วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

วิกฤต อ่าวเม็กซิโก จากการระเบิดของแท่นเจาะน้ำมัน BP


คราบน้ำมันที่สร้างความเสียหายอย่างหนักในอ่าวเม็กซิโก

น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลกว่า 300,000 แกลอนต่อวัน หลังแท่นขุดเจาะน้ำมัน ดีพวอเตอร์ ฮอไรซอน ของบริษัทบีพีระเบิดเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา...

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 26 เม.ย. ว่า เหตุแท่นขุดเจาะน้ำมัน ‘ดีพวอเตอร์ ฮอไรซอน’ ในอ่าวเม็กซิโกระเบิด จนเกิดเหตุเพลิงไหม้นานกว่า 36 ชั่วโมง และ จมลง เมื่อ 22 เม.ย. ที่ผ่านมา ล่าสุด มีรายงานว่า มีน้ำมันรั่วไหลลงทะเลมากกว่า 300,000 แกลอนต่อวัน แต่ทั้งนี้การเก็บกวาดน้ำมัน เป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่กู้ภัยยังไม่พบคนงาน 11 คน ที่สูญหายตั้งแต่วันเกิดเหตุ แต่คาดว่าเสียชีวิตแล้ว แท่นขุดเจาะน้ำมัน ‘ดีพวอเตอร์ ฮอไรซอน’ สร้างเมื่อปี 2544 โดยบริษัทฮุนได ของเกาหลีใต้ สูง 120 เมตร กว้าง 78 เมตร อยู่ห่างจากชายฝั่งเมืองพอร์ตเวนิช ของรัฐหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 84 กิโลเมตร ปัจจุบันดำเนินการขุดเจาะให้กับบริษัท บีพี


April 23 (Bloomberg) -- BP Plc, the biggest oil producer in the Gulf of Mexico, is unlikely to see output suffer after the Deepwater Horizon rig it leased exploded and sank, because the deposit it was drilling was relatively small.

The reservoir probably contains less than 100 million barrels and was of commercial interest mainly because of its proximity to existing pipelines, according to a person with knowledge of the matter who declined to be identified because the information wasn’t public. BP’s output in the area is 450,000 barrels a day.

“It’s not Thunder Horse, it’s not going to set them back three years,” said Iain Armstrong, an analyst at Brewin Dolphin in London. Thunder Horse, BP’s flagship deepwater Gulf project, was plagued by delays before starting production in 2008.

BP Chief Executive Officer Tony Hayward has spent his first three years in charge restoring the company’s reputation for safety following a deadly blast at the Texas City refinery in 2005. BP and rig owner Transocean Ltd. are still working to contain an oil spill, and 11 workers remain missing.

BP planned to tie the well drilled by Deepwater Horizon to the company’s Pompano platform, the person said.

Even though there is no indication that BP was at fault in the accident, the explosion and subsequent oil spill could be damaging to BP’s reputation. Political fallout could also set back the cause of deepwater drilling, where BP is an industry leader.

‘Probably Nobody’s Fault’

“It’s probably nobody’s fault, but in the perception of the media, BP is going to be under pressure,” said Christine Tiscareno, an analyst at Standard & Poor’s in London. “Even though operationally and ethically the company has turned around, this may pull it back.”

The Coast Guard said the oil slick from the platform is 10 miles wide and 10 miles long. Remote-operated vehicles found no new leakages from the well yesterday.

“We are determined to do everything in our power to contain this oil spill and resolve the situation as rapidly, safely and effectively as possible,” BP’s Hayward said in a statement today. “We have assembled and are now deploying world-class facilities, resources and expertise, and can call on more if needed.”

If the 11 workers still missing were killed, it would be the deadliest U.S. offshore rig explosion since 1968, when 11 died and 20 were injured at a platform owned by Gulf Oil Corp., according to data from the Minerals Management Service.

Texas City

The March 2005 explosion of BP’s Texas City refinery, which killed 15 and injured hundreds, occurred when gasoline spilled into an antiquated vent system and ignited in a vapor-cloud explosion. The U.S. Occupational Safety and Health Administration in October 2005 found more than 300 safety violations and fined London-based BP, Europe’s biggest oil company, $21 million following an investigation.

BP’s safety record had been improving since the Texas City blast. The recordable injury frequency, a gauge of accidents for each 200,000 hours worked, fell to 0.34 last year from 0.43 in 2008. The figure was 0.53 in 2005, according to BP.

BP shares were little changed today after a 1.8 percent drop yesterday. They traded up 0.3 percent at 638 pence as of 2:17 p.m. in London.

Growing oil production from the Gulf of Mexico has contributed to BP’s turnaround under Hayward, who became CEO in 2007. BP decided to continue investing in the Gulf in the 1990s when drilling failures led the region to be dubbed the “Dead Sea.” The decision paid off.

About 450,000 barrels per day, or about 12 percent of BP’s production, comes from the Gulf including deepwater fields such as Thunder Horse and Atlantis.

Seismic Supercomputers

Using supercomputers to analyze seismic images from under the region’s characteristic salt deposits, BP continues to make new giant discoveries including last year’s Tiber find, which may have 3 billion barrels of oil.

Tiber was discovered by the Deepwater Horizon, the rig destroyed in the accident. The company plans to continue to focus on the Gulf of Mexico. At a strategy presentation March 2, Andy Inglis, BP’s head of exploration and production, listed six Gulf of Mexico projects for which final go-aheads are expected in 2010.

























วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

“สถานการณ์-ปฏิวัติหรือรัฐประหาร”


ยากมาก!!! แต่อยากลอง ของซ้ายตะกายขอบ ลองไปลองมา อาจตกเป็นเหยื่อกลุ่มทุน-นักอุตสาหกรรมที่อยากฉีกรัฐธรรมนูญ ปี 2550 อยู่ทุกวัน เพราะขวางทางโต!!!
มาตรา 67 วรรค 2 เป็นไปไม่ได้โดยการแก้ไข-ตัดออก แต่ต้องฉีกทิ้งทั้งฉบับ – เชื่อได้ว่า อาจเห็นแบบนั้น ในไม่ช้า ยิ่งรีรอชาติยิ่งเสียหายมาก ... แต่ใครล่ะจะทำ

“สถานการณ์ปฏิวัติ” ของมวลชน เพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม โดยสถานการณ์ดังกล่าว ย่อมมีความแตกต่างเป็นอย่างมากกับการเคลื่อนไหวเพื่อการยึดอำนาจของกลุ่มทหาร / การล้มล้างระบอบการปกครองโดยคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ใช้วิธีก่อการร้าย / การใช้มหาประชาชนเดินกดดัน
ดังนั้นการอธิบายเหตุการณ์ดังกล่าวจึงมีความสำคัญ และการที่จะชี้ให้เห็นถึงรูปธรรมแบบหนึ่งของการปฏิวัติรัสเซีย เมื่อปี 1917 โดยเฉพาะข้อคิดเห็นของเลนิน จึงเป็นกรณีที่ควรศึกษาและเป็นบทเรียนที่ควรนำมาทบทวน กล่าวคือ เมื่ออธิบายถึงสถานการณ์ปฏิวัติ จากการเคลื่อนไหวของพลังมวลชนในชนชั้นต่างๆ ย่อมมีมุมมองอันหลากหลาย แต่ถ้ามองจากสายตาของเลนินในฐานะผู้นำของพรรคบอลเชวิค ซึ่งเลนินได้ให้ข้อสังเกตุเกี่ยวกับกฎพื้นฐานทั่วไปของการปฏิวัติโดยมวลชนไว้ ดังนี้
1) การจะก่อการปฏิวัติ มวลชนผู้ถูกกดขี่ต้องรู้สึกว่าไม่สามารถใช้ชีวิตในรูปแบบการปกครองแบบเดิม และเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นยังไม่พอ
2) เมื่อมวลชนชนชั้นล่าง ไม่ยอมใช้ชีวิตในรูปแบบการปกครองแบบเดิม ชนชั้นบนก็ไม่สามารถใช้ปกครองแบบเดิมได้อีก
โดยทั้ง 2 ข้อดังกล่าว ต้องประกอบเข้ากับ
3) วิกฤติที่มีลักษณะทั่วประเทศ ซึ่งสะเทือนทั้งมวลชนชั้นล่างและผู้ปกครอง
ปัจจัยทั้ง 3 ย่อมนำไปสู่สถานการณ์ปฏิวัติ ทั้งนี้เลนินในฐานะผู้มีบทบาทนำในพรรคบอลเชวิค เน้นทำให้มวลชนมีความตื่นตัวในการเคลื่อนไหวทางการเมือง ให้มีความรับรู้ถึงความจำเป็น และความพร้อมเสียสละในสถานการณ์ดังกล่าว โดยทำให้ชนชั้นปกครองหรือรัฐบาลวิกฤติ เพื่อจะช่วยดึงเอามวลชนจากส่วนต่างๆ เข้ามาร่วมเคลื่อนไหวในทางการเมือง อันเป็นการบั่นทอนกำลังของรัฐบาล ซึ่งเป็นเหตุและเงื่อนไขให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองของมวลชนมีความเป็นไปได้ในการปฏิวัติ
ถ้าจะกล่าวจากมุมมองชนชั้น เลนินยังได้ให้ข้อสรุป และการอธิบายเพิ่มเติมไว้ อีกแบบหนึ่งว่า
1) พลังของชนชั้นที่เป็นศัตรูกับชนชั้นล่างต้องเกิดความวุ่นวาย และเข้าต่อสู้กันทางการเมืองอย่างรุนแรง จนอ่อนแอลง
2) ต้องทำให้พวกเป็นกลางที่ยังลังเล ให้เกิดความล้มเหลวในการปฏิบัติงานทางการเมืองต่อหน้าประชาชน
3) ทั้งนี้มวลชนที่สนับสนุนการปฏิวัติได้ออกมาเคลื่อนไหวอย่างเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากมาย ในสถานการณ์แบบนี้ เลนินถือว่าสถานการณ์ปฏิวัติ จึงนับได้ว่าสุกงอมแล้ว ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็เหลือแต่เพียงการเลือกโอกาสที่มีหลักประกันในชัยชนะของพลังในฝ่ายปฏิวัติเท่านั้น
สำหรับข้อสรุปดังกล่าวของเลนิน ในการปฏิวัติรัสเซีย เมื่อปี 1917 นั้น เลนินได้เขียนไว้ในหนังสือ “โรคไร้เดียงสา ฝ่ายซ้าย ในขบวนการคอมมิวนิสต์”


ความวุ่นวายของประเทศขณะนี้ เป็นได้แค่สถานการณ์รัฐประหาร เท่านั้น!!!

วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

แท่นเจาะน้ำมันสหรัฐฯระเบิด - เจ็บ 7สูญหาย 11



เกิดเหตุระเบิดแท่นขุดเจาะน้ำมัน "ดีพวอเตอร์ ฮอไรซัน" บริษัทขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งขุดเจาะน้ำมันให้กับ บริษัทบีพี นอกชายฝั่ง ห่างเมืองเวนีซ รัฐหลุยส์เซียนาของสหรัฐฯ ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 84 ก.ม. เมื่อคืนวันอังคาร 20 เม.ย. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นอุบัติเหตุของแท่นขุดเจาะน้ำมันครั้งแรกในรอบกว่าครึ่งทศวรรษที่ผ่านมาแรงระเบิดส่งผลให้เกิดไฟลุกไหม้แท่นขุดเจาะ ควันพวยพุ่งขึ้นนับร้อยฟุตเหนืออ่าวเม็กซิโกส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 7 คน โดย 4 คน ได้รับบาดเจ็บสาหัส และสูญหายอีก 11 คน จากทั้งสิ้น 126 คน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้ทำการออกค้นหา ทั้งทางน้ำและทางอากาศ โดยเฮลิคอปเตอร์แล้ว อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการยืนยันสาเหตุของการระเบิดอย่างแน่ชัด เนื่องจากไฟยังลุกท่วม แต่จากการสันนิฐานเบื้องต้นว่าอาจจะเกิดจากก็าซธรรมชาติ หรือก๊าซผสมของน้ำมันที่รั่วออกมารวมตัวกับสารก่อระเบิดบางอย่าง




The Deepwater Horizon rig, 50 miles southeast of Louisiana, had 126 workers on it when the explosion happened.

Helicopters and boats were scouring the Gulf for any sign of the workers who had not been accounted for.


Coast Guard Senior Chief Petty Officer Mike O'Berry said: "We're hoping everyone is in a life raft."
The rig was left tilting about 70 degrees and threatening to topple into the water.
It is owned by Transocean, based in Houston, and was under contract to BP. A BP spokesman said all its personnel were safe.
When the explosion happened the rig was drilling but was not in production.
Initial reports were as many as 12 missing, but the Coast Guard counted 98 survivors on two oil service boats and 17 injured, seven critically, who were taken to hospitals. Eleven were still unaccounted for at midday Wednesday, according to the Coast Guard.
Transocean spokesman Greg Panagos said it was too early to know what caused the accident.
He said: "Our focus right now is on taking care of the people." The 120-metre (396ft) long, semi-submersible Deepwater Horizon was still on fire hours after the explosion.
It was built in 2001 by Hyundai Heavy Industries Shipyard in South Korea and can accommodate a crew of up to 130.
Last year it set a world deepwater record when it drilled down over 10,700 metres (35,000ft) at another BP site in the Gulf of Mexico.
It is equipped with covered lifeboats with supplies to allow workers to survive for extended periods if they must evacuate.
Greg McCormack, director of the Petroleum Extension Service for the University of Texas at Austin,said: "The worst thing that can happen on an oil rig is you have a fire, and then you have to evacuate without the fire being put out, because then it can only get worse."

วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

เสนอสร้าง “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ใน กทม.” เหตุไม่ก่อมลพิษ

เสนอสร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ใน กทม. เหตุไม่ก่อมลพิษ

ใน กทม. ยังมีพื้นที่ตาบอดจำนวนมาก ที่พอที่จะรองรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ อีกทั้งไม่ก่อปัญหามลพิษ และไม่สร้างปัญหาภาวะโลกร้อน อีกทั้งจะลดค่าใช้จ่ายด้านสายส่งด้วย

  • เพื่อลดความเสี่ยงด้านพลังงาน เพราะเกาะฮ่องกง ก็ยังใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

  • เพื่อลดกระแสต่อต้านของคนใน ตจว. เพราะ พื้นไหนใช้ไฟมากควรจะรับความเสี่ยงเอง ชีวิตคนกรุงเทพฯ กับชีวิตคน ตจว. น่าจะมีค่าของการชีวิตเท่ากัน

  • เพื่อลดค่าไฟฟ้าของ คนกรุงเทพฯ ลงหน่วนกิต ละ 50 สตางค์

  • แผนของการใช้พลังงานของประเทศ ที่จะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รวมกันประมาณ 5.0 MW ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าเก่า ใน กทม.
  • ... ความเห็นของคุณ

จากเวบ กระทรวงพลังงาน http://www.energy.go.th/moen/KnowledgeDetail.aspx?id=61


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ไฟฟ้า นับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม ปัจจุบันสถิติการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรเชื้อเพลิงหลัก ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติรวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทน รูปแบบต่าง ๆ ควบคู่กันไป
สำหรับพลังงานนิวเคลียร์ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงด้านพลังงานประเทศ ทั้งนี้เทคโนโลยีและมาตรฐานความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า 50 ปี โดยปัจจุบันมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวม 437 โรง รวมทั้งอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างเพิ่มอีกในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย

ลักษณะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกชื่อตามประเภทของเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้ต้นกำเนิดพลังงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะอาศัยพลังความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการแตกตัวของธาตุยูเรเนียม แล้วนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไอน้ำที่ใช้ในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

รูปแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก อาคารปฏิกรณ์ อาคารกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอาคารอุปกรณ์ประกอบ รวมถึงบางแห่งอาจมีหอระบายความร้อน (Cooling Tower) ด้วย
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกมี 3 แบบ ได้แก่
- แบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor – BWR)
- แบบความดันสูง (Pressurized Water Reactor –PWR)
- แบบแคนดู (CANDU)

กระบวนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำเดือด
ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบวงจรเดียว ความดันภายในหม้อปฏิกรณ์ประมาณ 6 – 9 ล้านปาสกาล อุณหภูมิน้ำประมาณ 285 องศาเซลเซียส ไอน้ำจะถูกส่งไปกังหันโดยตรงเพื่อผลิตไฟฟ้า

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบความดันสูง
ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบสองวงจร ความดันภายในหม้อปฏิกรณ์ประมาณ 15.6 ล้านปาสกาล อุณหภูมิน้ำสูง ประมาณ 315 องศาเซลเซียส แต่ไม่เดือดเป็นไอเนื่องจากถูกควบคุมด้วยเครื่องอัดความดัน น้ำร้อนจะถูกส่งไปยังเครื่องผลิตไอน้ำเพื่อทำให้น้ำในอีกวงจรหนึ่งเดือด ไอน้ำจะถูกส่งไปยังกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบแคนดู
ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบสองวงจร แต่ใช้น้ำหนักมวล (Heavy water,D2O) แทนน้ำธรรมดา น้ำหนักมวลในท่อเชื้อเพลิงมีความดันประมาณ 10 ล้านปาสกาล มีอุณหภูมิสูงประมาณ 310 องศาเซลเซียส แต่ไม่เดือดเป็นไอเนื่องจากถูกควบคุมด้วยเครื่องอัดความดันน้ำร้อนจะถูกส่งไปยังเครื่องผลิตไอน้ำเพื่อทำให้น้ำในอีกวงจรหนึ่งเดือด ไอน้ำไปยังกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า

เศรษฐศาสตร์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แม้จะใช้เงินลงทุนก่อสร้างสูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนชนิดอื่น อันเนื่องจากมาตรการความปลอดภัยหลายชั้นและใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานสูงมาก แต่ได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิตต่อหน่วยถูกกว่า เนื่องราคาค่าเชื้อเพลิงต่ำและไม่ผันผวนเช่นเดียวกับน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

ความปลอดภัย
มาตรฐานความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นไปตามมาตรฐานของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) โดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อสาธารณชนและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ อาทิ ใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมที่มีความเข้มข้นต่ำ และปฏิกรณ์ได้รับการออกแบบให้ทำงานเฉพาะในสภาวะปฏิกิริยาแตกตัวคงที่เท่านั้นไม่สามารถเกิดการระเบิดในลักษณะเดียวกับระเบิดปรมาณู มีส่วนปิดกั้นรังสีหลายชั้น และมีระบบป้องกันฉุกเฉิน

กากกัมมันตรังสี
พลังงานนิวเคลียร์เป็นเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าที่คำนึงถึงการเก็บกำจัดของเสียจากกระบวนการผลิตและนำค่าใช้จ่ายเข้ารวมไว้ในต้นทุนการดำเนินการทั้งหมดแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนอื่น ๆ รวมทั้งมีกากกัมมันตรังสี ปริมาณน้อย
นอกจากนี้เชื้อเพลิงใช้แล้วยังอาจนำไปสกัดใช้ใหม่ได้หรือสามารถเก็บไว้ในตัวโรงไฟฟ้าจนกว่าจะมีนโยบายการกำจัดในรูปแบบอื่น ๆ ตลอดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ จะมีกากกัมมันตรังสีต่ำประมาณ 9,000 – 30,000 ถัง (ขนาด 200 ลิตร) ส่วนกากกัมมันตรังสีสูงคงอยู่ในมัดเชื้อเพลิงที่ผ่านการผลิตไฟฟ้าแล้ว

เชื้อเพลิงนิวเคลียร์
เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ คือ แร่ยูเรเนียมที่ผ่านการแปรสภาพองค์ประกอบ ทำให้เป็นเม็ดและประกอบเป็นแท่งมัดรวมกันเพื่อนำไปใช้ในปฏิกรณ์ กำหนดการเปลี่ยนเชื้อเพลิงใหม่อาจกระทำเป็นรายวัน เช่น ในปฏิกรณ์แบบแคนดู หรือรายปี เช่นในปฏิกรณ์แบบ BWR และ PWR ยูเรเนียม-235 เพียงหนึ่งกรัมให้ความร้อนเทียบเท่าถ่านหินชั้นดี 3 ตัน หากใช้ครั้งเดียวยูเรเนียมที่ใช้ในโรงไฟฟ้าขนาด 1,000 เมกะวัตต์ จะมีอัตราสิ้นเปลืองประมาณ 30 ตันต่อปี

สิ่งแวดล้อม
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับต่ำ เนื่องจากปลอดก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซที่เป็นภัยต่อสุขภาพ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ นอกจากนั้น ตามกฎเกณฑ์มาตรฐานกำหนดให้อุณหภูมิน้ำที่เข้าไปรับความร้อนจากเครื่องควบแน่น เมื่อวัด ณ จุดระบาย ยังไม่แตกต่างไปจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนอื่น
ในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดกำลังผลิต 1,000 เมกะวัตต์ เป็นเวลาหนึ่งปีจะมีเชื้อเพลิงใช้แล้วประมาณ 8 – 20 ลูกบาศก์เมตร สามารถเก็บโดยแช่ในสระน้ำได้หากยังไม่มีนโยบายสกัดเชื้อเพลิงกลับมาใช้อีก

รังสี
จากข้อมูลทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency – IAEA) รังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เดินเครื่องอยู่ทั่วโลกมีประมาณร้อยละ 0.15 ของรังสีโดยรวมจากแหล่งต่าง ๆ
รังสีเป็นสิ่งที่มีอยู่และเกิดตามธรรมชาติ มนุษย์เราอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมและท่ามกลางสิ่งประดิษฐ์ซึ่งแผ่รังสีให้ทั้งคุณและโทษอยู่ตลอดเวลา โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แม้แต่ในร่างกายเราเองก็มีสารกัมมันตรังสีประกอบอยู่ด้วยหลายชนิด เช่น คาร์บอน -14, โปแตสเซียม -40, และโปโลเนียม -210
นอกจากนี้แสงและความร้อนซึ่งเกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์ก็จำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อการดำรงชีวิตของเรา

จำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency – IAEA) รายงานว่าเมื่อสิ้นปี 2549 ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดินเครื่องอยู่ 437 หน่วย กำลังการผลิตรวม 265,800 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของไฟฟ้าที่ผลิตทั้งหมด
ตารางแสดงจำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก
ประเทศ
จำนวน
ประเทศ
จำนวน
ประเทศ
จำนวน
สหรัฐอเมริกา
103(1)
สเปน
8
แอฟริกาใต้
2
ฝรั่งเศส
59
เบลเยี่ยม
7
จีน
11(4)
ญี่ปุ่น
55(2)
บัลแกเรีย
2
เม็กซิโก
2
สหราชอาณาจักร
19
สวิตเซอร์แลนด์
5
บราซิล
2
รัสเซีย
31(5)
สาธารณรัฐสโลวัก
5(2)
ปากีสถาน
2(1)
แคนนาดา
18(2)
สาธารณรัฐเช็ก
6
สโลเวเนีย
1
เยอรมนี
17
ฟินแลนด์
4(1)
โรมาเนีย
1(1)
ยูเครน
15
ฮังการี
4
อิหร่าน
(1)
สวีเดน
10
อาร์เจตินา
2(1)
อาร์เมเนีย
1
อินเดีย
17(6)
ลิธัวเนีย
1
ไต้หวัน
6(2)
เกาหลีใต้
20(1)
เนเธอร์แลนด์
1
**ในวงเล็บ คือ จำนวนโรงไฟฟ้าที่อยู่ในระหว่างก่อสร้าง

ปลดล็อก"มาบตาพุด"หลังเม.ย.ฉลุยทุกโครงการ – จริงหรือ!!!

ปลดล็อก"มาบตาพุด"หลังเม.ย.ฉลุยทุกโครงการ – จริงหรือ!!!
โดย : จันทร์จิรา พงษ์ราย
5 เดือนเต็ม นับตั้งแต่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลงนามแต่งตั้ง นายอานันท์ ปันยารชุน มานั่งในตำแหน่งประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่าย
เพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ 2550 หลังจาก 65 โครงการในมาบตาพุด ต้อง " ติดล็อก" กับ คำสั่งศาลปกครองสูงสุด กรณีไม่ปฏิบัติกฎหมายมาตรานี้ ตามข้อเรียกร้องชาวบ้านที่ฟ้องร้องผ่านสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน

เนื่องจากหัวใจสำคัญของกฎหมายมาตรานี้ ระบุไว้ชัดเจนว่า “ การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะมีการศึกษา และประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนฯ ” *** ขณะนี้ พบว่ามากกว่า 3 โครงการในมาบตาพุด ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด อ้างว่าดินสามารถรับแรงได้ ทั้งๆที่โรงงานใกล้เคียงกัน ตอกเสาเข็มจำนวนมาก กรณีศึกษานี้ ส่งให้ นายก รมต. / นายอานันท์ / ศาลปกครองกลาง / สภาวิศวกรรมฯ / ผู้ว่าฯระยอง ให้มีขบวนการตรวจสอบ-ติดตาม อย่างเป็นรูปธรรม โปร่งใส แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็จะยื่นขอให้ปิดโรงงานเหล่านี้ทั้งหมด เพราะเสี่ยงระเบิดลุกลาม ***

ทำให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นับแต่วันที่ 11 พ.ย. 2552 ที่นายอานันท์ มานั่งหัวโต๊ะของกรรมการ 4 ฝ่าย ที่ผนวกตัวแทน จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ตัวแทนชาวบ้าน และนักวิชาการ ต่างยอมรับว่าต้องทำงานหนักแข่งกับเวลา กับความคาดหวังจากเจ้าของ โครงการอุตสาหกรรมที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องในมาตรา 67 รวมถึงแรงกดดันจากภาคสังคมที่จับตาว่าคณะกรรมการชุดนี้ ถูกตั้งขึ้นมา เพื่อซื้อเวลาหรือไม่

แม้ว่า กรรมการ 4 ฝ่าย จะมาจากข้อเสนอของ เครือข่ายภาคประชาชนภาคตะวันออก ตัวแทนคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ที่เคยเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เพื่อเสนอทางออกโดยเน้นการยอมรับและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาก็ตาม แต่กระนั้น ยังส่งผลให้บรรยากาศภายในห้องประชุม "บ้านพิษณุโลก" ทุกๆ วันจันทร์ และวันพุธ จึงค่อนข้างเต็มไปด้วยความเคร่งเครียด แม้แต่ผู้เข้าร่วมประชุมเอง ถึงกับเอ่ยปากว่าเหนื่อย และเครียด เนื่องจากต้องประชุมนานติดต่อกันหลายชั่วโมง

"รัฐบาลต้องเปิดโอกาสให้คณะกรรมการทำงานอย่างจริงจัง และต้องไม่เข้ามาแทรกแซงกระบวน การทำงานของกรรมการ เพราะมาบตาพุด เรื้อรังและหมักหมมปัญหามานานแล้ว แต่ขาดการแก้ไขอย่างจริงจัง ทำให้ชาวบ้านยังต้องแบกรับมลพิษมาถึงทุกวันนี้ แต่จะทำอย่างไรให้โรงงานสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้" คำพูดของนายอานันท์ บอกหลังมารับตำแหน่ง

กล่าวได้ว่า ในระยะแรก คณะกรรมการ 4 ฝ่าย ให้น้ำหนักในการวางกรอบและหาแนวทาง เพื่อให้การเดินหน้าภายใต้ระเบียบ หรือกฎเกณฑ์ให้เป็นตามมาตรา 67 โดยเฉพาะประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) และการทำประชาพิจารณ์ผู้มีส่วนได้เสีย

มีการตั้งคณะอนุกรรมการรวม 3 ชุดในการวางกรอบ และในส่วนเนื้องานต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย 1. คณะกรรมการศึกษาและเติมเต็มทางเทคนิค เพื่อลดและขจัดมลพิษในมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง มี ดร.สุทิน อยู่สุข เป็นประธาน ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการตามมาตรการลดผลกระทบตามรายงานอีไอเอ ของโรงงานที่เปิดดำเนินการอย่างเข้มข้น เพื่อป้องกันมลพิษที่จะเกิดขึ้น

ส่วนชุดที่ 2 คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อปรับปรุงรายการโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ มีดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ เป็นประธาน สำหรับชุดที่ 3 คณะอนุกรรมการชุดผังเมือง เนื่องจากเป็นกลไกสำคัญในการลดและขจัดมลพิษในมาบตาพุด มีนายโกศล ใจรังษี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน

ขณะเดียวกัน นายอานันท์ ยังนั่งในตำแหน่งประธานคณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นองค์กรอิสระ (เฉพาะกาล) ซึ่งตั้งภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี อีก 1 ชุด ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อสามารถตั้งคณะกรรมการองค์การอิสระ ซึ่งมีภารกิจในการให้ความเห็นประกอบโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงตามมาตรา 67 วรรคสอง เสร็จสิ้น คณะกรรมการประสานงานฯ ยังต้องเป็นพี่เลี้ยงให้กับคณะกรรมการองค์การอิสระ ที่มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี นั่นเอง

จนที่สุดงานต่างๆ ก็มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม !!! – คอกก.รับฟัง ทำเพื่อโครงการอนาคต ปัญหาปัจจุบันบอกไม่รับรู้ และไม่ได้ทำสำหรับมาบตาพุด แต่ทำให้ทั้งประเทศ ตามมาตรา 67 วรรค 2 กรณีเรื่องไม่ตอกเสาเข็ม ทรุด-พัง จนระเบิด ไม่รับรู้ ... ให้ไปแจ้งความเอาเอง!!!

บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ในฐานะโฆษกคณะกรรมการ 4 ฝ่าย บอกว่า ในภาพรวมถือว่าการทำงานของคณะอนุกรรมการทั้ง 4 ชุดมีความก้าวหน้ามาก แม้ที่ผ่านมาจะมีปัญหาขลุกขลักอยู่บ้าง ทั้งในแง่ของความเห็นที่ยังไม่ลงตัว โดยเฉพาะกรณีการเปิดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นโครงการรุนแรง ตามมาตรา 67 รวมถึงโครงสร้างการตั้งองค์การอิสระ ที่รัฐยังอยากให้อยู่ในการดูแลของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ขณะที่กรรมการและภาคสังคมก็มองว่ารัฐยังติดกับอำนาจ จึงต้องใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี มาเป็นช่องทางในการกำหนดคุณสมบัติ เพื่อหาผู้แทนองค์การอิสระ เป็นต้น

"แต่ทั้งหมดเมื่อได้ผ่านการพูดคุย ทุกอย่างก็สามารถเคลียร์ปมความขัดแย้ง จนกระทั่งสามารถเดินหน้างานต่างๆ จนลุล่วงมาได้ทั้งหมด และคาดว่าหลังเดือนเม.ย. นี้ ทุกอย่างจะจบแล้ว เพราะกรอบงานที่กำลังคลอดออกมาทั้งหมด จะช่วยให้เอกชนเดินหน้าตามกระบวนการอีไอเอ อย่างช้าต้นเดือนมิ.ย.นี้"

บัณฑูร ขยายความถึงข้อสรุปดังกล่าวว่า ปัจจุบันคณะกรรมการประสานงานองค์การอิสระ เพิ่งให้การรับรองรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติในการเสนอชื่อเป็นกรรมการองค์การอิสระ จำนวน 91 รายแล้ว โดยในวันที่ 21-22 เม.ย. นี้จะมีการประชุมเพื่อจัดตั้งองค์การอิสระ (เฉพาะกาล) จำนวน 13 คนประกอบ ด้วยผู้แทนจากองค์การพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและสุขภาพ และผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษา ส่วนรายชื่อที่เหลือไม่ได้รับการคัดเลือกยังมีสิทธิ์นั่งเป็นคณะทำงานชุดต่างๆ เช่นกัน

ส่วนการทำงานของคณะอนุกรรมการของ ศ.ดร.ธงชัย ซึ่งต้องแบกรับการบ้านข้อใหญ่มาก ในประเด็นการพิจารณา เพื่อประกาศบัญชีรายชื่อประเภท กิจการโครงการที่อาจเข้าข่ายรุนแรงตามมาตรา 67 และจะใช้เป็นบรรทัดฐานกับการลงทุนอุตสาหกรรมในอนาคต ทำให้รายชื่อที่คณะกรรมการ 4 ฝ่าย เตรียมสรุปเสนอให้กับนายกรัฐมนตรี ในเร็วๆ นี้ จึงต้องมีความรอบคอบทั้งในแง่ของการประเภท และการกำหนดขนาด เพื่อลดข้อกังวลใจของอุตสาหกรรมที่ต้องนำไปปฏิบัติ ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นธรรมต่อภาคประชาชนด้วย

ขณะที่คณะอนุกรรมการชุดนายสุทิน เตรียมสรุปแนวทางไปยังรัฐบาล ต่อการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษ เช่น ผังเมืองระยอง บัฟเฟอร์โซน และเงื่อนไขให้เกิดการปฏิบัติตามอีไอเอ การจัดการกรณีอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน เสนอต่อกรรมการ 4 ฝ่ายในเร็วๆ นี้

“ ขณะเดียวกันความก้าวหน้าของ พ.ร.บ.องค์การอิสระ (ถาวร) ตามมาตรา 67 ซึ่งมี 2 ร่างกล่าวคือร่างกรรมการ 4 ฝ่าย ในนามรัฐบาลที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พิจารณาปรับแก้เนื้อหาแล้วอยู่ในวาระการประชุมของสภาฯ ส่วนร่างของ ส.ส.ที่เสนอนายสาทิตย์ ปิตุเดชะ ส.ส.ระยอง ซึ่งทั้งสองร่างยังต้องรอว่าจะเปิดประชุมสภาได้เมื่อไหร่

หากประเมินสถานการณ์ 2 กรณี กล่าวคือ แบบแรก ถ้าไม่มีการยุบสภา เมื่อปิดสมัยการทำงานของสภาการพิจารณากฎหมาย ก็ยังทำได้ ส่วนแบบสอง ถ้าเข้าสภาแล้วผ่านวาระแรก และมีการยุบสภาก่อนไปถึงวาระ 2-3 ก็เรียกว่ามีความก้าวหน้า เพราะเท่ากับว่าไม่ต้องถอยหลังและเดินหน้าในวาระต่อไปได้ เหตุผลคือ เมื่อเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ อย่างน้อยขอให้ ผ่านร่างแรก" บัณฑูร บอก

เขายังประเมินว่า หากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็อาจจะกระทบกับการทำงานของคณะ กรรมการ 4 ฝ่าย ที่ตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาจต้องรอดูท่าทีของรัฐบาลชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม แต่ยังเชื่อว่า ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาลก็น่าจะมาสานต่อปัญหา เพราะไม่ใช่โจทย์ปัญหาทางการเมือง แต่เป็นของธุรกิจและอุตสาหกรรม และชาวบ้าน ซึ่งแนวทางที่กรรมการ 4 ฝ่ายวางกรอบไว้ เป็นทางออกจึงไม่จำเป็นต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่

แต่ หาญณรงค์ เยาวเลิศ ตัวแทนกรรมการชาวบ้าน ในคณะกรรมการ 4 ฝ่าย บอกว่า เขาพอใจกับการทำงานแค่ในระดับหนึ่ง โดยอย่างน้อยก็ยังได้เห็นกฎเกณฑ์ที่นำไปสู่การปฏิบัติในระยะยาว ทั้งนี้ ยอมรับว่าภายใต้ระยะเวลา 5 เดือนไม่ถึงกับเครียดนัก แต่เขาต้องให้เวลากับงานนี้มากเป็นพิเศษ จนกระทั่งไม่มีเวลาทำงานในพื้นที่ และไม่สามารถนำข้อมูลต่างๆ ไปถึงชาวบ้านในพื้นที่ได้ ดังนั้นจึงคาดหวังว่ากรอบต่างๆ จะนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงในระยะยาว แม้ว่าจะต้องพึงระเบียบกฎหมายมาเป็นเครื่องมือก็ตาม

“ สิ่งที่ผิดหวังมาก คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) หน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง ถ้าเทียบกับอีก 3 ฝ่าย ถือว่ายังให้ความร่วมมือน้อยมาก นอกจากนี้ส่วนตัวคิดว่ายังมีหลายเรื่องที่อาจต้องติดล็อกจาก ทส. เอง โดยเฉพาะบัญชีโครงการตามมาตรา 67 ที่จะได้ข้อสรุปในวันที่ 23 เม.ย. นี้ และต้องอาศัยตามประกาศโดยใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมของ ทส.

ขณะที่ฝ่ายเอกชน ยังรู้สึกกังวลว่าถ้ามีการกำหนดโครงการรุนแรงอยู่ในประกาศ ทส.มากๆ อาจทำให้กระบวนการลงทุนมีความยุ่งยากซับซ้อน และล่าช้า จึงมีความเห็นแย้งในทำนองอยากให้ปลดรายการบัญชีรุนแรงตามมาตรานี้ออกไปให้ได้มากที่สุด เพราะยังคิดว่าแค่มีที่ดินและผ่านกระบวนการอีไอเอแล้ว ก็สามารถลงทุนได้แล้ว เรียกว่าเป็นการมองคนละมุมกับชาวบ้าน” หาญณรงค์ สะท้อนปัญหา

กระนั้นก็ตาม เขายังยืนว่า หน้าที่ของกรรมการ 4 ฝ่าย ไม่ใช่การมาปลดล็อกให้กับโครงการใน มาบตาพุดที่อยู่ในคำตัดสินของศาล แต่อยากให้เจ้าของโครงการเดินหน้าตามกระบวนการของมาตรา 67 ซึ่งแม้จะไม่อยู่ในโครงการหรือ กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 67 วรรคสอง ที่อาจนำข้อสรุปนี้ไปปลดล็อกกับศาล โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย ส่วน ทส.ต้องกลับมาทบทวนว่าที่ผ่านมามองบทบาทเชิงรุก เน้นการปกป้องและสงวนและรักษา มากกว่ามองทรัพยากรในรูปแบบของการนำไปพัฒนา

"มาบตาพุด" อาจเป็นหนึ่งในบทพิสูจน์การขับเคลื่อนของอุตสาหกรรม ที่ต้องหันมาเคารพกฎหมาย เคารพวิถีชีวิตชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมและชุมชนอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน – คนมาบตาพุดต้องนอนอยู่กับความกังวลว่า วันไหนจะถึงวันที่ฐานรากมันจะทรุด-พัง จนก๊าซระเบิด ฝนตกติดต่อกันหลายวัน ดินอ่อนตัวตึกใหญ่ๆ ยังถล่มทั้งๆที่ตอกเสาเข็ม และเชื่อหรือว่า ประเทศไทยจะไม่มีแผ่นดินไหวรุนแรง ในช่วงอายุการใช้โรงงานมีปัญหา -

วันพุธที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553

เครือข่าย หยุดสร้างความเดือดร้อนกับประชาชน

สังคม ควรรักษาสิทธิ์ในความสะดวกและชีวิตปกติ
ยุบไม่ยุบ ไม่รู้ รู้แต่ว่าปิดถนนพวกเราเดือดร้อน

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

คำถามที่ต้องการคำตอบ กับปัญหาการที่ไม่ตอกเสาเข็มฐานราก โครงสร้างสำคัญของโรงงานก๊าซและสารเคมีอันตราย ในมาบตาพุด ระยอง



โดย กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ระยอง / 2 เม.ย. 2553

ถ้าเวทีรับฟัง-ประชาพิจารณ์ฯ เป็นส่วนที่รับรู้และหาทางแก้ไขร่วมกันแล้ว คำถามเกี่ยวกับความเสี่ยงของโครงการที่ไม่ตอกเสาเข็มฐานราก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการทรุด-พัง ของโครงสร้างรับท่อเครื่องจักร หอกลั่น และถังเก็บต่างๆ ของโรงงานก๊าซและสารเคมีอันตราย คำตอบของคำถามคงเป็นเพียงข้อคิดความเห็น ของแต่ละส่วน แต่การสรุปและนำมาปฏิบัติจริงจะทำได้อย่างไร จึงขอทิ้งคำถามเหล่านี้ไว้ เพื่อให้เกิดคำตอบ และหวังให้เกิดขบวนการที่จะมีการจัดการโดยพลัน เพราะขณะนี้ 1 ในโครงการที่มีความเสี่ยงสูงนั้น กำลังทดสอบระบบ เพื่อเตรียมจะเปิดใช้งานแล้ว

  1. นอกจาก 3 โครงการของ ปตท. ที่รับรู้ขณะนี้ ยังมีโครงการอื่นอีกหรือไม่ ที่ไม่ตอกเสาเข็มฐานราก ในส่วนโครงสร้างสำคัญ เพราะโครงการเกือบทั้งหมดแล้วเสร็จรอเพียง การทดสอบระบบ หรือเปิดใช้
  2. ประชาชนในบริเวณรอบโครงการควรจะได้รับรู้ความเสี่ยง เพื่อให้มีการเตรียมตัว หรือมีการตัดสินใจอย่างไร
  3. สมควรจะให้มีการเปิดใช้โครงการที่มีความเสี่ยงสูงมากเหล่านี้ หรือไม่
  4. ถ้ายอมให้เปิดใช้ ควรจะมีขบวนการตรวจสอบอย่างไร
  5. ถ้าผู้ที่ตรวจสอบ จะเป็นกลุ่มเดียวกับกลุ่มเดิมที่อนุมัติแบบและความเสี่ยง จะมีความน่าเชื่อถือได้หรือไม่อย่างไร
  6. มีหลายท่านให้ความเห็นว่า ถ้ามีการทรุดพัง-ระเบิด สามารถเอาผิดกับผู้อนุมัติแบบได้ตามกฎหมายนั้น หมายถึงจะทิ้งความเสี่ยงให้ประชาชนรอบโรงงานรอจนเกิดเหตุก่อนหรือไม่ และคุ้มกันหรือไม่
  7. จริงหรือว่าวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยยอมรับวิธีก่อสร้างที่ไม่ตอกเสาเข็มบนพื้นที่ปรับถมใหม่แล้ว เพราะมีข้ออ้างของหัวหน้าวิศวกรของโครงการเสี่ยง
  8. ระหว่างเศรษฐกิจประเทศ กับการปล่อยให้เสี่ยงที่จะล้ม-พัง-ระเบิด ควรจะเลือกอะไร
  9. สำหรับการอนุมัติโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงในอนาคต ความแข็งแรงมีเสถียรภาพของฐานรากโครงสร้างหลักหรือสำคัญ ควรจะมีการระบุให้ชัดเจนหรือไม่ เพราะขณะนี้มีหลายโครงการทำเหมือน ปตท. เพราะต้องการลดระยะเวลาการก่อสร้าง
  10. ใครหรือหน่วยงานใดมีอำนาจจะสั่งให้หยุดหรือให้มีขบวนการตรวจสอบ เพราะส่งเรื่องให้ นายกรัฐมนตรี มานานเกือบ 3 เดือน และส่งให้ศาลปกครองมานานเกือบ 1 เดือนครึ่ง หรือต้องมีกลุ่มประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเดินออกไปเพื่อปิดโรงงานเหล่านี้ก่อน