วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ระยะเวลาก่อสร้างเร็วที่สุดในโลก โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ปตท. มาบตาพุด ระยอง PTT GSP 6


FASTEST CONSTRUCTION FOR GAS SEPARATION PLANT PROJECT
PTT-GSP-6 Maptaphut Rayong Thailand
โรงแยกก๊าซ ที่ระยะเวลาก่อสร้างเร็วที่สุดในโลก
ภาพบางส่วนของ โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ปตท. มาบตาพุด ระยอง ระหว่างการก่อสร้าง
โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ของ ปตท. มาบตาพุด ระยอง เริ่มงานก่อสร้าง 2 มิถุนายน 2551 - ธันวาคม 2552
แผนงานโยธา
ถมดิน-ติดตั้ง Precast Concrete Piperack 4-5 เดือน มิ.ย. - พ.ย. 52 ท่ามกลางฝน
คอนกรีตฐานรากเครื่องจักร 5-6 เดือน ก.ค.-ธ.ค. 52 ท่ามกลางฝน
ระยะเวลา ก่อสร้าง สั้นที่สุดในโลก 1 ปี ครึ่ง เท่านั้น จากการถมดิน ถึง Test Run
พร้อม TEST RUN : มกราคม 2553
พร้อมเริ่มเปิดใช้โรงงาน เพื่อผลิตก๊าซ : เมษายน 2553
OWNER : PTT
ENGINEER : Foster Wheeler
Main Contractor : SAMSUNG
CIVIL Sub-Contractor : ITD (Italian-Thai Development PCL)










สาเหตุ ที่ต้องมีการดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพราะมีสัญญาขายก๊าซล่วงหน้า และความต้องการใช้ก๊าซหุงต้มในประเทศ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

พลังงานเล็งรื้อสัญญาซื้อขายก๊าซปตท.ให้กฟผ. ฝ่ายปตท.ขานรับพร้อมเจรจาใหม่ เหตุเกิดปัญหาก๊าซขาดส่ง ไม่รับก๊าซตามปริมาณที่กำหนด และจริงหรือ !!! ก๊าซหุงต้ม จะราคาสูงขึ้น ถ้าโรงแยกก๊าซไม่จบทัน ตาม ปตท.บอก

นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรคกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า จากปัญหาการจ่ายก๊าซธรรมชาติขัดข้องเมื่อเดือนส.ค.ต่อเนื่องเดือนต.ค. ขณะนี้อยู่ระหว่างหาข้อสรุปความเสียหาย จากการใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้าทดแทน และความรับผิดชอบรายกรณี หลักการที่วางไว้คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จะรับผิดอย่างไร จำนวนเท่าไหร่ ส่วนระยะยาวเรคกูเลเตอร์จะพิจารณาสัญญาซื้อขายก๊าซระหว่าง กฟผ.กับ ปตท.ให้เหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สัญญาซื้อขายก๊าซระหว่าง ปตท.และ กฟผ. ไม่ได้กำหนดโทษปรับไว้ กรณีเกิดการขาดรับและขาดส่งก๊าซ เพราะถือว่ามีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ เป็นสัญญาขายก๊าซแก่ผู้ใช้รายใหญ่ ด้วยราคาค่าบริหารจัดการที่ต่ำ ทั้งหมดอยู่บนหลักการที่ต้องดูแลค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) ทุกฝ่ายต้องรับความเสี่ยงเอง แต่สัญญาดังกล่าวไม่ชัดเจน กรณีความรับผิดหากเกิดปัญหาท่อก๊าซขัดข้อง

“มีความเป็นไปได้สูงที่จะเปิดเจรจาสัญญาซื้อขายก๊าซของ กฟผ.กับ ปตท.ใหม่ โดยมีเรคกูเลเตอร์เป็นคนกลาง เพราะการไม่มีโทษปรับที่ชัดเจน ทำให้ยุ่งยากในการคำนวณค่าชดเชย เนื่องจากกรณีก๊าซขาดส่งถือเป็นเหตุสุดวิสัย และสูตรซื้อขายปัจจุบันใช้มาตั้งแต่ปี 2539 ในอนาคตจะมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เข้ามาเสริมปี 2554 หลายๆ ฝ่ายคิดว่าถึงเวลาต้องดูองค์ประกอบของสัญญาและสูตรราคาก๊าซใหม่” แหล่งข่าว กล่าว

ส่วนสูตรราคาซื้อขายก๊าซปัจจุบันกำหนดราคาก๊าซประกอบคือ ราคาเนื้อก๊าซและอัตราค่าผ่านท่อ โดยราคาเนื้อก๊าซมี 2 ส่วน ได้แก่ ราคาก๊าซปากหลุมตามค่าความร้อน และค่าจัดหาและจำหน่ายคงที่ 1.75% ของราคาเนื้อก๊าซกำหนดราคาตามสูตรไม่เกิน 123 บาทต่อล้านบีทียู หรือ ปตท.จะได้มาร์จินไม่เกิน 2.15 บาทต่อล้านบีทียู ปัจจุบันราคาเนื้อก๊าซจริงสูง 200 บาทต่อล้านบีทียู ทำให้มาร์จินที่รับลดเหลือ 1.07%

หากเปลี่ยนสัญญาและมีโทษปรับที่ชัดเจน ปตท.มองว่าควรมาร์จินตามไปด้วย ถือว่าต้องรับผิดชอบความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ในส่วนของ กฟผ.เห็นว่าควรปรับสัญญาเช่นกัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงกรณีก๊าซขาดส่งที่อาจจะเกิดขึ้นอีก

นายเพิ่มศักดิ์ ชีวาวัฒนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. กล่าวว่า ปัญหาก๊าซขาดส่ง มาจากหลายจุด ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของ ปตท.ทั้งหมด ในส่วนแหล่งก๊าซบงกชที่หยุดจ่ายช่วงวันที่ 10-19 ต.ค.ที่ผ่านมา แม้เป็นความรับผิดชอบของ ปตท. สาเหตุที่เกิดมาจากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. พบสภาพกัดกร่อนบริเวณท่อก๊าซบนแท่นผลิตช่วงระยะ 50-60 ซม.ซึ่งมีคอนกรีตปิดทับทำให้ไม่พบตั้งแต่แรก

นายเติมชัย บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นบทเรียนของ ปตท.และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดระบบแก้ปัญหาช่วงฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพขึ้น หลังสุดกรณีแหล่งบงกชก็ใช้ระบบโค้ดสีสื่อสารระหว่าง ปตท. กฟผ.และ ปตท.สผ. รวมถึงผู้ผลิตก๊าซในแหล่งต่างๆ โดยโค้ดสี แบ่งเป็น สีขาว เขียว เหลือง ส้ม และแดง ซึ่งสีขาวเป็นสัญญาณบอกเหตุการณ์ปกติ และสีแดงบอกปัญหารุนแรงในการส่งก๊าซ โดยใช้ดีเซลเป็นเชื้อเพลิงทดแทน ส่วนแหล่งบงกช ถือว่าอยู่ในโค้ดสีเหลือง เป็นช่วงเริ่มใช้น้ำมันเตาทดแทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น