วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คนมาบตาพุด ไม่กลัวมลพิษ ไม่กลัวก๊าซพิษ จริงหรือ

ภาพเหล่านี้ เหตุจาก อุตสาหกรรมเคมี ที่มีปัญหา รั่วไหล แม้ทุกฝ่ายบอกว่า "ทำดีที่สุดแล้ว"
25 ปีก่อน ที่ อินเดีย BHOPAL, UNION CARBIDE (Dow Chemical ที่กำลังมาก่อสร้างอะไรอยู่)
หัวกะโหลก ต้องใส่ถุงใส่เข่ง - อะไรๆ ก้อเกิดขึ้นได้...เครื่องบินยังร่อนมาชนกับรถยนต์เห็นอยู่บ่อยไป









ลองอ่านบทความเก่า เขียนแบบตรงๆ

เรื่อง มลพิษอุตสาหกรรม โดย ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
• จังหวัดระยองถูกทำให้เป็นเขตอุตสาหกรรมจากการวางแผนจากสภาพัฒน์ฯมาตั้งแต่ยุคโชติช่วงชัชวาลจากการพบก๊าซในอ่าวไทย เริ่มต้นจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรก จนถึงปัจจุบันนี้มีนิคมทั้งสิ้น 19 แห่ง กระจายอยู่ทั่วทั้งจังหวัด รวมเป็นเนื้อที่กว่า 44,000 ไร่ จากการพัฒนาสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรม ทำให้ปัจจุบันสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด ( GDP) ในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มจากเดิมประมาณ 30% เป็น 60% ในขณะที่ผลผลิตจากภาคเกษตรลดลงอย่างมาก มีการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมกว่า 4แสนคน เป็นแรงงานทางตรง 1แสนคน เป็นแรงงานทางอ้อมอีก 3 แสนคน ที่นี่ไม่สหภาพแรงงานเพราะเงื่อนไขของ BOI กำหนดไว้ ด้วยกลัวฝรั่งจะไม่มาลงทุน
• คำว่า “นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด” ที่เป็นข่าวครึกโครมในเรื่องมลพิษนั้น ความจริงประกอบไปด้วย 4 นิคมอุตสาหกรรมย่อย ได้แก่ นิคมฯมาบตาพุด , นิคมฯผาแดง , นิคมฯตะวันออก และ นิคมฯทีพีไอ รวมเนื้อที่ 20,000 ไร่ มีคนทำงาน 15,000 คน เงินลงทุนมากกว่า 200,000 ล้านบาท มีปล่องควัน 185 ปล่อง มีหมู่บ้านที่อยู่รอบนิคมจำนวน 25 หมู่บ้าน จึงไม่แปลกเมื่อมีมลพิษทางอากาศ จึงไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ และการจะเข้าไปตรวจวัดใดๆในนิคมต้องขออนุญาตทุกครั้ง ทำให้ล่าช้าจึงหาตัวคนผิดไม่ได้
• ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มาบตาพุดมีอย่างน้อย 4 ประเด็นที่สำคัญคือ1.มลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นสารอินทรีย์ระเหยซึ่งมีกลิ่นเหม็น การตรวจวัดทำได้ยากทั้งในอากาศและในร่างกาย จนต้องมีการคณะกรรมการดมกลิ่น เพื่อพิสูจน์ปล่อยจากโรงงานใด2.อุบัติเหตุสารเคมีรั่วไหล ทั้งจากทางการขนส่งและการเก็บรักษา3.ระบบนิเวศในทะเลเปลี่ยนไป มีการพังทลายของชายฝั่ง เนื่องจากการถมทะเล ทำให้ทิศทางร่องน้ำเปลี่ยนไป และมีการปนเปื้อนของมลพิษในทะเลมีการสะสมสารพิษในห่วงโซ่อาหารโดยเฉพาะสารปรอท 4.กากสารพิษอุตสาหกรรม ถึงแม้จะมีโรงงานกำจัดขยะอุตสาหกรรมหรือGENCO แต่การลักลอบทิ้งขยะเพื่อลดต้นทุนของผู้ประกอบการก็พบได้บ่อยครั้ง ใน GENCO เองก็มีปัญหาทั้งกลิ่นและไฟไหม้
• ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นปัญหาใหญ่ แต่เดิมการออกแบบพื้นที่นิคมจะมี Buffer zone หรือพื้นที่กันชน แต่ที่จริงคือพื้นที่ของคนอื่น เมื่อมีการขายที่ดินตรงนั้นไป สร้างเป็นโรงงาน เป็นหอพัก พื้นที่กันชนจึงหมดไป อาการแสดงของผู้รับมลพิษจะแสดงออกได้ 3 อย่างคือ 1.อาการของทางเดินหายใจเช่น ไอ เจ็บคอ แสบคอ 2.อาการทางประสาทส่วนกลาง เช่นปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ 3.อาการทางผิวหนังและอวัยวะรับสัมผัสเช่นแสบคัน น้ำตาไหล มีการวิจัยยืนยันว่า คนที่อยู่ใกล้และไกลนิคมมีความแตกต่างของอาการเจ็บป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในเด็ก ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลก็ไม่มีความแตกต่างกัน
• ปัญหาทางสุขภาพของคนระยองก็มีความเสื่อมโทรมกว่าค่าเฉลี่ยของคนภาคกลางอย่างชัดเจน ในปี 2527 คนระยองป่วยน้อยกว่าคนภาคกลาง แต่ปัจจุบันมีการเจ็บป่วยจากโรคจากมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้นมากกว่าคนภาคกลาง 2-5 เท่า โดยอัตราป่วยเริ่มสูงขึ้นในช่วงปี 2532 ในช่วงที่เมืองไทยจะเป็น NICS อัตราการฆ่าตัวตายของคนระยองสูงที่สุดในประเทศไทย อุบัติเหตุ , การทำร้ายกัน โรคเอดส์ มีอัตราที่สูงขึ้นมาก ในช่วง 20 ปีมานี้ คนระยองต่างก็รู้สึกว่าถนนหนทางละสาธารณูปโภคดีขึ้น แต่สุขภาพเสื่อมโทรมลง
• การพัฒนาทำให้ที่ดินถูกเปลี่ยนมือ ชาวบ้านส่วนใหญ่เดิมทำการเกษตรเชิงพานิชย์ รายได้ไม่ค่อยดี เมื่อมีโอกาสขายที่ดินก็หวังจะมีชีวิตที่ดีขึ้น บ้างก็มีฐานะที่ดีขึ้น ได้เงินมาทำกิจการบริการแก่กลุ่มคนงาน เช่นหอพัก , ร้านตัดผม หรือส่งลูกหลานทำงานในโรงงาน แต่บ้างก็หมดตัวติดเหล้า ติดเอดส์ ในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ ชาวบ้านรู้สึกว่ามีรายรับดีมาก แต่ปัจจุบันแม้โรงงานยังเปิดทำการ แต่ไม่มีการสร้างโรงงานใหม่ทำให้การจ้างงานลดลง รายได้ของคนในชุมชนก็ลดลงไปด้วย และปัญหามลพิษกลับรุนแรงขึ้น เพราะโรงงานเองก็หันมาลดต้นทุนด้วยการจงใจปล่อยมลพิษโดยไม่มีการบำบัด
• ผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ ความเป็นชุมชนล่มสลายลง เพราะคนเก่าย้ายออกไป คนต่างถิ่นย้ายเข้ามามากขึ้น คนที่ย้ายเข้ามาจะไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เมื่อมีปัญหามลพิษก็ไม่ใส่ใจที่จะเข้าร่วมการรณรงค์ จากการวิจัยพบว่า เมื่อมีปัญหามลพิษทางกลิ่น ครึ่งหนึ่งจะอยู่เฉยๆ , ? เอาผ้าปิดจมูก , ที่เหลืออีก ? มีการร้องเรียน แต่ไม่มีใครเป็นผู้นำชุมชนที่แท้จริง และเมื่อร้องเรียนไปแล้ว เรื่องก็จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาสอบสวน ก็จะเป็นประเด็นทางเทคนิค ซึ่งเป็นกระบวนการหนี***งที่ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วม ยืดเยื้อ และเอือมระอาที่แก้ปัญหาไม่เคยได้
• หากมีการพัฒนาจังหวัดสงขลาตามแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจปีนังสงขลาจริงแล้ว ปัญหาของสงขลาจะรุนแรงกว่าที่มาบตาพุดมาก เพราะที่ระยองด้านหนึ่งเป็นทะเลไม่มีคนอาศัย ผลกระทบก็ลดไปครึ่งหนึ่งแล้ว หากไปตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ทุ่งลุงและสะเดา ซึ่งเป็นจุดอับที่มีภูเขาขนาดข้าง ทำให้ปัญหามลพิษทางอากาศจะรุนแรงมากกว่า อีกทั้งตัวนิคมตั้งอยู่เหนือสายน้ำหลักของเมืองหาดใหญ่และทะเลสาบสงขลา ซึ่งในทางวิชาการแค่คิดก็ผิดแล้ว พื้นที่จะนะจะเป็นที่ที่เหมาะสมที่สุด เพราะหันหน้าออกสู่ทะเลคล้ายที่ระยอง จึงไม่แปลกที่คนจะนะเขาคัดค้านอย่างหนัก เพราะชีวิตที่เรียบง่ายและงดงามของเขาจะเปลี่ยนไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ
• ระวังความคิดที่ว่า แม้ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ทางสุขภาพและทางสังคมจะสูง แต่ก็คุ้มค่าทางเศรษฐกิจเพื่อคนไทยทั้งประเทศ แต่แท้จริงแล้วเท่ากับเราต้องขายชีวิต ขายแรงงานราคาถูก ขายทรัพยากรธรรมชาติ และขายความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน โดยผลักภาระทางสุขภาพและผลกระทบทางสังคมให้แก่คนในชุมชน เช่นเดียวกับกรณี Contact Farming ที่เกษตรกรผู้ปลูกผลผลิตส่งโรงงานตามสัญญา โดยเกษตรกรต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงในการขาดทุน รับภาระในการดูแลสุขภาพจากการใช้สารเคมี และรับความเสื่อมโทรมของที่ดินและน้ำไปเต็มๆ แต่หากมีการคิดคำนวณมูลค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นในทุกมิติแล้ว ภาคอุตสาหกรรมจะชดใช้ไม่ไหว เมื่อนั้นสังคมไทยจะรู้ว่าคุ้มจริงหรือไม่

ชาวบ้านต้องการแค่ค้าขาย จริงๆหรือ ... หรือว่า ไม่รู้จะมีปากเสียงได้แบบไหน มีผู้นำชุมชน ก้อเป็นพวกโรงงานหมด เชื่ออย่างหนึ่งว่า ถ้าฏ๊าซรั่วกินบริเวณกว้าง มีคนป่วยคนตายเยอะ สุดท้าย คนที่บอกว่าเอาโรงงาน ก้อคงเลิกเอาล่ะ

วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Learn Safety from Chemical Plant Accidents

From http://chemicalplant.info







Taking improvements after a plant accident occurs are very costly and time consuming. Reactive safety actions are also risky. There has to be better ways out there on how to treat safety at chemical plant sites.

Many chemical plant accidents had occurred and it actually contained much lessons on plant safety. We should take many inputs from these accidents on how to manage safety better at our plant sites, at least how to avoid the similar plant accidents.

Don’t let these accidents just to be news but turn them into positive feedback for improving safety at our plant sites. There may be something left or missing from our observations and these can be found in actual plant accidents.

Related to plant accidents, U.S Chemical Safety Board released new safety video, entitled “Reactive Hazards: Dangers of Uncontrolled Chemical Reactions” recently. The new video covers computerized simulation and descriptions of four chemical plant accidents, includes Synthron, MFG (Dalton, Georgia), BP Amoco (Augusta, Georgia) and First Chemical Company (Pascagoula, Mississippi). Besides, the new safety video also contains commentary by chemical safety experts.

To watch the video, we can visit http://www.csb.gov. Free DVD copies are also available.

บทเรียนจากเหตุการณ์คาร์บอนไดซัลไฟด์รั่วที่โรงงานไทยเรยอน
ผู้เขียน: รศ. สุชาตา ชินะจิตร
หน่วยงาน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันที่: 21 ธ.ค. 2552

ทุกครั้งที่เกิดอุบัติภัยจากสารเคมี การนำเสนอข่าวทางสื่อมวลชน เป็นโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้และเรียนรู้เพิ่มเติม เป็นโอกาสที่สื่อมวลชนให้ความสนใจและเป็นโอกาสที่ผู้เกี่ยวข้องจะได้แถลงหรือชี้แจงการแก้ปัญหาและบทบาทของตน ทั้งหมดนี้คือโอกาสของการเรียนรู้จากเหตุการณ์ภายในระยะ 2 - 3 เดือนมานี้ ก็บังเอิญมีอุบัติภัยจากสารเคมีรายงานทางสื่อไม่น้อยกว่า 3 เหตุการณ์ ล่าสุดคือ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2552 มีรายงานข่าวว่า มีแก๊สรั่วที่โรงงานไทยเรยอน สระบุรี เป็นเหตุให้วิศวกรบาดเจ็บ 4 ราย และเสียชีวิต 1 ราย ทั้งๆ ที่โรงงานเพิ่งจะทดสอบหลังซ่อมบำรุงเสร็จ เมื่อเริ่มเปิดใช้ระบบมีสัญญาณเตือนว่ามีคาร์บอนไดซัลไฟด์ในบางจุดสะสมมากผิดปกติ จึงเกิดการเผชิญเหตุดังกล่าว จากรายงานสื่อนอกจากคาร์บอนไดซัลไฟด์แล้วยังมีชื่อสารอีกชนิดหนึ่งที่ถูกเอ่ยถึงคือ แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือแก๊สไข่เน่าด้วย เป็นไปได้ว่าเนื่องจากในกรรมวิธีการผลิตคาร์บอนไดซัลไฟด์จากปฏิกิริยาระหว่างแก๊สธรรมชาติ (มีเทน) กับกำมะถันนั้น จะให้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่เป็นปัญหาด้วย คาร์บอนไดซัลไฟด์นั้นนำไปใช้ในการผลิตเรยอน ส่วนไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่เป็นผลิตภัณฑ์อีกตัวหนึ่งนั้นจะถูกแยกออกและนำไปผ่านกรรมวิธีให้ได้กำมะถันกลับคืนมาใช้ใหม่ได้

เหตุการณ์อุบัติภัยจากสารเคมีทุกครั้งที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนราคาแพง ที่สมควรนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน บทความนี้มุ่งมั่นให้ชวนคิดเพื่อวิเคราะห์และทำความเข้าใจว่า การเผชิญเหตุฉุกเฉิน และการป้องกันอุบัติภัยจากสารเคมีต้องการความพิเศษอะไรบ้าง ซึ่งไม่สามารถพิจารณาใช้วิธีการเยี่ยงอุบัติภัยทั่วไปอย่างเช่น ไฟไหม้ หรือน้ำมันหกรั่วไหลได้ การวิเคราะห์หาสาเหตุในที่นี้จึงไม่ใช่การวิเคราะห์หาคนผิด แต่จะชี้ถึงช่องว่างบางประการที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อความรู้ความเข้าใจของคนทั่วไป รวมทั้งช่องทางให้แก่ผู้ปฏิบัติรวมทั้งผู้รับผิดชอบระดับนโยบายที่เกี่ยวข้องด้วย

ครั้งนี้อาจจะดูว่าเป็นอุบัติภัยจากสารเคมีที่ไม่ใหญ่โตหรือส่งผลกระจายในวงกว้างเช่นเดียวกับหลายๆ เหตุการณ์ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ ตัวอย่างเช่น การเกิดเพลิงไหม้ท่าเรือคลองเตยในปี 2534 ซึ่งส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในชุมชนแออัดหลายราย เหตุการณ์เพลิงไหม้เกิดซ้ำขึ้นอีกที่ชุมชนริมทางรถไฟคลองเตยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ทำให้บ้านเรือนเสียหาย 30 หลังคาเรือน ต้องอพยพชาวบ้านเพราะเกิดควันพิษจากบ้านไม้ 2 ชั้น ซึ่งใช้เป็นที่แบ่งบรรจุสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต อุบัติภัยจากแก๊สแอมโมเนียรั่ว ส่วนใหญ่จากโรงงานผลิตน้ำแข็งหรือสถานประกอบการอาหารแช่แข็ง นับเป็นอุบัติภัยซึ่งเกิดขึ้นบ่อยกว่าอุบัติภัยจากสารชนิดอื่น กรณีรถบรรทุกสารอะคริโลไนไตร์คว่ำบนทางด่วนเมื่อเดือนกันยายน 2544 เกิดการรั่วไหลจนต้องอพยพประชาชนโดยรอบ ล้วนแต่มีคำถามในเรื่องการเผชิญเหตุฉุกเฉินและการป้องกันทั้งสั้น ทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดซ้ำหรือหากเกิดขึ้นก็สามารถจัดการได้อย่างถูกต้องทันกาล

สำหรับการจัดการกับเหตุฉุกเฉินนั้น ต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างฉับไว บ่อยครั้งที่ผู้เชี่ยวชาญไม่มีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนเพื่อการตัดสินใจทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นอุบัติภัยจากสารเคมีต้องถือเป็นกรณีพิเศษที่ต้องการผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีไม่มากนัก เจ้าหน้าที่เฉพาะต้องเข้าไปในพื้นที่และทำให้ได้อย่างปลอดภัยโดยมีอุปกรณ์ป้องกันครบ รัฐต้องพัฒนาบุคลากรด้านนี้ และยังต้องมีสิ่งจูงใจและตอบแทนอื่นๆที่ชดเชยกับความเสี่ยงเหล่านั้นด้วย เมื่อเกิดเหตุการณ์ประเมินสถานการณ์จึงเป็นจุดวิกฤตสำหรับผู้ตัดสินใจว่าควรสั่งการอย่างไรในภาวะคับขันเช่นนั้น ผู้ตัดสินใจต้องเข้าใจสถานการณ์และเหตุเกิดเป็นการเฉพาะ ในกรณีของโรงงานก็ต้องมีการกำหนดว่าใครเป็นผู้ตัดสินใจอะไรได้บ้าง รู้ว่าโรงงานใช้สารเคมีอะไรที่เสี่ยง เสี่ยงอย่างไร มีแผนรับมือกับเหตุการณ์ล่วงหน้า อุปกรณ์เผชิญเหตุมีเพียงพอหรือไม่ หากต้องขอความช่วยเหลือ ต้องขอจากใคร เมื่อรู้ว่าสารใดอันตรายและอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ต้องมียาแก้พิษพร้อม ไม่เฉพาะตัวโรงงานเท่านั้นที่จำเป็นต้องดูแลอยู่แล้ว ทำอย่างไรผู้ปฏิบัติในท้องที่รวมทั้งชุมชนด้วย จึงจะรู้ว่าเขากำลังเสี่ยงกับอะไร ทำอย่างไรชุมชนจะช่วยเฝ้าระวังตนเองเพื่อลดอุบัติเหตุลงได้ เช่น กรณีชุมชนริมทางรถไฟคลองเตย ที่ควรเป็นหูเป็นตาว่าในพื้นที่ของตนเองไม่มีการลักลอบทำกิจกรรรมอันตรายดังกล่าวสถานพยาบาล โรงพยาบาลในพื้นที่เมื่อทราบว่ามีความเสี่ยงกับสารเคมีใดโดยเฉพาะก็ควรมีแผนรองรับเพื่อช่วยชีวิตผู้ได้รับอันตรายจากสารเคมีด้วย ในเหตุการณ์แบบนี้ทำให้เห็นความสำคัญของศูนย์พิษวิทยา ที่มีความสามารถเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ด้านพิษวิทยาได้ทันกาล ในแผนแม่บทความปลอดภัยด้านสารเคมีแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2549) ได้ให้ความสำคัญกับศูนย์พิษวิทยาที่ประเทศไทยควรจะมีไว้ด้วย

การป้องกันภัยนั้นย่อมดีกว่าวัวหายล้อมคอกแน่ๆ ปัญหาคือข้อมูลหรือความรู้อะไรที่จำเป็น การผลิตและการใช้สารเคมีมักขาดแคลนข้อมูลความปลอดภัยและโอกาสการรับสัมผัสสารเคมีนั้นๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน การขาดข้อมูลสารเคมีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทำให้เราไม่สามารถประเมินความเสี่ยงของสารเคมี เพื่อจัดลำดับความสำคัญในการควบคุมสารอันตรายได้ การขาดข้อมูลโอกาสที่จะสัมผัสกับสาร (exposure) และข้อมูลการใช้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทำให้เราไม่สามารถจัดการกับสารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นอุปสรรคต่อการบังคับใช้กฏหมายความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (Product Liability Law) และระบบการชดเชยความเสียหายทางสุขภาพของแรงงานด้วย

การป้องกันอุบัติภัยนั้น ต้องเริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบ ณ จุดตั้งต้น หมายถึง โรงงานต้องมีสารรบบสารเคมี (Chemical Inventory) และข้อมูลความปลอดภัยของสารทุกตัว รู้วิธีจัดการกับมันทั้งยามปกติและยามฉุกเฉิน วิธีเก็บ วิธีใช้ เช่นกรณีของคาร์บอนไดซัลไฟด์นี้ ถังเก็บจะอยู่ในบ่อที่ต่ำกว่าพื้นดินและมีน้ำหล่อ หากเกิดรั่วไหลก็จะไหลลงสู่ใต้ระดับน้ำ เป็นการป้องกันการระเหยออกสู่บรรยากาศ เพื่อไม่ให้ลุกติดไฟและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การจัดการกับสารแต่ละชนิดมีความเฉพาะตัวอยู่มาก ไม่สามารถใช้วิธีการธรรมดาทั่วไปกับสารเคมีทุกชนิดได้ ในพื้นที่รอบๆ โรงงานไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ทำอย่างไรชุมชนโดยรอบจะคำนึงถึงความเสี่ยง รู้ว่าควรจัดการกับตัวเองแค่ไหนอย่างไร แผนที่การกระจายของสารเคมีในพื้นที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการสร้างความตระหนักรู้ การที่จะทำให้เกิดแผนที่ดังว่า ต้องมีความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งภาครัรฐ ภาคเอกชน และดังตัวอย่างที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ (www.chemtrack.org ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สนับสนุนโดย สกว.)

ประเทศไทยพร้อมหรือยังที่จะนำแนวคิดการส่งผ่านข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีจากผู้ผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน ระบบการจัดการสารเคมีที่มีอยู่ของไทย สามารถกำกับดูแลสารเคมีได้ครบถ้วนหรือยัง พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของกฏระเบียบและทิศทางการจัดการสารเคมีของโลกหรือยัง เพราะกระแสโลกขณะนี้ประเด็นเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นที่ห่วงใยจนไม่อาจแยกออกจากประเด็นการค้าระหว่างประเทศได้เลย

สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Carbon disulfide
Hydrogen sulfide
Methane
Sulfur
เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
เรียนรู้จากข่าว - สารออร์แกนนิค เปอร์ออกไซด์ฟุ้ง
เรียนรู้จากข่าว - แก๊สพิษรั่ว! โรงงานนวนคร
เรียนรู้จากข่าว - คลอรีนรั่ว
เรียนรู้จากข่าว - ก๊าซคิวมีนรั่ว
เรียนรู้จากข่าว - คาร์บอนไดซัลไฟด์จากโรงงานไทยเรยอน

รายชื่อ 19 โครงการ ขอหลุดการระงับ และ 13 โครงการของ ปตท.

โครงการ ของ ปตท. ที่สร้างเสร็จแล้ว

1. ปตท.ฟีนอล เสร็จทั้งหมดแล้ว - พร้อมเปิดใช้ - เคยเกิดแก๊สรั่ว ขณะ TEST RUN ต้นปี 52

2. ปตท.โรงแยกก๊าซ ที่ 6 รอ TEST RUN เสร็จ เปิดใช้ เม.ย.53 ตามแผนเดิม

3. ปตท.โรงแยกก๊าซ อีเทน รอ TEST RUN เสร็จ เปิดใช้ เม.ย.53 ตามแผนเดิม - ไม่ได้อยู่ใน 65 โครงการ แต่ก่อสร้างพร้อมกับโรงแยกก๊าซ ที่ 6

4. ปตท.พีอี แคร๊กเกอร์ รอ TEST RUN เสร็จ เปิดใช้ เม.ย.53 ตามแผนเดิม

ระหว่างการทดสอบระบบ มักมีปัญหาการรั่วไหลของสารเคมี เวลาสั้นเข้า แต่จะให้เสร็จเวลาเดิม อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าอะไรเกิดขึ้นอีก ได้ถึงคราวต้องปิดฝาโลง แบบยังเป็นๆ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(22 ธ.ค.)มีมติเห็นชอบให้โครงการลงทุนในนิคมอุตฯมาบตาพุดที่ได้รับผลกระทบจากการถูกศาลปกครองสั่งระงับโครงการชั่วคราว

เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรคสอง จำนวน 19 โครงการ จากทั้งหมด 65 โครงการ ที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่ามีโอกาสมากที่สุด ที่ศาลปกครองจะทุเลาคำสั่ง และให้สามารถเดินหน้าโครงการต่อไปได้

กลุ่มที่ 1 ไม่ใช่ประเภทรุนแรงและผ่าน 2 หลักเกณฑ์ หรือโครงการไม่มีการผลิตและลดมลพิษ

1.1 โครงการที่ดำเนินการแล้วมีทั้งหมด 4 โครงการ

1.1.1 บริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ชื่อโครงการโรงงานผลิตอีพอกซี่เรซิ่น (ส่วนขยาย) ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง มูลค่า 3 พันล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ อีก 1,350 ล้านบาท

1.1.2 บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด โดยมีลักษณะโครงการและผลต่อสิ่งแวดล้อม คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการให้ถูกต้องสอดคล้องกับ Detail Design ติดตั้งระบบกำจัดมลพิษทางอากาศ VOC และในส่วนของการเปลี่ยนแปลงไม่มีการระบายมลพิษ NOx SO2 และ TSP มูลค่า 11,325 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ อีก 12,326 ล้านบาท

1.1.3 บริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ชื่อโครงการการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ หน่วยการผลิตอีพิคลอโรไฮดิรนำร่อง (ECH Pilot Plan) โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ และติดตั้งเครื่องจักรเพิ่มแต่กำลังการผลิตโดยรวมเท่าเดิม โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสะอาด ลดปริมาณน้ำเสียลงจากกระบวนการผลิต มูลค่า 200 ล้านบาท

1.1.4. บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ชื่อโครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการปรับปรุงผลิตสารโอเลฟินส์ สาขาถนนไอ-สี่ (ก่อสร้างเตาแครกกิ้งสำรอง) โดยการเพิ่มเตาแครกกิ้งสำรอง โดยไม่ได้เพิ่มกำลังผลิต ไม่ทำให้การระบายมลพิษเพิ่มขึ้น ทำให้ระบายมลพิษ NOx ลดลง เนื่องจากเตาแครกกิ้งสำรองมีอัตราการระบาย NOx ที่ต่ำกว่าเตาเดิม มูลค่า 3,000 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ 5,921 ล้านบาท

1.2 ก่อสร้างเกือบ 100% มี 3 โครงการ

1.2.1 บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ชื่อโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 เป็นโครงการที่มีการปรับลดการระบายมลพิษ NOx และ SO2 ตามมติ กก.วล. โดยการเปลี่ยนของเครื่องยนต์ของสถานีแรงดันก๊าซเป็นแบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า รวมทั้งติดตั้งระบบ Dry low NOx และ SCR จึงทำให้ภายหลังการมีโครงการเกิดขึ้น มีการระบายมลพิษลดลง ซึ่งส่งผลดีต่อคุณภาพอากาศ เป็นโครงการขอขยายที่มีการปรับลดมลพิษ NOx และ SO2 ตามหลักเกณฑ์ 80:20 มูลค่า 28,154 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ 160,303 ล้านบาท

1.2.2 บริษัท ไทยโพลีเอททิลีน จำกัด เป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการโดยเพิ่มหน่วยเตรียมคะตะลิสต์ (C-1) ในพื้นที่โครงการเดิมของบริษัท ไทยโพลีเอททิลีน จำกัด ซึ่งกระบวนการหลักประกอบไปด้วย หน่วยผลิต หน่วยนำกลับมาใช้ใหม่ และหน่วยบำบัด มูลค่า 720 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ 76 ล้านบาท

1.2.3. บริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ จำกัด เป็นโครงการติดตั้ง DME Removal Unit (เป็นการดึงเอา DME ที่ปนเปื้อนใน LPG ออก) เพื่อให้ได้ LPG ที่มีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น และ Hydrocabon Scrubber เป็นการดึงเอาสารประกอบ Hydrocabon ออกจาก Vent Gas มูลค่า 88 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ 564 ล้านบาท

กลุ่มที่ 2 ไม่ใช่ประเภทรุนแรง และผ่าน 1 หลักเกณฑ์

2.1 ดำเนินการแล้ว 2 โครงการ

2.1.1 บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ชื่อโครงการท่องส่งก๊าซธรรมชาติไปยังบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท มาบตาพุด โอเลฟินส์ จำกัด โดยจะเป็นการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติส่วนย่อย เพื่อขนส่งก๊าซธรรมชาติไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตของบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงอื่น อาทิเช่น น้ำมันเตา เพื่อลดมลพิษ ไม่มีการระบายมลพิษหลัก ไม่มีการผลิต อีกทั้งเป็นการขนส่งในระบบปิด มูลค่า 91 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ 17 ล้านบาท

2.1.2 บริษัท อูเบะไนล่อน (ประเทศไทย) จำกัด ชื่อโครงการเพิ่มกำลังผลิตไนลอน เป็นการเพิ่มกำลังผลิตไนลอน 50,000 ตันต่อปี โดยมีเครื่องจักรเพิ่มขึ้น 6,813 แรงม้า โดยเพิ่มเครื่องจักร polymerization 1 ชุด รวมเป็น 2 ชุด และกระบวนการผลิตเป็นระบบปิดทั้งหมด มูลค่า 1,400 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ 14,090 ล้านบาท

2.2 ก่อสร้าง 100% รอใบอนุญาตดำเนินการ 5 โครงการ

2.2.1 บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ชื่อโครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการผลิตโพลีเอทธิลีน ไม่ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น และไม่มีการระบายมลพิษ NOx SO2 และ TSP มูลค่า 100 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ อีก 550 ล้านบาท

2.2.2 บริษัท บางกอกโพลีเอททิลีน จำกัด (มหาชน) ชื่อโครงการขยายโรงงานผลิต BPEX ติดตั้งหน่วยผลิต Compound Product ไม่ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น และไม่มีการระบายมลพิษ NOx SO2 และ TSP

2.2.3 บริษัท บางกอกโพลีเอททิลีน จำกัด (มหาชน) ชื่อโครงการส่วนขยายโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชนิดความหนาแน่นสูง ไม่มีการระบายมลพิษ NOx SO2 และ TSP และยกเลิกการใช้ boiler และ waste incinerator ทำให้การระบาย NOx SO2 และ TSP ลดลง มูลค่า 6,055 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ อีก 3,505 ล้านบาท

2.2.4 บริษัท ไทยเอทานอลเอมีน จำกัด โครงการผลิตสารเอทานอลเอมีน ขนาด 50,000 ตันต่อปี ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตแชมพู สบู่เหลว ผงซักฟอก ไม่มีการระบายมลพิษ มูลค่า 1,926 ล้านบาท ความเสียหายอื่น 2,205 ล้านบาท

2.2.5 บริษัท ไทยเอ็มเอ็มเอ จำกัด โครงการผลิตเมธิลเมตคลีเลต โรงงานที่ 2 มูลค่า 6,800 ล้านบาท

2.3 ก่อสร้างเกือบ 100% 4 โครงการ

2.3.1 บริษัท ไทยเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) โครงการขยายกำลังการผลิตผลพลาสติกโพลีไวนิลคอลไรด์ มูลค่า 100 ล้านบาท

2.3.2 บริษัท สยามเลเท็กซ์สังเคราะห์ จำกัด โครงการโรงงานผลิตโพลีเอทธิลีน มูลค่า 12,550 ล้านบาท

2.3.3 บริษัท สยามเลเท็กซ์สังเคราะห์ จำกัด โครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการผลิตโพลีเอทธีลีน

2.3.4 บริษัท ไทยโพลีเอททิลีน จำกัด โครงการผลิตเม็ดพลาสติกโพลีเอทธิลีน มูลค่า 950 ล้านบาท

กลุ่มที่ 3 ไม่ใช่ประเภทรุนแรง

ก่อสร้าง 100% รอใบอนุญาต 1 โครงการ

3.1 บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) โครงการขยายกำลังการผลิต PE ปีละ 50,000 ตัน มูลค่า 600 ล้านบาท

13 โครงการ มาบตาพุด ของ ปตท.

  1. โครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 6 ตั้งที่ ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
  2. โครงการโรงงานผลิตสารอะคริไลไนไตรล์และสารเบทิลเมตะตริเลต ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด
  3. โครงการโรงงานผลิตบิสฟีนอลเอ ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด
  4. โครงการขยายกำลังการผลิตโพลิเอทิลีน 50,000 ตัน/ปี ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท.เคมีคอล จำกัด (มหาชน)
  5. โครงการโรงงานผลิตสารฟีนอล ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด
  6. โครงการโรงงาน ผลิตสารอะคริไลไนไตรล์ และสารเมทิลเมตะคริเลต ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด
  7. โครงการขยายกำลังการผลิตโพลิเอทีลีน (การติดตั้งหน่วยผลิต Compound Production Unit) ตั้งที่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
  8. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโรงงาน อะโรเมติกส์ หน่วยที่ 1 ระยะที่ 3 ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)
  9. โครงการปรับปรุงโรงผลิตสารโอเลฟินส์สาขา ถนนไอ-สี่ (ก่อสร้างเตาแคร๊กกิ้งสำรอง) ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
  10. โครงการโรงงานผลิตสารอะคริโลไนไตรล์และสารเมทิลเมตะคริเลต ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที เคมิคอล จำกัด
  11. โครงการโรงงานผลิตสารอะคริโลไนไตรล์และสารเมทิลเมตะคริเลต ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด
  12. โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปยังบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท มาบตาพุด โอเลฟินส์ จำกัด เจ้าของโครงการ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
  13. โครงการศูนย์สาธารณูปการกลางแห่งที่ 2 ตั้งที่ ตงมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด

วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ย้อนเวลากลับไปไม่ได้ วันนี้ คนกล้าต้องร่วม ต้องแก้ไข

รำลึกครบรอบ 5 ปี สึนามิ












หลังจากเกิดสืนามิ มีคนตายเกลื่อนหาด เป็นภาพที่ไม่มีใครอยากเห็น หลายๆ คนอยากย้อนเวลา กลับไป คนไทยน่าจะรู้จักสืนามิ มาก่อนหน้านี้ เราจะได้มีสัญญานเตือนภัย จะได้ รู้ว่า จะมีอะไรเกิดขึ้น หลังจากแผ่นดินไหว อะไรจะมาจากทะเล ... เรื่องบางเรื่อง หลายร้อยปีเกิดครั้ง ไม่มีความรู้ ...

ถ้าโลกมีวิวัฒนาการ ที่จะส่งคนกลับไปในอดีต คงจะกลับไปเตือนผู้คนที่นอนรับลมทะเล ว่าอะไร จะเกิดขึ้น ผู้คนมากมายทั้งคนไทย-ต่างชาติ ส่วนใหญ่ที่ไปพักผ่อน ก้อจะรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเขาเคยมีข้อมูล เกี่ยวกับ สึนามิ ถ้าส่งไป จะต้องส่งไปมากเท่าไหร่ เพื่อจะเตือนภัย หรืออาจจะต้องส่งไปล่วงหน้า สัก 10-20 วัน ให้ความรู้ หรือสร้างเครื่องเตือนภัย แค่คิดก้อจะปวดหัวไม่ใช่น้อย ว่าจะไปแก้ตอนไหน บอกตอนไหน ถึงจะทันเวลา

ถึงเวลาตอนนี้ ... ที่มาบตาพุด และการลองจำลองภาพ ถ้าเกิดอะไรขึ้น บริเวณนี้ ในเหตุการณ์ร้ายๆ ดูบ้าง เช่นถ้าคลังน้ำมัน - คลังก๊าซ ระเบิด แล้วลุกลามไปในส่วนโรงงานใกล้เคียงต่างๆ ผู้คนคงล้มตาย ตายเกลื่อนกาดระเนระนาดไปหมด ทั้งจะโดนไฟครอก โดนก๊าซพิษ ถึงเวลานั้นแล้ว ลองนึกไปถึง ผู้ที่จะมากู้ภัย เก็บซาก กว่าที่หน่วยกู้ภัยจะกล้าเข้ามา คงต้องรอเวลาให้ ก๊าซพิษต่างๆ เจือจางลง กว่าจะเข้ามาได้ คงใช้เวลาหลายวัน ศพคงจะเน่าเปื่อย ขึ้นอืด จนจดจำสภาพไม่ได้ และถึงเวลานั้น คงมีผู้คนอีกไม่น้อยที่คิดว่า ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ จะทำไอ้นั่นไอ้นี่กัน คิดกันจนปวดหัว ... ก้อคิดกันไม่จบ และคงยกย่องให้ ชาวมาบตาพุดเป็นมนุษย์ทองคำ ที่น่าสรรเสริญ มีคนมาลอยโคม มาจุดเทียนให้ เมื่อถึงวันครบรอบ

แต่ถ้าวันนี้ ... มีคนออกมาบอกออกมาเตือน ออกมาหาคนกล้า เพื่อทำอะไรๆ ให้ถูกต้อง มันเป็นเรื่องที่จะต้องทำต้องแก้ไขแล้ว เพราะหลายฝ่ายให้ความร่วมมือ เริ่มมีความกังวล ว่าอะไรอะไร ก้อเกิดขึ้นได้ ถ้าลองพูดคำว่า ถ้า ... แล้วลองจำลองสถานการณ์ไป เพราะในเขต RESTRICT AREA ไฟเช็ค มือถือ ก้อยังเอาเข้าไปไม่ได้ แต่สมมุติว่า ถ้ามี น็อตตัวเล็กๆ ที่มันถูกเผลอลืมทิ้งไว้ บนคานที่สูง แล้วตกลงมาจนเกิดประกายไฟ ในบริเวณที่มันมีก๊าซรั่วออกมาพอดี ... เชื่อเถอะว่า อะไรๆ ก้อเกิดขึ้นได้ ถ้าวันนี้ ทุกอย่างพร้อมแล้ว ที่จะมีคนที่กล้าเข้าไปร่วมกันแก้ไข เรื่องบางเรื่อง ปัญหาบางปัญหา ที่จะเกิด มีการกำหนด คนแก้ไข ไว้แล้ว ... ไปช่วยกัน วันนี้ แล้วจะไม่รู้สึกผิดบาป ถ้าเกิดอะไรขึ้นแล้ว มันย้อนเวลากลับไปทำสิ่งที่ควรจะทำ ควรจะตัดสินใจไม่ได้ ... เพราะคุณคือ คนที่ถูกเลือกแล้ว

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วิศวกร - คนที่สร้างสรรค์ จรรโลงโลก ไม่ใช่ นักธุรกิจก่อสร้าง

วิศวกร-อาชีพที่เอาชื่อมาจาก เทวดานักก่อสร้าง - แต่ถ้าวันนี้ แต่ละส่วนแต่ละฝ่าย คิดว่า ทุกอย่างคือธุรกิจ คือบริษัท คือเงินตรา คงจะเป็นกันได้แค่ นักก่อสร้าง ก้อเท่านั้น เกียรติที่มี ความน่าเชื่อถือ คงจะหมดไปสิ้น ถ้าอะไรๆ มันจะหักจะพังจะถล่มลงมา จนมีการบาดเจ็บล้มตาย-ความไม่มั่นใจตอสิ่งที่ทำมาในอดีต สิ่งที่ทำในปัจจุบัน และสิ่งที่จะทำในอนาคต เพราะสิ่งที่ผ่านมา พิจารณาแบบไม่เหมาะสม จนไม่มีความน่าเชื่อถือ กับสังคมโดยรวม ว่าสิ่งที่ดำเนินการนั้น ออกแบบ-ก่อสร้าง-ควบคุม โดยวิศวกร


Vishwakarmaji.jpg

พระวิศวกรรม หรือเรียกได้อีกหลายชื่อว่า พระวิษณุกรรม พระวิสสุกรรม พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชรฉลูกรรม เป็น เทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์ ตามตำนานกล่าวว่า เป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์สืบมา

พระวิศวกรรมรับเทวโองการต่าง ๆจากพระอินทร์ เพื่อสร้าง อุปกรณ์ สิ่งของ อาคาร ต่าง ๆ มากมาย เป็นผู้นำวิชาช่าง มาสอนแก่มนุษย์ นับแต่นั้นมามนุษย์จึงรู้จักการสร้างและใช้งานสิ่งของต่าง ๆ จนมีการพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบันนี้

ช่างไทยแขนงต่าง ๆ ให้ความเคารพบูชาพระวิศวกรรมในฐานะครูช่าง หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย โดยเรามักพบเห็นรูปจำลององค์ท่านได้บ่อย ๆ ตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบัน โดยนิยมสร้างอยู่สองท่า คือ ท่าประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือ ผึ่ง (จอบสำหรับขุดไม้) และอีกข้างถือ ดิ่ง และท่าประทับยืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา มือซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก

ที่มาขององค์พระวิษณุกรรมทั้ง 2 ท่านี้ พอขยายความได้ว่า หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพช่างก่อสร้าง มักอยู่ในท่ายืนมือถือลูกดิ่งและไม้เมตรหรือไม้วาอันเป็นเครื่องมือของช่างก่อสร้างมาแต่สมัยโบราณซึ่งช่างทั้งหลายทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำหรับวัดระยะ วัดความเที่ยงตรง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นยังแฝงไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิต คือความแม่นยำ เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่มาของช่างที่ดี คือความมีคุณธรรมประจำใจ หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย มักจะใช้ท่านั่ง เข้าใจว่าผู้สร้างคงจะชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงสถาบันผู้ผลิตช่างก่อสร้าง อันเป็นช่างเก่าแก่มีมาแต่ก่อนแล้ว

[แก้]ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ พระวิษณุกรรม และ พระวิษณุ [1]

คนไทยเรียกพระวิศวกรรมว่า 'พระวิษณุกรรม' และในที่สุดได้กร่อนลงเหลือเพียง 'พระวิษณุ' ซึ่งเป็นชื่อของเทพที่คนไทยรู้จักกันในฐานะหนึ่งใน ๓ เทพสำคัญของศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระพรหม พระวิษณุและพระศิวะ ทำให้หลายคนเข้าใจว่าพระวิษณุเป็นเทพแห่งวิศวกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

ในพระไตรปิฎก(อรรถกถา) กล่าวว่า ท่านเป็นผู้สร้างอาศรมให้แก่พระโพธิสัตว์หลายพระองค์(ก่อนที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า) เช่นในพระเวสสันดรชาดก [2]เป็นผู้สร้างบันไดเงิน บันไดทอง บันไดแก้ว ทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสนคร ซึ่งเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าใช้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (หลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ในช่วงเข้าพรรษา)[3]

นอกจากจะเป็นสถาปนิกและเป็นวิศวกรด้านโยธาและสำรวจ ดังจะเห็นได้จากผลงาน ๒ ประการที่ว่านี้แล้ว พระวิศวกรรมายังเป็นวิศวกรเครื่องกลอีกด้วย กล่าวคือ ท่านเป็นผู้สร้างวาฬสังฆาตยนต์ ซึ่งเป็นกงล้อหมุนรอบองค์พระสถูป ปกปักรักษาป้องกันมิให้บุคคลเข้าใกล้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระเจ้าอชาตศัตรูได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลังพุทธปรินิพพานและอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในองค์พระสถูปที่ว่านี้[4]

"กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร ฯ มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หมายถึง กรุงเทพมหานคร เมืองแห่งเทวดานั้นพระวิษณุกรรม เป็นผู้สร้าง ตามพระบัญชาของพระอินทร์



วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ป้ายเก่า เล่าเรื่อง EIA โรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP

บังเอิญมันแปะอยู่บนป้ายในห้องเก็บของ ถ่ายรูปมามันเลยดำๆ ไม่ชัด ตรงที่เอาปากกาเขียนไว้ 4500 ลบ.ม/วัน นั่นแหระ ผลกระทบ ที่รายงาน EIA โรงไฟฟ้า ปล่อยว่างไว้ ผมเลยไปเติมให้ แล้วออก จม. หา ผจก.โรงไฟฟ้า 555+ แบบด้านล่าง ถึง ชั่วโมงนี้ ต้องเอาความจริงมาให้ดู บางครั้งจะเตะหมูเข้าปากหมาบ้าง แต่คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ ถือว่าสมควรทำ...แล้ว ก้อทำไปแล้ว...ผมเป็นคนหนึ่ง ที่ไม่ใช่ คนที่ นสพ.ไทยรัฐ แขวะ!!!


ปี 2544 สมัยที่โรงไฟฟ้า BLCP จะมาสร้างที่ มาบตาพุด น้อยคนที่ให้ความสนใจ ผมบังเอิญเจอปัญหาเศรษฐกิจปี 40 หันไปยึดอาชีพ ซ่อมคอม-สอนคอม แล้วไปเจอเอาขยะ ที่ตั้งอยู่ข้างๆ ร้าน เหม็นทั้งกลางวันกลางคืน ยิ่งวันไหน อากาศร้อนอบอ้าว ก้อจะยิ่งทวีคูณ ความรำคาญ ปัญหากลิ่นขยะ ... ปมที่ ทำให้เกิด กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น...ตั้งแต่นั้นมา

ลองมาดูครับว่า ที่ว่า โรงไฟฟ้า BLCP ผ่าน EIA มาได้ไง ใช้น้ำวันล่ะ 4500 คิว ก้อประมาณ ชาวบ้านมาบตาพุดใช้ 3000 ครัวเรือน ว่าเอาประมาณ 60 % ประมาณนั้น แต่ในรายงาน EIA มีบันทึกแต่ไม่ มีความเห็นเรื่องผลกระทบ ทิ้งว่างไว้เฉยๆ เอาเป็นว่าใครถาม จะได้บอกว่า "เอ้า ลืมไป มันมากรายการ เลยไม่มีความเห็นใส่ไว้" ก้อในเมื่อ ตรงที่มีผลกระทบ ไม่มีไร มันก้อผ่านหมดล่ะ ไม่ว่า 4 ฝ่าย 5 ฝ่าย สุดท้ายทำอะไรไม่ได้ ถ้าขาดความจริงใจ (ป้ายเก่าๆ ที่จู่ๆ จดหมาย ก้อไปอ้างชื่อ ชาวบ้านมาบตาพุด ส่งถึง ผู้จัดการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ผมก้อคนหนึ่งชาวบ้านคนนั้น ที่ไม่ใช่ตัวแทนชาวบ้านกลุ่มไหนๆ) - ลองไปถามชาวบ้านสิ เค้าคิดอย่างไร ตอนนั้น ขนาดช่วงปี 2548 ขาดน้ำ ชาวบ้านทั้งหลายก้อไม่ได้ใส่ใจอะไรมาก แจกไปเถอะใบปลิวมีแต่คนโยนทิ้งเกลื่อนถนน ทำมาใบล่ะ 50 สตางค์ นั่นก้อเงินนะ - ก้อดี นะ ที่โรงไฟฟ้า BLCP มองเห็น Dead Lock เลยเร่งสร้างแหล่งเก็บน้ำขึ้นมา ... ถามจริงๆ ถ้าไม่ทำ จดหมายถึง ป่านนี้ ใครจะเดือดร้อนบ้าง ตรงนี้ แค่เอาป้ายเก่าๆ มาให้ดู ไม่ได้มาทวงอะไรใคร คนทำงานแบบผม ชีวิตเหมือนนกที่บินบนฟ้า ไม่จำเป็นที่ต้องทิ้งร่องรอย อะไรไว้ ให้ใครจดจำ (บางทีก้อเผลอถ่ายมาโดนใครบ้างต้องขออภัย) แต่ที่ต้องมาเขียนมาบอกตรงนี้ เพื่อบอกว่า ความคิดความเห็นผม ให้ประโยชน์ แม้ว่าหลายคนหลายฝ่ายจะรำคาญบ้าง แต่สุดท้ายก้อเกิดประโยชน์ กับทุกฝ่าย แบบนั้น ...

เพราะวันนี้ จะต้องมีการทำ HIA อีก ผมไม่ได้จ้องจะจับผิดใคร ผมบอกว่า ถ้าทุกฝ่ายมีความจริงใจจริงจัง อะไรๆ มันคงจะดีขึ้น แต่ถ้าทำเหมือน EIA ของโรงไฟฟ้า BLCP ที่จงใจลืม ปัญหาผลกระทบ ... ออกไปเถอะครับ อย่าให้วันหนึ่งของประเทศไทย จะทำอะไรๆ ก้อต้องไปทำประชามติกันจนวุ่นวาย จะทำโครงการอะไร ใช้เวลา 10ปี 20 ปี ล้าหลังประเทศอื่นๆ - ทำถนน ก้อต้องใช้หินใช้ดิน ใช้หินก้อต้องระเบิดภูเขา ต้องขุดบ่อลูกรัง บางครั้งทำอะไร ได้มาอย่างก้อต้องเสียอีกอย่าง จริงๆมันก้อต้องเป็นแบบนั้น อยู่ตรงที่เราคิดว่า ประโยชน์ที่เกิดมากกว่าโทษอย่างไร และโทษที่เกิดจะกระทบประชาชน-สิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดอย่างไร อะไรๆ มันก้อมีทางเลือกของมันอยู่ - ขอให้ทุกฝ่ายจริงใจครับ

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ระยะเวลาก่อสร้างเร็วที่สุดในโลก โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ปตท. มาบตาพุด ระยอง PTT GSP 6


FASTEST CONSTRUCTION FOR GAS SEPARATION PLANT PROJECT
PTT-GSP-6 Maptaphut Rayong Thailand
โรงแยกก๊าซ ที่ระยะเวลาก่อสร้างเร็วที่สุดในโลก
ภาพบางส่วนของ โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ปตท. มาบตาพุด ระยอง ระหว่างการก่อสร้าง
โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ของ ปตท. มาบตาพุด ระยอง เริ่มงานก่อสร้าง 2 มิถุนายน 2551 - ธันวาคม 2552
แผนงานโยธา
ถมดิน-ติดตั้ง Precast Concrete Piperack 4-5 เดือน มิ.ย. - พ.ย. 52 ท่ามกลางฝน
คอนกรีตฐานรากเครื่องจักร 5-6 เดือน ก.ค.-ธ.ค. 52 ท่ามกลางฝน
ระยะเวลา ก่อสร้าง สั้นที่สุดในโลก 1 ปี ครึ่ง เท่านั้น จากการถมดิน ถึง Test Run
พร้อม TEST RUN : มกราคม 2553
พร้อมเริ่มเปิดใช้โรงงาน เพื่อผลิตก๊าซ : เมษายน 2553
OWNER : PTT
ENGINEER : Foster Wheeler
Main Contractor : SAMSUNG
CIVIL Sub-Contractor : ITD (Italian-Thai Development PCL)










สาเหตุ ที่ต้องมีการดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพราะมีสัญญาขายก๊าซล่วงหน้า และความต้องการใช้ก๊าซหุงต้มในประเทศ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

พลังงานเล็งรื้อสัญญาซื้อขายก๊าซปตท.ให้กฟผ. ฝ่ายปตท.ขานรับพร้อมเจรจาใหม่ เหตุเกิดปัญหาก๊าซขาดส่ง ไม่รับก๊าซตามปริมาณที่กำหนด และจริงหรือ !!! ก๊าซหุงต้ม จะราคาสูงขึ้น ถ้าโรงแยกก๊าซไม่จบทัน ตาม ปตท.บอก

นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรคกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า จากปัญหาการจ่ายก๊าซธรรมชาติขัดข้องเมื่อเดือนส.ค.ต่อเนื่องเดือนต.ค. ขณะนี้อยู่ระหว่างหาข้อสรุปความเสียหาย จากการใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้าทดแทน และความรับผิดชอบรายกรณี หลักการที่วางไว้คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จะรับผิดอย่างไร จำนวนเท่าไหร่ ส่วนระยะยาวเรคกูเลเตอร์จะพิจารณาสัญญาซื้อขายก๊าซระหว่าง กฟผ.กับ ปตท.ให้เหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สัญญาซื้อขายก๊าซระหว่าง ปตท.และ กฟผ. ไม่ได้กำหนดโทษปรับไว้ กรณีเกิดการขาดรับและขาดส่งก๊าซ เพราะถือว่ามีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ เป็นสัญญาขายก๊าซแก่ผู้ใช้รายใหญ่ ด้วยราคาค่าบริหารจัดการที่ต่ำ ทั้งหมดอยู่บนหลักการที่ต้องดูแลค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) ทุกฝ่ายต้องรับความเสี่ยงเอง แต่สัญญาดังกล่าวไม่ชัดเจน กรณีความรับผิดหากเกิดปัญหาท่อก๊าซขัดข้อง

“มีความเป็นไปได้สูงที่จะเปิดเจรจาสัญญาซื้อขายก๊าซของ กฟผ.กับ ปตท.ใหม่ โดยมีเรคกูเลเตอร์เป็นคนกลาง เพราะการไม่มีโทษปรับที่ชัดเจน ทำให้ยุ่งยากในการคำนวณค่าชดเชย เนื่องจากกรณีก๊าซขาดส่งถือเป็นเหตุสุดวิสัย และสูตรซื้อขายปัจจุบันใช้มาตั้งแต่ปี 2539 ในอนาคตจะมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เข้ามาเสริมปี 2554 หลายๆ ฝ่ายคิดว่าถึงเวลาต้องดูองค์ประกอบของสัญญาและสูตรราคาก๊าซใหม่” แหล่งข่าว กล่าว

ส่วนสูตรราคาซื้อขายก๊าซปัจจุบันกำหนดราคาก๊าซประกอบคือ ราคาเนื้อก๊าซและอัตราค่าผ่านท่อ โดยราคาเนื้อก๊าซมี 2 ส่วน ได้แก่ ราคาก๊าซปากหลุมตามค่าความร้อน และค่าจัดหาและจำหน่ายคงที่ 1.75% ของราคาเนื้อก๊าซกำหนดราคาตามสูตรไม่เกิน 123 บาทต่อล้านบีทียู หรือ ปตท.จะได้มาร์จินไม่เกิน 2.15 บาทต่อล้านบีทียู ปัจจุบันราคาเนื้อก๊าซจริงสูง 200 บาทต่อล้านบีทียู ทำให้มาร์จินที่รับลดเหลือ 1.07%

หากเปลี่ยนสัญญาและมีโทษปรับที่ชัดเจน ปตท.มองว่าควรมาร์จินตามไปด้วย ถือว่าต้องรับผิดชอบความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ในส่วนของ กฟผ.เห็นว่าควรปรับสัญญาเช่นกัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงกรณีก๊าซขาดส่งที่อาจจะเกิดขึ้นอีก

นายเพิ่มศักดิ์ ชีวาวัฒนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. กล่าวว่า ปัญหาก๊าซขาดส่ง มาจากหลายจุด ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของ ปตท.ทั้งหมด ในส่วนแหล่งก๊าซบงกชที่หยุดจ่ายช่วงวันที่ 10-19 ต.ค.ที่ผ่านมา แม้เป็นความรับผิดชอบของ ปตท. สาเหตุที่เกิดมาจากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. พบสภาพกัดกร่อนบริเวณท่อก๊าซบนแท่นผลิตช่วงระยะ 50-60 ซม.ซึ่งมีคอนกรีตปิดทับทำให้ไม่พบตั้งแต่แรก

นายเติมชัย บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นบทเรียนของ ปตท.และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดระบบแก้ปัญหาช่วงฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพขึ้น หลังสุดกรณีแหล่งบงกชก็ใช้ระบบโค้ดสีสื่อสารระหว่าง ปตท. กฟผ.และ ปตท.สผ. รวมถึงผู้ผลิตก๊าซในแหล่งต่างๆ โดยโค้ดสี แบ่งเป็น สีขาว เขียว เหลือง ส้ม และแดง ซึ่งสีขาวเป็นสัญญาณบอกเหตุการณ์ปกติ และสีแดงบอกปัญหารุนแรงในการส่งก๊าซ โดยใช้ดีเซลเป็นเชื้อเพลิงทดแทน ส่วนแหล่งบงกช ถือว่าอยู่ในโค้ดสีเหลือง เป็นช่วงเริ่มใช้น้ำมันเตาทดแทน

สุดท้าย ... ก้อจะบอกว่า ทุกฝ่ายทำดีที่สุดแล้ว

อะไรก้อเกิดขึ้นได้ ถ้าประมาท เลินเล่อ หรือ อุบัติเหตุ มาบตาพุด กับโรงงานสารเคมี อยู่ติดใกล้กัน ลองดูวิดีทัศน์ แล้วจะไม่อยากฝันร้ายแบบนี้







สุดท้าย ... ก้อจะบอกว่า ทุกฝ่ายทำดีที่สุดแล้ว ในการค้นหา แต่ทุกอย่างมันเกรียมจนกรอบ ไม่รู้ว่าเป็นอะไรแน่ ...

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เตือน !!! โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ปตท. ต้องหยุด...เพื่อทำให้ถูกต้อง



ขณะนี้ คำสั่ง กนอ. + กระทรวงอุตสาหกรรม + กระทรวงพลังงาน ขานรับคำสั่งศาลแล้ว การหยุดเพื่อทำให้ถูกต้อง ได้รับการปฏิบัติ จากโรงงานทั่วไป 65 โครงการ ที่ถูกสั่งระงับ เพื่อทำให้ถูกต้อง จริงๆ ควรมีผลมาตั้งแต่ ศาลสั่ง แต่ ที่สั่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้หยุดเมื่อวาน คือ อังคาร 15 ธันวาคม 52

DOW CHEMICAL + SCG หยุดตามคำสั่งทันที ในวันอังคาร

ไม่จำเป็นต้องรอรัฐบาลคิดอย่างไร เห็นอย่างไร !!! วันนี้ ปตท. ยังไม่หยุด แต่พยายามดิ้นเฮือกสุดท้าย ท้าทาย ขบวนการยุติธรรม จน นัก กม. หลายฝ่ายออกมาท้วงติง ถึงความเหมาะสม ในการข่มขู่ ต่างๆนานา ว่าจะเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องจ่าย ส่วนต่างราคาก๊าซ LPG หรืออะไรก้อตาม...

... ที่พยายามให้ข่าวทางจอทีวีสู่ประชาชน และกล่าวให้ร้ายคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ว่าล่าช้า ...

สุดท้าย ... ชั่วโมงนี้ นายกอภิสิทธิ์ กำลัง ท้าทาย อำนาจศาล ที่จะขออุทรณ์ อีก เพื่อขยับขยายเวลาให้ ปตท. ได้ TEST RUN ระบบ ของโรงแยกก๊าซที่ 6 ของ ปตท.

ทางกลุ่มฯ ขอเตือนว่า ... ปตท. จะต้องหยุด การ TEST RUN ของโรงแยกก๊าซฯ ในทันที
... เหมือนโครงการอื่นๆ
... เพื่อทำการต่างๆ ให้ถูกต้องก่อน