วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

BLEVE !!!!

BLEVE

From Wikipedia, the free encyclopedia

เรื่องการระเบิดของสารเคมีที่สามารถเกิดขึ้นในโรงงานปิโตรเคมีครับ โดยส่วนใหญ่แล้วสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามกลไกของการเกิดระเบิดออกเป็นดังนี้ ครับ
จาก http://www.4uengineer.com/modules.php?name=News&file=article&sid=30

1. Vapor Cloud Explosions: VCE

ระเบิดชนิดนี้เกิดบ่อยมากที่สุดในอุตสาหกรรมเคมีทั้งหลายโดยที่จะเป็นการระเบิดจากของสารไวไฟในสภาพก๊าซ โดยที่การระเบิดประเภทนี้มีลักษณะการเกิดตามขั้นตอนดังนี้

1. ก๊าซไวไฟทั้งหลายรั่วออกมาเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะรั่วออกมาจากรอยรั่วของของถังเก็บก๊าซไวไฟ
2. มีการแพร่กระจายตัวของก๊าซไวไฟออกไปครอบคลุมอาณาบริเวณรอบๆ
3. เมื่อได้สัดส่วนอยู่ในช่วง flammability limit เพราะได้ผสมกับอากาศ
4. มีจุดที่ทำให้เกิดประกายไฟ คือ ignition Source หรือ Ignition Energy ซึ่งจะต้องมีค่ามากพอที่จะทำไห้เกิดการติดไฟด้วยความเร็วสูง ( เพื่อที่จะปลดปล่อยพลังงานออกมาได้เยอะๆ ในเวลาสั้นๆ)
5. เกิดระเบิด vapor cloud explosion ทันที เมื่อ Ignition Source หรือ Ignition Energy มีค่ามากพอ
6. การเกิดลูกไฟ ( Fire Ball ) แทน ที่จะเป็นระเบิดแบบ VCE ถ้า Ignition Source หรือ Ignition Energy มีค่าน้อยไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการระเบิดขึ้นได้

ระเบิดประเภทนี้ ถ้าเป็นก๊าซเชื้อเพลิงจะมีกลิ่นกระจายไปทั่วนะครับ แนะนำให้หนีไปไกลที่สุดจากแหล่งกำเนิด เท่าที่จะทำได้นะครับ โดยเราต้องคาดการณ์เอาเองนะครับว่าแหล่งกำเนิดอยู่จุดใดนะครับ ยกตัวอย่างเหตุการณ์นี้ ก็มี รถก๊าซ LPG ระเบิดที่ถนนเพชรบุรีเมื่อสิบกว่าปีก่อนนะครับ โดยที่เหตุการณ์เกิดขึ้นจากรถก๊าซเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ถังในรถก๊าซแตก และ รั่ว แล้วเกิดปรากฏการณ์ดังตัวอย่างข้างบนครับ งานนี้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากเลย ชาวบ้านนอนอยู่ในตึกแถวดีๆก็ถูกไฟไหม้ครับ

2. Boiling Liquid Expanding Vapor Explosions: BLEVE

BLEVE เกิดเมื่อ vessel ที่เก็บสารไวไฟ (ในรูปของเหลว) ถูกไฟเผา ซึ่งจะทำให้ของเหลวภายใน vessel มีอุณหภูมิสูงขึ้น และทำให้เกิดการระเหยตัวของของเหลวมากขึ้นทุกทีต่อเนื่องไปเรื่อยๆตามช่วงเวลาของการถูกความร้อน ทำให้ความดันภายในถังสูงขึ้นมาก ถึงแม้ว่า vessel มีการติดตั้งวาวล์ระบายความดันแล้วแต่ก็ไม่เพียงพอหรอกครับ เนื่องจากขนาดของวาวล์ระบายความดันอาจจะได้จากการคำนวณหาขนาดในสภาวะปกติ ดันนั้นเมื่อ vessel อยู่ภายใต้สภาวะถูกไฟไหม้ ขนาดของวาวล์ระบายความดันจึงไม่เพียงพอหรอกครับ ดังนั้นเพื่อนๆอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับการเลือกขนาด วาวล์ระบายความดัน : fire case condition
ตอนนี้ผมขอกลับมาที่เดิมดีกว่าครับ อย่างที่เราทราบมาแล้วว่ายิ่งอุณหภูมิสูงขึ้นเท่าไรโลหะ vessel จะสุญเสียความแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้นครับ มาถึงตอนนี้ความดันภายในถังมากขึ้นจนเหนือกว่าความแข็งแรงของ vessel แล้วจะทำให้เกิดการแตกหักของ vessel แล้วจะเกิด BLEVE โดยที่แรงดันของก๊าซภายในจะทำให้ถังแตกออกเป็นเสี่ยงๆ โดยที่บางส่วนของถังจะถูกแรงดันอัดให้ลอยไปไกลได้ และเกิดการฟุ้งกระจายของไอหรือก๊าซที่อยู่ภายในถังเก็บนี้

กรณีนี้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและไทยมุงอันตรายมากนะครับ เพราะบางทีไม่รู้ BLEVE เคยมีตัวอย่างที่ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่ต่างประเทศตายนับสิบขณะดับเพลิงอยู่ ก็เพราะไม่ทราบปรากฏการณ์นี้แหละครับ เราเองก็อย่าไปมุงนะครับ อาจจะตายได้นะ

ก่อนที่จะจบผมขอให้คำศัพธ์เกี่ยวกับไฟเพิ่มเติมนะครับ

Pool Fire
เกิดจากของเหลวที่มีจุดเดือดในบรรยากาศสูงกว่าอุณหภูมิในบรรยากาศขณะนั้นเกิดการรั่วไหลไปตามพื้น เมื่อได้รับความร้อนจนติดไฟ ก็จะเกิดไฟเป็นบริเวณกว้างตามบริเวณของเหลวที่หกเรี่ยราดครับ

Flash Fire
ภายหลังที่สารไวไฟเกิดการรั่วๆไหลออกสู่บรรยากาศ กลายเป็น vapor cloud กลุ่มหมอกก๊าซจะแพร่กระจายไปตามทิศทางลม ซึ่งถูกทําให้เจือจางลงโดยอากาศที่เข้ามารวมกับกลุ่มหมอกก๊าซนี้ ทั้งนี้การแพร่จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ ทางกายภาพของก๊าซ ลักษณะและสภาพของการรั่วไหล และสภาพภูมิอากาศ

Flash fire เกิดจากการที่กลุ่มหมอกก๊าซเหล่านั้นเกิดการจุดระเบิดขึ้นอย่างฉับพลัน(instantaneous) ดังนั้นผู้ที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวจึงไม่สามารถหลบหนีได้ทัน จึงอาจส่งผลให้มีอัตราการสูญเสียชีวิตสูง แต่เนื่องจาก flash fire เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และความเข้มของรังสีความร้อนไม่สูงมากนัก ทําให้ผู้ที่อยู่บริเวณรอบนอกของกลุ่มหมอกก๊าซที่ติดไฟนั้น ไม่ได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต นอกจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อทรัพย์สิน นอกเสียจากว่าจะเกิดเพลิงไหม้อย่างต่อเนื่อง จากวัตถุที่ติดไฟในขณะที่เกิดการลุกไหม้แล้วเกิดการติดไฟอย่างรวดเร็ว แต่ปริมาณของสารและความเร็วของเปลวไฟไม่มากพอที่จะเกิดแรงดันหรือระเบิดได้ครับภายหลังจากที่ก๊าซเกิดการรั่วไหล

Fireball
เกิดจากการการรั่วไหลของสารติดไฟอย่างรวดเร็วมากในช่วงแรก จากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก vessel ฉีกขาดดังที่ผมได้กล่าวข้างบนแล้วครับ จึงทำให้สารพุ่งกระจายสู่บรรยากาศและหากมีการจุดระเบิด เนื่องจากการเกิดไฟฟ้าสถิตย์หรือการเกิดประกายไฟ จะทําให้เกิด fire ball ลักษณะลูกไฟขนาดใหญ่ครับ และอาจตามดัวย Jet fire โดยลักษณะไฟของ BLEVE จะมีลักษณะเป็นลูกไฟ

Jet Fire
เกิดจากสารเคมีที่เก็บไว้ภายใต้ความดันสูงเกิดการรั่วไหลจึงฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศ แล้วเกิดการจุดระเบิดในทันที และเกิดการลุกไหม้ในลักษณะคล้ายคบเพลิง (blow torch) ทั้งนี้เปลวไฟที่เกิดขึ้น จะครอบคลุมระยะทางเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของรูรั่ว และความดันในเส้นท่อ หรือ vessel

ความร้อนที่แผ่กระจายออกมาจากเปลวไฟของ Jet fire จะขึ้นอยู่กับประเภทของก๊าซที่รั่วออกมา โดยทั่วไปอุณหภูมิของเปลวไฟจะอยู่ในช่วง 1,600 - 2,000 องศาเซลเซียส ทั้งนี้เนื่องจาก jet fire มีปริมาณความร้อนสูง (high heat flux) ดังนั้นจึงทําให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ หรือโครงสร้างใดๆ ที่สัมผัสกับเปลวไฟโดยตรง

อันตรายของ fire ball ส่วนใหญ่จะเกิดจากปริมาณการแผ่รังสีความร้อนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว แต่เนื่องจาก fire ball จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง เวลาสั้นๆ ในขณะที่ Jet fire จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน ดังนั้น เมื่อเกิดรอยแตกขึ้นแล้ว ความเสียหายที่เกิดจาก Jet fire จะมีความรุนแรงมากกว่าความเสียหายที่เกิดจาก fire ball


Jump to: navigation, search
A BLEVE erupting from a tanker.

BLEVE (pronounced /ˈblɛvi/ BLEV-ee), is an acronym for boiling liquid expanding vapor explosion. This is a type of explosion that can occur when a vessel containing a pressurized liquid is ruptured. Such explosions can be extremely hazardous.

A BLEVE results from the rupture of a vessel containing a liquid substantially above its atmospheric boiling point. The substance is stored partly in liquid form, with a gaseous vapour above the liquid filling the remainder of the container.

If the vessel is ruptured — for example, due to corrosion, or failure under pressure — the vapour portion may rapidly leak, lowering the pressure inside the container. This sudden drop in pressure inside the container causes violent boiling of the liquid, which rapidly liberates large amounts of vapour. The pressure of this vapour can be extremely high, causing a significant wave of overpressure (an explosion) which may completely destroy the storage vessel and project fragments over the surrounding area.

BLEVEs can also be caused by an external fire near the storage vessel causing heating of the contents and pressure build-up. While tanks are often designed to withstand great pressure, constant heating can cause the metal to weaken and eventually fail. If the tank is being heated in an area where there is no liquid, it may rupture faster without the liquid to absorb the heat. Gas containers are usually equipped with relief valves that vent off excess pressure, but the tank can still fail if the pressure is not released quickly enough.

Bleve explosion.png

A BLEVE can occur even with a non-flammable substance such as water[1], liquid nitrogen, liquid helium or other refrigerants or cryogens, and therefore is not usually considered a type of chemical explosion. However, if the substance involved is flammable, it is likely that the resulting cloud of the substance will ignite after the BLEVE has occurred, forming a fireball and possibly a fuel-air explosion, also termed a vapor cloud explosion (VCE). If the materials are toxic, a large area will be contaminated.[2]

Significant industrial BLEVEs include accidents at Feyzin in France in 1966, Kingman, Arizona in 1973, Texas City, Texas in 1978, Murdock, Illinois in 1983 and San Juan Ixhuatepec in Mexico City in 1984[3]. In 1978, a BLEVE occurred after a road accident with an LPG truck in the Los Alfaques Disaster in Spain.

Some fire mitigation measures are listed under liquefied petroleum gas.

In the firefighting community, BLEVE is sometimes used as a humorous backronym for "big loud explosion very exciting" or "blast leveling everything very effectively."[citation needed]

[edit] See also

[edit] References

  1. ^ http://www.inspect-ny.com/plumbing/Water_Heater_Relief_Valves.htm
  2. ^ http://chemelab.ucsd.edu/processdesign/safety/safety-notes.pdf accessed 2009-01-06
  3. ^ www.hse.gov.uk

[edit] External links

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น