วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รายชื่อ 19 โครงการ ขอหลุดการระงับ และ 13 โครงการของ ปตท.

โครงการ ของ ปตท. ที่สร้างเสร็จแล้ว

1. ปตท.ฟีนอล เสร็จทั้งหมดแล้ว - พร้อมเปิดใช้ - เคยเกิดแก๊สรั่ว ขณะ TEST RUN ต้นปี 52

2. ปตท.โรงแยกก๊าซ ที่ 6 รอ TEST RUN เสร็จ เปิดใช้ เม.ย.53 ตามแผนเดิม

3. ปตท.โรงแยกก๊าซ อีเทน รอ TEST RUN เสร็จ เปิดใช้ เม.ย.53 ตามแผนเดิม - ไม่ได้อยู่ใน 65 โครงการ แต่ก่อสร้างพร้อมกับโรงแยกก๊าซ ที่ 6

4. ปตท.พีอี แคร๊กเกอร์ รอ TEST RUN เสร็จ เปิดใช้ เม.ย.53 ตามแผนเดิม

ระหว่างการทดสอบระบบ มักมีปัญหาการรั่วไหลของสารเคมี เวลาสั้นเข้า แต่จะให้เสร็จเวลาเดิม อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าอะไรเกิดขึ้นอีก ได้ถึงคราวต้องปิดฝาโลง แบบยังเป็นๆ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(22 ธ.ค.)มีมติเห็นชอบให้โครงการลงทุนในนิคมอุตฯมาบตาพุดที่ได้รับผลกระทบจากการถูกศาลปกครองสั่งระงับโครงการชั่วคราว

เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรคสอง จำนวน 19 โครงการ จากทั้งหมด 65 โครงการ ที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่ามีโอกาสมากที่สุด ที่ศาลปกครองจะทุเลาคำสั่ง และให้สามารถเดินหน้าโครงการต่อไปได้

กลุ่มที่ 1 ไม่ใช่ประเภทรุนแรงและผ่าน 2 หลักเกณฑ์ หรือโครงการไม่มีการผลิตและลดมลพิษ

1.1 โครงการที่ดำเนินการแล้วมีทั้งหมด 4 โครงการ

1.1.1 บริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ชื่อโครงการโรงงานผลิตอีพอกซี่เรซิ่น (ส่วนขยาย) ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง มูลค่า 3 พันล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ อีก 1,350 ล้านบาท

1.1.2 บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด โดยมีลักษณะโครงการและผลต่อสิ่งแวดล้อม คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการให้ถูกต้องสอดคล้องกับ Detail Design ติดตั้งระบบกำจัดมลพิษทางอากาศ VOC และในส่วนของการเปลี่ยนแปลงไม่มีการระบายมลพิษ NOx SO2 และ TSP มูลค่า 11,325 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ อีก 12,326 ล้านบาท

1.1.3 บริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ชื่อโครงการการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ หน่วยการผลิตอีพิคลอโรไฮดิรนำร่อง (ECH Pilot Plan) โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ และติดตั้งเครื่องจักรเพิ่มแต่กำลังการผลิตโดยรวมเท่าเดิม โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสะอาด ลดปริมาณน้ำเสียลงจากกระบวนการผลิต มูลค่า 200 ล้านบาท

1.1.4. บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ชื่อโครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการปรับปรุงผลิตสารโอเลฟินส์ สาขาถนนไอ-สี่ (ก่อสร้างเตาแครกกิ้งสำรอง) โดยการเพิ่มเตาแครกกิ้งสำรอง โดยไม่ได้เพิ่มกำลังผลิต ไม่ทำให้การระบายมลพิษเพิ่มขึ้น ทำให้ระบายมลพิษ NOx ลดลง เนื่องจากเตาแครกกิ้งสำรองมีอัตราการระบาย NOx ที่ต่ำกว่าเตาเดิม มูลค่า 3,000 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ 5,921 ล้านบาท

1.2 ก่อสร้างเกือบ 100% มี 3 โครงการ

1.2.1 บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ชื่อโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 เป็นโครงการที่มีการปรับลดการระบายมลพิษ NOx และ SO2 ตามมติ กก.วล. โดยการเปลี่ยนของเครื่องยนต์ของสถานีแรงดันก๊าซเป็นแบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า รวมทั้งติดตั้งระบบ Dry low NOx และ SCR จึงทำให้ภายหลังการมีโครงการเกิดขึ้น มีการระบายมลพิษลดลง ซึ่งส่งผลดีต่อคุณภาพอากาศ เป็นโครงการขอขยายที่มีการปรับลดมลพิษ NOx และ SO2 ตามหลักเกณฑ์ 80:20 มูลค่า 28,154 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ 160,303 ล้านบาท

1.2.2 บริษัท ไทยโพลีเอททิลีน จำกัด เป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการโดยเพิ่มหน่วยเตรียมคะตะลิสต์ (C-1) ในพื้นที่โครงการเดิมของบริษัท ไทยโพลีเอททิลีน จำกัด ซึ่งกระบวนการหลักประกอบไปด้วย หน่วยผลิต หน่วยนำกลับมาใช้ใหม่ และหน่วยบำบัด มูลค่า 720 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ 76 ล้านบาท

1.2.3. บริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ จำกัด เป็นโครงการติดตั้ง DME Removal Unit (เป็นการดึงเอา DME ที่ปนเปื้อนใน LPG ออก) เพื่อให้ได้ LPG ที่มีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น และ Hydrocabon Scrubber เป็นการดึงเอาสารประกอบ Hydrocabon ออกจาก Vent Gas มูลค่า 88 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ 564 ล้านบาท

กลุ่มที่ 2 ไม่ใช่ประเภทรุนแรง และผ่าน 1 หลักเกณฑ์

2.1 ดำเนินการแล้ว 2 โครงการ

2.1.1 บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ชื่อโครงการท่องส่งก๊าซธรรมชาติไปยังบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท มาบตาพุด โอเลฟินส์ จำกัด โดยจะเป็นการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติส่วนย่อย เพื่อขนส่งก๊าซธรรมชาติไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตของบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงอื่น อาทิเช่น น้ำมันเตา เพื่อลดมลพิษ ไม่มีการระบายมลพิษหลัก ไม่มีการผลิต อีกทั้งเป็นการขนส่งในระบบปิด มูลค่า 91 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ 17 ล้านบาท

2.1.2 บริษัท อูเบะไนล่อน (ประเทศไทย) จำกัด ชื่อโครงการเพิ่มกำลังผลิตไนลอน เป็นการเพิ่มกำลังผลิตไนลอน 50,000 ตันต่อปี โดยมีเครื่องจักรเพิ่มขึ้น 6,813 แรงม้า โดยเพิ่มเครื่องจักร polymerization 1 ชุด รวมเป็น 2 ชุด และกระบวนการผลิตเป็นระบบปิดทั้งหมด มูลค่า 1,400 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ 14,090 ล้านบาท

2.2 ก่อสร้าง 100% รอใบอนุญาตดำเนินการ 5 โครงการ

2.2.1 บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ชื่อโครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการผลิตโพลีเอทธิลีน ไม่ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น และไม่มีการระบายมลพิษ NOx SO2 และ TSP มูลค่า 100 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ อีก 550 ล้านบาท

2.2.2 บริษัท บางกอกโพลีเอททิลีน จำกัด (มหาชน) ชื่อโครงการขยายโรงงานผลิต BPEX ติดตั้งหน่วยผลิต Compound Product ไม่ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น และไม่มีการระบายมลพิษ NOx SO2 และ TSP

2.2.3 บริษัท บางกอกโพลีเอททิลีน จำกัด (มหาชน) ชื่อโครงการส่วนขยายโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชนิดความหนาแน่นสูง ไม่มีการระบายมลพิษ NOx SO2 และ TSP และยกเลิกการใช้ boiler และ waste incinerator ทำให้การระบาย NOx SO2 และ TSP ลดลง มูลค่า 6,055 ล้านบาท และความเสียหายอื่นๆ อีก 3,505 ล้านบาท

2.2.4 บริษัท ไทยเอทานอลเอมีน จำกัด โครงการผลิตสารเอทานอลเอมีน ขนาด 50,000 ตันต่อปี ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตแชมพู สบู่เหลว ผงซักฟอก ไม่มีการระบายมลพิษ มูลค่า 1,926 ล้านบาท ความเสียหายอื่น 2,205 ล้านบาท

2.2.5 บริษัท ไทยเอ็มเอ็มเอ จำกัด โครงการผลิตเมธิลเมตคลีเลต โรงงานที่ 2 มูลค่า 6,800 ล้านบาท

2.3 ก่อสร้างเกือบ 100% 4 โครงการ

2.3.1 บริษัท ไทยเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) โครงการขยายกำลังการผลิตผลพลาสติกโพลีไวนิลคอลไรด์ มูลค่า 100 ล้านบาท

2.3.2 บริษัท สยามเลเท็กซ์สังเคราะห์ จำกัด โครงการโรงงานผลิตโพลีเอทธิลีน มูลค่า 12,550 ล้านบาท

2.3.3 บริษัท สยามเลเท็กซ์สังเคราะห์ จำกัด โครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการผลิตโพลีเอทธีลีน

2.3.4 บริษัท ไทยโพลีเอททิลีน จำกัด โครงการผลิตเม็ดพลาสติกโพลีเอทธิลีน มูลค่า 950 ล้านบาท

กลุ่มที่ 3 ไม่ใช่ประเภทรุนแรง

ก่อสร้าง 100% รอใบอนุญาต 1 โครงการ

3.1 บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) โครงการขยายกำลังการผลิต PE ปีละ 50,000 ตัน มูลค่า 600 ล้านบาท

13 โครงการ มาบตาพุด ของ ปตท.

  1. โครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 6 ตั้งที่ ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
  2. โครงการโรงงานผลิตสารอะคริไลไนไตรล์และสารเบทิลเมตะตริเลต ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด
  3. โครงการโรงงานผลิตบิสฟีนอลเอ ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด
  4. โครงการขยายกำลังการผลิตโพลิเอทิลีน 50,000 ตัน/ปี ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท.เคมีคอล จำกัด (มหาชน)
  5. โครงการโรงงานผลิตสารฟีนอล ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด
  6. โครงการโรงงาน ผลิตสารอะคริไลไนไตรล์ และสารเมทิลเมตะคริเลต ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด
  7. โครงการขยายกำลังการผลิตโพลิเอทีลีน (การติดตั้งหน่วยผลิต Compound Production Unit) ตั้งที่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
  8. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโรงงาน อะโรเมติกส์ หน่วยที่ 1 ระยะที่ 3 ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)
  9. โครงการปรับปรุงโรงผลิตสารโอเลฟินส์สาขา ถนนไอ-สี่ (ก่อสร้างเตาแคร๊กกิ้งสำรอง) ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
  10. โครงการโรงงานผลิตสารอะคริโลไนไตรล์และสารเมทิลเมตะคริเลต ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที เคมิคอล จำกัด
  11. โครงการโรงงานผลิตสารอะคริโลไนไตรล์และสารเมทิลเมตะคริเลต ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด
  12. โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปยังบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท มาบตาพุด โอเลฟินส์ จำกัด เจ้าของโครงการ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
  13. โครงการศูนย์สาธารณูปการกลางแห่งที่ 2 ตั้งที่ ตงมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เจ้าของโครงการ บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น