วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พลังงาน ประสาน ปตท ดัน โรงแยกก๊าซ เข้ามุมอับ


วันพฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553
พลังงาน ประสาน ปตท ดัน โรงแยกก๊าซ เข้ามุมอับ
Posted by กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น , ผู้อ่าน : 15 , 20:05:49 น.
หมวด :
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พิมพ์หน้านี้


ปตท. คิดว่า รัฐบาลต้องสนใจ คนในบ้านนี้เมืองนี้ ต้องใส่ใจ ทั้งที่ ปัญหามาจากผู้บริหาร ปตท. เอง จะผลักดัน ยังต้องให้ ราชการ ... วิ่งเข้าไปประสาน ถึงเวลานี้ คงรู้กันแล้ว ว่าทำงานกันแบบไหน คิดว่า บอร์ด ปตท. เหมือน รัฐวิสาหกิจ หรือ บริษัท เอกชน ถึงเวลาแล้วมั้ย ต้องโละทิ้ง ยกชุด !!!

"ปัญหาเศรษฐกิจ - ความรู้สึกผู้คน - ความเสี่ยง ที่ทิ้งไว้กับ ผู้บริหารฯที่ขาดการเอาใจใส่ และถ้าวันหนึ่ง ... เกิดความหายนะ คงไม่ต่างอะไรกับแท่นเจาะที่ปล่อยให้มันใหม้ไฟ อยู่กลางทะเล แล้วออกมาบอกว่า ควบคุมอะไรไม่ได้ ทั้งๆที่มีข้อมูลเตือนล่วงหน้าเป็นเดือน ก่อนที่จะถูกไฟโหมใหม้" - ถ้าต้องตัดสินใจที่จะเลือกแล้ว คงต้องเลือกตัดความเสี่ยง!!! ออกไปแล้วล่ะ กลัวว่า! จะควบคุมมันไม่ได้ แบบที่เคยบอก-เคยเป็น อดีตบอกปัจจุบัน ปัจจุบันบอกอนาคต อนาคตของคนมาบตาพุด ไม่ควรนอนเสี่ยง กับการบริหารงานความเสี่ยง แบบด้อยประสิทธิภาพ ของ ผู้บริหาร ปตท.

พลังงาน เผยประสานงาน ปตท.ยื่นสผ.ตีความโครงการโรงแยกก๊าซแห่งที่ 6 ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อม หวังได้รับความเห็นชอบและเปิดดำเนินการได้เม.ย.นี้ ดันทุรังกันจริงๆ!!!

นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างประสานกับบมจ.ปตท.(PTT) เพื่อหาทางออกในการเดินหน้าโครงการโรงแยกก๊าซแห่งที่ 6 โดยจะยื่นข้อมูลให้กับอนุกรรมการแก้ไขปัญหามาบตาพุด ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ 4 ฝ่าย และ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ(สผ.) เพื่อตีความว่าเป็นโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงหรือไม่

ทั้งนี้ ทางปตท.มองว่าโครงการดังกล่าวน่าจะสามารถดำเนินการได้ เพราะไม่อยู่ในข่ายที่จะส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมรุนแรงจนถึงขั้นต้องระงับกิจการ ซึ่งหากได้รับความเห็นชอบ จาก สผ.ก็คาดว่าโรงแยกก๊าซฯ 6 จะเปิดดำเนินการได้ในเดือน เม.ย.53

แต่หากมีการตีความว่าโรงแยกฯ 6 เป็นโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ก็จะต้องดำเนินการตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ คาดว่าจะใช้เวลาจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)และผลกระทบด้านสุขภาพ(เอชไอเอ) รวมทั้งการรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ประมาณ 6-8 เดือน ซึ่งขณะนี้ ปตท.ก็ได้ดำเนินการควบคู่กันไปอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม นายพรชัย กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานก็ได้วางมาตรการป้องกันปัญหาขาดแคลนก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)ไว้แล้ว กรณีที่โรงแยกก๊าซฯ 6 ต้องล่าช้าออกไปมาก แต่ต้องยอมรับว่าไทยจะต้องนำเข้าแอลพีจีเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อโครงการผลิตปิโตรเคมีที่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบจากโรงแยกฯ หน่วยที่ 6 ดังกล่าว

องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง เรื่องที่ผู้บริหารฯ บังคับให้ลูกน้องเรียนรู้ แต่ไม่ได้ให้อำนาจตัดสินใจ รอกันไปรอกันมา สุดท้าย ... มอดไหม้ไปกับไฟเพลิง

  1. การระบุชี้ว่าองค์กรกำลังมีภัย
    เป็นการระบุชี้ว่าองค์กรมีภัยอะไรบ้างที่มาเผชิญอยู่ และอยู่ในลักษณะใดหรือขอบเขตเป็นอย่างไร นับเป็นขั้นตอนแรกของการบริหารความเสี่ยง

  2. การประเมินผลกระทบของภัย
    เป็นการประเมินผลกระทบของภัยที่จะมีต่อองค์กรซึ่งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การประเมินความเสี่ยงที่องค์กรต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภัยแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด

  3. การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงจากภัย
    การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงเป็นมาตรการที่จัดเรียงลำดับความสำคัญแล้วในการประเมินผลกระทบของภัย มาตรการตอบโต้ที่นิยมใช้เพื่อการรับมือกับภัยแต่ละชนิด อาจจำแนกดังนี้

  • มาตรการขจัดหรือลดความรุนแรงของความอันตรายของภัยที่ต้องประสบ

  • มาตรการที่ป้องกันผู้รับภัยมิให้ต้องประสบภัยโดยตรง เช่น

    • ภัยจากการที่ต้องปีนไปในที่สูงก็มีมาตรการป้องกันโดยต้องติดเข็มขัดนิรภัย กันการพลาดพลั้งตกลงมา

    • ภัยจากไอระเหยหรือสารพิษก็ป้องกันโดยออกมาตรการให้สวมหน้ากากป้องกันไอพิษ เป็นต้น

  • มาตรการลดความรุนแรงของสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร ได้มีการขจัดและลดความรุนแรง โดยออกแบบตัวอาคารให้มีผนังกันไฟ กันเพลิงไหม้รุนลาม
    ไปยังบริเวณใกล้เคียง และมีการติดตั้งระบบสปริงเกอร์ ก็จะช่วยลดหรือหยุดความรุนแรงของอุบัติภัยลงได้

  • มาตรการกู้ภัยก็เป็นการลดความสูญเสียโดยตรง ลงได้มาก

มาตรการกลับคืนสภาพ ก็เป็นอีกมาตรการในการลดความเสียหายต่อเนื่องจากภัยหรืออุบัติภัยแต่ละครั้งลงได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น