วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

ดิน และฐานราก คือส่วนสำคัญที่สุดขององค์อาคาร

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของดิน
FACTOR OF SOIL
จาก http://www.denichsoiltest.com



ดิน (Soil)
เมื่อพูดถึง “ดิน” ทุกคนทราบดีว่ามันคือ ส่วนประกอบของแผ่นดินที่เราเหยียบย่ำ เป็นวัตถุที่เรา
ใช้ปลูกพืช หรือเป็นพื้นฐานของอาคารที่อยู่อาศัย แต่ความหมายในเชิงวิทยาศาสตร์ทางดิน (soil science) นั้น
“ดิน” (soils) หมายถึง เทหวัตถุทางธรรมชาติ (natural body) ที่เกิดจากการสลายตัวของหิน
และแร่ธาตุต่าง ๆ ผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุซึ่งปกคลุมผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ เป็นวัตถุที่ค้ำจุนการเจริญเติบโตและการทรงตัวของพืช มีการแบ่งชั้น (horizon) ที่สามารถสังเกตเห็นได้จากตอนบนลงไปตอนล่าง มีอาณาเขตและลักษณะประจำตัวของมันเอง ซึ่งมนุษย์สามารถแบ่งแยกดินออกเป็นชนิด
ต่าง ๆ ได้
ดินประกอบด้วยแร่ธาตุที่เป็นของแข็ง อินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศที่มีสัดส่วนแตกต่างกันออกไป
การเกิดขึ้นของดินเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำร่วมกันของปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ พืช และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ต่อวัตถุต้นกำเนิดของดิน ในสภาพพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น "ดิน" ในที่แห่งหนึ่งจึงอาจเหมือนหรือต่างไปจากดินในที่อีกแห่งหนึ่งได้ ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปัจจัยเหล่านี้ ซึ่งมีความมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณ ส่งผลให้ดินมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว และเมื่อปัจจัยเปลี่ยนไป ดินจะมีลักษณะหรือสมบัติต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปด้วย
ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเขียนแทนได้ด้วยสมการ
ที่มา www.ldd.go.th
เมื่อ S = ดินชนิดต่าง ๆ
เมื่อ cl = สภาพภูมิอากาศ
เมื่อ p = วัตถุต้นกำเนิดของดิน
เมื่อ o = ปัจจัยทางชีวภาพ
เมื่อ r = ปัจจัยทางสภาพภูมิประเทศ
เมื่อ t = ช่วงเวลาต่อเนื่องโดยไม่มีการขัดจังหวะ
สภาพภูมิอากาศ (climate)
สภาพภูมิอากาศที่มีอิทธิพลต่อการเกิดของดินหรือทำให้ดินมีลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่ อุณหภูมิ
และ ปริมาณน้ำฝนซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีอิทธิพลต่ออัตราการสลายตัวของหิน แร่ ทั้งในด้าน กายภาพ และเคมี (physical and chemical weathering) ทั้งยังมีอิทธิพลต่ออัตราความเร็วของการเคลื่อนย้ายและการสะสมใหม่ของหินและแร่ที่ถูกแปรสภาพโดยตัวการสำคัญๆ มาเป็นวัตถุต้นกำเนิดของดิน ในเขตร้อน หิน แร่ จะสลายตัวมาเป็นดินได้เร็วกว่าในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว เนื่องจาก ในเขตร้อนมีอุณหภูมิสูง และมีปริมาณฝนตกมากว่าเขตหนาว การผุพังสลายตัวต่างๆ จึงดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เกิดการชะล้างธาตุอาหารพืชออกไปได้มาก จึงมักทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
วัตถุต้นกำเนิดของดิน (parent material)
เป็นปัจจัยควบคุมการเกิดดินที่สำคัญ และมองเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนที่สุด และมีอิทธิพลต่อองค์
ประกอบของดิน เช่น สี เนื้อดิน โครงสร้าง และสมบัติทางเคมีของดิน โดยทั่วไปดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดที่สลายตัวมาจากหินพวกที่มีปฏิกิริยาเป็นด่าง (basic rock) มักจะเป็นดินเนื้อละเอียด สีคล้ำ ความอุดมสมบูรณ์สูง ส่วนดินที่เกิดจากหินพวกที่มีปฏิกิริยาเป็นกรด (acid rock) มักจะเป็นดินเนื้อหยาบ สีจาง ความอุดมสมบูรณ์ และความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่ำ เป็นต้น
สภาพภูมิประเทศ (relief)
ในที่นี้หมายถึงความสูงต่ำ หรือระดับที่ไม่เท่ากันของสภาพพื้นที่ และความลาดชันของพื้นที่ที่เกี่ยว
ข้องกับระดับน้ำใต้ดิน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการเกิดลักษณะชั้นต่าง ๆ ในหน้าตัดดิน ความลึกของดิน สี ความชื้นสัมพัทธ์ในดิน และความรุนแรงของการชะล้าง เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ดินที่เกิดในที่ที่มีความลาดชันสูง มักจะเป็นดินตื้น มีชั้นดินน้อย มีการชะล้างหน้าดินมาก ชั้นดินบนจะบาง หรืออาจจะไม่มีชั้นดินบนเลยก็ได้ ตรงกันข้ามกับดินที่เกิดในที่ราบลุ่ม ที่มักจะมีชั้นดินบนที่หนากว่าเนื่องจากเป็นแหล่งทับถมของตะกอน เนื้อดินละเอียดกว่า เพราะมีการเคลื่อนย้ายอนุภาคขนาดดินเหนียวจากดินชั้นบนลงไปสะสมอยู่ในดินล่าง
ปัจจัยทางชีวภาพ (organism)
ได้แก่สิ่งมีชีวิตต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยพืชและสัตว์ แต่มักจะเน้นที่พืชพรรณต่างๆ ที่ขึ้นปกคลุมบนผิว
ดิน ซึ่งมีอิทธิพลต่อปริมาณอินทรียวัตถุในดิน และองค์ประกอบทางเคมีของดิน ดินที่เกิดภายใต้สภาพพืชพันธุ์ที่เป็นทุ่งหญ้า มักจะมีอินทรียวัตถุและธาตุที่เป็นอาหารพืชมากกว่าดินบริเวณป่าสนหรือป่าไม้เนื้อแข็ง เป็นต้น
เวลา (time)
อิทธิพลของเวลาในแง่ของการเกิดดินนั้น หมายถึง ช่วงหนึ่งของเวลาที่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่มี
เหตุการณ์รุนแรงขัดจังหวะการพัฒนาตัวของดิน เวลาที่เป็นศูนย์สำหรับดินชนิดต่าง ๆ ก็คือ จุดที่ได้มีเหตุการณ์ที่รุนแรงอย่างหนึ่งทางดินเกิดขึ้น ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของเวลาในการสร้างตัวของดิน และจะเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาในการสร้างตัวของดินช่วงต่อไป เหตุการณ์รุนแรงดังกล่าวอาจหมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศ ระดับน้ำใต้ดิน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในทันทีทันใด หรือ การเปลี่ยนแปลงของวัตถุต้นกำเนิดดิน เช่น มีการทับถมอย่างรุนแรงของตะกอนใหม่ เป็นต้น

การเจาะสำรวจดิน (Soil Investigation)
โครงสร้างต่าง ๆ จะมีความมั่นคง ปลอดภัย แข็งแรง ต้องรองรับด้วยฐานรากที่มั่นคง แข็งแรง
ในการออกแบบฐานรากให้มีความปลอดภัยอย่างเพียงพอนั้น การสำรวจชั้นดินมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ที่จะทำให้วิศวกรสามารถออกแบบฐานรากได้อย่างปลอดภัยตามหลักวิศวกรรมและก่อ สร้างได้ในราคาประหยัด โดยทั่วไปราคางานสำรวจดินควรอยู่ระหว่าง 0.1 – 0.5 % ของ ราคางานก่อสร้างทั้งหมด สำหรับขอบเขตและรายละเอียดของงานที่จะทำการสำรวจนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของ โครงการ และสภาพของชั้นดิน โดยวิศวกรออกแบบควรเป็นผู้กำหนดรายละเอียดของการสำรวจชั้นดินเพื่อให้ได้ ข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์และออกแบบอย่างเพียงพอ
สภาพชั้นดินในหลายพื้นที่ของประเทศไทยนั้นอาจมีความแปรปรวน ของชั้นดิน ทำให้สภาพ
พื้นที่แตกต่างไปจากพื้นที่ทั่วไป เช่น มีชั้นทรายหลวมผิดปกติ มีชั้นดินเหนียวอ่อน หรือ ระดับความลึกของชั้นดินที่แข็งแรงมีความผันแปรสูง เป็นต้น จากสภาพของชั้นดินดังกล่าว อาจทำให้ฐานรากเกิดการวิบัติได้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง ดังนั้นเจ้าของโครงการที่ดีจึงต้องจัดให้มีการเจาะสำรวจดินอย่างเพียงพอ เพื่อให้การออกแบบสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นไปอย่างละเอียดรอบครอบ ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
ที่มา : http://www.civil2.eng.kps.ku.ac.th/


วิธีการเลือกใช้ฐานราก แบบฐานรากแผ่หรือแบบเสาเข็ม
เขียนโดย สุระพงศ์ on วันเสาร์, มีนาคม 21, 2009
สมมุติว่าเราจะก่อสร้างอาคารสักหลังหนึ่ง และเราจะเลือกฐานรากแบบไหนดี ความลึกของ
ฐานราก หรือความลึกของเสาเข็มจะลึกเท่าไร ส่วนตัวผมจะทำอย่างนี้ครับ
ถ้าไม่ใช่กรุงเทพ อันดับแรกผมจะถามข้อมูลดินจากที่ข้างเคียงก่อน หรือบริษัทเสาเข็มเจ้าถิ่นครับ
ว่าเขาทำฐานรากอย่างไร ความลึกเท่าไรเป็นข้อมูลในใจ แล้วคำนวนออกแบบโครงสร้างตามปรกติ ผมจะทราบน้ำหนักของอาคารที่ลงในฐานรากแต่ละฐานครับว่ามีน้ำนักกดลงไปเท่าไร ทีนี้ก็มาดูข้อมูลดิน ว่าเป็นอย่างไร ถ้ารู้ข้อมูลดินมาว่าแถวนั้น ตอกเข็มไม่ลง และต้องเป็นฐานแผ่แน่ ๆ ผมก็จะระบุไว้ในแบบ เพื่อความปลอดภัยว่า
"ผู้รับเหมาจะต้องเจาะสำรวจดิน หรือทำการทดสอบการรับน้ำหนักของดินก่อนทำการ
ก่อสร้าง"
การตรวจสอบส่วนใหญ่ จะมี 2 วิธีคือ การทำ Boring Log และการทำ plate baring Test
(รายละเอียดค่อยว่ากันนะ คร่าวๆคืออันแรกเป็นการตวจสอบชั้นดิน อีกอันเป็นการทดสอบการรับน้ำหนักของชั้นดินครับ) แล้วก็ออกแบบฐานรากแผ่ ว่าควรจะใหญ่ขนาดไหน โดยการสมมุติ การรับน้ำหนักของดิน เรียกว่าเดาอย่างมีหลักการครับว่า
1. ภาคกลาง, ภาคเหนือ, อีสาน ใช้ 8 ตันต่อตารางเมตร
2. ภาคตะวันออก ชลบุรี, ระยอง ภาคใต้ ใช้ 10 ตันต่อตารางเมตร
3. โซนใกล้ ภูเขา มองเห็นภูเขา ใกล้ทะเล ใช้ 12 ตันต่อตารางเมตร
4. กรุงเทพ หรือดินอ่อน ที่อยากจะใช้ฐานแผ่ใช้ 2 ตันต่อตารางเมตร
คร่าว ๆ การออกแบบนะครับ ว่าขนาดฐานรากจะเป็นเท่าไรคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงเสาเข็ม ลบ
กับการรับน้ำหนักของดินคูณกับพื้นที่ของฐานรากที่สัมผัสดิน
ตัวอย่างเช่น ภาคกลาง ใช้ ฐานราก 1x2 เมตร (ยังไม่พูดถึงความหนานะ) จะรับน้ำหนักอาคารได้
16 ตันครับ (8x1x2=16) ทีนี้พอถึงเวลาการก่อสร้างจริง หน้าที่ของผู้รับเหมาก็จะต้องไปตรวจสอบสอบพื้นที่จริงครับว่าชั้นดินแข็งที่ว่า รับน้ำหนักได้ 8 ตัน 10 ตันอยู่ตรงไหน ลึกไปจากผิวดินอยู่เท่าไรส่วนมากอย่างน้อย ๆ ควรจะลึกลงไปไม่ต่ำกว่า 1.00 เมตร โดยไม่รวมดินถมนะครับ ถ้ามีดินถมก็ต้องจากระดับดินถมลงไป เพราะดินถมรับน้ำหนักไม่พอ
วิธีสังเกตุ ตอนคนงานขุด หรือแมคโคจ้วงลงไป คือลักษณะดินจะเป็นชั้น ๆ มีสีต่าง ๆ กันและมี
ลักษณะดิน ไม่เหมือนกัน ตอนขุดลงไป คอยสังเกตุครับดินที่รับงน้ำหนักได้ดีควร จะเป็นดินแข็ง, ลูกรัง, ทราย หรือ ดินปนทราย, ถ้าเป็นดินเหนียว หรือดินปลูกต้นไม้ยังใช้ไม่ได้ ใหุ้ขุดลงไปอีก แต่ชั้นดินที่แข็งมันก็ยังเป็นชั้น ๆ อีกครับ ถ้าทะลุชั้นดินแข็งลงไปอาจจะกลายเป็นดินอ่อนอีกรอบก็ได้ไม่แน่
เพื่อนๆ อาจเคยเห็น อาคารบางอาคาร ที่อยู่ในบริเวณที่ไม่น่าจะต้องตอกเข็ม เช่นชายทะเล เชิงเขา
แต่ก็ยังตอกเข็มอีก เป็นเพราะอะไร
ตอบคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงในแต่ละเสาเข็มมันมากเกินกว่าที่จะทำฐานแผ่นั่นเองครับ ดินมัน
รับไม่ไหว ถ้าจะทำฐานแผ่ ฐานอาจต้องใหญ่มาก ๆ วิศวกรเลยจำเป็นต้องออกแบบให้ตอกเข็ม ทั้ง ๆ ที่ตอกยาก
ฝากนิดนึงครับ สำหรับท่านผู้ออกแบบทั้งหลาย ว่าการออกแบบอาคารที่มี span ยาว ๆ หรือการ
ออกแบบเสา คานที่ไม่ตรง grid line เยื้องไปเยื้องมาที่ท่านชอบนั้น จะทำให้อาคารนั้นมีน้ำหนักลงไปฐานรากมากกว่าปรกติ และก็เปลืองกว่าด้วยครับ
บางทีดินอาจรับไม่ไหวก็ได้ครับ ถ้าสามารถเลือกได้ควรออกแบบให้เป็น กริดๆ ตารางๆ และก็
span เสาไม่ยาวเกินไปครับ เรื่องนี้ผมเถียงกับสถาปนิกที่เป็นเพื่อนกันมานานมาก แบบว่าจะเอาถูกๆ แต่เล่นออกแบบยึกยักๆ กริดไลน์เยอะมาก span ก็ห่าง ๆ พอเห็นขนาด กับจำนวนเสาเข็มก็โวย แต่ก็อย่างว่า ถือไปมันก็น่าเกลียดใช่ป่าว
ที่มา : my-construction-knowledge.blogspot.com

ทำไมต้องเป็นเสาเข็มเจาะ
เขียนโดย สุระพงศ์ on วันพุธ, มิถุนายน 17, 2009
my-construction-knowledge.blogspot.com
คำถามที่ถามกันบ่อย ๆ ว่า เสาเข็มเจาะมันเป็นยังไง และทำไมต้องเป็น เสาเข็มเจาะ ถามกันเข้า
มาบ่อยมาก จนผมแทบอยากจะตั้งระบบตอบรับแบบออโต้ให้คนที่โทรเข้ามาถามได้เข้าใจกัน
ที่พูดแบบนี้ไม่ใช่ว่าจะเบื่อหรือไม่อยากตอบนะครับ แต่อาจเป็นเพราะผมไม่แน่ใจว่าการตอบของ
ผมสามารถอธิบายได้ดีทุกครั้งเท่าการเขียนหรือเปล่าเท่านั้น แถมยังรู้สึกดีใจอีกต่างหากที่มีคนสนใจที่จะทำ เข็มเจาะ แล้วถามเข้ามาที่เรา ผมจะลองเรียบเรียงคำตอบดูนะครับ
ถาม.. เสาเข็มเจาะคืออะไร ?
ตอบ.. เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เหมือนเสาเข็มที่พบกันโดยทั่วไป แบบที่ใช้
ปั้นจั่นตอกนั่นแหละครับ แต่ลักษณะการทำงานจะไม่เหมือนกัน เสาเข็มเจาะจะไม่ใช้การตอกเข็มลงไปในดินโดยตรง แต่จะใช้การตอกปลอกเหล็กที่ป็นแบบหล่อคอนกรีตลงไปในดิน แล้วใส่เหล็กเทคอนกรีตลงไปในหลุมแทน
ถาม..แล้วทำไมต้องเป็นเสาเข็มเจาะด้วย
ตอบ..เสาเข็มเจาะมีข้อดีและข้อเสียกว่าเสาเข็มตอกที่ไม่เหมือนกันคือ เสาเข็มเจาะสามารถทำ
งานในที่คับแคบได้ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน ไม่ส่งผลกระทบกับโครงสร้างหรืออาคารข้างเคียง เพราะแรงสั่นสะเทือนน้อย สามารถใช้กับงานต่อเติมได้ แต่ข้อเสียก็มีคือ ราคาค่าเสาเข็มเจาะจะแพงกว่าเสาเข็มตอกพอสมควร และจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพในการทำงานมากกว่าเสาเข็มตอกครับ
my-construction-knowledge.blogspot.com
ถาม..แล้วบ้านผมควรจะเป็นเสาเข็มเจาะหรือตอกดี
ตอบ..ก็แล้วแต่สภาพหน้างานของบ้านคุณครับ เช่นว่าถ้าสถานที่ก่อสร้างคุณเป็นที่ดินเปล่าโล่ง ๆ
ไม่มีสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงรอบด้าน ไม่กลัวว่าการตอกเข็มที่กระเทือนเหมือนแผ่นดินไหว จะไปทำให้อะไรรอบข้างพังหรือแตกร้าว ก็เหมาะที่จะทำเสาเข็มตอก แต่ถ้าไม่ก็แนะนำเสาเข็มเจาะครับ
ถาม..แล้วเสาเข็มเจาะรับน้ำหนักได้เหมือนกันกับเสาเข็มตอกหรือเปล่า
ตอบ..การรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะสามารถรับน้ำหนักได้เหมือนกับเสาเข็มตอกทุกประการ
ครับ บางทีอาจจะมากกว่าเสาเข็มตอกด้วยซ้ำครับ เพียงแต่ว่าการรับน้ำหนักของเสาเข็มจำเป็นจะต้องให้วิศวกรเป็นคนคำนวนหาน้ำหนักของอาคารที่จะถ่ายลงไปเสาเข็ม และวิศวกรจะเป็นคนเลือกชนิดหรือขนาดของเสาเข็มที่จะใช้ให้ครับ? แต่ถ้านำเสาเข็มเจาะไปเทียบกับเสาเข็มตอกในเรื่องการรับน้ำหนัก ก็ต้องมาดูถึงคุณภาพของการทำเสาเข็มเจาะครับ เพราะเสาเข็มเจาะมีขั้นตอนยุ่งยากในการทำงานมากกว่า จำเป็นต้องควบคุมคุณภาพในการทำงานเกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชั้นดิน, การใส่เหล็กเสริม, คุณภาพคอนกรีต, การถอดปลอกเหล็ก ฯลฯ ซึ่งถ้าผู้ทำงานไม่มีความชำนาญ หรือมีความรับผิดชอบไม่พอ ก็สามารถทำให้เสาเข็มเสียหายโดยเจ้าของงานไม่รู้ได้เหมือนกัน
ที่มา : my-construction-knowledge.blogspot.com

โครงสร้างฐานราก Footing Building
ฐานรากของบ้านเป็นสิ่งที่ให้ความมั่นคง และแข็งแรงแก่ตัวบ้านเป็นอันดับแรก ถ้าจะเปรียบเทียบ
กับต้นไม้ใหญ่ก็เปรียบเสมือนรากแก้วของต้นไม้เลยทีเดียว ต้นไม้ที่มีรากแก้วใหญ่และหยั่งรากลึกลงไปใน ดิน ยิ่งมากเท่าไหร่ก็ย่อมก่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง แก่ต้นไม้นั้นมากขึ้นเท่านั้น บ้านก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีฐานรากที่มั่นคงแข็งแรง ผู้อยู่อาศัยก็ย่อมอุ่นใจ ได้ว่าบ้านที่อยู่นั้น จะไม่เอียง หรือ ทรุดลงมาในภายหลัง ซึ่งผู้อ่านก็คงจะเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับตึกแถวที่เอียงและพังถล่มลงมา ซึ่งมีสาเหตุมาจากโครงสร้างของฐานรากที่ไม่แข็งแรงนั่นเอง
ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยสนใจหรือให้ความสำคัญกับเสาเข็มมากนัก เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะเสาเข็มซ่อนอยู่ใต้ดิน เมื่อตอกลงไปแล้วก็หายไปไม่ได้ปรากฏเป็นหน้าเป็นตาของตัวบ้าน แต่ประการใด อีกเหตุผลหนึ่งคงจะเป็นเพราะว่า การกำหนดว่าบ้าน แต่ละแบบ แต่ละหลังจะต้องใช้เสาเข็มชนิดใด ขนาดใด เป็นจำนวนเท่าใดนั้น จะต้องใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาคำนวณ และกำหนดลงไป ซึ่งควรจะเป็นหน้าที่ของวิศวกรผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมการก่อสร้างที่จะดำเนินขั้นตอนเหล่านี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้ซื้อบ้านหรือ ผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่มิได้มีพื้นความรู้ในสิ่งเหล่านี้จึงไม่น่าจะเป็นภาระ ที่จะต้องมากังวลหรือสนใจกับสิ่งเหล่านี้ ความคิดเช่นนี้จะว่าถูกหรือผิดเสียทีเดียวก็คงไม่ได้ แต่ในการออกแบบหรือควบคุมการปลูกสร้างบ้านแต่ละหลัง บางครั้งก็มิใช่ ว่าจะถูกต้องสมบูรณ์ไปเสียทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐาน ประสบการณ์และความชำนาญของผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมการก่อสร้าง แต่ละรายด้วย การที่ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้านบ้างก็ย่อมจะเป็นการได้เปรียบอย่างน้อยก็เพื่อเป็นข้อคิดหรือ
ข้อสังเกต เมื่อพบสิ่งที่ผิดสังเกตหรือข้อสงสัยจะได้สามารถสอบถามเพื่อขอคำชี้แจงได้ ซึ่งทำให้เจ้าของบ้านสามารถป้องกันหรือแก้ ปัญหาต่าง ๆ ได้ตั้งแต่แรก เสาเข็มที่ใช้กับอาคารบ้านเรือนทั่วไปในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการผลิต และการใช้งาน ได้แก่
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (prestressed concrete pile)
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเป็นเสาเข็มที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับอาคารพาณิชย์ และบ้านพักอาศัย
ทั่วไป เป็นเสาเข็มคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็ว และโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูง กรรมวิธีที่ใช้ในการลงเสาเข็มจะเป็นการตอกกระแทก ลงไปในดินโดยใช้ปั้นจั่นซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และประหยัดค่าใช้จ่าย เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง สามารถแบ่งแยกย่อย ออกไปได้อีก ตามรูปร่างลักษณะของตัวเสาเข็ม ที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่
1. เสาเข็มรูปตัวไอ
2. เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
3. เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง
4. เสาเข็มรูปตัวที
ชนิดของเสาเข็มที่ใช้สำหรับรับน้ำหนักของตัวบ้านโดยทั่วไปจะเป็นเสาเข็มรูปตัวไอ ส่วนขนาด
และความยาวนั้นขึ้นอยู่กับวิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวงหรือเสาเข็มรูปตัวทีนั้นมักจะใช้กับงานโครงสร้างที่เล็กกว่า หรือต้องการรับน้ำหนักน้อยกว่า เช่น งานฐานรากของรั้ว
เสาเข็มเจาะ (bored pile)
เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มอีกประเภทหนึ่งซึ่งแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในลักษณะของการ
ใช้งาน กรรมวิธีในการทำเสาเข็มเจาะค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อน และจะต้องทำ ณ สถานที่ที่จะใช้งานจริงเลย โดยใช้เครื่องมือเจาะขุดดินลงไปให้ได้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง และความลึกของเสาเข็มตามที่กำหนดจากนั้นจึงใส่เหล็กเสริม และเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อให้เป็นเสาเข็ม
เสาเข็มเจาะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามขนาดของเสาเข็มและกรรมวิธีที่ใช้ อัน
ได้แก่
1. เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก (small diameter bored pile)
เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35-60 เซนติเมตรขึ้นไป (ส่วนใหญ่จะเป็น
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35, 40, 50, 60 เซ็นติเมตร) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นระบบแห้ง (dry process) ซึ่งเป็นการขุดเจาะโดยใช้เครื่องมือขุดเจาะ ลงไปตามธรรมดา
2. เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ (large diameter bored pile)
เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 60 เซนติเมตรขึ้นไป (ส่วนใหญ่จะมี
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80, 100, 120, 150 เซ็นติเมตร) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 25-65 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นระบบเปียก (wet process) ซึ่งแตกต่างจากระบบแห้ง คือ จะต้องเพิ่มขั้นตอนในการฉีดสารเคมีเหลวซึ่งเรียกว่า Bentonite slurry ลงไปในหลุมที่ทำการขุดเจาะ โดยเฉพาะ หลุมที่มีความลึกมาก ๆ ถึงชั้นทราย หรือหลุมที่มีน้ำใต้ดิน ทั้งนี้ เพื่อสร้างแรงดันในหลุมที่เจาะและยึดประสานผิวดินในหลุมเพื่อป้องกันมิให้ผนังหลุมที่เจาะพังทลายลงมา
การใช้เสาเข็มเจาะจะไม่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตรายต่ออาคารข้างเคียง เพราะไม่
มีการตอกกระแทกของปั้นจั่นดังเช่นที่ใช้กับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง อีกทั้งขนาดของเสาเข็มเจาะก็อาจทำให้มีขนาดใหญ่โดยมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางได้ ถึง 200 เซนติเมตร เพราะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดของขนาดของปั้นจั่นและน้ำหนักของตัวเสาเข็ม ขณะที่เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง นั้นขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ใช้กันทั่วไปมีขนาดความกว้างของพื้นที่หน้าตัดเพียง 40 เซนติเมตรเท่านั้น อีกทั้งความลึกของเสาเข็มเจาะก็สามารถเจาะได้ลึกกว่าความยาวของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ฉะนั้นเสาเข็มเจาะจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารสูงซึ่งต้องรับน้ำหนักมาก และอาคารที่สร้างใกล้ชิดกันเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสั่นสะเทือนซึ่งจะเป็น อันตรายต่ออาคารข้างเคียง ในทางปฏิบัติแล้ว ขั้นตอนในการทำเสาเข็มเจาะจะมีรายละเอียดที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่าที่กล่าวไว้มาก ที่กล่าวมาข้างต้นก็แค่เพียวต้องการให้มองเห็นภาพ และขั้นตอนของการทำเสาเข็มเจาะเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น การปลูกบ้านพักอาศัยโดยทั่วไปมักใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เพราะมีขั้นตอนที่ง่ายและราคาถูกว่าเสาเข็มเจาะ
เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง (prestressed concrete spun pile)
เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรงหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็มที่ผลิตโดยใช้
กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำหนักได้มาก เสาเข็มสปันมีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง มีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ การตอกเสาเชนิด นี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา และวิธีการตอกด้วยระบบเจาะกด
เสาเข็มสปัน มีให้เลือกใช้หลายขนาด ที่พบเห็นกันมากมีตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-100 เซนติเมตร มีความหนา ของเนื้อคอนกรึตอยู่นช่วง 6-14 เซนติเมตร โดยมีความยาวอยู่ในช่วง 6-18 เมตร ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้ โดยการนำเสามาเชื่อมต่อกัน เนื่องจาก เสาเข็มสปัน มีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาเข็มที่ใช้มีความยาวมากก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้โดยการเจาะนำ และลำเลียงดินขึ้นทางรูกลวงของเสาซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่อ อาคารข้างเคียงได้มาก เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคารสูงที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรง สูงเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลมแรง และการเกิด แผ่นดินไหว
ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเสาเข็มที่ใช้และกรรมวิธีในการตอก
ข้อสังเกตในที่นี้จะเน้นกล่าวถึงเฉพาะที่เกี่ยวกับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เนื่องจากเป็นเสาเข็มที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับอาคารบ้านเรือนทั่วไป
1. เสาเข็มที่ใช้ควรอยู่ในสภาพที่ดีไม่มีการแตกหักหรือชำรุดมาก่อน ถ้าเป็นไปได้ควรได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ประทับอยู่ และมีการระบุถึงวัน/เดือน/ปี ที่ทำการผลิตว่าผลิตออกมาเมื่อใด ถ้าเป็นไปได้เสาเข็มที่ใช้ควรจะมีอายุการผลิต 4 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะ เสาเข็มที่เพิ่งผลิตออกมาใหม่คอนกรีต ที่ใช้ทำเสาเข็มยังบ่มตัวไม่เข้าที่ ความแข็งแกร่งยัง มีน้อยอาจเกิดการชำรุดหรือแตกหักระหว่างการตอกได้
2. เสาเข็มที่มีขนาดยาวอาจใช้เสาเข็มขนาดสั้น 2 ท่อนมาเชื่อมต่อกันได้เพื่อความสะดวกในการตอกหรือความสะดวกในการขนส่ง ทั้งนี้เสาเข็มที่นำมาเชื่อมต่อกันจะต้องมีลักษณะและขนาดของพื้นที่หน้าตัดเหมือนกัน กรรมวิธีในการตอกคือจะทำการตอกเสาท่อนแรกลงไปใน ดินจนเกือบมิดก่อนแล้วใช้ปั้นจั่นดึงเสาท่อนที่สองขึ้นมาจรดกับเสาท่อนแรกในแนวตรง แล้วทำการเชื่อมเหล็กที่ขอบเสาตรงรอยต่อให้ติดกัน การเชื่อมจะต้องเชื่อมอย่างประณีตโดยรอบให้เสาทั้ง 2 ท่อนต่อกันอย่างสนิทและเป็นแนวเส้นตรง จากนั้นจึงใช้ปั้นจั่นตอกลงไปต่อ
3. การตอกเสาเข็มให้ลึกถึงระดับ การจะดูการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดเสร็จสิ้นเรียบร้อยได้ผลตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปใน ดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วย (blow count) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็ม จมมิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดิน ที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้าม ถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้น จะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็ม แต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัด และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ
ที่มา :www.pr-thai.com

การปรับปรุงดินโดยวิธีผสมลึก (DEEP MIXING STABILIZATION)
ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ เป็นดินที่มีซิลิกา และแร่อะลูมินาผสมอยู่เป็นส่วนใหญ่ เมื่อแร่ซิลิกา
หรือแร่อะลูมินาผสมกับปูนขาว หรือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ก็จะเกิดปฏิกริยาปอซโซลานิค (Pozzolanic Reaction) ปฏิกริยาดังกล่าวนี้ทำให้เกิด Calcium Silicate Hydrate (CSH) หรือ Calcium Aluminate Hydrate (CAH) มีคุณสมบัติยึดเกาะกันทำให้เม็ดดินรวมตัวกันเป็นก้อน มีความแข็งแรงสูง ดังนั้น การผสมลึก คือ การใช้เครื่องมือส่งปูนขาว ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หรือส่งปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ผสมกับปูนขาวลงไปลึก ๆ แล้วผสมวัสดุดังกล่าวข้างต้นเข้ากับดิน ณ ความลึกนั้น ๆ อาจจะผสมโดยวิธีปั่นผสม Rotary Mixed อัดฉีดแรงดันผสมสูง Jet Mixing โดยอาจใช้ปูนแห้ง ๆ หรือปูนผสมน้ำ ผสมเข้ากับดินตามปริมาณที่ได้จากการวิจัยแต่ละท้องที่ซึ่งไม่เหมือนกัน ปี พ.ศ. 2530 คณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ใช้ปูนขาวจำนวนร้อยละ 12 ผสมกับดินเหนียวในที่บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า แบบปั่นผสมทำเป็นเสาเข็ม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.50 เมตร ลึก 10.00 เมตร สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ต้นละ 6 ตัน เครื่องมือผสมได้แสดงไว้ดังรูปที่ 2
ที่มา www.thaicontractors.com
รูปที่ 2 การทำ Lime Column บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้าสมุทรปราการ
ปี พ.ศ. 2532 คณาจารย์กลุ่มเดียวกันได้ทำการปรับปรุงดินแบบผสมลึกโดยวิธีอัดฉีดแรงดัน
สูงบริเวณ ถนนสายประธานของสวนหลวง ร.9 โดยใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และ TOUGH SOIL ผลิตโดย บริษัท ชลประทานซีเมนต์ จำกัด อัตราส่วนผสมที่สวนหลวง ร.9 นี้ใช้ปูนซีเมนต์ 50 กิโลกรัม ต่อปริมาณดินเปียก 1 ลูกบาศก์เมตร ทำเป็นเสาเข็มลึก 6 เมตร อัดฉีดด้วยแรงดัน 15 บาร์ หมุนก้านส่งรอบตัวเองด้วยความเร็ว 1 รอบ ต่อ 1 วินาที ชักขึ้นด้วยอัตรา 50 เซนติเมตรต่อนาที หลังจากทำการผสมแล้วเสร็จ 7 วัน จึงทำการทดสอบกำลังของดินที่ผสมปูนซีเมนต์พบว่า กำลังของดินที่ผสมปูนซีเมนต์มีกำลังสูงขึ้น 2 เท่าของกำลังดินเดิม เมื่อทำการวิเคราะห์เสถียรภาพของคันทางแล้วพบว่ากำลังของดินที่ผสมปูนซีเมนต์แล้ว ทำให้คันทางมีค่าเสถียรภาพดี รูปการทำเสาเข็มดินซีเมนต์ แสดงไว้ในรูปที่ 3
ที่มา www.thaicontractors.com
รูปที่ 3 การทำ Deep Mixing เป็นเสาเข็มดินซีเมนต์แก้ปัญหาฐานราก
ถนนสายประธาน สวนหลวง ร.9 กรุงเทพมหานคร
ปี พ.ศ. 2535 คณาจารย์กลุ่มเดียวกันนี้ได้ทำกรณีศึกษาถนนสายบางบอน-ชายทะเล แยกจากถนน
ธนบุรี-ปากท่อ ประมาณ กม. 7 เขตบางขุนเทียน ถนนโครงการยาวประมาณ 18 กม. มีเขตทางกว้าง 40 เมตร ค่า Undrained Shear Strength ของชั้น Soft Clay มีค่า 0.5 ตัน/ตางรางเมตร มีระดับน้ำสูงสุดสูงจากผิวดินปัจจุบันระหว่าง 1.10 เมตร ถึง 1.60 เมตร เมื่อวิเคราะห์เสถียรภาพของคันทางเบื้องต้นตามวิธีของ BJERRUM พบว่าได้ความสูงของคันทางมีค่าระหว่าง 1.10-1.50 เมตร ซึ่งไม่เพียงพอจากการถูกน้ำท่วม และถ้าจะออกแบบโดยใช้ COUTERWEIGHT BERM ก็มีพื้นที่ด้านข้างไม่เพียงพอ เพราะมีแนวเขตทางกว้างเพียง 40 เมตร จึงพิจารณาใช้ Geotextile ชนิดทนแรงดึงสูงกับใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง หรือเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมกำลังของฐานราก ราคาค่าก่อสร้างความคงตัวและการทรุดตัวจะเป็นตัวตัดสินใจ จากการวิเคราะห์ Slope Stability ของคันทางที่ใช้ Geotextile เสริมกำลังของฐานรากโดยใช้โปรแกรม SLOPE/W พบว่าถ้าคันทางสูง 3.0 เมตร จากผิวดินจะมีค่า Factor of Safety 1.45 ซึ่งไม่ปลอดภัย ดังแสดงในรูปที่ 4
ที่มา www.thaicontractors.com
รูปที่ 4 รูปแบบของการวิเคราะห์ Slope Stability ที่ใช้ Geotextile
กำลังสูงช่วง กม. 7+000 ถึง กม. 12+500
เมื่อนำ Section นี้ไปวิเคราะห์การทรุดตัวพบว่า คันทางที่ใช้ Geotextile เสริมฐานรากจะทรุดตัว
83 เซนติเมตร แต่ถ้าใช้เสาเข็มคอนกรีตหรือ เสาเข็มดินซีเมนต์เสริมฐานรากคันทางจะทรุดตัว 35 เซนติเมตร ดังแสดงไว้ในรูปที่ 5
ที่มา www.thaicontractors.com
รูปที่ 5 การทรุดตัวของคันทางสูง 3 เมตร เทียงกับเวลา
อย่างไรก็ตามราคาของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงจะสูงกว่าราคาของเสาเข็มดินซีเมนต์ประมาณร้อยละ
50 เมื่อเปรียบเทียบกับที่น้ำหนักบรรทุกเดียวกัน
TEST SECTION
ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการทดสอบพฤติกรรมการทรุดตัวของถนนเดิมบริเวณ กม.7+000 ถึง กม.
12+500 โดยทำการ Jet mixing แบบ Wet mixing ใช้ปูนซีเมนต์ 200 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตรของดินเปียก ฉีด Slurry จากความลึกต่ำสุด -12.00 เมตร อัดด้วยแรงดัน 250 บาร์ หมุนรอบตัวและชักขึ้นด้วยอัตราคงที่ด้วยท่อส่งท่อนเดียว ขึ้นมาจนถึงผิวดินได้เสาเข็มดินซีเมนต์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.50 เมตร วางห่างกัน 2.00 x 2.00 เมตร เป็นตาราง รูปการทำ Jet mixing ได้แสดงไว้ในรูปที่ 6
ที่มา www.thaicontractors.com
รูปที่ 6 การทำ Jet Mixing แบบ SINGLE INJECTION
หลังจากทำ Jet mixing เป็นเสาเข็มดินซีเมนต์รองรับถนนเดิมซึ่งสูง 1.40 เมตรเรียบร้อยแล้ว
ทำการฝังเครื่องมือวัดใต้ถนนที่มีเสาเข็มดินซีเมนต์ และใต้ถนนที่ปูด้วย Geotextile เสริมกำลังของฐานรากและถนนเดิมที่ไม่ได้ปรับปรุงดินฐานราก ตำแหน่งและลักษณะการติดตั้งเครื่องมือวัดได้แสดงไว้ในรูปที่ 7 และ 8
ที่มา www.thaicontractors.com
รูปที่ 7 ลักษณะทั่วไปของการติดตั้งเครื่องมือ
ที่มา www.thaicontractors.com
รูปที่ 8 รายละเอียดตำแหน่งที่ติดตั้งเครื่องมือวัด
และบริเวณที่ทำการปรับปรุงคุณภาพดินในสนาม
จากการติดตามวัดการทรุดตัวเป็นเวลา 7 เดือน พบว่า SECTION ที่ไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพของดิน
และ Section ที่เสริมกำลังฐานรากด้วย Geotextile จะทรุดตัวประมาณ 18 เซนติเมตร ส่วน Section ที่มีการปรับปรุงคุณภาพดินฐานรากแบบDeep mixing ทำเป็นเสาเข็มดินซีเมนต์รองรับ ถนนจะทรุดตัวประมาณ 4 เซนติเมตร จะเห็นได้ว่าในสภาวะเดียวกันของถนนทั้ง 3 Section จะทรุดตัวต่างกัน 14 เซนติเมตร ในเวลาประมาณ 7 เดือน ดังแสดงไว้ในรูปที่ 9
ที่มา www.thaicontractors.com
รูปที่ 9 ผลการเปรียบเทียบการทรุดตัวของถนนบริเวณที่ปรับปรุงคุณภาพดินฐานราก
กับบริเวณที่ไม่ปรับปรุงคุณภาพฐานรากการใช้เสาเข็มดินซีเมนต์ชะลอการจมน้ำของถนน และคันกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม
ถ้ามองแผนที่กรุงเทพฯ จะพบว่า มีถนนหลายสายขนานหรือเกือบขนาดกับแม่น้ำเจ้าพระยา
ถ้าในการซ่อมถนนหรือตัดถนนใหม่ที่เลียบแม่น้ำเจ้าพระยา โดยการปรับปรุงฐานรากด้วยวิธี Deep Mixing เป็นเสาเข็มดินซีเมนต์รองรับฐานราก ของถนนและในการทำคันกั้นน้ำล้อมกรุงเทพฯ ก็ออกแบบให้วางบนเสาเข็มดินซีเมนต์ในลำคลองต่าง ๆ ทำการก่อสร้างทำนบกั้นน้ำไว้ มีระบบสูบน้ำที่ดี ก็สามารถป้องกันการจมน้ำของ กทม. ได้หลายปี ถ้าพิจารณาเปรียบเทียบจากรูปที่ 5 ก็จะพบว่า ถนนสูง 3 เมตร จากผิวดินเดิม วางบนดินที่ไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพของดินฐานรากหรือวางบนฐานรากที่เสริมกำลัง ด้วย Geotextile จะทรุดตัวประมาณ 67 เซนติเมตร ในเวลา 20 ปี ส่วนถนนเดียวกันที่วางบนฐานรากที่ปรับปรุงคุณภาพดินฐานรากแบบ Deep mixing ทำเป็นเสาเข็มดินซีเมนต์จะทรุดตัวประมาณ 20 เซนติเมตร ในเวลา 20 ปี จริงอยู่การเสริมฐานรากแบบ Deep mixing Stabilization ทำให้ค่าก่อสร้างแพงขึ้นจากเดิมอีกตารางเมตรละประมาณ 1,300 บาท (หนึ่งพันสามร้อยบาทถ้วน) แต่สามารถยึดเวลาการซ่อมถนนและยืดเวลาการเสริมคันกันน้ำออกไปได้จากวิธีปกติ 10-20 ปี ซึ่งพิจารณาโดยรวม ๆ แล้วจะประหยัดกว่ามาก อีกทั้งยังลดปัญหาฝุ่นและลดปัญหารถติดจากการซ่อมถนนสายนั้น ๆ ไปได้ 10-20 ปีเช่นกัน
ที่มา : www.thaicontractors.com

1 ความคิดเห็น:

  1. กำลังศึกษาพวกวิเคราะห์พื้นผิวดินอยู่ครับ
    เว็บผมครับ
    รับทดสอบดิน www.w-soiltesting.com

    ตอบลบ