วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มาบตาพุด ไม่ใช่มีแค่ปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่บัดนี้ กำลังเป็นความเสี่ยงของชาติ

จากการอุทธรณ์คดี การก่อสร้างโรงงานก๊าซไวไฟและสารเคมีอันตรายไม่แข็งแรง ของ ปตท. ในมาบตาพุด ไม่ตอกเสาเข็มฐานราก การทรุดพังอาจทำให้เกิดการระเบิดลุกลามรุนแรง ยื่นขออุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับคำฟ้องเมื่อ 24 กันยายน 2553 จากความพยายามดันทุรังจากหลายภาคส่วน เพื่อให้มีการเปิดใช้ โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ปตท. ให้ได้ โดยอ้างผลกระทบเรื่องราคาก๊าซแอลพีจี ซึ่งจำเป็นต้องนำเข้าเพราะผลิตได้ไม่เพียงพอ และปัญหาการใช้ก๊าซของภาคอุสาหกรรม และการขนส่ง ครั้นจะแยกประเภทราคา ทำไม่ได้ที่จะให้เกิดผลชัดเจน ว่าจะพยุงราคาส่วนก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน หรือการขนส่งเท่านั้น เพราะถึงอย่างไร คนก้อชอบที่จะใช้ของถูกกว่า แม้ว่าจะทำผิดกฎ ก้อตาม

ข่าวกดดันศาล - ที่จะขอให้หยุดเพื่อให้มีการตรวจสอบ ซ่อมสร้าง เสริมความแข็งแรง มีการขบวนการติดตาม จนหมดความเสี่ยง ที่จะก่อหายนะภัย

คาดไทยหนีไม่พ้นนำเข้าแอลพีจีถาวร ผู้ค้าจ่อขอขยับราคา 3-4 บาท
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
3 ตุลาคม 2553 20:41 น.

จับตาไทยอาจต้องนำเข้าแอลพีจีถาวร หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ แม้โรงแยกก๊าซฯ 6 เกิด แต่การใช้ยังคงขยับเพิ่มขึ้น ขณะที่โรงแยกฯ 7 เกิดยาก เหตุก๊าซฯ เหลือน้อย แถมเจอมาตรการตรึงราคา ธพ.ถกประเมินแผนนำเข้าสัปดาห์นี้ แย้มราคาภาคครัวเรือนอาจได้เฮ แต่ภาคขนส่งและอุตสาหกรรมจุก ด้านผู้ค้าแอลพีจีจ่อขอขยับราคา 3-4 บาทต่อถัง 15 กิโล หลังสิ้นมาตรการตรึงราคาก.พ.54

นายพีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้จะเรียกประชุมโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อประเมินภาพรวมความจำเป็นในการนำเข้าแอลพีจี (ก๊าซหุงต้ม) ว่าจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใด หลังโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งที่ 6 ของบมจ.ปตท. เตรียมจะผลิตได้ในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้ โดยคาดว่าไทยคงยังต้องนำเข้าแอลพีจีระดับหนึ่ง นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังจะนำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการพิจารณาปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีภายหลังหมดมาตรการตรึงราคาช่วงสิ้นก.พ.2554

”รัฐบาลย้ำเสมอว่าจะยังต้องให้ความสำคัญในการดูแลแอลพีจีในภาคครัวเรือน โดยให้แยกราคาเฉพาะภาคขนส่งและอุตสาหกรรม เมื่อมีโรงแยกก๊าซ 6 ก็ยิ่งง่ายขึ้นที่จะดู เพราะนำเข้าจะลดลงอยู่แล้ว แต่ท้ายสุดโครงสร้างราคาจะออกมาแบบใดคงอยู่กับนโยบายการเมืองด้วย”นายพีระพลกล่าว

นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันการนำเข้าแอลพีจี (ก๊าซหุงต้ม) ของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 แสนตันต่อเดือน ขณะที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งที่ 6 ของบมจ.ปตท. มีกำลังผลิตเพียง 1 แสนตันต่อเดือน ดังนั้น เบื้องต้นไทยยังต้องนำเข้าแอลพีจี 5หมื่นตันต่อเดือน และหากรัฐบาลไม่มีการปรับโครงสร้างราคา หลังหมดมาตรการตรึงราคาแอลพีจีก.พ.2554 ก็จะยิ่งส่งเสริมการใช้ให้สิ้นเปลือง และท้ายสุดการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นปัญหาหนักในระยะยาว โดยส่วนตัวเห็นว่าควรจะปรับขึ้นทุกภาคส่วนเพื่อไม่ให้กิดการลักลั่น

สำหรับการเกิดโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งที่ 7 ในอนาคต คงจะเป็นเรื่องลำบาก เนื่องจากการลงทุนจะไม่คุ้มค่า หากรัฐบาลยังกำหนดเพดานราคาหน้าโรงแยกฯ ไม่ให้เกินระดับ 330 เหรียญต่อตัน ขณะเดียวกันปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่พิสูจน์แล้วจะสามารถใช้ได้เฉลี่ยเพียง 17 ปีเท่านั้น ประกอบกับการจะเกิดขึ้นจะต้องมีความต้องการที่มากพอ คือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จะมารองรับ ซึ่งมีปัญหาว่าจะเกิดในพื้นที่ใด เพราะพื้นที่แถบมาบตาพุดคงจะเกิดลำบาก

นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปีมา ผู้ค้ามาตรา 7 ได้พิจารณาลดการอุดหนุนค่าขนส่งแก่โรงบรรจุก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากมีภาระในการดูแลค่าซ่อมบำรุงถังและต้นทุนต่างๆ เพิ่มขึ้น

เช่นเดียวกันโรงบรรจุและร้านจำหน่ายที่มีต้นทุนทั้งค่าขนส่งและค่าแรงที่เพิ่มขึ้น แต่ค่าการตลาดแอลพีจียังคงเท่าเดิม เนื่องจากรัฐบาลประกาศตรึงราคาจนถึงก.พ.2554 โดยภาพรวมขณะนี้มีการแบกรับภาระรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 3-4 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ดังนั้น สมาคมฯ จึงอยู่ระหว่างรวบรวมเพื่อที่จะเสนอรัฐบาลพิจารณาปรับราคาให้ผู้ประกอบการในส่วนนี้หลังหมดมาตรการตรึงราคา


กรณีศึกษาต่อไปนี้ บอกอะไร ให้เห็น-เข้าใจเรื่องความเสี่ยงสูง

กรณีศึกษาการก่อสร้างเจดีย์วัดเขาสุกิม
การเลือกใช้ฐานรากตื้น เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ ทางเลือกที่จะสร้างถาวรศาสนสถาน
สรุปว่า - เลือกใช้เสาเข็มเจาะ
ดินแข็งถึงแข็งมาก ดินแน่นถึงแน่นมาก ค่าดินรับน้ำหนัก 40 ตัน/ม2
ก่อสร้างบนพื้นที่ดินไม่มีการปรับถมใหม่ ในการก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้น
ของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นครราชสีมา

จากภาพตัวอย่างด้านบนทั้งหมด ทำให้เห็นภาพความเสี่ยง ของโรงแยกก๊าซ ปตท. ที่ไม่ยอมตอกเสาเข็มโดยอ้างว่าดินแข็งแรงมากกว่าโรงงานอื่นๆ ในพื้นที่มาบตาพุด ถึง 3 เท่า


โรงแยกก๊าซ ปตท. อ้างว่าดินแข็งแรงมากรับน้ำหนักได้ 90 ตัน/ม2
และใช้เพียง 30 ตัน/ม2 ในการออกแบบ จึงไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มทั้งหมด

ไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ก้อผ่านไป แต่ถ้ามีปัญหาหยุดไม่ได้คุมไม่อยู่
ประเทศนี้จะมีปัญหา จึงไม่ใช่แค่ปัญหาสิ่งแวดล้อม
และชีวิตผู้คนประชาชนในพื้นี่เสี่ยงหายนะภัยเท่านั้น
หยุดสักพัก เพื่อการครวจสอบ-ติดตาม-แก้ไข อย่าฝืนดันทุรังกันต่อไปเลย

การปรับถมดินใหม่ ก่อนการทดสอบดิน
ไม่ต่างกับการถมดินสร้างบ้านจัดสรร
มีการถมดินใหม่ประมาณ แสนคิว
และกดทดสอบในชั้นดินถมที่ความลึก 1.5 ม.
ได้ค่ารับน้ำหนัก สูงกว่า 120 ตัน/ม2
แต่ใช้เพียง 90 ตัน/ม2 เพื่อใช้ในการออกแบบฐานราก

***
ดูภาพเปรียบเทียบ การใช้ค่ารับน้ำหนักของดินที่โคราช 20 ตัน/ม2 ที่ใช้ในการออกแบบ
กับของโรงแยกก๊าซ ปตท. ที่ใช้ 30 ตัน/ม2

พื้นที่เป็นแอ่งน้ำที่อ้างว่าดินแข็งแรงที่สุด

เหตุก๊าซระเบิดในที่ต่างๆของโลกที่มักควบคุมยากอย่างยิ่งยวด แม้ทุกที่มีมาตรฐานสากล

สนพ.เผยความต้องการใช้ก๊าซ “แอลพีจี” ปี 54 ยังขยายตัวสูง 8-9% ชี้ ต้นตอปัญหาความไม่ชัดเจนการขยายโรงแยกก๊าซที่ 6 ทำให้ไทยมีภาระนำเข้าก๊าซเพิ่มขึ้น คาดต้องนำเข้า 4-5 หมื่นตัน/เดือน แม้โรงแยกก๊าซที่ 6 จะเดินหน้าได้ แต่คงไม่เพียงพอในการจัดสรรให้ประชาชน

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เผยหลังหารือร่วมกับกรมธุรกิจพลังงาน โรงกลั่นน้ำมัน และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ เพื่อประเมินปริมาณการผลิตและการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) แล้ว พบว่า ปริมาณการใช้ปีหน้าจะยังขยายตัวที่ระดับ 8-9% และยังจำเป็นต้องนำเข้าไม่ต่ำกว่า 40,000-50,000 ตันต่อเดือน แม้โรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 6 จะกลับมาเดินเครื่องผลิตได้ในอีก 2 เดือนข้างหน้าก็ตาม แต่เนื่องจากปริมาณก๊าซแอลพีจีส่วนใหญ่จากโรงแยกก๊าซที่ 6 จะนำไปใช้ป้อนโรงงานปิโตรเคมีเป็นหลัก

สำหรับราคาก๊าซแอลพีจีในตลาดโลกปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมัน โดยสูงถึง 690 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ซึ่งส่งผลให้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องจ่ายส่วนต่างการนำเข้าให้แก่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพิ่มมากขึ้น แต่ภาพรวมยังไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการเรียกเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยปัจจุบันเงินกองทุนเชื้อเพลิงที่ไหลเข้ายังอยู่ระดับ 700-800 ล้านบาทต่อเดือน

ขณะที่การใช้ก๊าซแอลพีจีในส่วนของภาคอุตสาหกรรมพบว่ายังโตถึง 10% ภาคครัวเรือน 8-9% ส่วนภาคขนส่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง กระทรวงพลังงานยังมั่นใจว่าในปีหน้าจะสามารถเดินหน้าโครงการเปลี่ยนแอลพีจีในแท็กซี่เป็นเอ็นจีวีพบเป้าหมาย 20,000 คัน

อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานมีนโยบายจะตรึงราคาแอลพีจีจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 และตามนโยบายนายกรัฐมนตรีกำหนดให้แยกราคา โดยให้ราคาภาคการขนส่ง และภาคครัวเรือนเป็นราคาแอลพีจีที่เกิดจากการผลิตก๊าซในประเทศ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมจะมีการลอยตัวตามตลาดโลก แนวทางนี้อาจจะทำให้การใช้ภาคอุตสาหกรรมไม่ขยายตัวมากนัก และยังเป็นการลดภาระเงินกองทุนที่จ่ายค่าชดเชยการนำเข้าแอลพีจีอีกด้วย

นอกจากนี้ สนพ.ยังร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดตัวโครงการนำร่อง เพื่อผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลระดับชุมชน โดยทาง สนพ.ได้สนับสนุนเงินจากกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 46 ล้านบาทในโครงการนี้ ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติสนับสนุนให้เอกชนผลิตอุปกรณ์แก๊สซิไฟเออร์ ในการนำเศษไม้ เศษพืชในชุมชน มาเผาแล้วได้เชื้อเพลิงทดแทนแอลพีจี ซึ่งสามารถนำไปผลิตไฟฟ้า หรือใช้ในอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี ที่ใช้ความร้อนในการดำเนินการ เช่น โรงแรม อุตสาหกรรมอาหาร โดยเบื้องต้นมีการดำเนินการ 11 โครงการ

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

ปัญหาตรงนี้ มันใหญ่กว่าเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะขณะนี้ ... เสี่ยงหายนะภัย

ภาครัฐ ทุกส่วนทุกฝ่ายรับรู้ แต่เย็นชาเฉยเมย มองกันแต่เรื่องปัญหาปากท้อง ทั้งที่...เสี่ยงสูงมากที่จะก่อเหตุอันตรายกับชีวิตผู้คนประชาชนจำนวนมาก และผู้ออกมาแจ้งเตือน บอกถึง สิ่งที่พวกตนสร้างเสร็จไปแล้วนั้น ว่าแข็งแรงไม่เพียงพอ

ถึงเวลานั้น เด็กๆ จะหนีไปตรงไหน ใครรู้รึยัง ผู้ใหญ่รู้ทางหนีทีไล่ แล้วเด็กๆ ล่ะ


สังคม เรียกร้องหา พยายามบ่มเพาะความมีจิตอาสา มีจิตสาธารณะ และเสียสละของผู้คนประชาชน แต่พอมี ผู้ออกมาดำเนินการ กลับมองว่าเป็นผู้เรียกร้องผลประโยชน์ รีดไถ ทั้งที่ได้ทำเพราะความกลัวและละอายที่จะต้องรู้สึกผิดบาปกับสิ่งต่างๆที่ดำเนินการไปแล้วนั้น ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุต้นตอที่จะก่อเหตุหายนะขึ้น รวมทั้งยังมีความพยายามหยุดยั้งเหตุภัยนี้ โดยส่งต่อให้หลายภาคส่วนของสังคม รวมทั้งขบวนการศาลปกครอง แต่ขณะนี้ ทุกฝ่ายกลับเงียบเฉยเย็นชา ทั้งที่สามารถระงับหรือบรรเทาเหตุได้ ซึ่งทางกลุ่มฯ ได้ส่งเรื่องราวนี้ ซ้ำๆ ไปยังหลายภาคส่วนแล้วดังนี้

นายกรัฐมนตรีและภาครัฐ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง
ขบวนการศาลปกครอง และนำกราบเรียนเสนอต่อ ประธานศาลปกครองสูงสุด
ประธานและคณะกรรมการ 4 ฝ่าย คณะอนุรับฟังประชาพิจารณ์ และกรรมการองค์การอิสระ
สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของ จังหวัดระยอง
ประธานคณะกรรมาธิการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งของสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
สื่อมวลชนต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต สื่อสิ่งพิมพ์
เครือข่ายประชาชนต่างๆ เครือข่ายสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมทั้งผู้ฟ้องคดีมาบตาพุด
ผู้นำ องค์กร-ชุมชน ต่างๆ 80 องค์กร ในพื้นที่มาบตาพุด และใกล้เคียง
องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ เจโทร(กรุงเทพ)
สมาชิก และประธานหอการค้าต่างๆ ทั้งใน และต่างประเทศ
องค์กรที่เกี่ยวข้อง และไม่เกี่ยวข้องอื่นๆ
ยื่นฟ้องศาลปกครองระยอง เรื่องการอนุมัติ-ดำเนินการก่อสร้างโรงงานเสี่ยง ศาลไม่รับคำฟ้อง
ยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ... อุทธรณ์ ขอให้ช่วยชีวิตผู้คนประชาชน ในพื้นที่เสี่ยงหายนะภัย

วันนี้ ... มีคนมาประท้วง เรื่องมาบตาพุด หลงดีใจ ที่แท้มาคนล่ะเรื่อง

ถ้าทุกโรงงานอุตสาหกรรม ก่อสร้างเลียนแบบ ปตท. ร่วมภาครัฐ - มักง่ายก่อสร้างโรงงานไม่แข็งแรง เร่งรีบเร่งร้อน ภายใน 2-3 ปี ประเทศนี้ จะมีโรงงาน ไม่แข็งแรง เต็มบ้านเต็มเมือง เหมือนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ที่อนุมัติถูกต้องตามกฎหมาย ก่อสร้างไม่แข็งแรงเพียงพอ รอวันทรุดพัง สร้างความเดือดร้อน ก่อเหตุหายนะภัย เพราะเป็นโรงงานสารเคมีอันตราย-ก๊าซไวไฟ

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

มาบตาพุด ที่ผู้คนในประเทศนี้ ไม่เข้าใจ เรื่อง...สิ่งแวดล้อม

นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เปิดเผยว่า เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก พร้อมด้วยเครือข่ายทุกภาคส่วนทั่วประเทศ ที่คัดค้านการประกาศ 11 ประเภทกิจการรุนแรง จะร่วมชุนนุมในวันที่ 30 กันยายนนี้ ตั้งแต่เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป บริเวณด้านหน้าศูนย์ราชการ จ.ระยอง โดยคาดว่าจะมีประชาชนใน จ.ระยอง และทั่วประเทศกว่า 3,000 คน เข้าร่วมชุมนุม เพื่อผลักดันให้รัฐบาลยกเลิกประกาศ 11 ประเภทกิจการรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน และให้มีการทบทวนใหม่ รวมทั้งผลักดันให้รัฐบาลจัดทำผังเมืองแนวป้องกันระหว่างโรงงานกับชุมชน และการแก้ไขลดปัญหามลพิษ โดยจะชุมนุมเป็นเวลา 3 วัน หลังจากนั้นจะพิจารณายกระดับการเคลื่อนไหวต่อไปหากยังไม่มีการทบทวนตามข้อเรียกร้อง
ที่ผ่านมา มีกระแสข่าวว่านายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ประกาศดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มผู้ชุมนุม หากเกินขอบข่ายกฎหมาย ทั้งนี้ นายสุทธิ ยืนยันว่า การชุมนุมยังคงเป็นไปตามกำหนดการ และจะควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวว่า นายกอร์ปศักดิ์ จะลงพื้นที่มาบตาพุดในวันที่ 30 กันยายนนี้ ด้วยเช่นเดียวกัน

กอร์ปศักดิ์ - เคยตอบว่า หมดหน้าที่เรื่องมาบตาพุดแล้ว จะมาทำอะไรแถวนี้ อีก ระวังนะ จะทำให้มาบตาพุด เดือดร้อน แบบ คกก.4 ฝ่าย มาทีไร ก๊าซรั่ว จนผู้คนเจ็บป่วย หลายร้อย คนไม่มีความจริงใจ อย่าลงมาเลยครับ ชาวบ้านเดือดร้อน

มาบตาพุด ที่บ่อยครั้ง ที่ถูกนำไปกล่าวขานถึง ในทางที่เลวร้ายด้านสิ่งแวดล้อม
แต่ ชาวบ้าน ชุมชน ผู้คนแถวนี้ กับมองว่า การมีโรงงานใหม่สร้าง ขยายโรงงาน จะมีคนงาน จะมีการหมุนเวียน มีคนเช่าบ้าน มีคนกินข้าว มีคนซื้อของ ...
หลายๆ เดือนมานี้ มีคนในระยอง คนกรุงเทพ มาขอให้ระงับ การดำเนินการต่างๆของโรงงาน อ้างว่าไม่ทำตาม กม. ยืดเยื้อยืดยาว ค่อนปี แม้ว่า วันนี้ที่ผู้คนในประเทศ มองปัญหามาบตาพุด ว่าเป็น ปัญหาระงับโครงการโรงงานต่างๆ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เลิกให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ วันที่มีคนไม่กี่คน ที่อ้างว่าเป็นตัวชุมชนต่างๆ ในมาบตาพุด ไปขอเป็น 1 ใน คกก.4 ฝ่าย เพราะอ้างว่า ไม่มีคนมาบตาพุดอยู่ในคณะกรรมการ เลย มีคนเอากุ้งย่าง อาหารทะเล ระยอง ไปให้นายกชิม กินแล้วไม่เห็นผื่นขึ้นหน้า แบบที่หลายๆคนบอกเลย ถึงตรงนี้ ... เชื่อหรือว่า เป็นกลุ่มนักธุรกิจด้านการท่องเที่ยว - โรงแรม ผมเชื่อว่า โรงแรมนั่นล่ะใช่ ... เพราะมีโรงงานมาก ต้องมีคนมาพักโรงแรมมาก คงคิดแค่นั้น ...

แล้วอะไร 11 ประเภทโครงการ ที่กำหนดเรื่องราวต่างๆ ข้อกำหนดต่างๆ ที่เอื้อภาคอุตสาหกรรม ถึงวันนี้ ทำไง ให้จบได้ แบบมีฉันทามติ สั้นๆง่ายๆ ของบางส่วน ที่บอกเอา 7 มารวม เป็น 18 นั่นคือจบ

บางคนบอกไม่ใช่ ... เอาแค่ นายก เชิญ กลุ่มรักสิ่งแวดล้อมไปนั่งคุย ออกทีวี แล้วมีการรับปากรับคำบ้าง ให้เป็นพิธี นั่นก็จบ

ถึงวันนี้ ... ใครจะจบแบบไหน เรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องกรอบเวลา เรื่องกระดาษ เรื่่องข้อกฎหมาย เรื่องที่บอกว่า โรงงานมาบตาพุด ที่เหมือนป้ายโฆษณาเสี่ยง ทำถูก กม. แต่ไม่แข็งแรง ผุดกันเป็นดอกเห็ดพิษ ฝนตกหนักพายุลมแรง เสี่ยงพังถล่ม กลายเป็นเรื่องที่ผู้คนไม่ใส่ใจ ... เคยถามว่า สนใจกันเฉพาะเรื่อง เคลื่อนไหวเเฉพาะบางรายการหรือเปล่า ถึงวันนี้ ความสงสัยมันยังอยู่ตรงนั้น

คนมาบตาพุดเสี่ยงตาย ไม่มีคนสนใจ แต่จะประท้วงเรียกร้องข้อกำหนด ที่หลายส่วน ของ 4 ฝ่าย หมกสารพัดเม็ด ที่ตบๆ ตัวเลขข้อความบางอย่าง มันจะจบแบบฉันทานุมัติ

วันนี้ มีคนประชดว่า "รอให้มันตูมตาม!" อะไรๆ จะได้ชัดเจนขึ้น เห็นความจริงใจ ความสนใจของหลายภาคส่วนในประเทศนี้ กันเสียที จะได้รู้ว่า หลายๆเรื่องที่มีปัญหา ในประเทศนี้ เพราะเรามีกลุ่มคนที่อาสาออกมาดูแล ... แล้ว แต่ ... ดูบางอย่างบางประเด็นเท่านั้น

เครือข่ายปชช.ตะวันออกประกาศชุมนุมหน้าศูนย์ราชการ ต่อต้านประกาศ 11 ประเภทโครงการรุนแรง

วันที่ 25 กันยายน ที่โรงแรม มาดิน่า ถนนริมน้ำ ต.ท่าประดู่ อ.เมืองระยอง นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก แถลงข่าวการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านประกาศ 11 ประเภทโครงการรุนแรงต่อชุมชน ในวันที่ 30 กันยายนนี้ ที่บริเวณ หน้าศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ถนนสุขุมวิท โดยมีเครือข่ายประชาชนจากทุกภาคเข้าร่วมการชุมนุม เพื่อผลักดันให้รัฐบาลยกเลิกประกาศดังกล่าวและให้มีการทบทวนใหม่ รวมทั้งผลักดันให้รัฐบาลจัดทำผังเมืองแนวป้องกันระหว่างโรงงานกับชุมชน และการแก้ไขลดปัญหามลพิษ

นายสุทธิ กล่าวว่าได้รับรายงานว่าจะมีกลุ่มบ้านฉาง อ.บ้านฉางและต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง ออกมาคัดค้านการชุมนุมและจะยื่นหนังสือให้นายสยุมพร ลิ่มไทย ผวจ.ระยอง ในวันที่ 29 กันยายนที่ศูนย์ราชการ ทางเครือข่ายประชาชนฯพร้อมที่จะเข้าไปเจรจาเพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง และอยากทราบว่าการที่ออกมาคัดค้านการชุมนุม-ครั้งนี้ รู้ปัญหาเรื่อง 11 ประเภทโครงการรุนแรงมากน้อยขนาดไหน และรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสองมากน้อยขนาดไหน คาดว่าน่าจะมีกลุ่มทุนบางกลุ่มบงการหนุนหลังการคัดค้านการชุมนุม รวมทั้งนักการเมืองบางคนในจังหวัดระยองและกลุ่มข้าราชการบางกลุ่มที่ให้การสนับสนุนกลุ่มคัดค้าน ออกมาเคลื่อนไหวและขับไล่การชุมนุมของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก

นายสุทธิ กล่าวว่าเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ออกรณรงค์ให้ประชาชนทุกอำเภอในจังหวัดระยองที่เห็นด้วยกับเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ให้เดินทางมาร่วมชุมนุมกับเครือข่ายประชาชนฯในวันที่ 30 กันยายนที่บริเวณหน้าศูนย์ราชการ จ.ระยอง เป็นเวลา 3 วัน หากยังไม่มีการทบทวนการชุมนุมก็จะมีการยกระดับการเคลื่อนไหวต่อไป.

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ความมั่นคงทางพลังงาน กับ ชีวิตคนมาบตาพุดบนความเสี่ยง เพื่อความสถาพร ด้านเศรษฐกิจของชาติ

ภาพการระเบิดของ ท่อส่งก๊าซ ในซานฟรานซิสโก 10 ก.ย.53

ชีวิตคนมาบตาพุด ไม่ใช่เงินเบี้ย ในบ่อน ที่รัฐบาลจะยอมเท หมดทั้งตำบล เพื่อความสถาพรด้านเศรษฐกิจ ได้เสียตรงนี้ ชีวิตคนนะครับ ไม่ใช่ผักไม่ใช่หญ้า และถึงวันนี้ ต้องถามรัฐบาลว่าการกินผักกินหญ้าบาปมั้ย เพราะผักหญ้าก้อมีชีวิต ถาม ... เพื่อตรวจสอบความเป็นมนุษย์ ทำไมเลือดเย็น! มองเห็นคนมาบตาพุดไม่ต่างกับเบี้ยกับหอยบนโต๊ะพนัน

อิทัปปัจจยตา เมื่อประมาณ 10 วันก่อน มีอุบัติเหตุไฟไหม้ในโรงแยกก๊าซที่ 6 และเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา มีการซ้อมแผนอพยพ แต่ทำกันเฉพาะคนในโรงงาน แล้วชาวบ้าน ล่ะครับ รู้เรื่องนี้มั้ย เพราะปิดเงียบกันหมด ไหนครับสัญญาณเตือนภัย! คุม ... อยู่หรือครับ ในเมื่อกลางทะเล ยังปล่อยให้ระเบิด ทั้งๆที่ ปตท. รู้ ล่วงหน้า มานานกว่า 2 เดือนครึ่ง

โรงแยกก๊าซ ใหม่ ของ ปตท. โรงแยกก๊าซที่ 6 ที่วันนี้ น่าจะเป็นหนึ่ง ใน 18 ประเภทกิจกรรมหรือโครงการ เสนอโดย คกก.4 ฝ่าย ที่จะส่งผลกระทบรุนแรง เพราะการทรุดพังจากการไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด อาจเกดระเบิดลุกลามร้ายแรง แต่ก้อไม่อยู่ในนั้น ทั้งๆที่หลายภาคส่วนรับรู้เรื่องนี้มากันนานมากแล้ว คงเพราะเป็น ปตท. แล้วการพูดประเด็นนี้ มันเรื่องใหญ่มาก ที่บอกว่า มันกระทบเศรษฐกิจ กระทบหลายภาคส่วนจำนวนมาก ที่ยังต้องเกื้อกูล! อยู่กับ ปตท. คงเป็นแบบนั้น

พลังงาน สั่งซ้อมใหญ่ป้องกันก๊าซฯ ขาดแคลนวันนี้ หวั่นไทยเสี่ยงวิกฤติด้านเชื้อเพลิง เหตุใช้ก๊าซฯ ผลิตไฟฟ้าสูงถึง 70%

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า วันนี้ (10 ก.ย.) กระทรวงพลังงานจะจัดซ้อมแผนรองรับวิกฤติพลังงาน กรณีก๊าซธรรมชาติขาดแคลนขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องจากปัจจุบันไทยใช้ก๊าซฯ ผลิตไฟฟ้าสูงถึง 70% ของพลังงานทั้งหมด จึงมีความเสี่ยงสูงต่อระบบไฟฟ้าของไทยมาก หากเกิดภาวะก๊าซฯ ขาดแคลน แม้จะกำหนดแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือพีดีพี 2010 เพื่อกระจายการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้น แต่ยังถือไทยตกอยู่ในภาวะเสี่ยงด้านพลังงานแล้ว

ดังนั้นจำเป็นต้องวางแผนรับมือล่วงหน้า หากเกิดภาวะก๊าซฯ ขาดแคลนขึ้น และก๊าซฯ ไม่สามารถเข้าโรงแยกก๊าซฯ ได้ จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมี, เอ็นจีวี แอลพีจี (ก๊าซหุงต้ม) หากปริมาณก๊าซฯ มีไม่เพียงพอรัฐบาลต้องตัดสินใจแก้ปัญหาว่าจะนำก๊าซฯ ไปเพื่อผลิตแอลพีจีหรือผลิตไฟฟ้า

ทั้งนี้การซ้อมแผนดังกล่าว จะมีหน่วยงานด้านพลังงานงาน ทั้งหมดมาร่วมจำลองเหตุการณ์ และแก้ปัญหา เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม ทั้ง กลุ่มเชฟรอน บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) รวมทั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือเรคกูเลเตอร์

"การจำลองเหตุการณ์ครั้งนี้ จะเป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นจริงและเลวร้ายที่สุด เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมเรียนรู้การอยู่ร่วมกับภาวะการใช้ก๊าซฯ และส่งสัญญาณให้รู้ว่าถึงเวลาต้องเริ่มกระจายความเสี่ยงเชื้อเพลิง โดยเชื่อว่าไทยคงเลี่ยงไม่พ้นที่ต้องใช้ก๊าซฯ ผลิตไฟฟ้า โดยผู้เข้าร่วมจำลองเหตุการณ์ จะมีอำนาจตัดสินใจแก้ปัญหา หลังจากนี้กระทรวงพลังงานเตรียมสร้างกลไกซึ่งเป็นองค์กรที่ชัดเจนขึ้นมาปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ก๊าซฯ ขาดแคลนอย่างเป็นระบบ"

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทำไมจึงกล่าวหาว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ เป็น รัฐบาล...แม่ปู !!!

สั้นๆ ง่ายๆ เลยครับ ก้อตรงที่ รัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ทำไม่รู้ไม่ชี้ กับโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.เสี่ยงสูง หลงทิศหลงทางกับการบริหารรัฐกิจ แต่คอยชี้นำคนอื่นๆ ว่าต้องมีทิศมีทาง แถมยังเลือดเย็นอีก จึงไม่ต่างอะไร กับแม่ปู ...ไงครับ !!!
โครงการโรงแยกก๊าซหน่วยที่6 ของบมจ.ปตท.(PTT)ไม่ได้อยู่ในข่ายโครงการที่มีผลกระทบร้ายแรงตามประกาศ แล้วที่เสี่ยงทรุดพัง อาจระเบิดลุกลามร้ายแรง นี่มันควรเป็นโครงการประเภทไหน?!
โครงการ นรกแตก หรือโครงการจากนรก
แล้วโครงการแบบนี้ ผ่าน สวล.มาได้อย่างไร
ความจริงวันนี้ ... ที่ภาครัฐหรือภาคอุตสาหกรรม
คงไม่ต้องออกมาบอกแล้วว่า นักลงทุนต่างชาติกดดัน
เพราะ เจโทร(กรุงเทพ) รับรู้เรื่องนี้แล้ว แถมมีความห่วงใย และหวังอย่างสูงยิ่งว่า
รัฐบาลโดยการนำของนายอภิสิทธิ์ จะต้องทำอะไรที่เหมาะสม
หอการค้าไทยและต่างประเทศรับรู้เรื่องนี้กันทั้งหมด
แม้ไม่มีใครกระโตกกระตาก ... รวมทั้งหอการค้าอเมริกัน ในไทยด้วย
ถึงวันนี้ ... รัฐบาลไทย แม้จะประกาศว่า
โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. ไม่ส่งผลกระทบรุนแรง
แต่เชื่อว่า ... หลายคนยังรู้สึกหัวขนลุก แม้ไม่ได้มานอนอยู่มาบตาพุด
และคงภาวนา อย่าให้เกิดเหตุร้าย เหตุสลด
เพราะนักลงทุน มาลงทุนตรงนี้รวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก
และถ้าตรงนี้ มันวอดวายเป็นทะเลเพลิง ... ล่ะ!
อยากให้ยอมรับความจริงกันครับว่า ... มันเสี่ยงสูงมาก
และการเฉยชา ของทุกภาคส่วน รวมทั้งสื่อมวลชนทั้งหมด
นักสิ่งแวดล้อมและผู้ใส่ใจทั้งหมด
ผู้ที่ทำงานประชาสังคมต่างๆ องค์กรเอกชนต่างๆ
จะไม่ต่างอะไรกับการเป็น ... แม่ปู
ที่บอกให้คนอื่นๆ เดินไปในทิศทาง ... ที่คิด
แล้วก้อ ... ปูเป็นสัตว์เลือดเย็น ครับ!

ชีวิตผู้คนในมาบตาพุด
รวมทั้งพนักงานในโรงงานต่างๆจำนวนมาก
คงไม่มีค่าไม่มีความหมาย
สำหรับคำว่า ค่าความเป็นมนุษย์
กับวันนี้ ... ที่พวกท่านๆ กำลังป่ายปีนกันอยู่

คัทเอ้าท์ ขนาดใหญ่ที่เตรียมออกแบบไว้ เพื่อให้ผู้คนรับรู้


บ่อยครั้งที่มีคนถามผมว่า ที่ผมบอกว่า โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. เสี่ยงสูงนั้น มันเสี่ยงแค่ไหน

ผมทำงานเป็นวิศวกรควบคุมโครงการ ในช่วงเริ่มงานก่อสร้างโรงแยกก๊าซใหม่ เรารู้ว่า โครงการมีความเร่งรัดมาก เพราะค่าปรับวันละหลายแสน ทั้งที่งานไม่กี่ร้อยล้าน ตอนนั้นปริมาณคนงานที่ทำอยู่ในโครงการต่างๆ ขยับกันยากมาก เพราะมีหลายโครงการยังไม่จบเสร็จ ยังมีความเร่งรัด และงานตรงโรงแยกก๊าซ จะต้องใช้แรงงาน มากกว่า 700 คน แบบเต็มทีม ทีมงานที่เคยทำงานในมาบตาพุด ติดงานในส่วนโครงการเดิมที่ยังทำไม่เสร็จ และปัญหาการเมืองในบริษัทฯ ทีมงานที่ส่งมาทำงานที่ โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. คือชุดที่ทำโครงการเอื้ออาทรในกรุงเทพ ที่โครงการถูกยุบ ทั้งคนงานทั้งทีมวิศวกร ไม่คุ้นเคยกับงานสร้างโรงงาน โดยเฉพาะสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในมาบตาพุด ซึ่งมีความยุ่งยากเรื่องงานเอกสาร งานเซฟตี้ งาน QA/QC และวิธีการทำงานต่างๆ ตรงนี้ ก้อเป็นส่วนหนึ่งในความวิตกกังวลว่า หลายๆฐานรากจะถูกหมกเม็ด แล้วตรงนี้จะต่างแบบไหน ก้อคิดกันดูเองว่า ถ้าเอาคนทำงานก่อสร้างทาง ก่อสร้างถนน มา 20 ปี มาสร้างตึกสูง หรือเอาช่างซ่อมจักรยาน มาซ่อมมอเตอร์ไซด์นั่นแหละ ทำได้ครับ แต่ความชำนาญความคุ้นเคยงานมันแตกต่างกัน เหมือนผมกำลังบอกว่า บริษัทจัดทีมงานไม่เหมาะสม มาทำงาน งานโครงการนี้

ตามข้อมูลสำรวจดินและวิธีการออกแบบของ ปตท. ซึ่งสามารถสร้างได้จริงแบบนี้

ลักษณะดินที่ว่าแข็งแรงมาก ดูสีของดิน มันเป็นดินทรายหรือโคลนขาว

รวมทั้งวิธีการก่อสร้าง มันปลอดภัยสมอ้างตามโฆษณาชวนเชื่อหรือไม่ ตรงนี้ไง ชี้ให้เห็นว่า งานมีความเร่งรัดสูงแค่ไหน ควบคุมโดยวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลก โชคดีของคนงานที่ไม่ถูกดินถล่มทับ ดินแข็งด้านบน เป็นดินที่เกิดจากการปรับถมบดอัดใหม่ ชั้นล่างระดับ 10-12 เมตร เป็นโคลนขาวเวลาเจอน้ำ จะลักษณะเดียวกับดินสอพอง หรือไม่ต้องลองดู ดินที่ขุดขึ้นมาโดนฝน เหยียบแล้วจมจนมิดถึงหัวเข่า

ประกอบกับการปกปิดข้อมูล ความแข็งแรงของดินที่ใช้ในการออกแบบซึ่งสูงมาก และการออกแบบใช้ค่ารับน้ำหนักประลัย หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Ultimate Design Concept ซึ่ง ปตท. อ้างว่า มีการกดทดสอบค่ารับน้ำหนักของดิน ได้สูงถึง 120 ตันต่อตารางเมตร ดินจึงทรุดตัวลง 1 นิ้ว แต่จริงๆแล้วใช้ค่ารับน้ำหนักประลัยเพียงแค่ 90 ตันต่อตารางเมตร มาใช้ในการออกแบบ ถึงตรงนี้ เข้าใจยาก ผมบอกให้ลองนึกภาพ ถ้าสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีต จะสร้างได้สูงขนาดตึก 8 ชั้น สูงเท่าตึกซีบอร์ด (ตึกตรงสามแยกก่อนถึงแยกเข้านิคมมาบตาพุดนั่นแหละ) มันจะทรุดตัวลงแค่ 1 นิ้ว สำหรับเรื่องการทรุดตัวอีก เข้าใจยาก ทรุดทันทีทรุดต่อเนื่องมันแบบไหน ตรงนี้ แบบบ้านๆ ต้องให้นึกถึง ถังเก็บน้ำที่ชุมชนเอามาแจก ถ้าวางมันกับพื้นดิน ก่อนวางก้อจะต้องปรับพื้นให้เรียบ แล้วตบๆดินให้แน่นก่อน เวลาวางมันจะได้ไม่ทรุดเอียง ทีนี้พอเติมน้ำจนเต็ม ก้นถังมันจะทรุดลงไปประมาณครึ่งนิ้วอะไรแบบนั้น ตรงนี้คือทรุดทันที ทีนี้ถ้าเราวางมันทิ้งไว้ สัก 2-3 ปี ก้นถังมันอาจจะทรุดลงไปสัก 2-3 นิ้ว กรณีดินอ่อนอาจทรุดลงเป็นฝ่ามือเป็นคืบ ตรงนี้อาจเรียกว่าทรุดตัวต่อเนื่อง บ้านผมที่บ้านนอก โอ่งลูกใหญ่ๆ เวลายกย้ายที่ บางลูกลงไปเป็นคืบ ยิ่งถ้ามีน้ำท่วมถึงอาจลงไปเป็นศอก เป็นเรื่องปกติของดินและการรับน้ำหนัก

โรงงานอื่นๆ รวมทั้งที่อยู่บนเนินสูง ทำไมเขาตอกเสาเข็ม แต่โรงแยกก๊าซแอ่งน้ำท่วม

อ้างว่าดินแข็งแรงจนไม่ต้องตอกเสาเข็ม

แบบก่อสร้าง และข้อกำหนดก่อสร้างที่ไม่มีข้อมูลเลยว่า ปตท.ใช้ค่ารับน้ำหนักสูงมาก

ปกปิดไว้ เพราะกลัวไม่มีผู้รับเหมาเจ้าไหนกล้าทำให้ แบบนั้นหรือเปล่า

ส่วนหนึ่งของรายงานที่บันทึกการทรุดตัวของโครงสร้างต่างๆ ที่ ปตท. แถลงว่า ตรวจสอบและควบคุมมาโดยตลอดและไม่พบการทรุดตัวที่ผิดปกติเลย ทั้งที่ในเดือน พฤษภาคม 2552 มีการทรุดจำนวนมาก ซ่อมสร้างขึ้นใหม่ แต่ไม่มีการตรวจสอบ-ติดตามอะไร ที่เป็นรูปธรรม อ้างว่า คนทำย้ายออกกันไปหมด ข้อมูลเดิม ติดตามได้ยาก ทำขึ้นใหม่ต้องใช้เวลา

มีคนชอบบอกว่า ผมชอบนำเสนองานในเชิงวิชาการจนเข้าใจยาก หรือคนมองไม่เห็นความเสี่ยง อันที่จริงแล้ว เรามีการหารือกันเรื่องความเข้าใจของสาธารณะบ่อยๆ ว่าทำอย่างไร จะทำให้คนเข้าใจง่ายและหันมาให้ความสนใจเรื่องความแข็งแรง ผมคนหนึ่งที่เคยวิจารณ์ว่าทุกส่วนทุกฝ่ายเข้าใจดีนะว่า ความแข็งแรงคืออะไร แบบชาวบ้านๆ เค้าไม่กล้าเอาเก้าอี้พลาสติกขาอ่อนๆ มาเหยียบยืนต่อตัวขึ้นหยิบของในที่สูง อันนี้เขาเข้าใจเรื่องความแข็งแรง เขารู้ว่ารถเขาสามารถบรรทุกอะไรได้เท่าไหร่ เขาเข้าใจเรื่องสมรรถนะ อะไรเพิ่งเกิดขึ้นที่มาบตาพุด วันที่ก๊าซคลอรีนรั่ว ชาวบ้าน-สื่อมวลชนจำนวนมากบอกตรงกันว่า ถังคลอรีนทรุดพัง ฐานรับน้ำหนักไม่ไหว มันไม่มีความสลับซับซ้อนอะไร ถ้าคุณไปซื้อคอนโดอยู่แล้วบังเอิญคุณไปรู้ว่า คอนโดสูง 10 ชั้น สร้างโดยไม่ตอกเสาเข็ม ผมถามจริงๆว่า คุณกล้าขึ้นไปอยู่มั้ย เพราะอะไร คุณคงเห็นว่ามันไม่น่าจะปลอดภัย แต่เจ้าของโครงการกลับบอกว่ามีบริษัทก่อสร้างชั้นนำมาออกแบบก่อสร้างให้และดินแข็งแรงมาก อีกทั้งวิศวกรควบคุมงานเป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลก เอาวิศวกรจำนวนมากมีนั่งชี้แจงอธิบาย ผมถามจริงๆ ว่า ถ้าคุณยังไม่ได้ซื้อ คุณจะซื้อมันมั้ย ถึงตรงนี้ มันคือการตัดสินใจที่คุณจะเชื่อและซื้อเพื่ออยู่อาศัย หรือจะซื้อไว้หลอกขายคนอื่นเอากำไร นั่นมันก้ออีกเรื่อง

ภาพที่บอกว่า ความจริงคืออะไร แต่ทำไม ปตท. กล้าเสี่ยง ถ้า โรงแยกก๊าซ ปตท. อยู่ในป่าหรือเกาะร้าง ปราถนาจะเสี่ยงกันอย่างไรก้อทำกันไปเถอะ แต่ตรงนี้ โรงแยกก๊าซ อยู่ในเขตเทศบาล อยู่ติดตลาดติดชุมชน มาสร้างความเสี่ยง ที่น่าสยดสยองถ้าเกิดเหตุสลด แล้วอ้างว่า ก่อสร้างบนมาตรฐานสูง แม้ไม่ตอกเสาเข็ม

ให้ดูซ้ำๆ อีก เพื่อจะได้คิดซ้ำๆ ว่าที่ ปตท. บอกว่า ดินแข็งถึงแข็งมาก เป็นแอ่งน้ำท่วม เมื่อฝนตกหนัก เพราะถึงอย่างไร ปตท. เป็นองค์กร ที่น่าเชื่อถือ ดูรูปนี้อีกครั้ง เพื่อที่จะได้รู้ว่า ที่เชื่อเชื่อเพราะอะไร ทั้งๆที่ไม่ได้หลับหูหลับตา ดูฟังแต่ โฆษณาชวนเชื่อได้ทุกวัน จากสื่อทุกแขนง ที่วันนี้ สื่อไทยยังคงทำแบบนั้น และยังปิดกั้นการรับรู้ความเสี่ยงของภาคประชาชนอีกด้วย
กดเข้าไปดู ว่าขนาด สื่อเครือเนชั่น ยังเป็นแบบนี้
http://www.oknation.net/blog/airfresh-society

ถังก๊าซขนาดนี้ 6,000 คิว 12 ลูกอยู่ระหว่างกลางโรงแยกก๊าซ ที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน ของ ปตท. และทั้งหมดมันไม่ได้ตอกเสาเข็ม คนที่ไม่กลัวคงเป็นคนที่อยู่ห่างไกล

แต่เชื่อหรือไม่ว่า คนมาบตาพุดจำนวนมากก้อไม่กลัว เพราะผู้นำชุมชนบอกว่าถ้าตายก้อตายพร้อมกันหมด ไม่เหงา และไม่เชื่อ เพราะเชื่อ ปตท. บอกว่ามันดีและปลอดภัยแล้ว

แล้วเรื่อง คลังก๊าซแอลพีจีระเบิดล่ะ ตรงนี้เกินจริงจนสร้างความหวาดกลัวมั้ย เพราะ ปตท. น่าจะต้องควบคุมได้ บริษัท เขาใหญ่ปานนั้น จะมาทำอะไรเสี่ยงให้เสียหายได้อย่างไร เขาต้องมีมาตรการเฝ้าระวัง อย่างน้อยก้อรู้เรื่องนี้แล้ว เขาน่าจะทำอะไรไปแล้ว ใครจะปล่อยให้เสี่ยงสูงมาก ถึงตรงนี้ผมเลยจัดให้ว่าความมั่นใจสูง ของ ปตท. เป็นอีกหนึ่งประเด็นความเสี่ยงที่ผมให้ความสนใจมาก ความที่มั่นใจว่ามีวิศวกรต่างชาติมาก่อสร้างมาควบคุมงานงานให้นั่นแหละ ที่มีการระเบิดพังสร้างความเสียหายใหญ่หลวงกับโลก แบบแท่นเจาะน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก คนอเมริกันเจอเข้าไปเต็มๆ ทั้งที่มีเทคโนโลยี่ดี มีผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก ยังแก้ไขกันอยู่หลายเดือน ในจีนเอง ท่อส่งน้ำมันระเบิด ตูมเละ แค่นักดับเพลิงและอาสาสมัคร ยังใช้กันหลายพันคน รายงานความเสียหายเงียบสนิท แท่นเจาะน้ำมัน ของ ปตท. เอง ที่ระเบิดเมื่อปลายปีก่อน เดือน พ.ย. 52 ตรงนั้น ปตท. รู้ล่วงหน้ามา 2 เดือนกว่า แก้ไขโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก สุดท้าย ตูมเละ ... นกกับสัตว์น้ำ จำนวนมากได้รับผลกระทบ ตรงนั้นมันอยู่กลางทะเล แต่คลังก๊าซของ ปตท. ที่บอกว่าเทียบกับรถก๊าซ 4,200 คัน มันจอดรวมกันอยู่ห่างตลาด กิโลเศษๆ ตรงนี้ไง มันน่าหวาดเสียว

ไฟไหม้ใกล้คลังก๊าซ ที่อาจระเบิดรุนแรง แบบ BLEVE ที่นักผจญเพลิง ตายมาแล้วมากต่อมาก ถ้าเกิดเหตุแล้ว จะมีสักกี่คนกล้าเข้าไประงับเหตุ แบบเวลาซ้อม มาตรการการหลบภัย-รับมือ-จัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำได้จริงๆ หรือ หรือเขียนไว้ แล้วเก็บใส่แฟ้ม

เอ้า แล้วมันจะระเบิดอย่างไร ตรงนี้ ผมให้นึกภาพในอากาศนะ สมมุติเป็นโรงประปา ก้อแล้วกัน จริงๆแล้วเรื่องการทรุดตัวเป็นเรื่องปกติทั่วไป ถ้ากับอาคารเป็นตึก มันก้อจะแตกร้าวให้เห็น หรือบ้านใครไม่ร้าวไม่แตก มันเป็นเรื่องธรรมชาติที่หาความแน่นอนอะไรไม่ได้ เพราะจู่ๆ ถ้ามันเกิดการทรุดตัวขยายตัวไม่เท่ากัน เอาเป็นว่าเรานึกถึงภาพ โครงอาคารรับท่อประปา 2 จุดมันทรุดไม่เท่ากัน ข้อต่อตรงหน้าแปลนที่มีน๊อตยึดนั่นแหละ ท่อใหญ่ๆ ถ้ามันปริแตกน้ำก้อจะรั่วไหลออกมา พุ่งแรงมาก ถ้ามีแรงดันน้ำสูงมาก กว่าที่จะปิดวาล์วหรือควบคุมได้ มันคงเปียกปอนไปทั่วหมด ทีนี้การซ่อมหน้าแปลนแตกเนื่องจากจะการทรุด ตรงนี้มันไม่ใช่เรื่องง่าย อาจต้องขยับแนวใหม่ ผมว่าลองเปลี่ยนจากน้ำมาเป็นก๊าซแอลพีจีเหลวที่รั่วออกมาดีกว่า ก๊าซแอลพีจีเหลว จะเปลี่ยนเป็นก๊าซด้วยปริมาตรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 250 เท่า ถ้านึกภาพท่อน้ำแตกรั่ว คงนึกภาพออกว่ามันเป็นแบบไหน ทีนี้เพิ่มปริมาณอีก 250 เท่ากับที่นึก แล้วมันบังเอิญว่า มันเป็นก๊าซไวไฟคนเจอว่ามันรั่วจะเข้าไปปิด หรือจะวิ่งหนี ถ้ามันรั่วมากๆ มันไม่ใช่วาล์วถังก๊าซหุงต้มตามบ้าน แล้วอีกคุณสมบัติหนึ่งของ ก๊าซแอลพีจีเหลว จุดที่รั่วไหลมันจะควบแน่นเป็นน้ำแข็งอุดตัวมันเอง แต่ไม่ใช่ว่ามันจะหยุดนะ พอมันอุดแล้วมันจะทำให้ท่อระเบิด เกิดลุกไหม้เองได้ แม้ไม่มีประกายไฟ ตรงนี้ไง ที่บอกว่าเสี่ยงมาก แล้วเราก้อไม่รู้ว่า ตรงไหนมันจะทรุดมันจะแตก เพราะมันมีความเสี่ยงทุกพื้นที่ การระเบิดจากจุดเล็กๆ ถ้าเดชะบุญแก้ไขได้ปัญหาก้อจบ แต่ถ้าไม่ได้ล่ะมันลุกลามไวมาก และถ้าลุกลามมาถึง คลังก๊าซที่ว่าล่ะ แบบที่เคยเกิดในเม็กซิโก ประมาณปี 1980 ระเบิดต่อเนื่องยาวนาน เกือบ 9 ชม. ทั้งโรงงานทั้งชุมชนราบคาบ ตรงนี้ มีก๊าซมากกว่าที่เคยเกิดในเม็กซิโกถึง 7 เท่า และดันมีโรงงานอันตรายหลายร้อยโรงในมาบตาพุดที่อยู่ในรัศมีการระเบิด ถ้ามันระเบิดต่อๆ กันอีกล่ะ พอแล้วครับ ... เลิกนึกภาพไปเลย สึนามิไฟ ดีๆนี่เอง มันเป็นจินตนาการที่เลวร้ายสุดๆนะครับ ตรงนี้ ถามว่ามีโอกาสแค่ไหน ผมบอกแล้วว่า เราเปิดโอกาสให้มันเกิดไง เรารู้ใช่มั้ยว่า ถ้ามันแข็งแรงไม่เพียงพอ มันจะทรุดมันจะพัง แต่บังเอิญว่า ที่มันเสี่ยงทรุดพังเป็นโรงงานก๊าซไวไฟ แถมมีคลังก๊าซแอลพีจีขนาดมหึมา ถึงตรงนี้ เลยบอกว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์เลือดเย็นมาก เพราะรู้ตรงนี้มาตั้งนานแล้ว 7 เดือนนี่นานมั้ย ทั้งๆที่ยุ่งอยู่กับเรื่องเดียงกันคือเรื่องมาบตาพุด รู้ว่ามันเสี่ยงทรุดพังระเบิดลุกลามได้ ... คงกลัวครับว่า การหยุดโรงแยกก๊าซ แล้วมันจะกระทบเศรษฐกิจ แต่ถ้าเกิดสึนามิไฟ ล่ะ ประเทศไทยจะต้องใช้เวลากี่ปีที่จะฟื้นตัว เพราะชอบบอกกันจัง ว่ามีเงินลงทุนตรงนี้หลายแสนล้าน ไอ้ที่ลงทุนไปแล้วด้วย นั่นเท่าไหร่ มันจะไม่ใช่แค่แบบไฟไหม้ห้างใน กรุงเทพฯ ที่มาบตาพุดพอเกิดเหตุแล้ว ผมอยากรู้ว่า หมอพรทิพย์จะต้องรอเวลากี่วันถึงจะกล้าเข้ามาเก็บซาก คงต้องรอจนก๊าซอันตรายต่างๆจำนวนมาก มันเจือจางก่อน ถึงเวลาหรือยังครับ ที่ทำไม...เราต้องจินตนาการถึง เรื่องร้ายที่สุด เพื่อให้เรารู้จักระมัดระวัง ไม่เปิดโอกาสให้มันเสี่ยง แบบที่เจโทรทำไงครับ สมาคมนักลงทุนญี่ปุ่น พอรับรู้เรื่องนี้แล้ว ตอบจดหมายทันทีเลย เพราะรู้ว่ามันไม่ปกติ แต่ไม่รู้ว่า เขากดดันอะไรรัฐบาลกับเรื่องนี้บ้าง เพราะเราได้ทำจดหมายขอบคุณจดหมายที่ตอบมา และขอให้เขาหาช่องทางที่เหมาะสมดำเนินการหยุดความเสี่ยงสูงมากนี้ โดยไปเร่งรัดรัฐบาลจัดการปัญหาความเสี่ยงของโรงแยกก๊าซ ปตท. - อยากรู้อะไรอีกช่วยถาม แล้วผมจะตอบแบบบ้านๆง่ายๆ หรือจะโทรมาคุยก้อได้ครับ ไม่ว่ากัน

ภาครัฐ นายกรัฐมนตรี รมต. อีกหลายคน รับรู้เรื่องนี้ รวมทั้ง นายสาธิต สส. ระยอง ซึ่งทุกส่วนของรัฐ เก็บข้อมูลจำนวนมากเข้าแฟ้มไว้แล้ว / รอเกิดเหตุ รัฐบาลพร้อมจัดงบเยียวยา แต่เงินไปไม่ถึง มือผู้ประสพภัย จัดงบเยียวยา งานถนัดที่อยากจัดบ่อยๆ เยียวยาบ่อยๆ การแก้ปัญหา คงทำแบบแก้น้ำแล้ง คือนั่งรอเวลาให้ฝนตกลงมา น้ำท่วมปีก่อน เงินเยียวยังแจกไปไม่ถึง ปีนี้กำลังจะท่วมอีกแล้ว

เหตุที่รัฐบาล แก้ปัญหาด้วยการประกาศสภาวะฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยมีเครื่องมือจำนวนมาก ประชาชนจำนวนมาก สื่อจำนวนมาก เจ้าหน้าที่รัฐจำนวนมาก และใช้งบประมาณจำนวนมาก - แต่ทำไม ... ยังปล่อยให้เกิด - อดีตทำให้เรารู้ว่าปัจจุบันจะต้องตัดสินใจอย่างไร กับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง

เผาราชประสงค์ และสถานที่ราชการต่างๆ น่าจะเป็นเรื่องที่ทุกส่วนต้องตระหนัก ว่าเรื่องนี้รัฐบาลเองและกลุ่มนักธุรกิจต่างๆ รับรู้กันมานานมากกว่า 4 เดือนว่าจะเกิดเหตุการณ์ขึ้น ถามว่า มีการระวังป้องกันอย่างไร รัฐบาลเองบอกว่าประชาชนอย่ายุ่งจะเป็นเรื่องลุกลาม สุดท้ายรัฐบาลก้อป้องกันไม่ได้ ครั้นจะชดเชยอะไรๆ รัฐบาลก้อไม่สามารถทำได้ และยังมีอีกหลายฝ่ายออกมาว่า ทำไมต้องเอาเงินภาษีประชาชนมาชดเชย ข้อผิดพลาด การดำเนินการที่ผิดพลาดของรัฐบาล และตรงนี้เองที่บอกว่า โรงงานต่างๆในมาบตาพุด นักลงทุนต่างๆ รวมทั้งหอการค้าต่างๆ ที่ต้องออกมารักษาผลประโยชน์ของตัวเอง คงรวมทั้งนักธุรกิจ พ่อค้าแม่ขาย ในมาบตาพุดด้วย อุตส่าห์ขวนขวาย หาเงินสร้างตัวตน สร้างความรุ่งเรือง กันมาแบบเหนื่อยยากยาวนาน ถ้าวันหนึ่งมันต้องมอดไหม้ ไปในทะเลเพลิง ก้อเป็นเพราะวันนี้ ไม่ได้ออกมาเรียกร้องให้ ปตท. หยุดเพื่อปลดปล่อยความเสี่ยง หรือจะอยู่กับความเสี่ยงกันไป จึงอยากให้ดู เหตุไฟไหม้ราชประสงค์และสถานที่ราชการต่างๆ ที่หลายส่วนหลายฝ่าย คิดว่ามันไม่น่าเกิดมันก้อเกิดไปแล้ว

(เผาราชประสงค์ = ความประสงค์ของพระราชา ถูกเผาผลาญ)

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นายกฯ มีอำนาจสั่งปลดล็อค จริงหรือ!!! ทำไม ไม่รอศาลสั่ง ...

นายกฯ มีอำนาจสั่งปลดล็อค จริงหรือ!!!

หรือยังต้องรอศาลปกครองมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ... คำสั่งเดิม ที่สั่งคุ้มครองชั่วคราว

หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลับไปศึกษาการประกาศ 18 ประเภทกิจการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
ในวันนี้(23 ส.ค.) ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวลด้อมแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน คาดว่าจะสามารถประกาศประเภทกิจการดังกล่าว เพื่อปลดล็อกโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งขณะนี้มีอยู่ 64 โครงการที่ยังรอความชัดเจนจากคณะกรรมการชุดดังกล่าว และให้เป็นไปตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม 18 ประเภทกิจการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน เป็นไปตามการเสนอของคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน

มาร์คเคาะมาบตาพุดวันนี้
0
เอกชนคาดหวังเดินหน้าสร้างเชื่อมั่น-ดึงลงทุนบูม

เอกชนลุ้นระทึกบอร์ดสิ่งแวดล้อมเคาะประเภทกิจการรุนแรงจันทร์นี้ หวังกิจการเดินหน้าฟื้นเชื่อมั่นหลังล่าช้ามานาน เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกหวังชัดเจนทั้งประเภทและพื้นที่ ยันเขตควบคุมมลพิษทุกกิจการควรทำเอไอเอ

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ภาคเอกชนมีความคาดหวังจะเห็นการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (บอร์ด สวล.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 23 ส.ค.นี้ จะสามารถกำหนดประเภทกิจการที่มีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ อย่างเป็นทางการให้ชัดเจน เพื่อกำหนดกรอบการปฏิบัติตามมาตรา 67 (2) แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยเฉพาะกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ซึ่งที่ผ่านมาได้ใช้เวลานานไปพอสมควรแล้ว หากต้องล่าช้าไปอีกจะยิ่งฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนให้ต่ำลง

ตามที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ไขปัญหามาบตาพุดได้วางกรอบประเภทกิจการรุนแรงไว้ 18 ประเภทนั้นไม่ได้หมายความว่าจะแก้ไขไม่ได้ แต่ไม่ใช่ปรับจนไม่เหลือเค้าโครงเดิมเท่านั้น ซึ่งถ้าเห็นว่าบางกิจการยังไม่ชัดเจนก็ค้างไว้ก่อน แต่ที่เหลือควรจะประกาศออกมานักลงทุนจะได้ชัดเจนว่าจะต้องทำอย่างไรไม่ใช่คลุมเครือเช่นทุกวันนี้ ซึ่งหากต้องช้าไปอีกคงจะต้องชี้แจงเหตุผลด้วย โดยเอกชนยืนยันว่า HIA ในโลกนี้ไทยแทบจะดีที่สุดแล้วนายพยุงศักดิ์ กล่าว

นายชุษณะ วีระพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงงาน บริษัท ไทยน๊อคซ์ สเตนเลส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการผลิตเหล็กแผ่นไร้สนิมรีดเย็น ระยะที่ 3 ตั้งอยู่ที่สวนอุตสาหกรรมระยอง อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง เป็นหนึ่งในโครงการที่ถูกคำสั่งศาลปกครองระงับชั่วคราว ขณะนี้บริษัทฯ อยู่ในระหว่างการรอสรุปบัญชีรายชื่อประเภทกิจการรุนแรง ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) และเปิดประชาพิจารณ์เสร็จสิ้นแล้วในทุกกระบวนการโดยดำเนินการร่วมกับภาคประชาชน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐในจังหวัดระยอง ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างกว้างขวาง และกำลังสรุปผลขั้นสุดท้ายเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนอีกครั้งในเดือนตุลาคมนี้ จากนั้นจะนำเสนอรายงานต่อสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรแห่งชาติ (สผ.) ต่อไป

นายสุทธิ อัฌชาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า ทุกฝ่ายรอการประกาศประเภทกิจการรุนแรงอยู่ซึ่งหากจะต้องรอไปอีกจะต้องมีเหตุผล เพราะที่ผ่านมาถือว่าได้มีการเปิดประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวาง ซึ่งเครือข่ายฯ ต้องการเห็นการประกาศทั้งประเภทกิจการรุนแรงและพื้นที่ที่ชัดเจน ซึ่งหากไม่กำหนดจะเป็นการไปเพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการวินิจฉัยตีความซึ่งอาจนำมาซึ่งความไม่โปร่งใสได้ในระยะยาว

เราต้องการเห็นการประกาศประเภทและพื้นที่กิจการรุนแรงซึ่งได้หารือเรื่องนี้กับนายกฯ ไปแล้ว เช่นกรณีจังหวัดระยองควรจะเป็นกิจการรุนแรงทั้งหมดเพราะถือว่าเป็นเขตควบคุมมลพิษ กรณีกิจการบางอย่างไม่เข้าข่ายแต่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ก็ควรจะถือเป็นกิจการรุนแรงที่จะต้องทำ HIA” นายสุทธิ กล่าว

นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีเออาร์ กล่าวว่า คาดหวังว่าการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (บอร์ดสิ่งแวดล้อม) ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ จะมีการกำหนดประเภทกิจการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างร้ายแรงออกมาได้ เพื่อให้เอกชนมีกรอบในการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เพราะไม่เช่นนั้นก็จะไม่รู้ว่าโครงการไหนเข้าข่ายเป็นกิจการรุนแรงหรือไม่เป็นกิจการรุนแรง นอกจากนี้ยังทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ครบตามองค์ประกอบกฎหมาย

ที่ผ่านมาก็ถือว่าการดำเนินการล่าช้ามาพอสมควรแล้ว ภาคเอกชนจึงอยากให้มีการประกาศประเภทกิจการรุนแรงออกมา ซึ่งหากมีการประกาศออกมาก็จะทำให้ช่วยฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งเก่าและใหม่ให้ตัดสินใจกลับเข้ามาลงทุนไทยได้"

นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ได้กำหนดทิศทางนโยบายส่งเสริมการลงทุนในอีก 3 ปี ข้างหน้า (2553-2555) เน้นเรื่องการลงทุนที่ยั่งยืนมากขึ้น บีโอไอศึกษามาตรการสิทธิประโยชน์การลงทุน 4 ด้าน คือ 1.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่อุตสาหกรรมความรู้ 2.การพัฒนาความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3.การส่งเสริมการลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน 4.การสร้างฐานอุตสาหกรรมและบริการจากความคิดสร้างสรรค์และความเป็นไทย คาดว่าจะเสนอรายงานผลการศึกษาสิทธิประโยชน์อุตสาหกรรมบริการให้บอร์ดบีโอไอพิจารณาในเดือน กันยายน