วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

ความรู้สึกสาธารณะ ส่วนหนึ่งของ ความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม (CSR-ISO26000)








CSR (Corporate Social Responsibility)กันอยู่บ่อยๆนะคะ ซึ่งก็คือ ความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม ในการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการกำกับที่ดีควบคู่ไปกับการใส่ใจและดูเเลรักษาสังคมและสิ่งเเวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน เป็นที่มาให้องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization -ISO) ได้เริ่มดำเนินการยกร่างข้อเสนอการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ ในเรื่อง ความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ ...
มาตรฐาน ISO 26000 : Guidance on Social Responsibility ขึ้นมานั่นเอง
จากการที่ประชาคมโลกกำลังเผชิญกับปัญหาจากการพัฒนาที่ขาดสมดุลซึ่งเป็นผลพวงจากการมุ่งพัฒนา ในเชิงเดี่ยวที่ให้ความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียว โดยมุ่งหวังเพื่อให้ปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาด้านอื่นๆ ตามมา แต่ความเป็นจริง เกิดผลในทางตรงกันข้าม เมื่อมองไปรอบๆ ตัวเราจะเห็นได้ว่าโลกกำลังอยู่ในภาวะวิกฤตทั้งทางด้านสังคม จริยธรรม หรือแม้แต่วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่มีแต่จะทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่โดยรวมของของประชากรโลกในทุกภูมิภาค และปัจจุบันกระแสของการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความคิดที่เน้นผลกำไรเป็นเป้าหมายสูงสุดของการดำเนินธุรกิจได้เริ่มอ่อนแรงลง ระบบเศรษฐกิจที่ ยึดถือความคิดนี้เป็นความคิดหลัก จะทำให้ธุรกิจแสวงหากำไรโดยละเลยต่อศีลธรรม จริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในทางกลับกัน กระแสที่เริ่มชัดเจนและทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ แนวความคิดที่ว่าผลสำเร็จทาง ธุรกิจนั้นไม่สามารถวัดจากเพียงผลประกอบการ หากองค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนนั้นจะต้องสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของสังคมที่มีต่อองค์กรด้วย เนื่องจากธุรกิจที่เอารัดเอาเปรียบนั้นก็ไม่สามารถอยู่ได้ หากได้รับการต่อต้านจากชุมชน และสังคมซึ่งเป็นผู้บริโภค ดังนั้น"ความรับผิดชอบต่อสังคม" จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นที่ภาคธุรกิจต้องใส่ใจและพัฒนาธุรกิจของตนเองบนพื้นฐานของความรับผิดชอบ เพื่อให้ธุรกิจและสังคมสามารถพัฒนาเติบโตไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน สำหรับ ISO26000 ที่กำลังจะนำมาใช้นั้น ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมไว้ว่า เป็นความรับผิดชอบต่อผลการตัดสินใจและการกระทำในกิจกรรมขององค์กรนั้นที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่มีความโปร่งใสและมีจริยธรรม โดยเนื้อหาจะครอบคลุม 7 ประเด็นหลัก ได้แก่ การใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม (Environment) การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights) การปฏิบัติต่อผู้ใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม (Labor Practices) การมีธรรมาภิบาล (Organizational governance) การดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม (Fair Operating Practices) การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม (Community Involvement/Social Development) การไม่เอาเปรียบผู้บริโภค (Consumer Issues)

ประเด็นที่ 1 : Human Rights :การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้ประกอบการควรดำเนินนโยบายและกิจกรรมที่สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ไม่มีการเลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา อายุ เพศ หรือความคิดเห็นทางการเมือง มีวิธีการปฏิบัติเชิงบวกต่อความหลากหลาย ว่าเป็นปัจจัยสำหรับการเปลี่ยนแปลง และควรยอมรับความแตกต่างทางสังคมสิ่งแวดล้อม กฎหมาย และวัฒนธรรมในองค์การและระหว่างองค์การ ยอมรับขีดจำกัดในเรื่องความสามารถในการสื่อสารทางภาษา ประสบการณ์ การฝึกอบรมหรือการศึกษา ความพิการ หรืออื่นๆ

ประเด็นที่ 2 : Organizational governance : การมีธรรมาภิบาล ผู้ประกอบการควรตั้งใจปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและ เคารพกฎหมาย มีการบริหารจัดการและดำเนินการกิจกรรม ของตนในลักษณะที่มีศีลธรรมจรรยาและน่าชื่นชมยกย่อง ซึ่งประกอบด้วยความจริงใจ ความซื่อสัตย์ และความซื่อตรง ตัวอย่างของการปฏิบัติที่ไม่มีจริยธรรม เช่น คอรัปชั่น ความ ไม่ซื่อสัตย์ การบิดเบือน การข่มขู่ การเลือกปฏิบัติ และการ เล่นพรรคเล่นพวก

ประเด็นที่ 3 : Fair Operating Practices : การดำเนินธุรกิจด้วย ความเป็นธรรม ผู้ประกอบการ ควรแสดงและอธิบายให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้ทราบอย่างชัดเจนและสมเหตุสมผลถึงหน้าที่ นโยบาย การตัดสินใจและการกระทำที่องค์การรับผิดชอบและ ผลกระทบที่มีหรืออาจมีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย องค์การควร แสดงถึงวัตถุประสงค์และความก้าวหน้า ความสำเร็จและ ความล้มเหลว อุปสรรคและโอกาสขององค์การ ซึ่งควร มีการรายงานอย่างสม่ำเสมอด้วยความระมัดระวังโดย คำนึงถึงในแง่การค้าหรือความปลอดภัยอื่นๆ

ประเด็นที่ 4 : Labor Practices : การปฏิบัติต่อผู้ใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม ผู้ประกอบการต้องแสดงออกถึงความรับผิดชอบ และไม่หลีกเลี่ยง สิทธิของลูกจ้าง มุ่งเน้นความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย พัฒนา ศักยภาพพนักงาน สนับสนุนและเคารพในการปฏิบัติต่อพนักงาน ด้วยความยุติธรรม ให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมาย แรงงานเด็ก และนโยบายการปลดจากงานที่ไม่เลือกปฏิบัติ

ประเด็นที่ 5 : Environment : การใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการ ควรมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากกิจกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการ ดำเนินการปรับปรุงทั้ง ในส่วนที่องค์กรรับผิดชอบและส่วนที่สามารถส่งเสริมให้ดำเนิน ได้ หาแนวทางป้องกันการดำเนินการใดๆที่จะมีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ประเมินและลดความเสี่ยงที่จะมีผล ต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดมาตรการการป้องกันและแก้ไข รวมถึงควรรับผิดชอบจากมลพิษที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม หรือสังคม

ประเด็นที่ 6 : Consumer Issues :การไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ควรยอมรับว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาจมีส่วนได้ ส่วนเสียในการดำเนินการผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์พลอยได้ ของกิจกรรมของตน โดยควรหารือและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมขององค์การ และให้ ได้รับทราบถึงนโยบายข้อเสนอ และการตัดสินใจที่มีผลกระทบ ต่อข้อมูลต่างๆ เช่น นโยบาย ข้อเสนอ และการตัดสินใจที่มี ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการชี้บ่งผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย การกำหนดวิธีการที่เหมาะสมในการสื่อสาร และการ พิจารณาความเห็นที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีส่วนส่วนเสีย

ประเด็นสุดท้าย Community Involvement/Social Development : การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม ผู้ประกอบการควรมีความพยายามอย่างต่อเนื่องใน“การบรรลุ ความต้องการในปัจจุบันโดยไม่ทำให้ความต้องการของคนรุ่น อนาคตเสียไป” ด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านสังคม (รวมถึง ด้านวัฒนธรรม) สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ซึ่งควรเป็นไปอย่าง ต่อเนื่องและค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่เป้าหมาย ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยคำนึงถึง สวัสดิภาพ ของสังคมโลกทั้งในปัจจุบันและ อนาคต และเพื่อการจัดการความอุดมสมบูรณ์และ ทรัพยากรธรรมชาติ

มาตรฐานตัวนี้เป็นเสมือนเครื่องมือสะท้อนว่า ผู้ประกอบการนั้นได้แสดงถึงความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งปัจจุบันเป็นกระแสฟีเวอร์ทั่วโลก ที่สังคมโลกรวมถึงธุรกิจได้ให้น้ำหนักกันมากขึ้น ทั้งยังสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่งได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

โดยคุณ ชะเอมศรี http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=5118b6ada9a5abaed98937069cc4c786&bookID=1205&read=true&count=true

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น