แหล่งข้อมูล : www.safety.thaigov.net
www.thaimisc.com
www.thai.net
" ภาพเหล่านี้ คงนำมาย้อนให้ทุกท่านที่ได้รับรู้ความเสี่ยงต่างๆ แต่นิ่งเฉย ... บาปและภาพสลดจะติดตามท่านไป ถ้าเกิดเหตุร้ายขึ้น แบบสึนามิทางบก "
ด้านล่างทั้งหมดจากเวบ http://atcloud.com/stories/64121
ในวันนั้น...เป็นช่วงค่ำของวันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2533 บนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ถนนใจกลางเมืองก็ยังคงคลาคล่ำไปด้วยรถยนต์เหมือนเช่นทุกวันของกรุงเทพมหานคร หลายชีวิตบนถนนเพิ่งกลับจากทำงานเพื่อมุ่งหน้ากลับบ้าน หลายชีวิตก็เพิ่งเริ่มต้นกับแสงสียามราตรีบนถนนเส้นนี้ แต่ไม่มีใครคาดคิดว่าอีกไม่กี่นาทีต่อมา เพียงเพราะความประมาทของคนเพียงแค่คนเดียว และความมักง่ายของบริษัทหนึ่งจะทำให้เกิดโศกนาฏกรรมที่ยังคงฝังใจคนไทยทุกคน มาจนถึงวันนี้
เวลาประมาณ 22.00 น. นายสุทัศน์ ฟักแคเล็ก คนขับรถบรรทุกแก๊สของบริษัท อุตสาหกรรมแก๊ส-สยาม จำกัด ได้พยายามขับลงจากทางด่วนเพชรบุรีตัดใหม่ด้วยความเร็วเพียงเพื่อที่จะข้าม ผ่านให้พ้นไฟแดง แต่รถกลับเกิดอุบัติเหตุจนพลิกคว่ำไถลไปกับพื้นถนน ทำให้ถังบรรจุแก๊สขนาด 20,000 ลิตร จำนวน 2 ถัง หลุดออกจากตัวรถและปริแตก แก๊สที่บรรจุอยู่ภายในพวยพุ่งออกมาทั่วทั้งถนน แล้วเมื่อไหลไปเจอกับประกายไฟก็เกิดระเบิดขึ้น เสียงดังสนั่นหวั่นไหวหลายครั้ง ลูกไฟพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าจนกลายเป็นสีแดงฉาน ทำให้บริเวณถนนเพชรบุรตัดใหม่และละแวกใกล้เคียงกลายเป็นทะเลเพลิงไปในพริบตา และลุกลามไปอย่างรวดเร็วจนเป็นวงกว้าง พร้อมกับครอกผู้คนที่อยู่ในรถยนต์บนถนนเส้นนั้น ทำให้หลายรายเสียชีวิตในทันที บางคนที่พอจะตั้งหลักได้ก็พากันวิ่งหนีเอาชีวิตรอดออกมาจากกองเพลิง แต่ส่วนมากอยู่ในสภาพบาดเจ็บสาหัส จากเปลวไฟทั้งสิ้น พ.ต.อ.ทนัย อภิชาติเสนีย์ ผกก.ฝอ.สลก.ตร. ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น รอง สว.สส.สน.พญาไท รับผิดชอบพื้นที่เกิดเหตุ เล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นเหมือนยังจำได้ขึ้นใจว่า ขณะเกิดเหตุกำลังพักผ่อนอยู่ที่แฟลตใกล้กับ สน.พญาไท น้องชายได้มาเรียกให้ดูข่าวทางโทรทัศน์ซึ่งรายงานเหตุการณ์น่าตกตะลึงที่ เกิดขึ้น จึงรีบเดินทางมาที่ สน.พญาไท และพยายามขี่รถจักรยานยนต์สายตรวจเข้าไปยังจุดเกิดเหตุแต่ไม่สามารถเข้าไป ได้เนื่องจากเพลิงยังคงโหมกระหน่ำอย่างรุนแรง จึงกลับมาประชุมพร้อมกับตำรวจในพื้นที่ ซึ่งตอนนั้นเป็นของกองกำกับการ 3 ประกอบด้วย สน.พญาไท, สน.ดินแดง, สน.ดุสิต, สน.สามเสน และสน.มักกะสัน โดยได้แบ่งงานกันออกไปรวบรวมรายชื่อผู้บาดเจ็บที่ส่งไปรักษายังโรงพยาบาล ใกล้เคียง
“ผมได้รับมอบหมายให้ไปตรวจสอบที่โรงพยาบาลตำรวจ ผมไปถึงตอนประมาณตี 3 สถานการณ์ในโรงพยาบาลกำลังชุลมุนวุ่นวายเนื่องจากมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก แพทย์และพยาบาลต้องทำงานอย่างหนัก เราทำได้แค่เพียงรวบรวมรายชื่อและสอบปากคำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บไม่มาก และผู้ที่ได้รับการรักษาแล้ว จากนั้นก็ไปที่สถาบันนิติเวชเพื่อไปดูศพ จำได้อย่างติดตาเพราะสภาพศพแต่ละศพถูกไฟเผาจนไหม้ตำเป็นตอตะโก ศพที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ก็จะถูกนำมาวางเรียงรายเต็มไปหมด ภาพที่เห็นแม้ว่าผมจะเป็นตำรวจและเคยเห็นศพมาก่อนก็ยังรู้สึกหดหู่ใจ” พ.ต.อ.ทนัย กล่าว
ในคืนนั้น...เจ้าหน้าที่กู้ภัยและหน่วยดับเพลิงต้องทำงานอย่างหนัก กว่าเพลิงจะสงบลงก็ใช้เวลาถึง 1 วันเต็มๆ หลังจากเพลิงสงบเมื่อเจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ก็ยังคงปรากฏภาพ ที่น่าโศกสลด เมื่อพบศพที่ถูกเผาทั้งเป็นติดอยู่กับรถโดยไม่ทันตั้งตัว อุบัติเหตุครั้งนี้คร่าชีวิตผู้คนไปทั้งสิ้น 59 ศพ บาดเจ็บอีก 89 ราย อาคารพาณิชย์และบ้านเรือนประชาชนในละแวกนั้นได้รับความเสียหาย ไปเกือบ 40 คูหา รวมไปถึงชุมชนแออัดอีก 100 หลังคาเรือน ส่วนนายสุทัศน์คนขับเสียชีวิตคาที่นั่ง แต่สิ่งที่ตอกย้ำความเจ็บช้ำของผู้ที่สูญเสียคือผลจากการตรวจพิสูจน์ที่พบ ว่าสาเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนั้นเกิดจากรถบรรทุกแก๊ส ไม่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
พ.ต.อ.ทนัย เล่าถึงเหตุการณ์ในเช้าวันถัดมาว่า หลังจากที่ได้รวบรวมรายชื่อผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้วจากโรงพยาบาลต่างๆ ตำรวจในทุก สน.ในพื้นที่ก็ได้นำรายชื่อมาส่งให้ตนพิมพ์ลงคอมพิวเตอร์ซึ่งสมัยนั้นตำรวจ เพิ่งเริ่มมีการนำใช้ โปรแกรมที่มีก็ยังเป็นโปรแกรมแบบเก่าจึงไม่ค่อยมีใครใช้งานเป็น จึงต้องใช้เวลานานจนเกือบรุ่งเช้า จากนั้นได้นำไปติดไว้ที่บอร์ดหน้า สน. แล้วกลับมาพักผ่อนที่ห้อง แต่เพียงไม่นานสารวัตรใหญ่ก็ให้ลูกน้องมาตามให้ไปพิมพ์รายชื่อเพิ่ม เมื่อออกมาดูที่หน้า สน.ก็ตกใจกับภาพที่ปรากฏเพราะว่ามีประชาชนจำนวนมากมาออกันอยู่เต็มหน้า สน.จนมืดฟ้ามัวดิน เพราะประชาชนจากหลายที่ต่างมาดูรายชื่อญาติที่คิดว่าอาจจะอยู่ในที่เกิดเหตุ
พล.ต.ต.มณเฑียร ประทีปะวณิช ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร. เป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งสารวัตรใหญ่ สน.พญาไทในขณะนั้น กล่าวถึงการทำงานของตำรวจหลังเกิดเหตุการณ์รถแก๊สระเบิดว่า เมื่อเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามประสานทุกหน่วยงานเพื่อเข้าไปช่วยเหลือ แต่เนื่องจากเหตุรุนแรงมาก เหมือนพื้นที่ถูกระเบิดลงจึงกลายเป็นพื้นที่ปิด จึงทำให้การทำงานของตำรวจยากลำบาก การทำงานจึงเริ่มหลังจากเกิดเหตุไปแล้ว โดยได้เน้นที่งานสอบสวน พยายามที่จะย้ำให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุให้มากที่สุด โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานให้ทำงานอย่างเป็นระบบ เพราะท้ายที่สุดก็ต้องดำเนินคดีกับบริษัทที่รับผิดชอบให้ได้ โดยชี้ให้เห็นว่าเกิดจากความประมาทไม่ใช่อุบัติเหตุ
ในวันนี้...แม้ว่าโศกนาฏกรรมรถแก๊สระเบิดบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จะผ่านมาจนครบ 17 ปีแล้ว แต่ความเจ็บปวดในครั้งนั้นก็ยังฝังใจทุกครั้งเมื่อมีข่าวคราวของรถแก๊สพลิก คว่ำ ซึ่งยังมีให้เห็นอยู่เสมอจนเกิดคำถามขึ้นในใจว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ เรียนรู้และแก้ไขอะไรบ้างจากเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้น
“สิ่งที่ตำรวจได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ในลักษณะที่เกิดขึ้น เรื่องแรกคือด้านงานสอบสวน การรวบรวมหลักฐาน เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี ส่วนที่เกิดขึ้นแล้วเราคงจะไปแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่การทำหน้าที่ของตำรวจอย่างเต็มที่ในครั้งนั้นเพื่อดำเนินคดีกับเจ้าของ บริษัทแก๊สสยาม และกระแสสังคมที่เกิดขึ้น ส่งแรงผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการมาดูแลเข้มงวดยิ่งขึ้นแม้ จะดูเหมือนวัวหายล้อมคอกก็ตาม เหตุการณ์ครั้งนั้นนับเป็นบทเรียนสำคัญของคนไทยที่เราไม่คิดมาก่อนว่าจะเกิด ขึ้น แต่ในอนาคตต่อไปจะทำให้เราได้ตระหนักถึงภัยพิบัติในรูปแบบอื่นที่อาจจะเกิด ตามมาซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เชื่อว่าในยามคับขันชาวไทยทุกคนจะออกมาช่วยเหลือกัน” พล.ต.ต.มณเฑียร กล่าว
แม้จะถือว่าเป็นบนเรียนครั้งสำคัญสำหรับประเทศไทย แต่เมื่อวันเวลาเคลื่อนคล้อยไป มาตรการการป้องกันต่างๆ อย่างเข้มงวดก็ถูกลืมเลือนที่จะนำมาปฏิบัติใช้ด้วย หรือจะต้องให้โศกนาฏกรรมแบบนั้น ย้อนกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง
เวลาประมาณ 22.00 น. นายสุทัศน์ ฟักแคเล็ก คนขับรถบรรทุกแก๊สของบริษัท อุตสาหกรรมแก๊ส-สยาม จำกัด ได้พยายามขับลงจากทางด่วนเพชรบุรีตัดใหม่ด้วยความเร็วเพียงเพื่อที่จะข้าม ผ่านให้พ้นไฟแดง แต่รถกลับเกิดอุบัติเหตุจนพลิกคว่ำไถลไปกับพื้นถนน ทำให้ถังบรรจุแก๊สขนาด 20,000 ลิตร จำนวน 2 ถัง หลุดออกจากตัวรถและปริแตก แก๊สที่บรรจุอยู่ภายในพวยพุ่งออกมาทั่วทั้งถนน แล้วเมื่อไหลไปเจอกับประกายไฟก็เกิดระเบิดขึ้น เสียงดังสนั่นหวั่นไหวหลายครั้ง ลูกไฟพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าจนกลายเป็นสีแดงฉาน ทำให้บริเวณถนนเพชรบุรตัดใหม่และละแวกใกล้เคียงกลายเป็นทะเลเพลิงไปในพริบตา และลุกลามไปอย่างรวดเร็วจนเป็นวงกว้าง พร้อมกับครอกผู้คนที่อยู่ในรถยนต์บนถนนเส้นนั้น ทำให้หลายรายเสียชีวิตในทันที บางคนที่พอจะตั้งหลักได้ก็พากันวิ่งหนีเอาชีวิตรอดออกมาจากกองเพลิง แต่ส่วนมากอยู่ในสภาพบาดเจ็บสาหัส จากเปลวไฟทั้งสิ้น พ.ต.อ.ทนัย อภิชาติเสนีย์ ผกก.ฝอ.สลก.ตร. ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น รอง สว.สส.สน.พญาไท รับผิดชอบพื้นที่เกิดเหตุ เล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นเหมือนยังจำได้ขึ้นใจว่า ขณะเกิดเหตุกำลังพักผ่อนอยู่ที่แฟลตใกล้กับ สน.พญาไท น้องชายได้มาเรียกให้ดูข่าวทางโทรทัศน์ซึ่งรายงานเหตุการณ์น่าตกตะลึงที่ เกิดขึ้น จึงรีบเดินทางมาที่ สน.พญาไท และพยายามขี่รถจักรยานยนต์สายตรวจเข้าไปยังจุดเกิดเหตุแต่ไม่สามารถเข้าไป ได้เนื่องจากเพลิงยังคงโหมกระหน่ำอย่างรุนแรง จึงกลับมาประชุมพร้อมกับตำรวจในพื้นที่ ซึ่งตอนนั้นเป็นของกองกำกับการ 3 ประกอบด้วย สน.พญาไท, สน.ดินแดง, สน.ดุสิต, สน.สามเสน และสน.มักกะสัน โดยได้แบ่งงานกันออกไปรวบรวมรายชื่อผู้บาดเจ็บที่ส่งไปรักษายังโรงพยาบาล ใกล้เคียง
“ผมได้รับมอบหมายให้ไปตรวจสอบที่โรงพยาบาลตำรวจ ผมไปถึงตอนประมาณตี 3 สถานการณ์ในโรงพยาบาลกำลังชุลมุนวุ่นวายเนื่องจากมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก แพทย์และพยาบาลต้องทำงานอย่างหนัก เราทำได้แค่เพียงรวบรวมรายชื่อและสอบปากคำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บไม่มาก และผู้ที่ได้รับการรักษาแล้ว จากนั้นก็ไปที่สถาบันนิติเวชเพื่อไปดูศพ จำได้อย่างติดตาเพราะสภาพศพแต่ละศพถูกไฟเผาจนไหม้ตำเป็นตอตะโก ศพที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ก็จะถูกนำมาวางเรียงรายเต็มไปหมด ภาพที่เห็นแม้ว่าผมจะเป็นตำรวจและเคยเห็นศพมาก่อนก็ยังรู้สึกหดหู่ใจ” พ.ต.อ.ทนัย กล่าว
ในคืนนั้น...เจ้าหน้าที่กู้ภัยและหน่วยดับเพลิงต้องทำงานอย่างหนัก กว่าเพลิงจะสงบลงก็ใช้เวลาถึง 1 วันเต็มๆ หลังจากเพลิงสงบเมื่อเจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ก็ยังคงปรากฏภาพ ที่น่าโศกสลด เมื่อพบศพที่ถูกเผาทั้งเป็นติดอยู่กับรถโดยไม่ทันตั้งตัว อุบัติเหตุครั้งนี้คร่าชีวิตผู้คนไปทั้งสิ้น 59 ศพ บาดเจ็บอีก 89 ราย อาคารพาณิชย์และบ้านเรือนประชาชนในละแวกนั้นได้รับความเสียหาย ไปเกือบ 40 คูหา รวมไปถึงชุมชนแออัดอีก 100 หลังคาเรือน ส่วนนายสุทัศน์คนขับเสียชีวิตคาที่นั่ง แต่สิ่งที่ตอกย้ำความเจ็บช้ำของผู้ที่สูญเสียคือผลจากการตรวจพิสูจน์ที่พบ ว่าสาเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนั้นเกิดจากรถบรรทุกแก๊ส ไม่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
พ.ต.อ.ทนัย เล่าถึงเหตุการณ์ในเช้าวันถัดมาว่า หลังจากที่ได้รวบรวมรายชื่อผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้วจากโรงพยาบาลต่างๆ ตำรวจในทุก สน.ในพื้นที่ก็ได้นำรายชื่อมาส่งให้ตนพิมพ์ลงคอมพิวเตอร์ซึ่งสมัยนั้นตำรวจ เพิ่งเริ่มมีการนำใช้ โปรแกรมที่มีก็ยังเป็นโปรแกรมแบบเก่าจึงไม่ค่อยมีใครใช้งานเป็น จึงต้องใช้เวลานานจนเกือบรุ่งเช้า จากนั้นได้นำไปติดไว้ที่บอร์ดหน้า สน. แล้วกลับมาพักผ่อนที่ห้อง แต่เพียงไม่นานสารวัตรใหญ่ก็ให้ลูกน้องมาตามให้ไปพิมพ์รายชื่อเพิ่ม เมื่อออกมาดูที่หน้า สน.ก็ตกใจกับภาพที่ปรากฏเพราะว่ามีประชาชนจำนวนมากมาออกันอยู่เต็มหน้า สน.จนมืดฟ้ามัวดิน เพราะประชาชนจากหลายที่ต่างมาดูรายชื่อญาติที่คิดว่าอาจจะอยู่ในที่เกิดเหตุ
พล.ต.ต.มณเฑียร ประทีปะวณิช ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร. เป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งสารวัตรใหญ่ สน.พญาไทในขณะนั้น กล่าวถึงการทำงานของตำรวจหลังเกิดเหตุการณ์รถแก๊สระเบิดว่า เมื่อเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามประสานทุกหน่วยงานเพื่อเข้าไปช่วยเหลือ แต่เนื่องจากเหตุรุนแรงมาก เหมือนพื้นที่ถูกระเบิดลงจึงกลายเป็นพื้นที่ปิด จึงทำให้การทำงานของตำรวจยากลำบาก การทำงานจึงเริ่มหลังจากเกิดเหตุไปแล้ว โดยได้เน้นที่งานสอบสวน พยายามที่จะย้ำให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุให้มากที่สุด โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานให้ทำงานอย่างเป็นระบบ เพราะท้ายที่สุดก็ต้องดำเนินคดีกับบริษัทที่รับผิดชอบให้ได้ โดยชี้ให้เห็นว่าเกิดจากความประมาทไม่ใช่อุบัติเหตุ
ในวันนี้...แม้ว่าโศกนาฏกรรมรถแก๊สระเบิดบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จะผ่านมาจนครบ 17 ปีแล้ว แต่ความเจ็บปวดในครั้งนั้นก็ยังฝังใจทุกครั้งเมื่อมีข่าวคราวของรถแก๊สพลิก คว่ำ ซึ่งยังมีให้เห็นอยู่เสมอจนเกิดคำถามขึ้นในใจว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ เรียนรู้และแก้ไขอะไรบ้างจากเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้น
“สิ่งที่ตำรวจได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ในลักษณะที่เกิดขึ้น เรื่องแรกคือด้านงานสอบสวน การรวบรวมหลักฐาน เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี ส่วนที่เกิดขึ้นแล้วเราคงจะไปแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่การทำหน้าที่ของตำรวจอย่างเต็มที่ในครั้งนั้นเพื่อดำเนินคดีกับเจ้าของ บริษัทแก๊สสยาม และกระแสสังคมที่เกิดขึ้น ส่งแรงผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการมาดูแลเข้มงวดยิ่งขึ้นแม้ จะดูเหมือนวัวหายล้อมคอกก็ตาม เหตุการณ์ครั้งนั้นนับเป็นบทเรียนสำคัญของคนไทยที่เราไม่คิดมาก่อนว่าจะเกิด ขึ้น แต่ในอนาคตต่อไปจะทำให้เราได้ตระหนักถึงภัยพิบัติในรูปแบบอื่นที่อาจจะเกิด ตามมาซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เชื่อว่าในยามคับขันชาวไทยทุกคนจะออกมาช่วยเหลือกัน” พล.ต.ต.มณเฑียร กล่าว
แม้จะถือว่าเป็นบนเรียนครั้งสำคัญสำหรับประเทศไทย แต่เมื่อวันเวลาเคลื่อนคล้อยไป มาตรการการป้องกันต่างๆ อย่างเข้มงวดก็ถูกลืมเลือนที่จะนำมาปฏิบัติใช้ด้วย หรือจะต้องให้โศกนาฏกรรมแบบนั้น ย้อนกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น