วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

1998 Esso Longford Gas Plant Explosion








ลองตามไปอ่านดู http://en.wikipedia.org/wiki/1998_Esso_Longford_gas_explosion

ลอกมาให้อ่านแค่ส่วนหนึ่ง
In 1998, the Longford gas plant was owned by a joint partnership between Esso and BHP. Esso was responsible for the operation of the plant. Esso was a wholly owned subsidiary of US based company Exxon, which has since merged with Mobil, becoming ExxonMobil. BHP has since merged with UK based Billiton becoming BHP Billiton.
Built in 1969, the plant at Longford is the onshore receiving point for oil and natural gas output from production platforms in Bass Strait. The Longford Gas Plant Complex consists of three gas processing plants and one crude oil stabilisation plant. It was the primary provider of natural gas to Victoria, and provided some supply to New South Wales.

A Royal Commission was called into the explosion at Longford, headed by former High Court judge Daryl Dawson. The Commission sat for 53 days, commencing with a preliminary hearing on 12 November 1998 and concluding with a closing address by Counsel Assisting the Royal Commission on 15 April 1999.
Esso initially blamed the accident on worker negligence, in particular Jim Ward, one of the panel workers on duty on the day of the explosion.
There is no evidence that Esso blamed the operator.
The findings of the Royal Commission, however, cleared Ward of any negligence or wrong-doing. Instead, the Commission found Esso fully responsible for the accident:
The causes of the accident on 25 September 1998 amounted to a failure to provide and maintain so far as practicable a working environment that was safe and without risks to health. This constituted a breach or breaches of Section 21 of the Occupational Health and Safety Act 1985.
Other findings of the Royal Commission included:


  • the Longford plant was poorly designed, and made isolation of dangerous vapours and materials very difficult; สาเหตุระบุชัด ออกแบบห่วย!!!
  • inadequate training of personnel in normal operating procedures of a hazardous process;
  • excessive alarm and warning systems had caused workers to become desensitised to possible hazardous occurrences;
  • the relocation of plant engineers to Melbourne had reduced the quality of supervision at the plant;
  • poor communication between shifts meant that the pump shutdown was not communicated to the following shift. Certain managerial shortcomings were also identified:
  • the company had neglected to commission a HAZOP (HAZard and OPerability) analysis of the heat exchange system, which would almost certainly have highlighted the risk of tank rupture caused by sudden temperature change;
  • Esso's two-tiered reporting system (from operators to supervisors to management) meant that certain warning signs such as a previous similar incident (on 28 August) were not reported to the appropriate parties;
  • the company's "safety culture" was more oriented towards preventing lost time due to accidents or injuries, rather than protection of workers and their health.

ถ้าต้องปิดตาย 3 โครงการ ในมาบตาพุด จะเกิดอะไรขึ้น!!!



ถ้าไม่สามารถตอบ คำถาม ท่ามกลางข่าว แผ่นดินไหว ขณะนี้ ... และอย่าคิดว่า ค่าโฆษณา ซื้อสื่อมวลชน ได้ทั้งหมด
- หุ้น จะหลุดรูด แบบคนท้องเสีย
- โครงการต่อเนื่อง ดำเนินการไม่ได้ จำเป็นต้องขึ้นราคา ก๊าซ น้ำมัน ในประเทศ
- กระทบเศรษฐกิจ ... จาก GDP +3.5 เหลือ +1.5 หรือ - 5.0
... แล้วอะไรอีก ผู้บริหาร รัฐบาล กับ ผู้บริหาร ของโรงงาน ที่วางตัวเองไว้ว่าจะลอยตัว คงจะลอยไปติดลมบนแล้ว เชือกมันดันขาด ... มันก้อต้องตกร่วงหล่นลงมา เลิกโฆษณาสร้างภาพที่ขาดความจริงใจ แต่ก้อเชื่อ อย่างหนึ่งว่า จะนั่งทำหน้าเฉยๆ อยู่กันต่อไป แบบขาดความรับผิดชอบ !!!
แล้ว นักลงทุน นักอุตสาหกรรม ที่เอาแต่ขู่ฟอด!!! ทุกวัน จะได้ก้มหน้า ยิ้มแหะๆ (ญี่ปุ่นคงจะหุบปากไปเลย) เพราะชอบทำอะไรๆกันแบบเห็นแก่กำไร-เอาไวเข้าว่า ทิ้งความเสี่ยง ไว้ให้คนพื้นที่-คนทำงาน ผู้บริหารไม่ได้มานอนอยู่แถวนี้ รู้ความจริงกันเมื่อไหร่ ฝนตกหนักๆ คืนไหนๆ นอนไม่หลับกันทั้งเมือง ... มาบตาพุด

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ขีดเส้นมาบตาพุด - ขยันขีดกันจัง







ขีดเส้นมาบตาพุดจบใน 5 เดือน "ไตรรงค์" แนะ 30 โครงการยื่นอุทธรณ์ซ้ำ
กลุ่มพิทักษ์อากาศฯ ให้เวลา ปตท. แค่ 6 ก.พ. 53 เหลือเวลา ไม่ถึง 2 สัปดาห์

สรุปผลประชุม กรอ. เอกชนจี้รัฐเคลียร์มาบตาพุด เตรียมบินชี้แจงนักลงทุนยุ่น มี.ค.นี้ ขีดเส้นการทำงานไม่ควรนานเกิน 5 เดือน นายกฯ ชี้ ปัญหามาบตาพุด ต้องเร่งดำเนินตาม รธน. มาตรา 67 "ไตรรงค์" แนะ 30 โครงการ ยื่นอุทธรณ์ซ้ำ ลั่น 5 เดือน จบได้แน่ "บีโอไอ" นัดถกหอการค้าญี่ปุ่น พรุ่งนี้ แจงปัญหา-อุปสรรคการลงทุน นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยระบุว่า ภาคเอกชนได้แสดงความเป็นห่วงปัญหาการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทั้งนี้ ภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐเร่งหาทางออกกฎกติกาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 67 วรรค 2 เกี่ยกับ แนวทางปฏิบัติในเรื่องของการจัดทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) การจัดทำผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) การรับฟังความคิดเห็นกับผู้เกี่ยวข้องและการจัดตั้งองค์กรอิสระ เพื่อให้เกิดความชัดเจนภายใน 5 เดือน นอกจากนี้ ภาคเอกชนยังต้องการให้รัฐบาลแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าในการดำเนินการของภาครัฐ ภายในกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2553 นี้ เพื่อที่ภาคเอกชนจะได้แนวทางดังกล่าวไปชี้แจงต่อนักลงทุนญี่ปุ่น ในการประชุมระหว่างวันที่ 14-15 มีนาคม 2553 ให้เกิดความเชื่อมั่นและขยายฐานการลงทุนไปยังต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชน มองว่า การทำงานของภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา ที่มีการออกกฎระเบียบต่างๆ ยังไม่เพียงพอ จึงต้องมีการออกเป็นกติกา หรือกฎหมายให้ชัดเจนกว่านี้ นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการ กรอ.จังหวัด ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการยกเลิกเที่ยวบินประจำของสายการบิน รวมทั้งกำหนดมาตรการสนับสนุนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางทางอากาศมากขึ้น และหามาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการสายการบินเข้ามาให้บริการในเส้นทางที่ยกเลิก หรือที่ยังไม่มีสายการบินให้บริการเที่ยวบินประจำ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า การประชุม กรอ. เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่ประชุมมีความกังวลเรื่องของนักลงทุนต่างชาติที่ไม่อยากมาลงทุนในไทยเกี่ยวกับปัญหามาบตาพุด แต่ทั้งนี้การดำเนินการต้องเคารพคำตัดสินของศาล โดยการยื่นขอดำเนินการต่อของ 30 โครงการนั้น อาจขออนุญาตไม่ถูกต้อง โดยเป็นการขอเปิดกิจการ ไม่ได้ขอก่อสร้างต่อ ดังนั้นจะให้เอกชน 30 โครงการยื่นใหม่ โดยให้ไปหารือข้อกฎหมายกับอัยการสูงสุด ส่วนจะให้ภาครัฐ อัยการสูงสุด หรือเอกชน เป็นผู้ยื่นขออีกรอบนั้น คงต้องรอหารือข้อกฎหมายอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม จะผลักดันให้ทันเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยนี้ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดตั้งศูนย์ประสานการบริการด้านการลงทุน (ONE START ONE STOP) หรือ OSOS เพื่อให้คำปรึกษาข้อกฎหมายปัญหามาบตาพุด เชื่อว่า ภายใน 5 เดือนปัญหาทุกอย่างจะจบ **นายก แนะเร่งทำตาม รธน.มาตรา 67 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหามาบตาพุด โดยเฉพาะ 30 โครงการนั้น เข้าใจว่า 4-5 โครงการ ไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับในคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองจึงหลุดออกมาส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือนั้นกำลังดำเนินการ 2 ส่วน คือ ส่วนแรกที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง โดยตอนนี้รวมกันอยู่ที่ศูนย์บริการ OSOS ซึ่งนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ กับนายสรยุทธ์ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมเข้าไปดูแลเต็มที่ ส่วนที่สอง คือ กำลังหารือกับอัยการและดูว่าจะมีช่องทางเพิ่มเติมได้ในบางโครงการ เมื่อถามว่า เอกชนกังวลว่าเวลาอาจทอดช้าไป นายกฯกล่าวว่า หากทุกคนรีบเข้ากระบวนการนี้ก็หวังว่า 6-8 เดือนจะจบแต่ถ้าบางโครงการที่ยังเป็นอุปสรรคก็กำลังดูช่องทางและแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ขอย้ำว่าเอกชนเข้าใจเพียงแต่ทุกคนอยู่ในสถานการณ์ที่อาจไม่สามารถพูดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ในเรื่องข้อกฎหมาย แต่ทุกคนต้องเคารพกระบวนการศาลและตอนนี้ก็ให้ความร่วมมือในการดำเนินมาตรการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสองที่รัฐบาลได้วางไว้ **บีโอไอ นัดถกหอการค้าญี่ปุ่น แจงหมดเปลือก ด้านนางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (28 มกราคม 2553) นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และบีโอไอ จะจัดประชุมหารือร่วมกับนายโย จิซึคาตะ ประธานหอการค้าญี่ปุ่นกรุงเทพฯ (Japanese Chamber of Commerce, Bangkok: JCC) และคณะกว่า 20 คน เพื่อร่วมระดมความคิดเห็นและรับฟังปัญหาและอุปสรรคในการลงทุน และการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจะนำไปปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระดับโลกให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น สำหรับประเด็นสำคัญที่หอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ จะเสนอเพื่อหารือในที่ประชุม คือ ความคืบหน้าของการส่งเสริมการจัดตั้งกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค หรือ ROH (Regional Operating Headquarter) ซึ่งทางหอการค้าญี่ปุ่นต้องการให้สามารถดำเนินกิจการที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่คณะอนุกรรมการ ROH ที่มี นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน จะเชิญภาคเอกชนและผู้แทนจากหอการค้าญี่ปุ่นมาร่วมให้ความเห็นด้วย ส่วนความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหามาบตาพุด ก็เป็นอีกประเด็นที่ทางหอการค้าญี่ปุ่นต้องการหารือเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ซึ่งในการประชุมจะมีผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรอ. และ กนอ. ชี้แจงถึงความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาในช่วงที่ผ่านมาให้หอการค้าญี่ปุ่นทราบ

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

14 กุมภาพันธ์ 2553 - เตรียมรับสถานการณ์ร้อน มาบตาพุด

โรงแยกก๊าซ ปตท. มาบตาพุด ระยอง

14 กุมภาพันธ์ 2553 - เตรียมรับสถานการณ์ร้อน ที่อาจจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม และความไม่เชื่อมั่นกับภาคอุตสาหกรรมแบบมีนัยสำคัญ ว่าที่ดำเนินการต่างๆ ที่ผ่านมานั้น ได้ทำกันโดยความปลอดภัย หรือ หมกเม็ด เพราะพอเกิดปัญหารุนแรงอะไรเกิดขึ้น ก้อจะเริ่มควานหาว่าใครผิด !!! หลังจากเหตุสยดสยองเกิดขึ้นไปแล้ว!!! แบบที่เคยเกิดขึ้นเป็นประจำและไม่ควรจะเกิด กรณีเหตุแผ่นดินไหว ในเฮติ จะบอกว่าให้รู้ว่า ถ้าจะสร้างอะไร ควรทำให้แข็งแรง เพราะโลกใบนี้กำลังอยู่ในภาวะแปรปรวนหาความแน่นอนอะไรไม่ได้ จากฝีมือมนุษย์ ที่เป็นได้แค่ผู้อาศัย แต่ชอบแอบอ้างว่า ... โลกใบนี้ เป็น " โลกมนุษย์ " อุตริความคิดจัง

ปตท.พลิกแผ่นดินค้นหาช่อง กม.แก้มาบตาพุด เล็งยื่นศาล ปค.สูงสุด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
25 มกราคม 2553 11:52 น.
ปตท.เร่งปรึกษาช่องทางกฎหมาย กนอ.-กรมโรงงานฯ หลังศาลปกครองกลางยกคำร้องคดี "มาบตาพุด" เล็งอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุด เพื่อยื่นขอถอดออกจากการถูกคำสั่งระงับโครงการชั่วคราว มีรายงานข่าวว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เตรียมหารือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรณีคำสั่งศาลปกครองมีคำสั่งยกคำร้องโครงการในมาบตาพุด หลังจากที่เอกชน ยื่นขอถอดออกจากการถูกระงับโครงการชั่วคราว เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยจะหารือกับฝ่ายกฎหมายว่า ปตท.จะสามารถยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุดได้หรือไม่ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีดังกล่วว่า หากดูคำสั่งของศาลปกครองกลางแล้ว ปตท.พบว่า มีช่องทางทางกฎหมายที่สามารถดำเนินการเพื่อให้โครงการเดินหน้าได้ เช่น การหารือกับหน่วยงานที่ออกใบอนุญาต ทั้ง กนอ. และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต้องดูว่าจะให้ใบอนุญาตประกอบกิจการหรือไม่ “โดยในกรณีนี้ทางกลุ่ม ปตท.จะให้โครงการที่ถูกระงับยื่นหารือเป็นรายโครงไป ขณะเดียวกัน ปตท.จะหารือกับฝ่ายกฎหมายว่ากรณีนี้จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อขอถอดจากการระงับโครงการได้หรือไม่ เรากำลังหาช่องทางกฎหมายเพื่อดำเนินการ โดยกรณีอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุด คงต้องหารือร่วมกันว่า ควรจะอุทธรณ์หรือไม่” นายอรรถพล กล่าวว่า ภายในกลุ่ม ปตท.ได้หารือกันอย่างใกล้ชิดโดยตลอด ทำแผนร่วมกันต่อเนื่องทั้งเรื่องผลกระทบต่อแผนการผลิต โดยเฉพาะโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 6 ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตแอลพีจี และเป็นวัตถุดิบต้นทางของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมไปถึงโครงการของบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) โดยในส่วนของการผลิตของบริษัทในเครือ ยอมรับว่าบางโครงการต้องลดกำลังผลิตลง เพราะวัตถุดิบไม่เพียงพอ ในขณะเดียวกันได้มีการเลื่อนการปิดซ่อมบำรุงโรงแยกก๊าซฯ โรงอื่นๆ เพื่อลดการนำเข้าแอลพีจีให้มากที่สุด ส่วนการนำเข้าแอลพีจีที่เพิ่มมากขึ้นกว่า 100,000 ตันต่อเดือนนั้น ปตท.จะเริ่มนำเข้าและขนถ่ายที่คลังก๊าซลอยน้ำบริเวณเกาะสีชัง เป็นครั้งแรกในปลายเดือนมกราคม 2553 นี้ โดย ปตท.ร่วมกับกระทรวงพลังงาน ดูแลการนำเข้าไม่ให้แอลพีจีขาดแคลน แต่ต้องยอมรับว่าต้นทุนของประเทศพุ่งสูงขึ้นตามปริมาณและราคาแอลพีจีที่นำเข้าสูงขึ้น ด้านนายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวย้ำอีกครั้งว่าจะดูแลแอลพีจีไม่ให้ขาดแคลน และในส่วนการปฏิบัติการตามกรอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 นั้น ได้สั่งให้ กลุ่ม ปตท.ดำเนินตามกรอบดังกล่าว โดยเฉพาะการทำการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) ซึ่งทาง ปตท.รายงานว่า พร้อมปฏิบัติตามทั้งคำสั่งศาล โดยจะดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2553 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งยกคำร้องกรณีเอกชนเจ้าของโครงการ 30 โครงการในมาบตาพุด ยื่นขอถอดจากการถูกระงับโครงการชั่วคราว ระบุว่าศาลฯ ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย หรือไม่มีอำนาจพิจารณาประเด็นที่ยื่นขอมา โดยบริษัทเอกชนที่ยื่นขอถอดจากการถูกระงับโครงการชั่วคราวนั้น เป็นกรณีที่โครงการนั้นๆ ได้รับอนุญาตก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 และในบางกรณีเป็นโครงการที่บริษัทมองว่า ไม่น่าก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน ตามคำสั่งศาลฯ ระบุว่า ในกรณีโครงการ หรือกิจกรรมที่ได้รับใบอนุญาตก่อนรัฐธรรมนูญปี 2550 ประกาศใช้นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องสามารถตรวจสอบได้จากเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีอำนาจอนุญาตตามกฎหมายนั้นๆ ศาลจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในกรณีนี้ ส่วนกรณีโครงการของผู้ร้องเป็นกิจกรรมตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยไว้เมื่อธันวาคม 2552 โดยระบุว่า บางโครงการไม่น่าก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงอย่างชัดเจน กรณีนี้จึงเป็นที่สุด ศาลปกครองกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาประเด็นนี้ สำหรับกรณีโครงการที่ไม่ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น ผู้ร้องสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และใช้เป็นหลักฐานแสดงว่า โครงการของผู้ร้องได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้คำสั่งการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาของศาลฯ และก่อนคำสั่งศาลปกครองสูงสุด โดยไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า โครงการของผู้ร้องได้รับการยกเว้น ศาลจึงไม่จำเป็นต้องมีคำวินิจฉัย กรณีนี้ศาลฯ ยังระบุว่า กรณีที่ผู้ร้องอ้างว่า ขณะนี้ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เปลี่ยนไปนั้น เห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องแต่ละรายเคยนำเสนอในชั้นไต่สวนแล้ว จึงไม่มีข้อเท็จจริงใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่ศาลจะมีคำสั่งตามคำร้องดังกล่าว

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

Uncontrollable Risk and Unknown Risk


ทุกโครงการขนาดใหญ่ มีการประเมินความเสี่ยง ในหลายๆด้าน และในรายการเหล่านั้น คือ ความเสี่ยงที่ได้รับการรับรู้แล้ว

แนวทางในการลดความเสี่ยงของการวิบัติของอาคารสำหรับผู้ประกอบการ

ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย คุณมั่น ศรีเรือนทอง
วิศวกรรมสาร
(การสัมมนาเรื่องความเสี่ยงของการวิบัติ ในโรงงาน
จัดโดย การนิคมอุตสาหกรรม วสท.และ กรุงเทพธุรกิจ)

อาคารคือสิ่งปลูกสร้างถาวรที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยมีจุดประสงค์ในการใช้งานที่ชัดเจนตามอายุการใช้งาน ของอาคารที่จำกัด แม้จะปรากฏว่าสิ่งปลูกสร้างโบราณหลายแห่งจะสามารถคงทนถาวรอยู่ได้เป็นพันปี แต่โดยปกติแล้ว อาคารที่ก่อสร้างในยุคสมัยปัจจุบัน อายุการใช้งานของอาคารมักถูกกำหนดด้วยคุณค่าทางเศรษฐกิจของอาคาร โดยเฉลี่ยแล้ววิศวกรมักจะถือว่าอาคารมีอายุประมาณ 50 ปี เมื่อหมดคุณค่าทางเศรษฐกิจแล้ว แม้โครงสร้างอาคารจะมีความคงทนถาวรต่อไป ก็มักจะถูกรื้อถอน เพื่อให้สามารถใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์อย่างเต็มที่ ด้วยเหตุผลนี้ เราจะไม่ค่อยได้พบเป็นข่าวว่า อาคาร ก. อาคาร ข. ได้เกิดการทรุดพังเป็นมรณะกรรมตามปกติวิสัยด้วยถึงแก่อายุขัยของมันแล้ว (เหมือนอย่างกรณีสังขารของมนุษย์) กรณีอาคารพัง จึงมักก่อนวัย เช่น เกิดการพังทลายตอนระหว่างก่อสร้าง (ถ้าเทียบกับมนุษย์ คือการตายตั้งแต่อยู่ในท้อง) หรือพังทลายเพราะภัยจากการใช้งานหนักกว่าที่อาคารจะทนได้จากภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว จากการใช้งาน เช่น อัคคีภัย หรือแม้กระทั่งจากการก่อการร้าย เช่น กรณีคนร้ายขับเครื่องบินชนตึกเวิรด์เทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์ก เป็นต้น

การวิบัติของอาคารที่กำลังก่อสร้าง หรือเพิ่งสร้างแล้วเสร็จ หรือในระหว่างการใช้งาน นอกเหนือจากเหตุสุดวิสัยแล้ว มักเกิดจากความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง หรือในหลายขั้นตอน ซึ่งเกิดขึ้นได้เพราะ
(1)
ความไม่รู้ (ignorance)
(2)
ความประมาทและละเลย (carelessness and negligence)
(3)
ความโลภ (greed)

ความคลาดเคลื่อน สามารถเกิดขึ้นได้ในสามขั้นตอนของวงจรอายุอาคาร ดังต่อไปนี้
(1)
ขั้นตอนการพัฒนาแบบอาคาร
(2)
ขั้นตอนในการก่อสร้างอาคาร และ
(3)
ขั้นตอนในการใช้งานอาคาร

กลุ่มคนที่มีบทบาทและความรับผิดชอบในกิจกรรมสามขั้นตอนนี้ ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) ประกอบด้วย

(1)
กลุ่มเจ้าของอาคารหรือตัวแทน
(2)
กลุ่มผู้ออกแบบ ได้แก่ สถาปนิก วิศวกรโครงสร้าง และวิศวกรงานระบบ
(3)
กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง
(4)
กลุ่มผู้ใช้อาคารรวมทั้งสาธารณชนในกรณีอาคารสาธารณะ
(5)
กลุ่มผู้ตรวจสอบและดูแลรักษาอาคารและอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในอาคาร

ความคลาดเคลื่อนในขั้นตอนการพัฒนาแบบอาคาร
ขั้นตอนนี้ผู้มีบทบาทประกอบด้วย
(1)
เจ้าของอาคาร (ในฐานะผู้ว่าจ้าง) หรือตัวแทน (ที่ปรึกษา)
(2)
กลุ่มผู้ออกแบบ (ในฐานะผู้รับจ้างและผู้รับผิดชอบในแบบอาคารให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย ตามกฎหมายและตามหลักวิชาชีพ)

ความรับผิดชอบของเจ้าของอาคาร หรือที่ปรึกษาตัวแทน คือ ต้องกำหนดการใช้งานของอาคารอย่างชัดเจนว่า เมื่ออาคารนี้สร้างเสร็จแล้ว ส่วนไหนของอาคารจะมีการใช้งานอย่างไรบ้าง เพื่อสถาปนิกผู้ออกแบบจะได้พิจารณาออกแบบพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน และวิศวกรระบบจะได้พิจารณาติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ให้เหมาะสมเพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยจากการใช้งาน ส่วนวิศวกรโครงสร้างจะได้พิจารณาภาระการรับน้ำหนักสูงสุดที่สามารถเกิดขึ้นจากการใช้งานดังกล่าว รวมทั้งน้ำหนักอุปกรณ์ต่างๆ ภายในอาคาร เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบส่วนต่างๆ ของโครงสร้างอาคารให้สามารถรับน้ำหนักดังกล่าวได้ รวมทั้งน้ำหนักที่เกิดจากแรงตามธรรมชาติ เช่น แรงลม และแรงสั่นสะเทือนเนื่องจากแผ่นดินไหว โดยต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยตามหลักวิชาชีพและตามกฎหมาย โดยผู้ออกแบบจะต้องมีหน้าที่พัฒนาแบบเพื่อยื่นขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการก่อสร้างตามแบบด้วย

ขั้นตอนนี้ การสื่อสารระหว่างเจ้าของอาคารและกลุ่มผู้ออกแบบ และระหว่างกลุ่มผู้ออกแบบเอง มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างระหว่างกัน อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิด ซึ่งจะส่งผลถึงปัญหาการก่อสร้างที่จะต้องปรับเปลี่ยนแก้ไขแบบก่อสร้างที่หน้างาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะส่งผลอย่างแน่นอนถึงความปลอดภัยของขั้นตอนการใช้งานอาคารในภายหลัง

ความคลาดเคลื่อนในขั้นตอนการก่อสร้างอาคาร
ขั้นตอนนี้ผู้มีบทบาทมากที่สุดคือ กลุ่มผู้รับเหมา และกลุ่มเจ้าของอาคาร ซึ่งโดยปกติมักจะต้องจ้างที่ปรึกษาที่เป็นวิศวกรหรือสถาปนิก มาทำหน้าที่เป็นผู้แทน เพื่อควบคุมให้กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ตามแบบที่กลุ่มผู้ออกแบบได้ออกแบบไว้ในขั้นตอนนี้ โดยหลักวิชาชีพ กลุ่มผู้ออกแบบจะต้องเข้าร่วมประชุมเพื่อสังเกตการณ์ว่า การก่อสร้างได้ทำตามแบบที่ออกแบบไว้จริง และเพื่อให้คำปรึกษาในกรณีที่แบบไม่ชัดเจน หรือต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับหน้างาน เมื่อการก่อสร้างอาคารสมบูรณ์แล้ว ถ้าเป็นอาคารที่ต้องมีใบอนุญาตการใช้งาน ก็จะต้องยื่นขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อให้มาตรวจสอบว่าการก่อสร้างและการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เป็นไปตามแบบที่ได้รับอนุญาตเมื่อตอนจะเริ่มก่อสร้าง

ความคลาดเคลื่อนในขั้นตอนการใช้งานอาคาร
ขั้นตอนนี้ผู้มีบทบาทมากที่สุด คือ กลุ่มเจ้าของอาคาร รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้อาคารที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของอาคาร เจ้าของอาคารมีหน้าที่ต้องควบคุมให้การใช้งานเป็นไปตามที่เคยกำหนด ไว้แก่กลุ่มผู้ออกแบบในขั้นตอนที่หนึ่ง ขั้นตอนนี้มักมีการปล่อยปละละเลยได้ง่ายที่สุด ด้วยเหตุผลอันเป็นประโยชน์แก่เจ้าของอาคารเอง หรือด้วยไม่เอาใจใส่ของเจ้าของอาคาร การใช้งานผิดไปจากที่เคยกำหนดต่อผู้ออกแบบ อาจทำให้โครงสร้างอาคารต้องรับภาระรับน้ำหนักเกินกว่าที่ออกแบบไว้เป็นประจำ แม้อาคารอาจไม่พังทลายทันทีเพราะวิศวกรโครงสร้างได้เผื่อส่วนความปลอดภัยตามหลักวิชาชีพไว้ แต่อาจทำให้อาคารเกิดการล้าตัว ทำให้เกิดการทรุดโทรมอย่างรวดเร็วจนอาจวิบัติได้ก่อนอายุขัยของอาคาร เพื่อให้การใช้อาคารเป็นไปตามที่ออกแบบไว้ เจ้าของอาคารอาจใช้วิธีตั้งตัวแทน คือ ว่าจ้างกลุ่มผู้ดูแลรักษาอาคารรวมทั้งอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในอาคาร

ความเสี่ยงต่อการวิบัติของอาคาร
ความเสี่ยงของอาคารที่นำไปสู่ความวิบัติทันทีหรือในภายหลัง มักเกิดจากความไม่สอดคล้องของสามขั้นตอน ที่เกิดจากสาเหตุความผิดพลาดข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อดังกล่าว ได้แก่

1.
การก่อสร้างอาคาร ไม่ได้เป็นไปตามแบบที่กลุ่มผู้ออกแบบได้ร่วมทำไว้ ด้วยความผิดพลาดหรือโดยความตั้งใจก็ตาม โอกาสที่การวิบัติจะเกิดทันทีทันใดในระหว่างการก่อสร้าง หรือเมื่อก่อสร้างเพิ่งแล้วเสร็จมีสูงมาก แต่ที่น่ากลัวกว่านั้น คือกรณีที่อาคารยังอยู่ได้อย่างหมิ่นเหม่ ด้วยสุขภาพที่ทรุดโทรม (คือด้วยส่วนความปลอดภัย - factor of safety สูงกว่าหนึ่งเพียงเล็กน้อย) กลายเป็นระเบิดเวลาพร้อมที่จะพังเมื่อไรก็ได้ เพราะอาคารที่แบกน้ำหนักใกล้กำลังตัวเอง มักจะเกิดการล้าทำให้เกิดการคืบตัวและเสียกำลังไปในที่สุด

2.
การใช้อาคาร ไม่ได้เป็นไปตามที่เจ้าของอาคารกำหนดไว้กับกลุ่มผู้ออกแบบ ด้วยความผิดพลาดของการสื่อสารระหว่างเจ้าของงานกับกลุ่มผู้ออกแบบ หรือระหว่างผู้ออกแบบเอง หรือด้วยความจำเป็นในภายหลังจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือด้วยความโลภของผู้ใช้อาคาร ถ้าการใช้อาคารที่เปลี่ยนไปก่อให้เกิดภาระการรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือก่อให้เกิดอุปสรรคต่อระบบความปลอดภัยอื่นๆ เช่น อัคคีภัย ความเสี่ยงภัยที่จะเกิดต่ออาคารและผู้ใช้อาคารก็จะมีมากขึ้น กรณีนี้การวิบัติมักไม่เกิดทันที เพราะส่วนความปลอดภัยที่เผื่อไว้ แต่อาจกลายเป็นระเบิดเวลาที่จะทำให้อาคารล้าและพังได้ในภายหลัง

3.
การใช้อาคารเปลี่ยนไป ทำให้มีการต่อเติมจากการก่อสร้างเดิม กรณีนี้มักเกิดบ่อยที่สุดโดยเฉพาะกับอาคารขนาดเล็กและย่อม และมักเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความจริงแล้วการต่อเติมดัดแปลงอาคารบางอาคาร อาจไม่อันตรายอย่างที่คิด ถ้ามีการคำนวณออกแบบการเสริมกำลังโดยวิศวกรโครงสร้าง และสามารถกระทำได้ในกรอบของกฎหมาย

อัตราความเสี่ยงภัย
การออกแบบในเชิงวิศวกรรม จะต้องมีการเผื่อกำลังไว้เกินภาระการรับน้ำหนักประมาณสองเท่า ถ้าเปรียบเทียบอาคารกับนักยกน้ำหนักแล้ว ก็คือ การคัดนักยกน้ำหนักที่มีขีดกำลังความสามารถในการยกน้ำหนักได้ประมาณ สองเท่าของน้ำหนักจริงที่ต้องการให้ยก อาคารก็เหมือนนักยกน้ำหนัก การยกน้ำหนักเต็มขีดกำลังจะทำให้นักยกน้ำหนักเกิดการล้าอย่างรวดเร็ว และยกไว้ไม่ได้นาน

ดังนั้น จะเห็นว่าถ้าอาคารได้รับการออกแบบตามมาตรฐานแล้ว และถ้าไม่มีการคลาดเคลื่อนเนื่องจากความไม่สอดคล้องของขั้นตอนทั้งสาม โอกาสที่อาคารจะพังทลายลงมามีน้อยมาก ในตารางข้างล่างนี้ David E. Allen แห่ง National Research Council of Canada ได้บันทึกสถิติเปรียบเทียบสถิติอัตราการตายในทุกๆ หนึ่งชั่วโมงที่สัมผัสกับกิจกรรมเหล่านี้ ปรากฏว่า คนตายจากอาคารถล่มมีน้อยกว่า 1 คนต่อคนจำนวน 100,000,000 คนที่สัมผัสกับอาคาร เปรียบเทียบกับกิจกรรมอื่นๆ เช่น นักมวยที่เสียชีวิตมากกว่าถึง 70,000 เท่า

ตารางเปรียบเทียบอัตราผู้เสียชีวิตในกิจกรรมต่างๆ

กิจกรรมที่สัมผัสด้วย จำนวนผู้เสียชีวิตต่อ 1000,000,000 คน ที่สัมผัสกับกิจกรรม

อาคารถล่ม

น้อยกว่า 1

อัคคีภัย

3

อุบัติเหตุระหว่างก่อสร้าง

253

การทำเหมืองแร่ ถ่านหิน

400

การเดินทางโดยรถยนต์

1,040

การเดินทางโดยเครื่องบิน

2,400

การไต่เขาอัลไพน์

40,000

ชกมวยอาชีพ

70,000

การลดความเสี่ยงต่อภัยพิบัติของอาคาร แท้จริงขึ้นกับบทบาทของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) ในการควบคุมและทำหน้าที่ในกิจกรรมส่วนที่ตนเองรับผิดชอบในขั้นตอนทั้งสามขั้นตอน คือ การพัฒนาแบบ การก่อสร้าง และการใช้งานอย่างเคร่งครัด แต่โดยที่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่มีบทบาทมากในการช่วยลดความเสี่ยงคือ ผู้ที่ได้รับการคัดสรรว่าจ้างจากเจ้าของอาคาร ดังนั้น ความเข้าใจในบทบาทและความรับผิดชอบของฝ่ายเจ้าของอาคาร จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากภัยพิบัตินี้

ภาคผนวก ก. กรณีศึกษาการวิบัติของอาคารโรงงาน
กรณีศึกษาที่ 1
อาคารคลังเก็บสินค้า ถนนสุขุมวิท กม. 57 พังทลายล้มลงมาทั้งหลัง เมื่อเดือนเมษายน 2540 อาคารคลังเก็บสินค้าขนาดกว้าง 80 เมตร ยาวประมาณ 200 เมตร ลักษณะโครงสร้างเป็นเสาเหล็กรูปพรรณรองรับโครงหลังคาเหล็กถัก ช่วงยาว 20 เมตร จำนวน 5 ช่วง และวางห่างกันทุกระยะ 6 เมตร เกิดการวิบัติหลังจากมุงหลังคาเสร็จไม่นาน โดยไม่มีเหตุปัจจัยภายนอกที่รุนแรงนอกจากแรงลมปกติธรรมดา

สาเหตุเนื่องจากเสาเหล็กของอาคารตั้งอยู่บนฐานรากที่มีเสาเข็มต้นเดียว ซึ่งไม่มีเหล็กเดือย (Dowel Bar) ยึดระหว่างเสาเข็มกับฐานราก ประกอบกับยังไม่ได้เทคอนกรีตพื้นอาคาร (ซึ่งอาจจะช่วยยึดรั้งฐานรากไว้ได้บ้าง) ทำให้โครงสร้างอาคารมีลักษณะผิดหลักวิศวกรรม ไม่มีเสถียรภาพ ไม่สามารถต้านทานแรงลมธรรมดาๆ ได้

กรณีศึกษาที่ 2
โครงสร้างรองรับท่อ (Pipe Rack) ในโรงงานปิโตรเคมี ถนนสุขุมวิท จ.ระยอง ขนาดความกว้าง 6 เมตร พังทลายลงมาเป็นระยะทาง 180 เมตร ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 36 คน เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2539

สาเหตุ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครงสร้าง จากโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นโครงสร้างเหล็ก โดยผู้รับผิดชอบไม่ได้ตรวจสอบว่าโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงใหม่มีลักษณะผิดหลักวิศวกรรม ไม่มีเสถียรภาพ ทำให้เกิดการวิบัติล้มลงมา แม้ว่าจะไม่มีแรงภายนอก หรือปัจจัยภายนอกมากระทบแต่อย่างใด

กรณีศึกษาที่ 3
อาคารตึกแถวสามชั้นครึ่ง ถนนเทพารักษ์ กม. 21 เกิดเหตุวิบัติโดยการทรุดตัวประมาณ 50-80 เซนติเมตร จำนวน 8 ห้องจากห้องแถวยาว 18 ห้อง เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2541 และเกิดเหตุวิบัติซ้ำโดยตึกแถวที่อยู่ใกล้เคียง จำนวน 5 ห้อง เกิดการทรุดตัวล้มลงทั้งแถวประมาณ 3 เมตร เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2544 ตึกแถวกลุ่มนี้ก่อสร้างและใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 แม้ว่าจะมีการต่อเติมอาคารบ้างในบางคูหา แต่ก็ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการวิบัติ

สาเหตุหลักมาจากเสาเข็มถูกออกแบบไว้โดยมีอัตราส่วนความปลอดภัย (Factor of Safety) ค่อนข้างต่ำ ประกอบกับคุณภาพการก่อสร้างไม่ค่อยดี ทำให้ฐานรากจำนวนมากหนีศูนย์ และเชื่อได้ว่าผลจากแผ่นดินทรุดเนื่องจากการสูบน้ำบาดาล (Load Subsidence) มีผลทำให้เสาเข็มมีความสามารถ รับน้ำหนักลดลงจนต้านทานน้ำหนักอาคารไม่ไหวจึงเกิดการทรุดตัวดังกล่าว

กรณีศึกษาที่ 4
โรงงานผลิตสีเทียน ถนนบางกรวยไทรน้อย จ.นนทบุรี เกิดการพังทลายลงมาทั้งหลัง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2540 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 34 คน เนื่องจากคุณภาพการก่อสร้างต่ำ ประกอบกับมีการดัดแปลงอาคารโดยการต่อเติมชั้นลอย ทำให้โครงหลังคาเหล็กถักขาดจากกัน ดึงให้อาคารพังทลายทั้งหลัง

กรณีศึกษาที่ 5
โรงงาน 5 ชั้น อ.สำโรง จ.สมุทรปราการ เกิดการวิบัติพังทลายทั้งหลัง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2533 ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายคน จากการตรวจสอบพบว่า อาคารโรงงานดังกล่าวขออนุญาตก่อสร้างสองชั้น แต่มีการขยายกิจการ เพิ่มเครื่องจักรและต่อเติมอาคารจนสูง 5 ชั้น ทำให้พังทลายลงมาขณะต่อเติมอาคาร อีกทั้งมีการเปิดทำงานตามปกติตลอดเวลาที่ต่อเติมอาคาร จากการตรวจสอบของ ว.ส.ท. พบว่า เสาอาคารไม่สามารถรับน้ำหนักอาคารที่สูงถึง 5 ชั้นได้ จึงเกิดการวิบัติอย่างฉับพลัน

กรณีศึกษาที่ 6
โรงงานผลิตตุ๊กตา ถนนพุทธมณฑล สาย 4 อ.สามพราน จ.นครปฐม ความสูงสี่ชั้น ขนาดความกว้าง 33.50 เมตร ยาว 65 เมตร จำนวน 3 หลัง เกิดการวิบัติอย่างฉับพลัน หลังจากเกิดเพลิงไหม้ในแต่ละหลังประมาณ 30 นาที เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2536 ทำให้คนงานเสียชีวิตถึง 187 ศพ และบาดเจ็บสาหัสอีกจำนวนมาก

สาเหตุเนื่องจาก เสาและคานเป็นโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ซึ่งไม่มีวัสดุป้องกันอัคคีภัยห่อหุ้มอยู่ ทำให้ไฟสัมผัสกับโครงสร้างเหล็กโดยตรง

กรณีศึกษาที่ 7
โรงงานผลิตตุ๊กตา ถนนพุทธมณฑล สาย 4 อ.สามพราน จ.นครปฐม ความสูง 3 ชั้น ขนาดความกว้าง 30 เมตร ยาว 70 เมตร จำนวน 1 หลัง เกิดการวิบัติอย่างฉับพลันหลังจากเกิดเพลิงไหม้ประมาณ 30 นาที เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 สาเหตุเนื่องจาก เสาและคานเป็นโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ซึ่งไม่มีวัสดุหุ้มป้องกันอัคคีภัยห่อหุ้มอยู่ เป็นที่น่าสังเกตว่าโรงงานแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนเดียวกันกับโรงงานในกรณีที่ 6 โดยอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อย วิศวกรผู้ออกแบบเป็นบุคคลเดียวกัน ลักษณะโครงสร้างคล้ายกัน ประกอบกิจการประเภทเดียวกัน แต่บทเรียนการเสียชีวิตของคนงานถึง 187 ศพ มิได้ทำให้ผู้บริหารโรงงานตระหนักถึงภัยอันตรายที่อาจเกิดแก่โรงงานตนเองได้ ปล่อยให้เกิดเหตุซ้ำรอยได้ แต่โชคดีที่เกิดในช่วงกลางดึกซึ่งมีคนงานเพียงไม่กี่คนทำงานอยู่จึงหลบหนีได้ทันท่วงที

ภาคผนวก ข อาคารสุขภาพเสื่อม อาการจากรอยร้าว
1. รอยร้าว
1.1
อายุของอาคาร
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันเสียก่อนว่าอาคารก็มีอายุใช้งาน เหมือนรถยนต์หรือเครื่องใช้อื่นๆ เพียงแต่อายุใช้งานของอาคารอาจอยู่ได้นานถึง 30-50 ปี และอาจอยู่ได้ถึง 100 ปี ถ้ามีการบำรุงรักษาดูแลที่ดีและสม่ำเสมอ แต่อย่างไรก็ตามอาคารที่มีอายุมากย่อมจะเสื่อมโทรมชำรุดเสียหายเป็นธรรมดาโลก การบำรุงรักษาซ่อมแซมอาคารจึงต้องมีควบคู่กับการใช้งาน ยิ่งอาคารที่มีอายุมากยิ่งต้องซ่อมแซมบำรุงรักษามาก กล่าวโดยคร่าวๆ ได้ว่า อาคารใหม่ๆ ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ควรเป็นใน 5 ปีแรก มักไม่ใคร่มีความชำรุดเสื่อมโทรมมาก ยกเว้นแต่อาคารที่มีปัญหา ฐานรากไม่แข็งแรงจึงจะเกิดรอยร้าวอย่างมากในผนัง หรือเกิดการวิบัติพังทลายได้ในช่วงนี้ ในช่วงอายุ 5-10 ปี อาคารเริ่มจะมีความชำรุดจากอุปกรณ์ที่ใช้ประจำวัน อาทิเช่น หลอดไฟ ก๊อกน้ำ ลูกบิดประตู เป็นต้น ในช่วงอายุ 10-20 ปี ระบบประกอบของอาคารอาจเริ่มมีปัญหา อาทิเช่น หลังคาอาคารอาจมีน้ำรั่วซึม ท่อน้ำประปาอาจรั่ว ท่อระบายเริ่มอุดตัน ผนังอิฐก่อฉาบปูนอาจเริ่มมีรอยแตกร้าวเล็กๆ และผนังส่วนที่เปียกชื้นเป็นประจำเริ่มจะมีร่องรอยการก่อนที่ผิวได้ สำหรับอาคารที่มีอายุเกิน 20 ปี ความชำรุดเสื่อมโทรมเริ่มจะมีมากขึ้น แม้กระทั่งโครงสร้างของอาคารก็อาจเริ่มมีปัญหาได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพการก่อสร้างอาคารตั้งแต่เริ่มต้น

โดยหลักการแล้ว หากเจ้าของอาคารหมั่นดูแลบำรุงรักษา อาคารอาจใช้งานได้ถึง 50 ปี โดยมีการบูรณะซ่อมแซมใหญ่เพียง 1-2 ครั้ง สำหรับในประเทศที่เจริญแล้ว อาคารอาจมีอายุใช้งานถึง 100 ปี หรือมากกว่านั้น แต่เขาก็มีการดูแลปรับปรุงเปลี่ยนระบบให้ทันสมัยเสมอ แต่สำหรับในประเทศไทยเนื่องจากเราไม่ค่อยได้ควบคุมคุณภาพในขณะก่อสร้าง ผู้เขียนมีความเห็นว่าอายุโครงสร้างของอาคารส่วนใหญ่น่าจะอยู่ที่ประมาณ 50 ปีเท่านั้น

1.2 ขนาดของรอยร้าว
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า รอยร้าวในคอนกรีตที่จะกล่าวถึงต่อไป หมายถึง รอยร้าวที่เกิดขึ้นในเนื้อคอนกรีตจริงๆ ไม่ใช่รอยร้าวที่ผิวปูนฉาบ เพราะปกติที่ผิวหน้าของคานและเสาจะมีปูนทรายฉาบพอกอยู่ ซึ่งมีความหนาตั้งแต่ประมาณครึ่งเซนติเมตร ถึง 2 หรือ 3 เซนติเมตร ปูนทรายฉาบนั้นมีเพื่อกลบแต่งผิวคอนกรีตให้เนียนเรียบสวย ฉะนั้นปูนทรายจึงมีความแข็งแรงไม่มากนัก และอาจเกิดการแตกร้าวหรือหลุดร่อนออกจากเนื้อคอนกรีตได้ หลังจากการใช้งานหรือโดนความร้อนสลับกับความเย็นหลายๆ ปี ฉะนั้นถ้าพบรอยร้าวในคานและเสา ก็อย่าเพิ่งตกใจ ขอให้สกัดชั้นปูนทราย เพื่อลอกออกมาให้เห็นเนื้อคอนกรีตจริงๆ เสียก่อนแล้วจึงดูอีกครั้งว่า รอยร้าวนั้นมีอยู่ในเนื้อคอนกรีตจริงหรือไม่ นอกจากนี้ขนาดของรอยร้าวจะต้องมีขนาดรอยแยกกว้างกว่า 0.5 มิลลิเมตร หรือสามารถสอดไส้ดินสอกดขนาด 0.5 เข้าไปในรอยแรกได้ ส่วนลักษณะและความยาวของรอยร้าวจะเป็นไปตามชนิดของรอยร้าว ดังจะกล่าวถึงต่อไป

รอยร้าวในคานที่ปรากฏให้เห็น จะมีรูปร่างได้ต่างๆ นานา เราสามารถแบ่งตามสาเหตุหลักของการแตกร้าวได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ รอยร้าวเนื่องจากคานไม่สามารถรับแรงได้ และอีกประเภทเป็นรอยร้าวเนื่องจากคุณภาพการก่อสร้างไม่ดี หรือเกิดการกัดกร่อน

2. รอยร้าวที่คานคอนกรีต
2.1
รอยร้าวในคานเนื่องจากคานไม่สามารถรับแรงได้
รอยร้าวนี้อาจเกิดเนื่องจากมีน้ำหนักบรรทุก หรือมีแรงเกิดขึ้นมากกว่าความสามารถในการรับแรงของคาน การแตกร้าวของคานประเภทนี้อาจทำให้เกิดการวิบัติพังทลายของโครงสร้างได้ ซึ่งจำแนกตามสาเหตุได้ดังนี้

2.1.1 รอยร้าวเนื่องจากการทรุดตัวต่างระดับของเสาหรือฐานราก


รูปที่ 1 รอยร้าวเนื่องจากการทรุดตัวต่างระดับของเสาหรือฐานราก
(
โดยเสาด้านขวามือทรุดตัวมากกว่า)

2.1.2 รอยร้าวเนื่องจากแรงดัดที่เกิดจากน้ำหนักบรรทุกเกิน


รูปที่ 2 รอยร้าวเนื่องจากแรงดัดที่เกิดจากน้ำหนักบรรทุกเกิน

2.1.3 รอยร้าวเนื่องจากแรงเฉือนที่เกิดจากน้ำหนักบรรทุกเกิน


รูปที่ 3 รอยร้าวเนื่องจากแรงเฉือนที่เกิดจากน้ำหนักบรรทุกเกิน

2.1.4 รอยร้าวเนื่องจากแรงบิด


รูปที่ 4 รอยร้าวเนื่องจากแรงบิด

2.2 รอยร้าวในคานเนื่องจากคุณภาพการก่อสร้างหรือการกัดกร่อน
คุณภาพการก่อสร้างที่ไม่ดีอาจจะทำให้อายุโครงสร้างสั้นลง และเกิดรอยร้าวได้หลากหลายประเภท แต่โครงสร้างมักจะไม่พังทลายหรือวิบัติในเวลาอันรวดเร็ว อาจใช้เวลาหลายปีกว่าจะเกิดความเสียหายอย่างแท้จริง รอยร้าวประเภทนี้มักพบในอาคาร ซึ่งควบคุมการก่อสร้างไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารในบริเวณแถบชายฝั่งทะเลจะพบมากขึ้น อันเนื่องจากไอน้ำเค็มจากทะเลจะทำให้คอนกรีตเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น และเหล็กก็เป็นสนิมเร็วขึ้นเช่นกัน

2.2.1 รอยร้าวเนื่องจากเหล็กเสริมเป็นสนิม


รูปที่ 5 รอยร้าวเนื่องจากเหล็กเป็นสนิม

3. รอยแตกร้าวที่เสา
เสาเป็นโครงสร้างส่วนที่สำคัญมากของอาคาร เพราะเป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของอาคาร เพื่อถ่ายลงสู่ฐานราก หรือพื้นดิน ถ้าเสาอาคารรับน้ำหนักเกินขีดความสามารถจะเกิดการพังทลายอย่างรวดเร็ว โดยมีสัญญาณเตือนภัยน้อยมาก กล่าวอีกนัยหนึ่ง เสาจะเกิดรอยร้าวให้เห็นแล้วก็พังทลายในเวลาอันรวดเร็วจนอาจจะเตรียมตัวหนีไม่ทัน ฉะนั้นถ้าพบรอยร้าวในเสาก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรย้ายออกจากอาคารนั้นและหาวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอาคารหลังนั้นมีการก่อสร้างต่อเติมเพิ่มจำนวนชั้น

ด้วยเหตุที่เสาเป็นโครงสร้างที่สำคัญและมีสัญญาณเตือนภัยน้อยก่อนการวิบัติ ในทางวิศวกรรมจึงออกแบบให้เสามีส่วนเผื่อความปลอดภัย (Factor of Safety) ค่อนข้างสูง ทำให้คนทั่วไปคิดว่าอาคารห้องแถว 2-4 ชั้น สามารถต่อเติมเพิ่มชั้นได้ โดยไม่อันตรายหรือมีอันตรายน้อยกว่าการต่อเติมเพิ่มชั้นในตึกสูงๆ เช่น ตึก 10 ชั้น 20 ชั้น แต่ความเป็นจริงแล้วการต่อเติมเพิ่มชั้นในห้องแถวเตี้ยๆ ขนาด 2-3 ชั้น จะอันตรายมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ห้องแถว 2 ชั้น ต่อเติมเป็น 3 ชั้น เท่ากับเป็นการบังคับให้เสาต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก 50% ในขณะที่การต่อเติมเพิ่ม 1 ชั้น ในตึก 10 ชั้น จะเพิ่มน้ำหนักในเสาเพียง 10% เท่านั้น

ตึกถล่มหลายๆ ครั้งในเมืองไทย มีสาเหตุหลักมาจากการที่เสาไม่สามารถรับน้ำหนักอาคารทั้งหมดได้ ดูๆ ก็น่าเศร้าใจเพราะเสาเป็นเทคโนโลยีการก่อสร้างที่เก่าแก่มากและเป็น เทคโนโลยีที่มนุษย์คิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมา ตั้งแต่ยุคก่อนพุทธศักราช หรือคริสต์ศักราชเสียอีก สังเกตได้จากวิหาร ปราสาทโบราณเก่าแก่อายุหลายพันปีหลายแห่ง ส่วนของหลังคา หรือคาน หรือพื้นอาจจะพังทลายไปจนเกือบหมด แต่จะยังคงเห็นเพียงแต่เสาที่ยังยืนต้นเด่นเป็นสง่าให้เราชื่นชมอยู่เสมอเป็น หลักฐานบ่งบอกถึงความใหญ่โตมโหฬารของปราสาทวิหาร เสาอาคารจึงเป็นส่วนสุดท้ายที่จะพังทลาย

เสาเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานที่สุด เราสามารถใช้วัสดุเกือบทุกชนิดทำเป็นเสาได้ทั้งสิ้นตั้งแต่ไม้ อิฐ และแม้กระทั่งหิน คนโบราณได้ตัดหินเอามาวางซ้อนๆ กันก็ใช้เป็นเสาได้ ดังที่เห็นในปราสาทหินทั่วไป รอยร้าวในเสาที่อาจพบเห็นได้ก่อนการวิบัติทั้งหลายของเสา สามารถจำแนกตามสาเหตุหลักๆ ได้ดังนี้ อนึ่งเสาที่เกิดการแตกร้าวจริงอาจเกิดจากสาเหตุเดียวหรือหลายๆ สาเหตุรวมกันได้

3.1 รอยร้าวเนื่องจากการรับน้ำหนักไม่ไหว


รูปที่ 6 รอยปริแตกจะเริ่มเกิดเป็นคู่ๆ ที่ขอบคนละด้านของเสา


รูปที่ 7 การวิบัติของเสากลมและเสาสี่เหลี่ยม จะเกิดขึ้นทันทีหลังจากคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมกะเทาะออกตามรูปนี้

3.2 รอยร้าวเนื่องจากเหล็กเป็นสนิม


รูปที่ 8 รอยร้าวเนื่องจากเหล็กเป็นสนิม


รูปที่ 9 รอยร้าวเนื่องจากเหล็กเป็นสนิม

4. รอยแตกร้าวที่พื้น
รอยแตกร้าวที่พื้นมักจะพบเห็นได้ง่ายและทำให้เจ้าของอาคารกังวลมากว่าอาคารของตนเอง จะทรุดพังทลายหรือไม่ โดยความเป็นจริงรอยแตกร้าวจำนวนมากเป็นเพียงรอยแตกร้าวที่ผิวของวัสดุปูพื้น หรือวัสดุตกแต่งพื้น บทความนี้จะอธิบายถึงชนิดของรอยแตกร้าวที่พื้น ขอเน้นว่าเฉพาะพื้นที่เป็นลักษณะโครงสร้างเท่านั้น กล่าวคือ เป็นพื้นซึ่งมีคานรองรับไม่รวมถึงพื้นซึ่งวางบนดิน เช่น พื้นที่จอดรถ หรือพื้นอาคารชั้นล่าง ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นพื้นวางบนดินไม่มีโครงสร้างคาน หรือเสาเข็มรองรับอยู่ ซึ่งการเกิดรอยแตกในพื้นวางบนดินเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้ว

4.1 รอยร้าวที่ใต้ท้องพื้น
รอยร้าวที่เกิดใต้ท้องพื้นมักเป็นรอยร้าวที่บ่งบอกถึงความไม่มั่นคงแข็งแรง ของพื้นซึ่งรอยร้าวจะแตกต่างกันตามชนิดของพื้น รอยร้าวประเภทนี้สังเกตได้ง่ายเพราะอยู่ใต้ท้องพื้นซึ่งเป็นจุดที่เห็นได้ง่าย ยกเว้นกรณีที่มีฝ้าเพดานปิดไว้
รอยร้าวสำคัญที่บ่งบอกเป็นสัญญาณว่าพื้นเริ่มรับน้ำหนักไม่ไหวมีดังนี้

4.1.1 พื้นคอนกรีตหล่อในที่
หากพื้นคอนกรีตหล่อในที่รับน้ำหนักมากจนเกินขีดความสามารถ ก่อนจะเกิดการวิบัติจะมีรอยร้าวเตือนภัยที่บริเวณใต้ท้องพื้นเป็นรอยแตก เป็นทางยาวบริเวณตอนกลางของพื้น

4.1.2 พื้นแผ่นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปท้องเรียบ
กรณีที่พื้นชนิดที่รับน้ำหนักเกินขีดความสามารถ จะเกิดรอยร้าวที่บริเวณกึ่งกลางใต้ท้องพื้นเป็นแนวขวางกับแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป

4.2 รอยร้าวที่ผิวบนของพื้น
โดยหลักวิศวกรรมแล้ว เมื่อพื้นรับน้ำหนักไม่ไหวจะเกิดรอยร้าวที่ผิวบนก่อนการเกิดที่ใต้ท้องพื้น แต่เนื่องจากพื้นด้านบนมักมีวัสดุตกแต่งปิดทับ อาทิเช่น กระเบื้อง พรม กระเบื้องยาง หินแกรนิต หินขัดหรือผิวปูนขัดมัน ทำให้มักไม่ใคร่เห็นรอยแตกร้าวเหล่านั้น ประกอบกับผิวด้านบนมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อาจทำให้เกิดรอยแตกร้าวได้ จึงไม่แนะนำให้นำรอยร้าวที่ผิวบนมาเป็นดัชนีตัววัดความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร

4.2.1 รอยแตกร้าวทะแยงมุมในพื้นคอนกรีตหล่อในที่
กรณีที่เสาหรือฐานรากมีการทรุดตัวอย่างมาก อาจทำให้พื้นคอนกรีตหล่อในที่มีการแตกร้าวในแนวทะแยงมุม ซึ่งจะพอเห็นได้เฉพาะพื้นซึ่งมีวัสดุปูผิวชนิดแข็ง เช่น ผิวปูนขัดมัน ผิวหินขัด หรือผิวกระเบื้องเซรามิก เป็นต้น


รูปที่ 10 รอยร้าวใต้ท้องพื้นรูปกากบาทในแนวทะแยงมุม (เฉพาะพื้นที่มีด้านกว้างเท่ากับด้านยาว)


รูปที่ 11 รอยร้าวใต้ท้องพื้นบริเวณกึ่งกลาง ขนานกับแนวคานด้านยาว


รูปที่ 12 รอยร้าวหรือรอยสนิมเหล็กที่ใต้ท้องพื้นเป็นตาราง


รูปที่ 13 รอยร้าวที่บริเวณกึ่งกลางใต้ท้องพื้น เป็นแนวขวางกับแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป


รูปที่ 14 รอยร้าวทะแยงมุมที่ผิวบนของพื้น เนื่องจากการทรุดตัวของเสาหรือฐานราก