขอตอบคำถามไม่มาก และเรื่องราวรายละเอียด วิดีโอต่างๆ ให้ไปดูในเวบบล็อกที่มีจำนวนมาก รวมทั้งประวัติของกลุ่ม ของตัวผม อยู่ในนั้นทั้ง หมด

เวบบล็อก ข้อมูลต่างๆ วีดิทัศน์ คำฟ้อง

http://khonmaptaphut.blogspot.com/

http://airfresh-society.blogspot.com/

อีเมล์

airfresh.society@gmail.com

khon.maptaphut@gmail.com

ผู้ประสานงานกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ระยอง

ศรัลย์ ธนากรภักดี โทร.081-357-4725

กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ระยอ

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

The new PTT gas separation plant with no piles all foundations - ภาพหลุด !!! นายกอภิสิทธิ์

The new PTT gas separation plant with no piles all foundations,

โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ปตท. เสี่ยงทรุดพัง จากการไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด

The new PTT gas separation plant with pressurize tower equivalent to ten storey building has been built in Maptaphut Rayong. To save money and time, the PTT's engineers claimed load bearing foundation is sufficient. If accident occurs, the explosion could cause heavy damages to within 2.5 kilometers radius (LPG Tank Farm about 4,200 Gas-Trucks), jeopardize nearby urban area. People are worried and had sent numerous petitions to authorities that are turning deaf ears.

ในช่วงเวลา 4-5 ปี มีปัญหาการเมืองเรื่องอดีตนายกทักษิณ ภาคอุตสาหกรรมในมาบตาพุด หมกเม็ดก่อสร้างโดยปราศจากความมั่นคงแข็งแรง เพราะโรงงานจะเสร็จช้าไปอีก 6-8 เดือน จึงละเลยที่ไม่ตอกเสาเข็ม หอต้มหอกลั่นหอความดัน สูงมากกว่าตึก 10 ชั้น ทั้งๆที่ควรจะทำให้แข็งแรงเป็นพิเศษ เพราะโรงงานเกิดระเบิดได้ การระเบิดอาจลุกลามไปยังคลังก๊าซคลังสารเคมีที่มีจำนวนมาก ประมาณว่ามีรถก๊าซจอดรวมกันอยู่ 4,200 คัน ถ้ามีรถคันหนึ่งคว่ำ อยู่ใกล้ๆ กัน มันจะน่าสยดสยองขนาดไหน คนในที่อื่นๆ คงไม่รู้สึกเหมือนคนแถวมาบตาพุด เพราะมันอยู่ห่างจากตลาดแค่ 1-2 กิโลเมตร เท่านั้นเอง
โรงงานมีปัญหา-กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบระบบ - โรงแยกก๊าซ ที่ 6 โรงแยกก๊าซอีเทน
ขณะนี้เป็นช่วงของฤดูฝน การที่ฝนตกติดต่อกันหลายวัน จะทำให้ดินชุ่มไปด้วยน้ำและลดการรับแรง รับน้ำหนักต่างๆ ประกอบกับการมีพายุลมแรง อาจจะทำให้เกิดการล้มพังของโครงสร้างที่ไม่ได้ตอกเสาเข็มได้ เช่นดังต้นไม้ใหญ่แม้มีรากหยั่งลึกเสมือนเสาเข็มที่ยึดโยงแล้วนั้น ยังล้มยกทั้งรากทั้งดินขึ้นมาเพราะเจอพายุฝนลมแรง ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลขวัญแขวนในส่วนผู้ที่ได้รับรู้ข้อมูลเรื่องนี้แล้วจำนวนมาก ช่วงมีฝนตกหนักและมีพายุลมแรง

- เรื่องราวนี้ ส่งกับมือ นายกรัฐมนตรี เมื่อ 16 ม.ค. 53 ส่งทางอีเมล์ ถึง รมต. 2 ท่าน และท่านเลขา ปณิธาน พักเรื่องม๊อบทักษิณ จบเรื่องรัฐบาลตกแตก รอฝนตกลงมา อีก 1-2 เดือน คงมีเรื่องใหญ่ๆ ให้ตามเยียวยาอีกแน่ๆ ที่มาบตาพุด (รู้ว่าไฟจะไหม้จะมีการเผา รู้ล่วงหน้าเป็นเดือน แล้วทำไม มันจึงวอดวายทั้งกลางกรุงและศาลากลางต่างจังหวัด)

กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น ยื่นหนังสือ กับนายกอภิสิทธิ์

โรงแยกก๊าซ ที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน ของ ปตท.
(ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี 6 เดือน - มิย. 51 - ธ.ค.52)
The new PTT gas separation plant, GSP6 and ESP Project
Construction in June 2008 - December 2009 (One and a half Years)


แจ้งให้ นายกอภิสิทธ์ รับรู้ มาตั้งแต่ 16 มกราคม 2553
แจ้งให้ อดีต นายก อานันท์ ปันยารชุน มาตั้งแต่ 2 เมษายน 2553
(ประธาน คณะกรรมการ 4 ฝ่าย แก้ปัญหามาบตาพุด)
แจ้งให้ คณะอนุกรรมการรับฟัง ปัญหามาบตาพุด 26 มีนาคม 2553
แจ้งให้ นาย ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ CEO ปตท. เมื่อ 19 ธันวาคม 2552
แจ้งไปยัง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เมื่อ 9 เมษายน 2553
แจ้งไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัด ระยอง เมื่อ 9 เมษายน 2553
แจ้ง ไปยัง นายสาธิต ปิตุเตชะ สส ระยอง เมื่อ 16 เมษายน 2553
แจ้งไปยัง ศาลปกครอง ให้เร่งรัดไต่สวน ฉุกเฉิน เมื่อ 27 พฤษภาคม 2553
ศาลปกครอง ยกคำร้องขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน มองไม่เห็นความเสี่ยง
แล้วภาพนี้ ควรจะแจ้งใครต่อ ...
หรือคนอยู่ที่อื่นๆ ของประเทศนี้ คิดกันอย่างไร!!!!
หรือ สุดแล้วแต่เวรแต่กรรม ... ของคนมาบตาพุด


Explanation for Soil Bearing Capacity 30 ton/m2,
It can build Water Tank 30 m high with no settlement only 1 cm.
in Factory Life Time 25-30 Years.

คลิ๊กขวาที่รูป-เปิดในหน้าต่างใหม่ เพื่อดูรูปขนาดใหญ่
right click at the picture for open big size in new window

***********

โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
All Special Structures Have No Piles Founations!!!
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
All Special Structures Have No Piles Founations!!!
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
All Special Structures Have No Piles Founations!!!
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
All Special Structures Have No Piles Founations!!!
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
All Special Structures Have No Piles Founations!!!

High Investment cannot to be firmed, they will not collapse and explode.

ภาพการก่อสร้างฐานรากของโรงแยกก๊าซที่ 6 ใช้เวลางานโยธา 4-5 เดือน
Precast Concrete Foundations were installed in Rainy Season in Jun.-Nov.2008

3 New High Pressure Spherical LPG Tanks Drawing.
However in Other Place, It was collapsed.

******
ภาพน้ำท่วมโรงแยกก๊าซ ปตท. มาบตาพุด เมื่อวันจันทร์ ที่ 12 กรกฎาคม 2553
PTT Gas Separation Plant Flooding on 12 July 2010

สภาพหน้าโรงแยกก๊าซ ปตท. มาบตาพุด บ่ายแก่ๆ วันจันทร์
ฝนตกหนัก พายุลมแรงน้ำท่วม จนรถจมน้ำ
ภาพนี้อยากให้ นายกอภิสิทธิ์ กับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ได้ดู ก่อนสรุปประกาศโครงการไม่ส่งผลกระทบรุนแรง
ได้ดูได้คิดก่อนตัดสินใจ อีกครั้ง
โรงงานที่อ้างว่าดินแข็งแรงมากเป็นพื้นที่น้ำท่วนขัง
น้ำฝนไหลหลาก ดินชุ่มน้ำนานๆมันอ่อนตัว
ที่ก่อสร้างไว้ไม่แข็งแรง มันก้อจะทรุดจะพังได้ง่าย
Front of PTT Gas Separation Plant on Monday Evening 12 Jul. 53.
It was flooded by 3-4 hours with medium rain.
These pictures were sent to Thai Government, Abhisit(PM), Kobsak(minister), Korn(minister), Satith(minister), Satith Rayong's Assemblyman , the Environment Committee
for their decisions and comments making but no sound back.
It Show What Risk!!!
ตรงนี้ไง ... ที่บอกว่าเสี่ยง เสี่ยงอย่างไร
http://www.oknation.net/blog/airfresh-society/2010/06/09/entry-1
PTT Gas Separation Plant on Monday Evening 12 Jul. 53. (FLOOD)
The plant referred to highest soil bearing but it was flooded after rain.
High Pressurized Tower equivalent 10 story building and all special structure with no piles foundation.
LPG Gas Tank Farm by 12 High Pressure Spherical Tanks
(LPG Gas Volume as 4,200 Gas-Trucks)
น้ำท่วมโรงแยกก๊าซ ปตท. เพราะฝนตกหนัก 12 ก.ค. 53
โรงแยกก๊าซ ปตท. ที่อ้างว่าดินแข็งแรงมากที่สุด
ในมาบตาพุด จนไม่ต้องตอกเสาเข็ม
เป็นร่องน้ำ ฝนตกครึ่งวัน น้ำก้อท่วม พื้นที่น้ำท่วม ดินแข็งแรง จริงหรือ!!!
ฐานรากหอสูงเท่าตึก 10 ชั้น เสาเข็มไม่ตอก ทรุดพัง ขึ้นมา
คลังก๊าซ แอลพีจี ขนาดเทียบเท่ารถก๊าซ 4,200 คัน
ถ้าเกิดระเบิดลุกลามไปยังชุมชน-โรงงานอื่นๆ นึกภาพไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร
อนิจา! น่าสงสารคนมาบตาพุด กินอยู่หลับนอนท่ามกลางความเสี่ยง
The below VDO is the BLEVE Explosion in New Petchburi Road,
Last 20 years (24 September 1990)

จำลองเหตุ รถก๊าซระเบิด ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ ปี 2533 ครบรอบ 20 ปี พอดี!!!

กรณีศึกษาเรื่อง การทรุดตัวของฐานรากตื้น (ไม่ตอกเสาเข็ม)

ใน 3 โครงการของ ปตท. มาบตาพุด ระยอง

The Settlement of Shallow Foundation in 3 PTT's Project

in Maptaphut Rayong Thailand.



งานก่อสร้างฐานราก และงานตอกเสาเข็มแข็งแรงมาก
ในการก่อสร้างโรงงานก๊าซ ในเกาหลีใต้
แต่ทำไม เวลามาก่อสร้างในประเทศไทยทำกันแบบง่ายๆ ไม่กลัวจะทรุดจะพัง
GAS PLANT CONSTRUCTION IN SOUTH KOREA
Foundation and Piling Works, It concerned to high and performed safety.
Korea Contractor in Main-Contractor for PTT Gas Separation Plant