โดย กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ระยอง / 2 เม.ย. 2553
ถ้าเวทีรับฟัง-ประชาพิจารณ์ฯ เป็นส่วนที่รับรู้และหาทางแก้ไขร่วมกันแล้ว คำถามเกี่ยวกับความเสี่ยงของโครงการที่ไม่ตอกเสาเข็มฐานราก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการทรุด-พัง ของโครงสร้างรับท่อเครื่องจักร หอกลั่น และถังเก็บต่างๆ ของโรงงานก๊าซและสารเคมีอันตราย คำตอบของคำถามคงเป็นเพียงข้อคิดความเห็น ของแต่ละส่วน แต่การสรุปและนำมาปฏิบัติจริงจะทำได้อย่างไร จึงขอทิ้งคำถามเหล่านี้ไว้ เพื่อให้เกิดคำตอบ และหวังให้เกิดขบวนการที่จะมีการจัดการโดยพลัน เพราะขณะนี้ 1 ในโครงการที่มีความเสี่ยงสูงนั้น กำลังทดสอบระบบ เพื่อเตรียมจะเปิดใช้งานแล้ว
- นอกจาก 3 โครงการของ ปตท. ที่รับรู้ขณะนี้ ยังมีโครงการอื่นอีกหรือไม่ ที่ไม่ตอกเสาเข็มฐานราก ในส่วนโครงสร้างสำคัญ เพราะโครงการเกือบทั้งหมดแล้วเสร็จรอเพียง การทดสอบระบบ หรือเปิดใช้
- ประชาชนในบริเวณรอบโครงการควรจะได้รับรู้ความเสี่ยง เพื่อให้มีการเตรียมตัว หรือมีการตัดสินใจอย่างไร
- สมควรจะให้มีการเปิดใช้โครงการที่มีความเสี่ยงสูงมากเหล่านี้ หรือไม่
- ถ้ายอมให้เปิดใช้ ควรจะมีขบวนการตรวจสอบอย่างไร
- ถ้าผู้ที่ตรวจสอบ จะเป็นกลุ่มเดียวกับกลุ่มเดิมที่อนุมัติแบบและความเสี่ยง จะมีความน่าเชื่อถือได้หรือไม่อย่างไร
- มีหลายท่านให้ความเห็นว่า ถ้ามีการทรุดพัง-ระเบิด สามารถเอาผิดกับผู้อนุมัติแบบได้ตามกฎหมายนั้น หมายถึงจะทิ้งความเสี่ยงให้ประชาชนรอบโรงงานรอจนเกิดเหตุก่อนหรือไม่ และคุ้มกันหรือไม่
- จริงหรือว่าวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยยอมรับวิธีก่อสร้างที่ไม่ตอกเสาเข็มบนพื้นที่ปรับถมใหม่แล้ว เพราะมีข้ออ้างของหัวหน้าวิศวกรของโครงการเสี่ยง
- ระหว่างเศรษฐกิจประเทศ กับการปล่อยให้เสี่ยงที่จะล้ม-พัง-ระเบิด ควรจะเลือกอะไร
- สำหรับการอนุมัติโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงในอนาคต ความแข็งแรงมีเสถียรภาพของฐานรากโครงสร้างหลักหรือสำคัญ ควรจะมีการระบุให้ชัดเจนหรือไม่ เพราะขณะนี้มีหลายโครงการทำเหมือน ปตท. เพราะต้องการลดระยะเวลาการก่อสร้าง
- ใครหรือหน่วยงานใดมีอำนาจจะสั่งให้หยุดหรือให้มีขบวนการตรวจสอบ เพราะส่งเรื่องให้ นายกรัฐมนตรี มานานเกือบ 3 เดือน และส่งให้ศาลปกครองมานานเกือบ 1 เดือนครึ่ง หรือต้องมีกลุ่มประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเดินออกไปเพื่อปิดโรงงานเหล่านี้ก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น