วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มาบตาพุด การรับรู้และการรับมือความเสี่ยง


มาบตาพุด การรับรู้และการรับมือความเสี่ยง



คนไทยมักชอบการเผชิญเหตุกับการเก็บกู้ มากกว่าการเฝ้าระวังหรือป้องกัน หรือรอให้เกิดเหตุแล้ว จึงมีการเฝ้าระวัง มันจึงเป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น ผมพยายามตั้งกระทู้ซ้ำๆ เรื่องความเสี่ยง แต่พอจะชี้ชัดๆ ลงไป ดูเหมือนจะยากอยู่ประการหนึ่ง จึงสื่อโฉบไปเฉี่ยวมาให้ผู้ได้รับรู้ข้อมูล ได้ตระหนักถึงเหตุที่อาจจะเกิด แม้หลายภาคส่วนพยายามเร่งรัดเปิดดำเนินการ การหยุดอาจมีปัญหากับเศรษฐกิจ แต่ถ้ามีการดำเนินการบนความเสี่ยงมากนั้น อาจจะเสียหายมากกว่า ถ้ามีเหตุไม่พึงประสงค์รุนแรงเกิดขึ้น ไม่มีสื่อมวลชนสำนักไหน กล้าให้ข่าวเรื่องความเสี่ยง เพราะอาจจะบานปลายใหญ่โต จนเกิดความไม่มั่นใจในการดำเนินการของภาคอุตสาหกรรมโดยรวม ที่มีความเร่งรัดทางธุรกิจ-ความเห็นแก่ได้ และความมักง่าย รวมกันอยู่ในนั้น นอกจากปัญหามลพิษกับภาวะแวดล้อม สุขภาพของประชาชน การเสี่ยงภัยของประชาชน เป็นอีกประการหนึ่ง ที่ประชาชนโดยรอบในเขตอุตสาหกรรมควรจะได้รับรู้ และมันคงไม่ได้ทำให้เกิดความตื่นตระหนก หากแต่เป็นการเตรียมพร้อม การเฝ้าระวัง การแจ้งเตือนอย่างทั่วถึง แผนอพยพ ซึ่งพอเกิดเหตุแล้ว การจราจรจะวุ่นวายมาก การปิดถนนบางส่วนควรต้องมีจุดระบายออก ที่รวมพล ควรอยู่ตรงไหน อันที่จริงแล้วไม่ต่างอะไรกับขบวนการรักษาความปลอดภัยในโรงงาน ซึ่งควรจะเป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครอง และการนิคมอุตสาหกรรม ที่เป็นเจ้าภาพหลัก เริ่มจากมีการอบรมส่วนของตัวแทนชุมชนต่างๆ เพื่อการให้ข้อมูลข่าวสาร - ไม่ใช่แค่พูดแบบผู้นำชุมชนบางชุมชนว่า "ไม่กลัวหรอกเกิดอะไรขึ้น ... ก้อตายกันหมดอยู่แล้ว" มันมองไม่เห็นถึงขบวนการเตรียมรับสถานการณ์เลย การประชาสัมพันธ์ เรื่องการแก้ไขหรือป้องกัน-รับมือกับเหตุ การใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากปิดจมูกป้องกันก๊าซพิษ หรือใช้หน้ากาก การดูทิศทางของลม อันที่จริงแล้ว ควรจะมีธงลม ที่จะบอกว่า ลมพัดไปทางไหน ติดตามชุมชนต่างๆ ป้ายประชาสัมพันธ์ การจราจร กับรับรู้ล่วงหน้ากับเหตุร้ายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น การซ้อมอพยพ ซึ่งหลายๆประการเหล่านี้ จะช่วยลดความสูญเสียได้มาก การประชาสัมพันธ์ ในการจัดสัมนาต่างๆ ควรทำอย่างกว้างขวาง แม้ขณะนี้จะมีคณะกรรมการ 4 ฝ่าย องค์กรอิสระ หรือกลุ่มต่างๆ อะไร จัดที่ไหนเมื่อไหร่ คนที่มาบตาพุด ควรจะได้รับรู้ และมีโอกาสที่จะไปร่วม การรู้เพียงในกลุ่ม ของแต่ละกลุ่ม จึงไม่มีการรับรู้ปัญหาจริง แค่บอกว่าได้จัดแล้วได้บอกแล้ว และการจัดรถรับส่งก้อจะเป็นอีกทางหนึ่ง ที่ได้ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้ดีขึ้น เมื่อแต่ละฝ่ายแต่ละส่วนเข้าใจอะไรตรงกันรับรู้เรื่องที่ควรจะรู้และโปร่งใส เชื่อว่า ทุกฝ่ายจะอยู่กันแบบกลมกลืนที่รู้เท่าทัน.-

ผมสังเกตุหลายครั้ง เมื่อมีก๊าซรั่วมีคนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องไปเผชิญเหตุ แบบไม่มีอะไรป้องกันไปเลย ดูแล้วมันขัดๆ พิกล และการมุงดูเหตุอีก ควรจะเข้าใจถึงรัศมีของระเบิดหรือการรั่วออกมาของสารเคมีต่างๆด้วย.-

ความเข้าใจเรื่องก๊าซ แอลพีจี
MATERIAL SAFETY DATA SHEET/ Liquefied Petroleum Gas
เฉพาะคนที่อยู่มาบตาพุด-ระยอง ควรต้องมีความเข้าใจ และการรับรู้ความเสี่ยง

...
6. ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพ (Health Hazard Data)
6.1 ทางเข้าสู่ร่างกาย (Ways of Exposure) การหายใจ ผิวหนัง ทางตา การกิน
6.2 อันตรายเฉพาะที่ (Local Effects) กรณีสัมผัส LPG ความเข้มข้นเกิน 1000 ppm
ทางระบบหายใจ-ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อจมูกและทางเดินหายใจ
ทางผิวหนัง-เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ทางตา-เกิดอาการระคายเคืองเยื่อบุตา
ทางระบบทางเดินอาหาร-เกิดอาการ ระคายเคืองปากและทางเดินอาหาร
6.3 ผลจากการสัมผัสสารที่มากเกินไปในระยะสั้น (Effects of Overexposure Short-term)
กรณีความเข้มข้นสูงมาก จะสามารถแทนที่ออกซิเจนในปอดได้
(Simple Aphyxiant) ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ เดินโซเซ ตาลาย
จนกระทั่งอาจหมดสติได้
6.4 ผลจากการสัมผัสสารที่มากเกินไปในระยะยาว (Effects of Overexposure Long - term)
กรณีสัมผัส LPG เหลว อาจจะดูดความร้อนจากอวัยวะที่สัมผัส จนทำให้เกิดแผลไหม้เย็น
(Frostbite)
6.5 ค่ามาตรฐานความปลอดภัย TLV 1000 ppm (Time-Weighted Average) (ACGIH)

7. มาตรการด้านความปลอดภัย (Safety Measure)
7.1 ข้อมูลป้องกันโดยเฉพาะทาง (Special Protection Information)
7.1.1 การป้องกันไฟและการระเบิด (Fire and Explosion Prevention)
ถังเก็บ LPG และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทุกตัวต้องมีการต่อสายดิน เพื่อป้องกันการสะสมของ
ประจุไฟฟ้าสถิต มีการติดตั้งสายล่อฟ้าในบริเวณใกล้เคียงเพื่อป้องกันฟ้าผ่า
นอกจากนั้น ควรมีการตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนการใช้งานทุกครั้งว่ามีรอยรั่วหรือไม่
กรณีที่เกิดการรั่วไหลให้ตัดแยกอุปกรณ์ กำจัดแหล่งประกายไฟหรือแหล่ง
ความร้อนต่างๆ แล้วฉีดน้ำหล่อเย็นที่ตัวอุปกรณ์หรือถังเก็บ
7.1.2 การระบายอากาศ (Ventilation)
ถังเก็บและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอยู่ในที่ที่ให้อากาศถ่ายเทสะดวก
7.1.3 ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันทางการหายใจ (Respiratory Protection Type)
- ถ้าความเข้มข้นมากกว่า 1,000 ppm ให้ใช้หน้ากากกรองไอสารอินทรีย์
- ถ้าความเข้มข้นมากกว่า 10,000 ppm ใช้ Respirator แบบมีถังอัดอากาศติดตัว
- ถ้าความเข้มข้นมากกว่า 19,000 ppm ใช้ Respirator
แบบมีถังอากาศติดตัวพร้อมสวมหน้ากาก Full Face หรือสวม SCBA
(Self-Contained Breathing Apparatus)
7.1.4 การป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับมือ (Hand Protection) สวมถุงมือยาง
7.1.5 การป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตา (Eye Protection)
ใส่แว่นตานิรภัยเหนือหน้ากาก Full Face
7.1.6 การป้องกันอื่นๆ (Other Protection) Protection)
สวมชุดทำงานที่เหมาะสม และควรมีที่ล้างตาและทำความสะอาด
ร่างกายฉุกเฉินบริเวณที่ปฏิบัติงาน
7.2 การปฐมพยาบาล (First Aid)
7.2.1 กรณีสัมผัสทางผิวหนัง
ห้ามขัดถูผิวหนังบริเวณที่สัมผัสสาร ให้แช่น้ำอุ่น ถ้ายังระคายเคืองอยู่ให้ไปพบแพทย์
7.2.2 กรณีสัมผัสทางตา
ถ้าเข้าตา ห้ามขยี้ตา ให้ลืมตาในน้ำสะอาด ถ้ายังระคายเคืองอยู่ให้ไปพบแพทย์
7.2.3 กรณีได้รับสารทางการหายใจ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกมาบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์
หากผู้ป่วยหมดสติ ให้ออกซิเจนผายปอดแล้วนำส่งแพทย์
7.2.4 ข้อมูลเพิ่มเติมในการรักษาพยาบาล (ระบุการรักษาหรือการแก้พิษ)
กรณีกลืนของเหลวเข้าไป ให้ดื่มน้ำตามมากๆ
เพื่อเจือจาง LPG ลงมากที่สุด แล้วไปพบแพทย์

8. ข้อปฏิบัติที่สำคัญ (Special Instructions)
8.1 การขนย้ายและการจัดเก็บ (Handing and Storing) ขนส่งด้วยระบบท่อที่สามารถรับแรงดันก๊าซในท่อหรือเก็บในภาชนะบรรจุ ซึ่งสามารถทนแรงดันได้สูง ระบบท่อและภาชนะบรรจุควรอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ห่างจากแหล่งความร้อน แหล่งประกายไฟ และสารที่ต้องหลีกเลี่ยงจากกัน
8.2 การป้องกันการกัดกร่อน (Corrosiveness Prevention) สำหรับระบบท่อก๊าซใต้ดิน
ควรมีระบบป้องกันการกัดกร่อน (Catodic Protection)
8.3 การรั่วไหลและการหก (Spill and Leak Procedures)
กรณีที่ก๊าซรั่วให้กันหรือแยกพื้นที่บริเวณที่มีก๊าซรั่ว ห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้
โดยเฉพาะบุคคลที่อยู่ใต้ลมให้ห่างออกไปประมาณ 800 เมตร หรือถ้าเป็นไปได้ให้อพยพ ไปอยู่ทิศทางเหนือลม ป้องกันการเกิดประกายไฟในบริเวณใกล้เคียง จัดให้มีการระบายอากาศ และทำการอุดรอยรั่วของก๊าซ กรณีหกล้นให้ใช้ทรายหรือวัสดุดูดซับอื่นๆ เพื่อดูดซับเอาไว้ และตักพื้นดินบริเวณที่ผลิตภัณฑ์ LPG หกล้นไว้เพื่อรอการจำกัด ส่วนที่เหลืออาจจะล้างบริเวณที่หกล้นด้วยน้ำปริมาณมากๆ กรณีหกล้นปริมาณมาก ให้ฉีดโฟมคลุมรวมทั้งอาจจะใช้พัดลมหรือก๊าซไนโตรเจนเป่าไล่ให้กระจายออกไป โดยเฉพาะถ้าบริเวณที่หกล้นเป็นที่อับอากาศ เช่น รางระบายน้ำ เพื่อป้องกันการสะสมของก๊าซจนเกิดการระเบิด
8.4 วิธีการกำจัด / ทำลาย (Disposal Methods) เผาโดนระบบ Flare
8.5 การใช้สารดับเพลิง (Extinguishing Media) กรณีก๊าซรั่วและลุกติดไฟ ใช้ผงเคมีแห้งหรือ คาร์บอนไดออกไซด์และใส่ SCBA ในการผจญเพลิง และใช้น้ำฉีดเพื่อหล่อเย็นที่ตัวอุปกรณ์หรือถังเก็บหรือเพื่อกระจายกลุ่มก๊าซให้เจือจางลงมากที่สุด
อ่านทั้งหมดที่
http://www.pttplc.com/TH/MSDS-th/LPG_Thai.htm
ข้อมูลจาก - บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)


ภัยจากสารเคมี - ลองเข้าไปดูว่า อะไรที่ยังไม่รู้ ถ้ารู้แล้วจะได้บอกคนอื่นต่อ



ถ้ามีปัญหาที่หนึ่ง จะต่อไปอีกที่หนึ่งแบบโดมิโนหรือไม่

การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงจากภัย
การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงเป็นมาตรการที่จัดเรียงลำดับความสำคัญแล้วในการประเมินผล-กระทบของภัย มาตรการตอบโต้ที่นิยมใช้เพื่อการรับมือกับภัยแต่ละชนิด อาจจำแนกดังนี้
  • มาตรการขจัดหรือลดความรุนแรงของความอันตรายของภัยที่ต้องประสบ
  • มาตรการที่ป้องกันผู้รับภัยมิให้ต้องประสบภัยโดยตรง เช่น
    • ภัยจากการที่ต้องปีนไปในที่สูงก็มีมาตรการป้องกันโดยต้องติดเข็มขัดนิรภัย กันการพลาดพลั้งตกลงมา
    • ภัยจากไอระเหยหรือสารพิษก็ป้องกันโดยออกมาตรการให้สวมหน้ากากป้องกันไอพิษ เป็นต้น
  • มาตรการลดความรุนแรงของสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร ได้มีการขจัดและลดความรุนแรง โดยออกแบบตัวอาคารให้มีผนังกันไฟ กันเพลิงไหม้รุนลาม
    ไปยังบริเวณใกล้เคียง และมีการติดตั้งระบบสปริงเกอร์ ก็จะช่วยลดหรือหยุดความรุนแรงของอุบัติภัยลงได้
  • มาตรการกู้ภัยก็เป็นการลดความสูญเสียโดยตรง ลงได้มาก
  • มาตรการกลับคืนสภาพ ก็เป็นอีกมาตรการในการลดความเสียหายต่อเนื่องจากภัยหรืออุบัติภัยแต่ละครั้งลงได้
งานทุกงานมีความเสี่ยง จึงได้รวมรวม E-Books เกี่ยวกับ HSE มาไว้ ตรงนี้ จำนวนมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น