วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หอฯญี่ปุ่นเดือด ขู่ย้ายฐาน มาบตาพุดไม่คืบ




หอฯญี่ปุ่นเดือด ขู่ย้ายฐาน มาบตาพุดไม่คืบ - ไปไหนได้ไกล ตอบไปแรงๆ สิ กม. เมืองไทย คล้ายญี่ปุ่น
ปธ.หอการค้าแห่งญี่ปุ่นเดือด ขู่รัฐย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทย หากยังไม่มีความชัดเจนในการแก้ปัญหามาบตาพุด ระบุไม่รู้จะไปตอบรัฐบาลญี่ปุ่น-นักลงทุนว่าอย่างไร ถ้ายังไม่จบในเร็ววันนี้จะเสียโอกาส...เมื่อวันที่ 28 ม.ค. นายโย จิซุกะตะ ประธานหอการค้าแห่งประเทศญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย เปิดเผยหลังประชุมร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า สมาชิกของหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (เจซีซี) ที่อยู่ในประเทศไทยจำนวน 1,314 บริษัท แจ้งว่าในจำนวนนี้มี 500 บริษัทได้รับผลกระทบจากการชะลอการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี, เหล็ก และการเงิน เพราะไม่แน่ใจว่า สิ่งที่รัฐบาลไทยแจ้งว่าจะให้เวลา 6 เดือน ในการแก้ไขปัญหาจะจบลงเมื่อใด ช่วงเวลาใด เพราะเป็นคำพูดของรัฐบาลไทย เนื่องจากนักลงทุนญี่ปุ่นไม่มีความแน่ใจ ทั้งนี้ หากยังไม่มีความชัดเจน อาจจะมีการย้ายฐานการลงทุนออกจากประเทศไทยประธานหอการค้าแห่งประเทศญี่ปุ่น กล่าวด้วยว่า เจซีซีต้องการให้รัฐบาลไทย หาทางยุติปัญหาดังกล่าวให้เร็วที่สุด อย่าห่วงเพียงเรื่องการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายๆ ชุด เพื่อแก้ปัญหานี้ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า เพราะมองว่าปัญหาทุกอย่างควรจบให้เร็วที่สุด เนื่องจากเจซีซีไม่สามารถไปตอบคำถามกับรัฐบาลญี่ปุ่น และนักลงทุนญี่ปุ่นรายใหม่ ที่กำลังจะเลือกเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการเสียโอกาส.
เจโทรเข้าพบ"มาร์ค"จี้สางปมมาบตาพุด ยอมรับยุ่นทบทวนแผนลงทุน ยังหวังกล่อมให้เข้าใจได้ สบโอกาสงานสัมมนา พร้อมชี้แจงแถลงไข ...เมื่อเวลา 13.30 น. ที่รัฐสภา นายมูเนโนริ ยามาดะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯหรือเจโทร (JETRO) เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกรณ์ จาติกวณิชย์ รมว.คลัง นายเกียรติ สิทธิอมร ประธานผู้แทนการค้าไทย ที่ห้องรับรองนายกรัฐมนตรีชั้น 2 อาคารรัฐสภา 1 เพื่อหารือและรับทราบแนวทางในการแก้ไขปัญหามาบตาพุดของรัฐบาล หลังจากเกิดปัญหาจนทำให้การลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นต้องหยุดชะงักโดยใช้เวลาใน การหรือประมาณ 30 นาที จากนั้นนายอภิสิทธิ์ แถลงผลการหารือกับประธานเจโทรว่า ได้มีการอธิบายให้ทราบว่าประเด็นที่เกิดขึ้นไม่ใช่ประเด็นของนโยบายรัฐบาล แต่เป็นเรื่องของการตีความกฎหมาย เพราะว่าสิ่งที่ภาคธุรกิจเขาจะเข้าใจได้ยากก็คือเสมือนกับว่ารัฐบาลอนุญาต ให้เขาทำบางสิ่งบางอย่างไปแล้วต่อมากลับไม่ให้เขาทำ ก็อธิบายให้เขาฟังว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่รัฐบาลเปลี่ยนแปลงนโยบาย แต่เป็นเรื่องของการตีความกฎหมายที่เราต้องเคารพความเห็นของศาล และขณะเดียวกันก็ได้อธิบายให้ทราบถึงแนวทางที่แก้ไขปัญหาอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเขาก็บอกว่าเขาก็ดีใจที่ได้เห็นรัฐบาลให้ความสำคัญและใส่ใจในเรื่องนี้ เพียงแต่ว่าการคลี่คลายเรื่องนี้เขาก็อยากเห็นเกิดขึ้นโดยเร็วเพราะว่าถ้า เนิ่นนานไปก็ย่อมกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนผู้สื่อข่าวถามว่า เขาเข้าใจในกระบวนการทางศาลของไทยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ได้อธิบายเพราะว่าในขณะนี้สิ่งที่เราจะร้องขอต่อศาลก็คือเรื่องของการ ก่อสร้าง ขณะเดียวกันกระบวนการที่จะไปทำตามมาตรา 67 วรรคสอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น