ความประมาท คือการเพิ่มความเสี่ยง ไม่ต่างอะไรจากการเมาแล้วขับ โดยปกติการขับยวดยานถ้าไม่ตรวจสอบอุปกรณ์-เครื่องยนต์-ระบบหล่อเย็น-ลมยาง-ห้ามล้อ นั่นก้อประมาทประการหนึ่งแล้ว แต่ถ้าเมาแล้วขับ ยิ่งเพิ่มความประมาทเพิ่มความเสี่ยงเข้าไปอีก เกิดอุบัติเหตุจากการไม่มีสติ ไม่ได้ความสูญเสียกับตัวเองเท่านั้น แต่อาจสร้างความวิบัติใหญ่หลวงให้กับสาธารณะได้ ขึ้นอยู่กับเหตุที่ประสพเกิดบริเวณที่มีผู้คนมากน้อยเพียงใดและสร้างผลกระทบต่างๆ ได้รุนแรงแค่ไหน ความรุนแรงของอุบัติเหตุของรถแก๊สระเบิดกลางกรุงเทพฯ เมื่อสิบกว่าปีก่อน เป็นหนึ่งในอุบัติเหตุที่ฝังในใจผู้คน มาโดยตลอด เหตุตึกถล่มในโคราช ฝังร่างหลายชีวิต เพราะความผิดพลาดในการก่อสร้างการต่อเติม
ในองค์กรใหญ่ๆ ในประเทศไทย มักมีการลดความเสี่ยงโดยการเข้าโปรแกรมของ TIS18001 / OSHA / OHSHA โดยมี MASCI เป็นเจ้าภาพในการเข้าไปช่วยการันตี แต่ถ้าทุกอย่างเป็นแค่กระดาษ เป็นป้าย เป็นโลโก้ เป็นมาตราการที่บอกว่ารัดกุม แล้วมั่นใจแล้ว ยิ่งรู้สึกมั่นใจกับกระดาษมาก ยิ่งรู้สึกมั่นใจกับมาตราการต่างๆมาก แล้วละเลยจุดที่ควรจะต้องใส่ใจมาตั้งแต่ต้น ก้อไม่ต่างอะไร กับการขึ้นบันได ขาผุ ที่รอมันหกคะเมนลงมา ก้อเท่านั้น
และ อีกหน่อย ISO26001 คงไม่ใช่แค่ใส่ใจสาธารณะเท่านั้น แต่ต้องรักษาความรู้สึกของสาธารณะด้วย
เหตุของ ปตท.สผ ภาพลักษณ์จากโฆษณาจนเรทติ้งกระฉูด ช่วยอะไรไม่ได้ เมื่อหลุมเจาะที่ออสเตรเลียใหม้ หมดเงินไปหลายพันล้าน และทำลายสภาวะแวดล้อมแบบประเมินไม่ได้ เพราะมันเกิดในทะเลที่ห่างไกล ข่าวต่างๆ มันเลยเงียบหายไปอย่างรวดเร็ว / ไฟไหม้เรือเจาะ ของ บริษัทปตท.สผ.ในทะเลติมอร์ หลัง มีน้ำมันรั่วมานานกว่า 10 สัปดาห์ โชคดีเจ้าหน้าที่อพยพคนงานทุกคนออกมาได้อย่างปลอดภัย * พอเกิดขึ้นแล้ว อะไรๆมันก้อควบคุมไม่ได้ อ๊อกซิเจน จำนวนมาก มันวิ่งเข้ามา ลมมันโหมเข้ามา จนอะไรๆมันควบคุมไม่อยู่ *
เจ้าหน้าที่ออสเตรเลียแจ้งว่า เรือเจาะเวสต์แอทลาสเป็นของพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย ในเครือของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในทะเลติมอร์ หลังเกิดน้ำมันรั่วขณะเจาะหลุมพัฒนาในแหล่งมอนทาราตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคมและเพิ่งหยุดการรั่วได้ในวันนี้ โดยเจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า ในขณะที่คนงานกำลังนำโคลนถมรอยรั่วจากหลุมพัฒนา ได้เกิดไฟไหม้ขึ้นที่เรือเจาะและหลุมพัฒนา อย่างไรก็ดี คนงานทั้งหมดได้รับการช่วยเหลือออกจากเรือซึ่งลอยลำอยู่ห่างฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย 200 กิโลเมตร โดยไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังเร่งลดความรุนแรงของไฟ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำกำลังเร่งปิดรอยรั่ว (เชื่อฝรั่ง เชื่อญี่ปุ่น เชื่อเกาหลี แต่อย่าลืมเชื่อความจริง ว่ามันเสี่ยง)
ทั้งนี้ น้ำมันที่รั่วออกมานี้ เสี่ยงเป็นอันตรายต่อนกและสัตว์น้ำ และยังเป็นอันตรายต่อการทำประมงทั้งในออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ล่าสุดยังเกิดปัญหาเรื่องไฟไหม้ขึ้นอีก และขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบทั้งหมดได้ *เข้าใจว่าข้อมูลเชิงลึกทั้งหมด ผู้บริหารระดับสูงของ ปตท.รู้อยู่แล้วว่าเกิดอะไรขึ้น*
เหล็กโดนไฟแล้วเหล็กมันจะอ่อนแรงจนอะไรๆที่อยู่ด้านบนมันจะพังลงมา การทำ คอนกรีตกันไฟ เป็นสิ่งที่จะต้องทำ เพื่อลดระดับความรุนแรงให้เหตุที่เกิดสามารถควบคุมได้ ไม่ใช่มุ่งมั่นรีบเอาให้เสร็จ แล้วเปิดใช้งานการผลิต เพราะนั่นเท่ากับว่า “ผลิตบนความเสี่ยง”
องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง – อ่านซ้ำๆ แล้วก้อต้องนำไปปฎิบัติ ตรวจสอบ-ติดตาม-แกัไข
- การระบุชี้ว่าองค์กรกำลังมีภัย
เป็นการระบุชี้ว่าองค์กรมีภัยอะไรบ้างที่มาเผชิญอยู่ และอยู่ในลักษณะใดหรือขอบเขตเป็นอย่างไร นับเป็นขั้นตอนแรกของการบริหารความเสี่ยง - การประเมินผลกระทบของภัย
เป็นการประเมินผลกระทบของภัยที่จะมีต่อองค์กรซึ่งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การประเมินความเสี่ยงที่องค์กรต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภัยแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด - การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงจากภัย
การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงเป็นมาตรการที่จัดเรียงลำดับความสำคัญแล้วในการประเมินผลกระทบของภัย มาตรการตอบโต้ที่นิยมใช้เพื่อการรับมือกับภัยแต่ละชนิด อาจจำแนกดังนี้
- มาตรการขจัดหรือลดความรุนแรงของความอันตรายของภัยที่ต้องประสบ
- มาตรการที่ป้องกันผู้รับภัยมิให้ต้องประสบภัยโดยตรง เช่น
- ภัยจากการที่ต้องปีนไปในที่สูงก็มีมาตรการป้องกันโดยต้องติดเข็มขัดนิรภัย กันการพลาดพลั้งตกลงมา
- ภัยจากไอระเหยหรือสารพิษก็ป้องกันโดยออกมาตรการให้สวมหน้ากากป้องกันไอพิษ เป็นต้น
- มาตรการลดความรุนแรงของสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร ได้มีการขจัดและลดความรุนแรง โดยออกแบบตัวอาคารให้มีผนังกันไฟ กันเพลิงไหม้รุนลาม
ไปยังบริเวณใกล้เคียง และมีการติดตั้งระบบสปริงเกอร์ ก็จะช่วยลดหรือหยุดความรุนแรงของอุบัติภัยลงได้ - มาตรการกู้ภัยก็เป็นการลดความสูญเสียโดยตรง ลงได้มาก
- มาตรการกลับคืนสภาพ ก็เป็นอีกมาตรการในการลดความเสียหายต่อเนื่องจากภัยหรืออุบัติภัยแต่ละครั้งลงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น