วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คนมาบตาพุด ไม่กลัวมลพิษ ไม่กลัวก๊าซพิษ จริงหรือ

ภาพเหล่านี้ เหตุจาก อุตสาหกรรมเคมี ที่มีปัญหา รั่วไหล แม้ทุกฝ่ายบอกว่า "ทำดีที่สุดแล้ว"
25 ปีก่อน ที่ อินเดีย BHOPAL, UNION CARBIDE (Dow Chemical ที่กำลังมาก่อสร้างอะไรอยู่)
หัวกะโหลก ต้องใส่ถุงใส่เข่ง - อะไรๆ ก้อเกิดขึ้นได้...เครื่องบินยังร่อนมาชนกับรถยนต์เห็นอยู่บ่อยไป









ลองอ่านบทความเก่า เขียนแบบตรงๆ

เรื่อง มลพิษอุตสาหกรรม โดย ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
• จังหวัดระยองถูกทำให้เป็นเขตอุตสาหกรรมจากการวางแผนจากสภาพัฒน์ฯมาตั้งแต่ยุคโชติช่วงชัชวาลจากการพบก๊าซในอ่าวไทย เริ่มต้นจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรก จนถึงปัจจุบันนี้มีนิคมทั้งสิ้น 19 แห่ง กระจายอยู่ทั่วทั้งจังหวัด รวมเป็นเนื้อที่กว่า 44,000 ไร่ จากการพัฒนาสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรม ทำให้ปัจจุบันสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด ( GDP) ในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มจากเดิมประมาณ 30% เป็น 60% ในขณะที่ผลผลิตจากภาคเกษตรลดลงอย่างมาก มีการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมกว่า 4แสนคน เป็นแรงงานทางตรง 1แสนคน เป็นแรงงานทางอ้อมอีก 3 แสนคน ที่นี่ไม่สหภาพแรงงานเพราะเงื่อนไขของ BOI กำหนดไว้ ด้วยกลัวฝรั่งจะไม่มาลงทุน
• คำว่า “นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด” ที่เป็นข่าวครึกโครมในเรื่องมลพิษนั้น ความจริงประกอบไปด้วย 4 นิคมอุตสาหกรรมย่อย ได้แก่ นิคมฯมาบตาพุด , นิคมฯผาแดง , นิคมฯตะวันออก และ นิคมฯทีพีไอ รวมเนื้อที่ 20,000 ไร่ มีคนทำงาน 15,000 คน เงินลงทุนมากกว่า 200,000 ล้านบาท มีปล่องควัน 185 ปล่อง มีหมู่บ้านที่อยู่รอบนิคมจำนวน 25 หมู่บ้าน จึงไม่แปลกเมื่อมีมลพิษทางอากาศ จึงไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ และการจะเข้าไปตรวจวัดใดๆในนิคมต้องขออนุญาตทุกครั้ง ทำให้ล่าช้าจึงหาตัวคนผิดไม่ได้
• ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มาบตาพุดมีอย่างน้อย 4 ประเด็นที่สำคัญคือ1.มลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นสารอินทรีย์ระเหยซึ่งมีกลิ่นเหม็น การตรวจวัดทำได้ยากทั้งในอากาศและในร่างกาย จนต้องมีการคณะกรรมการดมกลิ่น เพื่อพิสูจน์ปล่อยจากโรงงานใด2.อุบัติเหตุสารเคมีรั่วไหล ทั้งจากทางการขนส่งและการเก็บรักษา3.ระบบนิเวศในทะเลเปลี่ยนไป มีการพังทลายของชายฝั่ง เนื่องจากการถมทะเล ทำให้ทิศทางร่องน้ำเปลี่ยนไป และมีการปนเปื้อนของมลพิษในทะเลมีการสะสมสารพิษในห่วงโซ่อาหารโดยเฉพาะสารปรอท 4.กากสารพิษอุตสาหกรรม ถึงแม้จะมีโรงงานกำจัดขยะอุตสาหกรรมหรือGENCO แต่การลักลอบทิ้งขยะเพื่อลดต้นทุนของผู้ประกอบการก็พบได้บ่อยครั้ง ใน GENCO เองก็มีปัญหาทั้งกลิ่นและไฟไหม้
• ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นปัญหาใหญ่ แต่เดิมการออกแบบพื้นที่นิคมจะมี Buffer zone หรือพื้นที่กันชน แต่ที่จริงคือพื้นที่ของคนอื่น เมื่อมีการขายที่ดินตรงนั้นไป สร้างเป็นโรงงาน เป็นหอพัก พื้นที่กันชนจึงหมดไป อาการแสดงของผู้รับมลพิษจะแสดงออกได้ 3 อย่างคือ 1.อาการของทางเดินหายใจเช่น ไอ เจ็บคอ แสบคอ 2.อาการทางประสาทส่วนกลาง เช่นปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ 3.อาการทางผิวหนังและอวัยวะรับสัมผัสเช่นแสบคัน น้ำตาไหล มีการวิจัยยืนยันว่า คนที่อยู่ใกล้และไกลนิคมมีความแตกต่างของอาการเจ็บป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในเด็ก ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลก็ไม่มีความแตกต่างกัน
• ปัญหาทางสุขภาพของคนระยองก็มีความเสื่อมโทรมกว่าค่าเฉลี่ยของคนภาคกลางอย่างชัดเจน ในปี 2527 คนระยองป่วยน้อยกว่าคนภาคกลาง แต่ปัจจุบันมีการเจ็บป่วยจากโรคจากมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้นมากกว่าคนภาคกลาง 2-5 เท่า โดยอัตราป่วยเริ่มสูงขึ้นในช่วงปี 2532 ในช่วงที่เมืองไทยจะเป็น NICS อัตราการฆ่าตัวตายของคนระยองสูงที่สุดในประเทศไทย อุบัติเหตุ , การทำร้ายกัน โรคเอดส์ มีอัตราที่สูงขึ้นมาก ในช่วง 20 ปีมานี้ คนระยองต่างก็รู้สึกว่าถนนหนทางละสาธารณูปโภคดีขึ้น แต่สุขภาพเสื่อมโทรมลง
• การพัฒนาทำให้ที่ดินถูกเปลี่ยนมือ ชาวบ้านส่วนใหญ่เดิมทำการเกษตรเชิงพานิชย์ รายได้ไม่ค่อยดี เมื่อมีโอกาสขายที่ดินก็หวังจะมีชีวิตที่ดีขึ้น บ้างก็มีฐานะที่ดีขึ้น ได้เงินมาทำกิจการบริการแก่กลุ่มคนงาน เช่นหอพัก , ร้านตัดผม หรือส่งลูกหลานทำงานในโรงงาน แต่บ้างก็หมดตัวติดเหล้า ติดเอดส์ ในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ ชาวบ้านรู้สึกว่ามีรายรับดีมาก แต่ปัจจุบันแม้โรงงานยังเปิดทำการ แต่ไม่มีการสร้างโรงงานใหม่ทำให้การจ้างงานลดลง รายได้ของคนในชุมชนก็ลดลงไปด้วย และปัญหามลพิษกลับรุนแรงขึ้น เพราะโรงงานเองก็หันมาลดต้นทุนด้วยการจงใจปล่อยมลพิษโดยไม่มีการบำบัด
• ผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ ความเป็นชุมชนล่มสลายลง เพราะคนเก่าย้ายออกไป คนต่างถิ่นย้ายเข้ามามากขึ้น คนที่ย้ายเข้ามาจะไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เมื่อมีปัญหามลพิษก็ไม่ใส่ใจที่จะเข้าร่วมการรณรงค์ จากการวิจัยพบว่า เมื่อมีปัญหามลพิษทางกลิ่น ครึ่งหนึ่งจะอยู่เฉยๆ , ? เอาผ้าปิดจมูก , ที่เหลืออีก ? มีการร้องเรียน แต่ไม่มีใครเป็นผู้นำชุมชนที่แท้จริง และเมื่อร้องเรียนไปแล้ว เรื่องก็จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาสอบสวน ก็จะเป็นประเด็นทางเทคนิค ซึ่งเป็นกระบวนการหนี***งที่ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วม ยืดเยื้อ และเอือมระอาที่แก้ปัญหาไม่เคยได้
• หากมีการพัฒนาจังหวัดสงขลาตามแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจปีนังสงขลาจริงแล้ว ปัญหาของสงขลาจะรุนแรงกว่าที่มาบตาพุดมาก เพราะที่ระยองด้านหนึ่งเป็นทะเลไม่มีคนอาศัย ผลกระทบก็ลดไปครึ่งหนึ่งแล้ว หากไปตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ทุ่งลุงและสะเดา ซึ่งเป็นจุดอับที่มีภูเขาขนาดข้าง ทำให้ปัญหามลพิษทางอากาศจะรุนแรงมากกว่า อีกทั้งตัวนิคมตั้งอยู่เหนือสายน้ำหลักของเมืองหาดใหญ่และทะเลสาบสงขลา ซึ่งในทางวิชาการแค่คิดก็ผิดแล้ว พื้นที่จะนะจะเป็นที่ที่เหมาะสมที่สุด เพราะหันหน้าออกสู่ทะเลคล้ายที่ระยอง จึงไม่แปลกที่คนจะนะเขาคัดค้านอย่างหนัก เพราะชีวิตที่เรียบง่ายและงดงามของเขาจะเปลี่ยนไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ
• ระวังความคิดที่ว่า แม้ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ทางสุขภาพและทางสังคมจะสูง แต่ก็คุ้มค่าทางเศรษฐกิจเพื่อคนไทยทั้งประเทศ แต่แท้จริงแล้วเท่ากับเราต้องขายชีวิต ขายแรงงานราคาถูก ขายทรัพยากรธรรมชาติ และขายความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน โดยผลักภาระทางสุขภาพและผลกระทบทางสังคมให้แก่คนในชุมชน เช่นเดียวกับกรณี Contact Farming ที่เกษตรกรผู้ปลูกผลผลิตส่งโรงงานตามสัญญา โดยเกษตรกรต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงในการขาดทุน รับภาระในการดูแลสุขภาพจากการใช้สารเคมี และรับความเสื่อมโทรมของที่ดินและน้ำไปเต็มๆ แต่หากมีการคิดคำนวณมูลค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นในทุกมิติแล้ว ภาคอุตสาหกรรมจะชดใช้ไม่ไหว เมื่อนั้นสังคมไทยจะรู้ว่าคุ้มจริงหรือไม่

ชาวบ้านต้องการแค่ค้าขาย จริงๆหรือ ... หรือว่า ไม่รู้จะมีปากเสียงได้แบบไหน มีผู้นำชุมชน ก้อเป็นพวกโรงงานหมด เชื่ออย่างหนึ่งว่า ถ้าฏ๊าซรั่วกินบริเวณกว้าง มีคนป่วยคนตายเยอะ สุดท้าย คนที่บอกว่าเอาโรงงาน ก้อคงเลิกเอาล่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น