วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

เสนอสร้าง “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ใน กทม.” เหตุไม่ก่อมลพิษ

เสนอสร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ใน กทม. เหตุไม่ก่อมลพิษ

ใน กทม. ยังมีพื้นที่ตาบอดจำนวนมาก ที่พอที่จะรองรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ อีกทั้งไม่ก่อปัญหามลพิษ และไม่สร้างปัญหาภาวะโลกร้อน อีกทั้งจะลดค่าใช้จ่ายด้านสายส่งด้วย

  • เพื่อลดความเสี่ยงด้านพลังงาน เพราะเกาะฮ่องกง ก็ยังใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

  • เพื่อลดกระแสต่อต้านของคนใน ตจว. เพราะ พื้นไหนใช้ไฟมากควรจะรับความเสี่ยงเอง ชีวิตคนกรุงเทพฯ กับชีวิตคน ตจว. น่าจะมีค่าของการชีวิตเท่ากัน

  • เพื่อลดค่าไฟฟ้าของ คนกรุงเทพฯ ลงหน่วนกิต ละ 50 สตางค์

  • แผนของการใช้พลังงานของประเทศ ที่จะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รวมกันประมาณ 5.0 MW ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าเก่า ใน กทม.
  • ... ความเห็นของคุณ

จากเวบ กระทรวงพลังงาน http://www.energy.go.th/moen/KnowledgeDetail.aspx?id=61


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ไฟฟ้า นับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม ปัจจุบันสถิติการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรเชื้อเพลิงหลัก ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติรวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทน รูปแบบต่าง ๆ ควบคู่กันไป
สำหรับพลังงานนิวเคลียร์ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงด้านพลังงานประเทศ ทั้งนี้เทคโนโลยีและมาตรฐานความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า 50 ปี โดยปัจจุบันมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวม 437 โรง รวมทั้งอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างเพิ่มอีกในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย

ลักษณะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกชื่อตามประเภทของเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้ต้นกำเนิดพลังงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะอาศัยพลังความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการแตกตัวของธาตุยูเรเนียม แล้วนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไอน้ำที่ใช้ในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

รูปแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก อาคารปฏิกรณ์ อาคารกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอาคารอุปกรณ์ประกอบ รวมถึงบางแห่งอาจมีหอระบายความร้อน (Cooling Tower) ด้วย
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกมี 3 แบบ ได้แก่
- แบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor – BWR)
- แบบความดันสูง (Pressurized Water Reactor –PWR)
- แบบแคนดู (CANDU)

กระบวนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำเดือด
ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบวงจรเดียว ความดันภายในหม้อปฏิกรณ์ประมาณ 6 – 9 ล้านปาสกาล อุณหภูมิน้ำประมาณ 285 องศาเซลเซียส ไอน้ำจะถูกส่งไปกังหันโดยตรงเพื่อผลิตไฟฟ้า

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบความดันสูง
ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบสองวงจร ความดันภายในหม้อปฏิกรณ์ประมาณ 15.6 ล้านปาสกาล อุณหภูมิน้ำสูง ประมาณ 315 องศาเซลเซียส แต่ไม่เดือดเป็นไอเนื่องจากถูกควบคุมด้วยเครื่องอัดความดัน น้ำร้อนจะถูกส่งไปยังเครื่องผลิตไอน้ำเพื่อทำให้น้ำในอีกวงจรหนึ่งเดือด ไอน้ำจะถูกส่งไปยังกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบแคนดู
ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบสองวงจร แต่ใช้น้ำหนักมวล (Heavy water,D2O) แทนน้ำธรรมดา น้ำหนักมวลในท่อเชื้อเพลิงมีความดันประมาณ 10 ล้านปาสกาล มีอุณหภูมิสูงประมาณ 310 องศาเซลเซียส แต่ไม่เดือดเป็นไอเนื่องจากถูกควบคุมด้วยเครื่องอัดความดันน้ำร้อนจะถูกส่งไปยังเครื่องผลิตไอน้ำเพื่อทำให้น้ำในอีกวงจรหนึ่งเดือด ไอน้ำไปยังกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า

เศรษฐศาสตร์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แม้จะใช้เงินลงทุนก่อสร้างสูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนชนิดอื่น อันเนื่องจากมาตรการความปลอดภัยหลายชั้นและใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานสูงมาก แต่ได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิตต่อหน่วยถูกกว่า เนื่องราคาค่าเชื้อเพลิงต่ำและไม่ผันผวนเช่นเดียวกับน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

ความปลอดภัย
มาตรฐานความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นไปตามมาตรฐานของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) โดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อสาธารณชนและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ อาทิ ใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมที่มีความเข้มข้นต่ำ และปฏิกรณ์ได้รับการออกแบบให้ทำงานเฉพาะในสภาวะปฏิกิริยาแตกตัวคงที่เท่านั้นไม่สามารถเกิดการระเบิดในลักษณะเดียวกับระเบิดปรมาณู มีส่วนปิดกั้นรังสีหลายชั้น และมีระบบป้องกันฉุกเฉิน

กากกัมมันตรังสี
พลังงานนิวเคลียร์เป็นเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าที่คำนึงถึงการเก็บกำจัดของเสียจากกระบวนการผลิตและนำค่าใช้จ่ายเข้ารวมไว้ในต้นทุนการดำเนินการทั้งหมดแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนอื่น ๆ รวมทั้งมีกากกัมมันตรังสี ปริมาณน้อย
นอกจากนี้เชื้อเพลิงใช้แล้วยังอาจนำไปสกัดใช้ใหม่ได้หรือสามารถเก็บไว้ในตัวโรงไฟฟ้าจนกว่าจะมีนโยบายการกำจัดในรูปแบบอื่น ๆ ตลอดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ จะมีกากกัมมันตรังสีต่ำประมาณ 9,000 – 30,000 ถัง (ขนาด 200 ลิตร) ส่วนกากกัมมันตรังสีสูงคงอยู่ในมัดเชื้อเพลิงที่ผ่านการผลิตไฟฟ้าแล้ว

เชื้อเพลิงนิวเคลียร์
เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ คือ แร่ยูเรเนียมที่ผ่านการแปรสภาพองค์ประกอบ ทำให้เป็นเม็ดและประกอบเป็นแท่งมัดรวมกันเพื่อนำไปใช้ในปฏิกรณ์ กำหนดการเปลี่ยนเชื้อเพลิงใหม่อาจกระทำเป็นรายวัน เช่น ในปฏิกรณ์แบบแคนดู หรือรายปี เช่นในปฏิกรณ์แบบ BWR และ PWR ยูเรเนียม-235 เพียงหนึ่งกรัมให้ความร้อนเทียบเท่าถ่านหินชั้นดี 3 ตัน หากใช้ครั้งเดียวยูเรเนียมที่ใช้ในโรงไฟฟ้าขนาด 1,000 เมกะวัตต์ จะมีอัตราสิ้นเปลืองประมาณ 30 ตันต่อปี

สิ่งแวดล้อม
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับต่ำ เนื่องจากปลอดก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซที่เป็นภัยต่อสุขภาพ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ นอกจากนั้น ตามกฎเกณฑ์มาตรฐานกำหนดให้อุณหภูมิน้ำที่เข้าไปรับความร้อนจากเครื่องควบแน่น เมื่อวัด ณ จุดระบาย ยังไม่แตกต่างไปจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนอื่น
ในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดกำลังผลิต 1,000 เมกะวัตต์ เป็นเวลาหนึ่งปีจะมีเชื้อเพลิงใช้แล้วประมาณ 8 – 20 ลูกบาศก์เมตร สามารถเก็บโดยแช่ในสระน้ำได้หากยังไม่มีนโยบายสกัดเชื้อเพลิงกลับมาใช้อีก

รังสี
จากข้อมูลทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency – IAEA) รังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เดินเครื่องอยู่ทั่วโลกมีประมาณร้อยละ 0.15 ของรังสีโดยรวมจากแหล่งต่าง ๆ
รังสีเป็นสิ่งที่มีอยู่และเกิดตามธรรมชาติ มนุษย์เราอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมและท่ามกลางสิ่งประดิษฐ์ซึ่งแผ่รังสีให้ทั้งคุณและโทษอยู่ตลอดเวลา โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แม้แต่ในร่างกายเราเองก็มีสารกัมมันตรังสีประกอบอยู่ด้วยหลายชนิด เช่น คาร์บอน -14, โปแตสเซียม -40, และโปโลเนียม -210
นอกจากนี้แสงและความร้อนซึ่งเกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์ก็จำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อการดำรงชีวิตของเรา

จำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency – IAEA) รายงานว่าเมื่อสิ้นปี 2549 ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดินเครื่องอยู่ 437 หน่วย กำลังการผลิตรวม 265,800 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของไฟฟ้าที่ผลิตทั้งหมด
ตารางแสดงจำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก
ประเทศ
จำนวน
ประเทศ
จำนวน
ประเทศ
จำนวน
สหรัฐอเมริกา
103(1)
สเปน
8
แอฟริกาใต้
2
ฝรั่งเศส
59
เบลเยี่ยม
7
จีน
11(4)
ญี่ปุ่น
55(2)
บัลแกเรีย
2
เม็กซิโก
2
สหราชอาณาจักร
19
สวิตเซอร์แลนด์
5
บราซิล
2
รัสเซีย
31(5)
สาธารณรัฐสโลวัก
5(2)
ปากีสถาน
2(1)
แคนนาดา
18(2)
สาธารณรัฐเช็ก
6
สโลเวเนีย
1
เยอรมนี
17
ฟินแลนด์
4(1)
โรมาเนีย
1(1)
ยูเครน
15
ฮังการี
4
อิหร่าน
(1)
สวีเดน
10
อาร์เจตินา
2(1)
อาร์เมเนีย
1
อินเดีย
17(6)
ลิธัวเนีย
1
ไต้หวัน
6(2)
เกาหลีใต้
20(1)
เนเธอร์แลนด์
1
**ในวงเล็บ คือ จำนวนโรงไฟฟ้าที่อยู่ในระหว่างก่อสร้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น