วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

เอาบริษัท เกาหลี มาทำงานก่อสร้างให้ - ไปดูตึกที่ถล่ม ในเกาหลีใต้


การถล่มของอาคารห้างสรรพสินค้าในเกาหลีใต้
sampoong
บทเรียนจากการถล่มของอาคารห้างสรรพสินค้าในเกาหลีใต้
เหตุการณ์ถล่มของอาคารห้างสรรพสินค้า ระดับหรู Sampoong กรุงโซล เมื่อเย็นวันที่ 29
มิถุนายน 2538 เป็นภัยพิบัติจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งสร้างความหายนะร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้ มีผู้เสียชีวิตกว่า 450 คน และบาดเจ็บกว่า 1,000 คน การถล่มของอาคาร Sampoong เป็นภัยพิบัติรุนแรงจากความบกพร่องในงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในเกาหลีใต้ ตั้งแต่อุโมงค์ถล่มในการก่อสร้างรถไฟใต้ดิน สะพานข้ามแม่น้ำกลางกรุงโซลขาดร่วงกลางลำน้ำในช่วงเวลาเร่งด่วน เหตุการณ์แก๊สระเบิดบริเวณก่อสร้างสถานีรถไฟใต้ดินเมืองแตกู และอาคารต่าง ๆ ถล่มหลายต่อหลายครั้งซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนมีผู้ขนานนามว่าเกาหลีใต้เป็น KingDom of Accident
เราคงไม่อยากให้งานก่อสร้างในประเทศไทย เป็นดังเช่นที่เกิดในเกาหลี แต่เมื่อฉุกคิดขึ้นก็เป็น
เรื่องที่น่าวิตกว่าเราอาจจะอยู่ในสถานะเช่นเดียวกันก็ได้ เพราะว่าลักษณะด้านความเร่งรีบในการพัฒนางานก่อสร้าง ตลอดจนปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชการในบ้านเรานั้น ค่อนข้างที่จะคล้ายคลึงกับที่เกิดขึ้นในประเทศเกาหลี ซึ่งการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจได้พัฒนาไปก่อนหน้าเรา เหตุการณ์ถล่มของโรงแรมรอแยลพลาซาที่โคราช คล้ายคลึงกันมากกับการถล่มของห้าง Sampoong และการถล่มของอาคารขนาดเล็กอื่น ๆ ที่เกิดอยู่บ่อยครั้ง ในบ้านเรานั้นเป็นตัวชี้หรือเปล่าว่าในอนาคตเราจะประสบกับเหตุการณ์ดังเช่น งานที่เกาหลีใต้ ดังนั้นบทเรียนจากกรณีของเกาหลีน่าจะใช้เป็นอุทาหรณ์ที่ดีสำหรับวงการก่อสร้างและวิศวกรรมในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง
sampoong
สำหรับกรณีการถล่มของอาคาร Sampoong นี้ ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเท่าที่จะหาได้จาก
แหล่งนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเท่าที่จะหาได้จากแหล่งต่าง ๆ มากล่าวให้เพื่อนวิศวกรได้ทราบในที่นี้ การสอบสวนในรายละเอียดของสาเหตุ ทางเกาหลีใต้กำลังดำเนินการอยู่ แต่จากข้อมูลในเบื้องต้นค่อนข้างจะบ่งบอกลงไปแล้วว่าการวิบัตินี้ เกิดจากความมักง่ายเห็นแก่ได้ของเจ้าของ ความไม่รู้จริงและการขาดจรรยาบรรณของวิศวกร และการฉ้อโกงและละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ซึ่งคล้ายกับกรณีโรงแรมรอแยลพลาซ่า ซึ่งวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ฯ ได้ทำการสำรวจและเขียน รายงานเล่มหนาไปแล้ว อาคารห้างสรรพสินค้า Sampoong นั้น เป็นอาคารขนาดใหญ่ก่อสร้างบริเวณที่ดินเชิงเขาย่านที่พักอาศัยของผู้มีอันจะกินชานกรุงโซล ว่ากันว่าบริเวณที่ก่อสร้างเป็นที่ทิ้งขยะเก่าซึ่งมีผู้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า สาเหตุของการถล่มอาจเกิดจากฐานรากทรุดตัวแต่ความเป็นจริงที่อาคารดังกล่าวมีชั้นใต้ดินเป็นที่จอดรถถึง 4 ชั้น
ดังนั้น สาเหตุการวิบัติของฐานรากซึ่งอยู่ลึกจากผิวดินบริเวณที่เชิงเขาซึ่งหินอยู่ไม่ลึกจึงเป็นไปได้
น้อย จากผลการตรวจสอบทางวิศวกรรมเบื้องต้น ทางการสนับสนุนได้ว่าสาเหตุการวิบัติน่าจะเกิดจากความบกพร่องของการออกแบบโครงสร้าง และคอนกรีตที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน การเสริมเหล็กมีรายละเอียดไม่ถูกต้องและปริมาณไม่เพียงพอ แต่เดิมอาคารออกแบบไว้เพียง 4 ชั้น แต่ต่อมาเพิ่มชั้นที่ห้าขึ้น ซึ่งรวมถึง Colling Tower ยักษ์ 2 ตัว และสระว่ายน้ำข้างบนด้วย โดยที่มิได้มีการเสริมกำลังโครงสร้างอาคารด้านล่างและฐานรากแต่อย่างใด มีการติดสินบนเจ้าหน้าที่ราชการผู้รับผิดชอบการออกใบอนุญาตก่อสร้างและใช้อาคาร จึงไม่มีการตรวจสอบทางวิศวกรรมด้านกำลังของโครงสร้าง
รายงานเบื้องต้น กล่าวว่า การถล่มเกิดเนื่องจากโครงสร้างอาคารที่ต่อใหม่ ด้านบนมีลักษณะของ
จุดต่อกับส่วนอาคารเดิมไม่ถูกต้อง จึงไม่มีความแข็งแรงพอทำให้ขาดจากกันในที่สุด ส่วนอาคารชั้นบนจึงหล่นทับอาคารชั้นล่างลงไป ทำให้เกิดยุบตัวในลักษณะ Domino อันเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับข้อสรุปของกรณีการถล่มของโรงแรมรอแยลพลาซาที่สรุปว่าเกิดจากการวิบัติของเสาชั้นล่างก่อนและส่วนบนยุบลงมา ในกรณีของ Sampoong มีผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่าการถล่มเกิดทั้งหมดในชั่วเวลา 10 วินาที โดยที่เห็นกำแพงด้านนอกอาคารล้มพับเข้าด้านใน และโครงสร้างทั้งหมดลงไปกองอยู่บริเวณส่วนชั้นใต้ดิน รายละเอียดลักษณะการวิบัติและสาเหตุที่แท้จริงคงจะต้องรอดูรายงานต่อไป อาคาร Sampoong นี้ สร้างมาแล้ว 6 ปี ในช่วงเวลาที่ก่อสร้างบูมและมีปัญหาการขาดแคลนทั้งวัสดุและแรงงาน ปัญหางานก่อสร้างอาคารนี้มีตั้งแต่เริ่มจาก ผู้รับเหมารายแรกไม่ยอมทำงานต่อ หลังจากนั้นเจ้าของจึงให้บริษัทในเครือเข้ามาทำงานแทน การถล่มครั้งนี้มิได้เกิดขึ้นในทันทีทันใด มีการแตกร้าวเกิดให้เห็นก่อนหน้า โดยที่มีการแตกร้าวปรากฎให้เห็นในกำแพงและพื้นชั้นบนหลายแห่ง วันก่อนหน้าการถล่มมีท่อน้ำแตกน้ำรั่วตามกำแพง และส่วนฝ้าของภัตตาคารชั้นบนสุดร่วงหล่นและระบบแอร์เสียหายหยุดทำงาน ในวันเกิดเหตุช่วงเช้าเจ้าของได้เรียกผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยมาตรวจสอบอาคาร ซึ่งก็ได้ให้ความเห็นว่าอาคารอยู่ในสภาพไม่ปลอดภัยใกล้จะถล่ม แต่แทนที่เจ้าของจะสั่งอพยพคนออกจากอาคารกลับสั่งให้ย้ายสินค้ามีค่าจากชั้น 5 ไปเก็บในห้องเก็บของที่ปลอดภัยในชั้นใต้ดิน และให้อุดรอยร้าวที่เกิดขึ้นเและเปิดห้างตามปกติ ส่วนตัวเองนั้นออกจากอาคารไปหลังจากการประชุมเพียง 30 นาทีก่อนที่อาคารจะถล่มลงมา
หลังจากเหตุกาณ์นี้ เจ้าของและกลุ่มผู้บริหาร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชการผู้เกี่ยวข้องกับการ
อนุญาตอาคาร 4 คน ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวในข้อหาฆ่าคนตายโดยประมาท และละเลยการปฏิบัติหน้าที่และรับสินบน และอีก 30 คนรวมทั้งรองนายกเทศมนตรีเข้าข่ายที่จะต้องถูกจับกุมเพิ่มอีก สาเหตุที่สำคัญของการถล่มของอาคาร Sampoong นั้นว่าไปแล้วเกิดจากการหย่อนยานและคอรัปชันในการบังคับใช้กฎหมายและข้อบังคับของทางราชการ ความจริงแล้วหลังจากที่เกิดเหตุการณ์วิบัติในงานก่อสร้างหลายต่อหลายครั้ง ติดต่อกันก่อนหน้า รัฐบาลเกาหลีใต้ทราบถึงสาเหตุของปัญหาดีจึงได้เริ่มมีการแก้ปัญหาด้วยวิธี ต่างๆ ในช่วงหลัง เช่น
- ให้ข้าราชการระดับสูงและกลางที่มีหน้าที่ออกใบอนุญาตก่อสร้างเปิดเผยทรัพย์สินเพื่อลดการ
คอรัปชัน
- จำกัดให้เฉพาะบริษัทที่มีประสบการณ์และฐานะทางการเงินมั่นคงเท่านั้น ที่จะประมูลงานก่อสร้าง
สาธารณูปโภค
- ให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยอาคารโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ
- กรณีที่บริษัทผู้รับเหมาประมูลงานด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคากลางมาก ๆ จะหมดสิทธิ์รับงาน
sampoong
แต่กรณีของ Sampoong เป็นอาคารที่สร้างมาก่อนล่วงหน้าและเป็นอาคารเอกชนซึ่งยังไม่ได้รับ
การดูแลอย่างเพียงพอ หันกลับมาดูกรณีของโรงแรมรอแยลพลาซาถล่มในบ้านเรา ซึ่งเวลาลุล่วงไปแล้วจนครบ 2 ปี แต่ยังไม่มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงใด ๆ ในสาระสำคัญในเรื่องการควบคุมการอนุญาตก่อสร้างและใช้อาคาร และการประกอบวิชาชีพของวิศวกร ทุกอย่างเหมือนไฟไหม้ฟาง มีแต่เพียงการดำเนีนคดีกับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจะจริงจังแค่ไหน ในด้านการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายการควบคุมอาคาร ทางกรมโยธาธิการได้ดำเนินการมาเป็นเวลานานแล้วหลังเหตุการณ์ ได้ข่าวว่าเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่ยังต้องรอหน่วยเหนือขึ้นไปเห็นชอบก่อนประกาศใช้ซึ่งก็ไม่ทราบเหมืนกันว่าเมื่อไรจะคลอด
ในสาระสำคัญของการปรับปรุงมี 2 ประการคือ จะต้องมีผู้ที่เชื่อถือได้อีกฝ่ายหนึ่ง ตรวจสอบความ
ปลอดภัยและรับรองการออกแบบ ในการขออนุญาตก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ อีกประการหนึ่งให้มีการตรวจสอบระบบความปลอดภัยต่าง ๆ และความแข็งแรง โครงสร้างของอาคารขนาดใหญ่ และอาคารสาธารณะทุกระยะ 5 ปี
ส่วนในแง่ของการควบคุมวิชาชีพวิศวกรรมนั้น การผลักดันให้มีการจัดตั้งสภาวิศวกรรมขึ้นมาดูแล
วิศวกรกันเอง แทนระบบการควบคุมโดยหน่วยราชการแบบเก่า ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมนั้น ไม่ได้รับการสนองรับเท่าที่ควรจากรัฐบาลและทางราชการแม้ว่าวิศวกรรมสถานฯ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ และวิศวกรส่วนใหญ่จะเห็นด้วยก็ตามซึ่งลักษณะการควบคุมแบบสภาวิศวกรรมเป็นหลักปฏิบัติในต่างประเทศทั่วไป
คงจะต้องดูกันต่อไปว่าทางรัฐบาลและส่วน ราชการจะจริงใจต่อการสร้างมาตราการควบคุมคุณภาพ
การก่อสร้าง และการประกอบวิชาชีพวิศวกรในประเทศเรา เพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังเช่น โรงแรมรอแยลพลาซา ในอนาคตกันมากน้อยแค่ไหน

1 ความคิดเห็น: