วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

แผ่นดินไหว อะไรจะเกิดกับ มาบตาพุด ???

คงต้องถาม คนที่มาบตาพุด ผู้นำชุมชน ต่างๆ เคยคิดมั้ย ว่า อะไรๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้น คนไทยไม่รู้จักสึนามิ แบบไหน อะไรๆ ก้อเกิดขึ้นได้ ถ้ามีแผ่นดินไหว สัก 6.5 ริกเตอร์ อะไร จะเกิดขึ้นกับ มาบาตาพุด

มาบตาพุด ไม่มี ตึก ระฟ้า ไม่มีคนอยู่บนที่สูงๆ ที่จะพังถล่มลงมา มีแค่ ตึก 8-12 ชั้น
แต่ ...
มีท่อก๊าซ ลัดรั้วไปตามถนน ทั่ว นิคม อุตสาหกรรม
มีโรงแยกก๊าซ มีโรงงานสารเคมี จำนวนมาก

ถ้า แผ่นดิน ขย่ม ฐานราก โครงสร้างต่างๆ ที่รับท่อ รับหอกลั่น รับถังก๊าซ รับถังน้ำมัน ขนาดใหญ่
อยู่ได้มั้ย มีการคำนวณ เผื่อ การเกิดแผ่นไหว ไว้ที่ เท่าไหร่
โครงสร้างมันสั่นไหว ท่อต่างๆ มันอยู่ได้มั้ย ก๊าซ อะไรบ้าง ที่จะรั่วไหล ออกมา

คณะกรรมการ 4 ฝ่าย รู้กันหมดแล้วรึยัง ว่ามีก๊าซอะไรบ้าง
จะช่วยเหลืออย่างไร ถ้ามีเหตุเกิดขึ้น เตรียมความพร้อมกันไว้ แค่ไหน
สมาคมโลกร้อน กลัวโลกจะร้อนอย่างเดียว แบบนั้นมั้ย

ข้อมูล ทางแก้ แฉ กันออกมาให้หมด จะได้รู้ว่า เกิดอะไรขึ้นแล้ว คนที่จะมากู้ภัย เก็บซาก จะได้กล้า เข้ามา
ช่วยเหลือคนที่เกือบตาย ได้ทัน ท่วงที แต่ ถ้ากู้ภัย ไม่กล้าเข้ามา เพราะไม่รู้มีสารพิษอะไร บ้าง
สุดท้าย ... คิดต่อเอง .................................................. เอวัง !!!


ความเสียหายจากแผ่นดินไหว

ตามที่เราทราบมาแล้วว่า ขนาดของแผ่นดินไหวนั้นวัดจากขนาดความกว้างที่สุดของคลื่นที่วัดได้จากเครื่องวัดคลื่นแผ่นดินไหวหรือไซสโมแกรม อย่างไรก็ดีความเสียหายหรือความพินาศที่เราได้รับจากแผ่นดินไหวนั้นไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยความรุนแรงที่วัดเพียงอย่างเดียว แม้ว่าขนาดความรุนแรงจะเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างชัดเจน แต่ก็ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกหลายอย่าง ระยะทางระหว่างศูนย์กลางแผ่นดินไหวกับบริเวณที่มีประชากรหนาแน่น ถ้าบริเวณดังกล่าวอยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว (epicenter) มากเท่าใดความเสียหายก็เกิดมากขึ้นเท่านั้น แรงทำลายที่เกิดจากแผ่นดินไหวอย่างหนึ่งคือ การสั่นสะเทือนของพื้นดิน พลังงานที่ปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวนั้นทำให้แผ่นดินไหวสะเทือนแบบซับซ้อน ทั้งไหวทางขึ้น – ลง และ ไหวทางด้านข้าง จำนวนสิ่งปลูกสร้างที่เสียหายถูกทำลายด้วยการสั่นของพื้นดินนั้นมีองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความรุนแรงของแผ่นดินไหว(intensity) ระยะเวลาของการสั่นสะเทือน (นานมากน้อยเพียงใด) การออกแบบและวัสดุที่ใช้สำหรับสิ่งปลูกสร้างนั้น

ชื่อโครงการ : แผ่นดินไหวในประเทศไทย และพื้นแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อนักวิจัย : ดร. ปัญญา จารุศิริ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระยะเวลาโครงการ : กันยายน 2539 - สิงหาคม 2542

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ และเครื่องบันทึกแผ่นดินไหว ทำให้ทราบว่า ประเทศไทยและผืนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยประสบแผ่นดินไหวใหญ่น้อยหลายครั้งมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้เกิดความจำเป็นในการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับแผ่นดินไหวขึ้นการศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นถึงสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวโดยอาศัยข้อมูลด้านโทรสัมผัส ข้อมูลจากภาคสนาม และข้อมูลจากการหาอายุหิน และตะกอนที่ได้จากรอยเลื่อน โดยวิธีเรืองแสงความร้อน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาธรณีแปรสัณฐานของประเทศไทย และข้างเคียง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างแผ่นดินไหวกับธรณีครงสร้าง และเพื่อตรวจสอบว่าโครงสร้างลักษณะใดมีความโน้มเอียงที่จะเกิดแผ่นดินไหวจากการศึกษาพบว่าสำหรับประเทศไทยและข้างเคียง แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมักมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรอยเลื่อน มีพลังเท่านั้น ความจริงรอยเลื่อนในประเทศไทยและข้างเคียงมีอยู่มากมาย ทั้งที่มีพลังและที่หมดพลัง แต่ข้อมูลทางธรณีวิทยาบ่งชัดว่ารอยเลื่อนบางแนวเท่านั้นที่เป็นรอยเลื่อนที่ มีพลังและยังทราบด้วยว่ามีลักษณะการวางตัวแบบใด ผ่านลักษณะภูมิประเทศใดบ้าง มีประวัติการเลื่อนตัวมาแล้วกี่ครั้ง มีการเลื่อนตัวลักษณะใด ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในอดีตขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใด และมีบางรอยเลื่อนที่ยังไม่มีประวัติการเลื่อนตัวในอดีตในช่วงประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน แต่ได้เคยเกิดมาในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้โดยการหาอายุการเลื่อนตัวครั้งสุดท้ายของรอยเลื่อนนั้นในการศึกษานี้ใช้รอยเลื่อนที่แม่จัน (จ.เชียงราย) และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ (จ. กาญจนบุรี) เป็นกรณีศึกษา จนทำให้จัดแบ่งรอยเลื่อนทั้งสองดังกล่าวออกเป็น 5 สาขาทั้งสองรอยเลื่อน และทราบประวัติและวิวัฒนาการการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนทั้งสอง โดยเฉพาะจากการศึกษาธรณีวิทยาและธรณีกาลวิทยาอย่างละเอียด พบว่ารอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ได้เคยเกิดการเลื่อนตัวทั้งหมด 5 ครั้งในช่วง เวลาประมาณ 1 ล้านปีจนถึง 2 หมื่นปี และรอยเลื่อนสาขาแม่จัน (สาขาหนึ่งของรอยเลื่อนแม่จัน) พบว่าได้เคยมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอดีตจำนวน 5 ครั้ง นับตั้งแต่ประมาณ 940,000 ปี จนถึง 1,600 ปี ซึ่งการเลื่อนตัวดังกล่าวทั้งหมดก่อให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในอดีตเทียบได้มากกว่า 7 ริคเตอร์

จากการศึกษาข้อมูลด้านธรณีสัณฐานวิทยา ธรณีกาลเวลา ผนวกกับข้อมูลแผ่นดินไหวของรอยเลื่อนต่างๆ ในพื้นที่แถบอื่นของประเทศ สามารถจำแนกประเภทรอยเลื่อนมีพลัง (จริงๆ) รอยเลื่อนศักย์มีพลังและรอยเลื่อนที่น่ามีพลัง ซึ่งจากการตรวจโดยรอบอย่างละเอียดพบว่า มีรอยเลื่อนมีพลังทั้งหมด 15 รอย ได้แก่

1) รอยเลื่อนแม่จัน

2) รอยเลื่อนแม่ทาน

3) รอยเลื่อนเถิน-ลอง-แพร่

4) รอยเลื่อนน้ำปัด

5) รอยเลื่อนปัว

6) รอยเลื่อนพะเยา

7) รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน

8) รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์

9) รอยเลื่อนปิง

10) รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์

11) รอยเลื่อนระนอง

12) รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย-คลองท่อม

13) รอยเลื่อนโคกโพธิ์-สะบ้าย้อย-ยะลา-เบตง

14) รอยเลื่อนเลย-เพชรบูรณ์

15) รอยเลื่อนระยอง-แกลง

แม้ว่ารอยเลื่อนที่ใกล้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด (14 และ 15) จัดว่ามีลำดับขั้นต่ำสุด (เป็นรอยเลื่อนชนิดน่ามีพลัง)

สำหรับนอกประเทศไทยในแถบผืนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีกลุ่มรอยเลื่อนที่สำคัญอีก 4 กลุ่ม ได้แก่

1) กลุ่มรอยเลื่อนอินโด-พม่า

2) กลุ่มรอยเลื่อน สะเกียง-พานหลวง-ตองจี

3) กลุ่มรอยเลื่อนนานติง-เปาซาน-เชียงราย และ

4) กลุ่มรอยเลื่อนแม่น้ำแดง-มา-ดา

จากการศึกษากลุ่มรอยเลื่อนดังกล่าว สามารถแบ่งโซนก่อเกิดแผ่นดินไหวได้และจัดทำเป็นแผนที่การแปรสัณฐานไหวสะเทือนซึ่งไม่เหมือนกับที่เคยทำไว้ สำหรับประเทศไทยผลการวิจัยครั้งนี้ยังสามารถลำดับพื้นที่ที่เป็นบริเวณเสียงภัยต่อแผ่นดินไหวโดยอาศัยข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดได้ 4 บริเวณได้แก่

1)โซน-0 เป็นบริเวณที่แทบไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวเลย ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2) โซน-1 เป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวต่ำ ได้แก่ ภาคใต้

3) โซน-2 เป็นบริเวณที่มีระดับความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง

4) โซน-3 เป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงค่อนข้างสูง

อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้ในประเทศไทยนับว่าเป็นการศึกษาเบื้องต้น จำเป็นต้องมีการศึกษาในรายละเอียดอีกมากในอนาคต เพื่อให้ทราบถึงประวัติการเลื่อนตัว และโอกาสการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนมีพลังที่สำคัญอื่นๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศรอบข้าง



มีรอยเลื่อน ระยอง-แกลง แถวมาบตาพุด ไม่เกิดแผ่นดินไหว มากี่ร้อยปีแล้วถ้า เพิ่งเกิด ปีที่แล้ว อีกหลายร้อยปีกว่าจะเกิดอีก แต่ถ้ายังไม่เคยเกิด วันไหนล่ะมันจะมา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น