วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทำไมจึงกล่าวหาว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ เป็น รัฐบาล...แม่ปู !!!

สั้นๆ ง่ายๆ เลยครับ ก้อตรงที่ รัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ทำไม่รู้ไม่ชี้ กับโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.เสี่ยงสูง หลงทิศหลงทางกับการบริหารรัฐกิจ แต่คอยชี้นำคนอื่นๆ ว่าต้องมีทิศมีทาง แถมยังเลือดเย็นอีก จึงไม่ต่างอะไร กับแม่ปู ...ไงครับ !!!
โครงการโรงแยกก๊าซหน่วยที่6 ของบมจ.ปตท.(PTT)ไม่ได้อยู่ในข่ายโครงการที่มีผลกระทบร้ายแรงตามประกาศ แล้วที่เสี่ยงทรุดพัง อาจระเบิดลุกลามร้ายแรง นี่มันควรเป็นโครงการประเภทไหน?!
โครงการ นรกแตก หรือโครงการจากนรก
แล้วโครงการแบบนี้ ผ่าน สวล.มาได้อย่างไร
ความจริงวันนี้ ... ที่ภาครัฐหรือภาคอุตสาหกรรม
คงไม่ต้องออกมาบอกแล้วว่า นักลงทุนต่างชาติกดดัน
เพราะ เจโทร(กรุงเทพ) รับรู้เรื่องนี้แล้ว แถมมีความห่วงใย และหวังอย่างสูงยิ่งว่า
รัฐบาลโดยการนำของนายอภิสิทธิ์ จะต้องทำอะไรที่เหมาะสม
หอการค้าไทยและต่างประเทศรับรู้เรื่องนี้กันทั้งหมด
แม้ไม่มีใครกระโตกกระตาก ... รวมทั้งหอการค้าอเมริกัน ในไทยด้วย
ถึงวันนี้ ... รัฐบาลไทย แม้จะประกาศว่า
โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. ไม่ส่งผลกระทบรุนแรง
แต่เชื่อว่า ... หลายคนยังรู้สึกหัวขนลุก แม้ไม่ได้มานอนอยู่มาบตาพุด
และคงภาวนา อย่าให้เกิดเหตุร้าย เหตุสลด
เพราะนักลงทุน มาลงทุนตรงนี้รวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก
และถ้าตรงนี้ มันวอดวายเป็นทะเลเพลิง ... ล่ะ!
อยากให้ยอมรับความจริงกันครับว่า ... มันเสี่ยงสูงมาก
และการเฉยชา ของทุกภาคส่วน รวมทั้งสื่อมวลชนทั้งหมด
นักสิ่งแวดล้อมและผู้ใส่ใจทั้งหมด
ผู้ที่ทำงานประชาสังคมต่างๆ องค์กรเอกชนต่างๆ
จะไม่ต่างอะไรกับการเป็น ... แม่ปู
ที่บอกให้คนอื่นๆ เดินไปในทิศทาง ... ที่คิด
แล้วก้อ ... ปูเป็นสัตว์เลือดเย็น ครับ!

ชีวิตผู้คนในมาบตาพุด
รวมทั้งพนักงานในโรงงานต่างๆจำนวนมาก
คงไม่มีค่าไม่มีความหมาย
สำหรับคำว่า ค่าความเป็นมนุษย์
กับวันนี้ ... ที่พวกท่านๆ กำลังป่ายปีนกันอยู่

คัทเอ้าท์ ขนาดใหญ่ที่เตรียมออกแบบไว้ เพื่อให้ผู้คนรับรู้


บ่อยครั้งที่มีคนถามผมว่า ที่ผมบอกว่า โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. เสี่ยงสูงนั้น มันเสี่ยงแค่ไหน

ผมทำงานเป็นวิศวกรควบคุมโครงการ ในช่วงเริ่มงานก่อสร้างโรงแยกก๊าซใหม่ เรารู้ว่า โครงการมีความเร่งรัดมาก เพราะค่าปรับวันละหลายแสน ทั้งที่งานไม่กี่ร้อยล้าน ตอนนั้นปริมาณคนงานที่ทำอยู่ในโครงการต่างๆ ขยับกันยากมาก เพราะมีหลายโครงการยังไม่จบเสร็จ ยังมีความเร่งรัด และงานตรงโรงแยกก๊าซ จะต้องใช้แรงงาน มากกว่า 700 คน แบบเต็มทีม ทีมงานที่เคยทำงานในมาบตาพุด ติดงานในส่วนโครงการเดิมที่ยังทำไม่เสร็จ และปัญหาการเมืองในบริษัทฯ ทีมงานที่ส่งมาทำงานที่ โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. คือชุดที่ทำโครงการเอื้ออาทรในกรุงเทพ ที่โครงการถูกยุบ ทั้งคนงานทั้งทีมวิศวกร ไม่คุ้นเคยกับงานสร้างโรงงาน โดยเฉพาะสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในมาบตาพุด ซึ่งมีความยุ่งยากเรื่องงานเอกสาร งานเซฟตี้ งาน QA/QC และวิธีการทำงานต่างๆ ตรงนี้ ก้อเป็นส่วนหนึ่งในความวิตกกังวลว่า หลายๆฐานรากจะถูกหมกเม็ด แล้วตรงนี้จะต่างแบบไหน ก้อคิดกันดูเองว่า ถ้าเอาคนทำงานก่อสร้างทาง ก่อสร้างถนน มา 20 ปี มาสร้างตึกสูง หรือเอาช่างซ่อมจักรยาน มาซ่อมมอเตอร์ไซด์นั่นแหละ ทำได้ครับ แต่ความชำนาญความคุ้นเคยงานมันแตกต่างกัน เหมือนผมกำลังบอกว่า บริษัทจัดทีมงานไม่เหมาะสม มาทำงาน งานโครงการนี้

ตามข้อมูลสำรวจดินและวิธีการออกแบบของ ปตท. ซึ่งสามารถสร้างได้จริงแบบนี้

ลักษณะดินที่ว่าแข็งแรงมาก ดูสีของดิน มันเป็นดินทรายหรือโคลนขาว

รวมทั้งวิธีการก่อสร้าง มันปลอดภัยสมอ้างตามโฆษณาชวนเชื่อหรือไม่ ตรงนี้ไง ชี้ให้เห็นว่า งานมีความเร่งรัดสูงแค่ไหน ควบคุมโดยวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลก โชคดีของคนงานที่ไม่ถูกดินถล่มทับ ดินแข็งด้านบน เป็นดินที่เกิดจากการปรับถมบดอัดใหม่ ชั้นล่างระดับ 10-12 เมตร เป็นโคลนขาวเวลาเจอน้ำ จะลักษณะเดียวกับดินสอพอง หรือไม่ต้องลองดู ดินที่ขุดขึ้นมาโดนฝน เหยียบแล้วจมจนมิดถึงหัวเข่า

ประกอบกับการปกปิดข้อมูล ความแข็งแรงของดินที่ใช้ในการออกแบบซึ่งสูงมาก และการออกแบบใช้ค่ารับน้ำหนักประลัย หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Ultimate Design Concept ซึ่ง ปตท. อ้างว่า มีการกดทดสอบค่ารับน้ำหนักของดิน ได้สูงถึง 120 ตันต่อตารางเมตร ดินจึงทรุดตัวลง 1 นิ้ว แต่จริงๆแล้วใช้ค่ารับน้ำหนักประลัยเพียงแค่ 90 ตันต่อตารางเมตร มาใช้ในการออกแบบ ถึงตรงนี้ เข้าใจยาก ผมบอกให้ลองนึกภาพ ถ้าสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีต จะสร้างได้สูงขนาดตึก 8 ชั้น สูงเท่าตึกซีบอร์ด (ตึกตรงสามแยกก่อนถึงแยกเข้านิคมมาบตาพุดนั่นแหละ) มันจะทรุดตัวลงแค่ 1 นิ้ว สำหรับเรื่องการทรุดตัวอีก เข้าใจยาก ทรุดทันทีทรุดต่อเนื่องมันแบบไหน ตรงนี้ แบบบ้านๆ ต้องให้นึกถึง ถังเก็บน้ำที่ชุมชนเอามาแจก ถ้าวางมันกับพื้นดิน ก่อนวางก้อจะต้องปรับพื้นให้เรียบ แล้วตบๆดินให้แน่นก่อน เวลาวางมันจะได้ไม่ทรุดเอียง ทีนี้พอเติมน้ำจนเต็ม ก้นถังมันจะทรุดลงไปประมาณครึ่งนิ้วอะไรแบบนั้น ตรงนี้คือทรุดทันที ทีนี้ถ้าเราวางมันทิ้งไว้ สัก 2-3 ปี ก้นถังมันอาจจะทรุดลงไปสัก 2-3 นิ้ว กรณีดินอ่อนอาจทรุดลงเป็นฝ่ามือเป็นคืบ ตรงนี้อาจเรียกว่าทรุดตัวต่อเนื่อง บ้านผมที่บ้านนอก โอ่งลูกใหญ่ๆ เวลายกย้ายที่ บางลูกลงไปเป็นคืบ ยิ่งถ้ามีน้ำท่วมถึงอาจลงไปเป็นศอก เป็นเรื่องปกติของดินและการรับน้ำหนัก

โรงงานอื่นๆ รวมทั้งที่อยู่บนเนินสูง ทำไมเขาตอกเสาเข็ม แต่โรงแยกก๊าซแอ่งน้ำท่วม

อ้างว่าดินแข็งแรงจนไม่ต้องตอกเสาเข็ม

แบบก่อสร้าง และข้อกำหนดก่อสร้างที่ไม่มีข้อมูลเลยว่า ปตท.ใช้ค่ารับน้ำหนักสูงมาก

ปกปิดไว้ เพราะกลัวไม่มีผู้รับเหมาเจ้าไหนกล้าทำให้ แบบนั้นหรือเปล่า

ส่วนหนึ่งของรายงานที่บันทึกการทรุดตัวของโครงสร้างต่างๆ ที่ ปตท. แถลงว่า ตรวจสอบและควบคุมมาโดยตลอดและไม่พบการทรุดตัวที่ผิดปกติเลย ทั้งที่ในเดือน พฤษภาคม 2552 มีการทรุดจำนวนมาก ซ่อมสร้างขึ้นใหม่ แต่ไม่มีการตรวจสอบ-ติดตามอะไร ที่เป็นรูปธรรม อ้างว่า คนทำย้ายออกกันไปหมด ข้อมูลเดิม ติดตามได้ยาก ทำขึ้นใหม่ต้องใช้เวลา

มีคนชอบบอกว่า ผมชอบนำเสนองานในเชิงวิชาการจนเข้าใจยาก หรือคนมองไม่เห็นความเสี่ยง อันที่จริงแล้ว เรามีการหารือกันเรื่องความเข้าใจของสาธารณะบ่อยๆ ว่าทำอย่างไร จะทำให้คนเข้าใจง่ายและหันมาให้ความสนใจเรื่องความแข็งแรง ผมคนหนึ่งที่เคยวิจารณ์ว่าทุกส่วนทุกฝ่ายเข้าใจดีนะว่า ความแข็งแรงคืออะไร แบบชาวบ้านๆ เค้าไม่กล้าเอาเก้าอี้พลาสติกขาอ่อนๆ มาเหยียบยืนต่อตัวขึ้นหยิบของในที่สูง อันนี้เขาเข้าใจเรื่องความแข็งแรง เขารู้ว่ารถเขาสามารถบรรทุกอะไรได้เท่าไหร่ เขาเข้าใจเรื่องสมรรถนะ อะไรเพิ่งเกิดขึ้นที่มาบตาพุด วันที่ก๊าซคลอรีนรั่ว ชาวบ้าน-สื่อมวลชนจำนวนมากบอกตรงกันว่า ถังคลอรีนทรุดพัง ฐานรับน้ำหนักไม่ไหว มันไม่มีความสลับซับซ้อนอะไร ถ้าคุณไปซื้อคอนโดอยู่แล้วบังเอิญคุณไปรู้ว่า คอนโดสูง 10 ชั้น สร้างโดยไม่ตอกเสาเข็ม ผมถามจริงๆว่า คุณกล้าขึ้นไปอยู่มั้ย เพราะอะไร คุณคงเห็นว่ามันไม่น่าจะปลอดภัย แต่เจ้าของโครงการกลับบอกว่ามีบริษัทก่อสร้างชั้นนำมาออกแบบก่อสร้างให้และดินแข็งแรงมาก อีกทั้งวิศวกรควบคุมงานเป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลก เอาวิศวกรจำนวนมากมีนั่งชี้แจงอธิบาย ผมถามจริงๆ ว่า ถ้าคุณยังไม่ได้ซื้อ คุณจะซื้อมันมั้ย ถึงตรงนี้ มันคือการตัดสินใจที่คุณจะเชื่อและซื้อเพื่ออยู่อาศัย หรือจะซื้อไว้หลอกขายคนอื่นเอากำไร นั่นมันก้ออีกเรื่อง

ภาพที่บอกว่า ความจริงคืออะไร แต่ทำไม ปตท. กล้าเสี่ยง ถ้า โรงแยกก๊าซ ปตท. อยู่ในป่าหรือเกาะร้าง ปราถนาจะเสี่ยงกันอย่างไรก้อทำกันไปเถอะ แต่ตรงนี้ โรงแยกก๊าซ อยู่ในเขตเทศบาล อยู่ติดตลาดติดชุมชน มาสร้างความเสี่ยง ที่น่าสยดสยองถ้าเกิดเหตุสลด แล้วอ้างว่า ก่อสร้างบนมาตรฐานสูง แม้ไม่ตอกเสาเข็ม

ให้ดูซ้ำๆ อีก เพื่อจะได้คิดซ้ำๆ ว่าที่ ปตท. บอกว่า ดินแข็งถึงแข็งมาก เป็นแอ่งน้ำท่วม เมื่อฝนตกหนัก เพราะถึงอย่างไร ปตท. เป็นองค์กร ที่น่าเชื่อถือ ดูรูปนี้อีกครั้ง เพื่อที่จะได้รู้ว่า ที่เชื่อเชื่อเพราะอะไร ทั้งๆที่ไม่ได้หลับหูหลับตา ดูฟังแต่ โฆษณาชวนเชื่อได้ทุกวัน จากสื่อทุกแขนง ที่วันนี้ สื่อไทยยังคงทำแบบนั้น และยังปิดกั้นการรับรู้ความเสี่ยงของภาคประชาชนอีกด้วย
กดเข้าไปดู ว่าขนาด สื่อเครือเนชั่น ยังเป็นแบบนี้
http://www.oknation.net/blog/airfresh-society

ถังก๊าซขนาดนี้ 6,000 คิว 12 ลูกอยู่ระหว่างกลางโรงแยกก๊าซ ที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน ของ ปตท. และทั้งหมดมันไม่ได้ตอกเสาเข็ม คนที่ไม่กลัวคงเป็นคนที่อยู่ห่างไกล

แต่เชื่อหรือไม่ว่า คนมาบตาพุดจำนวนมากก้อไม่กลัว เพราะผู้นำชุมชนบอกว่าถ้าตายก้อตายพร้อมกันหมด ไม่เหงา และไม่เชื่อ เพราะเชื่อ ปตท. บอกว่ามันดีและปลอดภัยแล้ว

แล้วเรื่อง คลังก๊าซแอลพีจีระเบิดล่ะ ตรงนี้เกินจริงจนสร้างความหวาดกลัวมั้ย เพราะ ปตท. น่าจะต้องควบคุมได้ บริษัท เขาใหญ่ปานนั้น จะมาทำอะไรเสี่ยงให้เสียหายได้อย่างไร เขาต้องมีมาตรการเฝ้าระวัง อย่างน้อยก้อรู้เรื่องนี้แล้ว เขาน่าจะทำอะไรไปแล้ว ใครจะปล่อยให้เสี่ยงสูงมาก ถึงตรงนี้ผมเลยจัดให้ว่าความมั่นใจสูง ของ ปตท. เป็นอีกหนึ่งประเด็นความเสี่ยงที่ผมให้ความสนใจมาก ความที่มั่นใจว่ามีวิศวกรต่างชาติมาก่อสร้างมาควบคุมงานงานให้นั่นแหละ ที่มีการระเบิดพังสร้างความเสียหายใหญ่หลวงกับโลก แบบแท่นเจาะน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก คนอเมริกันเจอเข้าไปเต็มๆ ทั้งที่มีเทคโนโลยี่ดี มีผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก ยังแก้ไขกันอยู่หลายเดือน ในจีนเอง ท่อส่งน้ำมันระเบิด ตูมเละ แค่นักดับเพลิงและอาสาสมัคร ยังใช้กันหลายพันคน รายงานความเสียหายเงียบสนิท แท่นเจาะน้ำมัน ของ ปตท. เอง ที่ระเบิดเมื่อปลายปีก่อน เดือน พ.ย. 52 ตรงนั้น ปตท. รู้ล่วงหน้ามา 2 เดือนกว่า แก้ไขโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก สุดท้าย ตูมเละ ... นกกับสัตว์น้ำ จำนวนมากได้รับผลกระทบ ตรงนั้นมันอยู่กลางทะเล แต่คลังก๊าซของ ปตท. ที่บอกว่าเทียบกับรถก๊าซ 4,200 คัน มันจอดรวมกันอยู่ห่างตลาด กิโลเศษๆ ตรงนี้ไง มันน่าหวาดเสียว

ไฟไหม้ใกล้คลังก๊าซ ที่อาจระเบิดรุนแรง แบบ BLEVE ที่นักผจญเพลิง ตายมาแล้วมากต่อมาก ถ้าเกิดเหตุแล้ว จะมีสักกี่คนกล้าเข้าไประงับเหตุ แบบเวลาซ้อม มาตรการการหลบภัย-รับมือ-จัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำได้จริงๆ หรือ หรือเขียนไว้ แล้วเก็บใส่แฟ้ม

เอ้า แล้วมันจะระเบิดอย่างไร ตรงนี้ ผมให้นึกภาพในอากาศนะ สมมุติเป็นโรงประปา ก้อแล้วกัน จริงๆแล้วเรื่องการทรุดตัวเป็นเรื่องปกติทั่วไป ถ้ากับอาคารเป็นตึก มันก้อจะแตกร้าวให้เห็น หรือบ้านใครไม่ร้าวไม่แตก มันเป็นเรื่องธรรมชาติที่หาความแน่นอนอะไรไม่ได้ เพราะจู่ๆ ถ้ามันเกิดการทรุดตัวขยายตัวไม่เท่ากัน เอาเป็นว่าเรานึกถึงภาพ โครงอาคารรับท่อประปา 2 จุดมันทรุดไม่เท่ากัน ข้อต่อตรงหน้าแปลนที่มีน๊อตยึดนั่นแหละ ท่อใหญ่ๆ ถ้ามันปริแตกน้ำก้อจะรั่วไหลออกมา พุ่งแรงมาก ถ้ามีแรงดันน้ำสูงมาก กว่าที่จะปิดวาล์วหรือควบคุมได้ มันคงเปียกปอนไปทั่วหมด ทีนี้การซ่อมหน้าแปลนแตกเนื่องจากจะการทรุด ตรงนี้มันไม่ใช่เรื่องง่าย อาจต้องขยับแนวใหม่ ผมว่าลองเปลี่ยนจากน้ำมาเป็นก๊าซแอลพีจีเหลวที่รั่วออกมาดีกว่า ก๊าซแอลพีจีเหลว จะเปลี่ยนเป็นก๊าซด้วยปริมาตรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 250 เท่า ถ้านึกภาพท่อน้ำแตกรั่ว คงนึกภาพออกว่ามันเป็นแบบไหน ทีนี้เพิ่มปริมาณอีก 250 เท่ากับที่นึก แล้วมันบังเอิญว่า มันเป็นก๊าซไวไฟคนเจอว่ามันรั่วจะเข้าไปปิด หรือจะวิ่งหนี ถ้ามันรั่วมากๆ มันไม่ใช่วาล์วถังก๊าซหุงต้มตามบ้าน แล้วอีกคุณสมบัติหนึ่งของ ก๊าซแอลพีจีเหลว จุดที่รั่วไหลมันจะควบแน่นเป็นน้ำแข็งอุดตัวมันเอง แต่ไม่ใช่ว่ามันจะหยุดนะ พอมันอุดแล้วมันจะทำให้ท่อระเบิด เกิดลุกไหม้เองได้ แม้ไม่มีประกายไฟ ตรงนี้ไง ที่บอกว่าเสี่ยงมาก แล้วเราก้อไม่รู้ว่า ตรงไหนมันจะทรุดมันจะแตก เพราะมันมีความเสี่ยงทุกพื้นที่ การระเบิดจากจุดเล็กๆ ถ้าเดชะบุญแก้ไขได้ปัญหาก้อจบ แต่ถ้าไม่ได้ล่ะมันลุกลามไวมาก และถ้าลุกลามมาถึง คลังก๊าซที่ว่าล่ะ แบบที่เคยเกิดในเม็กซิโก ประมาณปี 1980 ระเบิดต่อเนื่องยาวนาน เกือบ 9 ชม. ทั้งโรงงานทั้งชุมชนราบคาบ ตรงนี้ มีก๊าซมากกว่าที่เคยเกิดในเม็กซิโกถึง 7 เท่า และดันมีโรงงานอันตรายหลายร้อยโรงในมาบตาพุดที่อยู่ในรัศมีการระเบิด ถ้ามันระเบิดต่อๆ กันอีกล่ะ พอแล้วครับ ... เลิกนึกภาพไปเลย สึนามิไฟ ดีๆนี่เอง มันเป็นจินตนาการที่เลวร้ายสุดๆนะครับ ตรงนี้ ถามว่ามีโอกาสแค่ไหน ผมบอกแล้วว่า เราเปิดโอกาสให้มันเกิดไง เรารู้ใช่มั้ยว่า ถ้ามันแข็งแรงไม่เพียงพอ มันจะทรุดมันจะพัง แต่บังเอิญว่า ที่มันเสี่ยงทรุดพังเป็นโรงงานก๊าซไวไฟ แถมมีคลังก๊าซแอลพีจีขนาดมหึมา ถึงตรงนี้ เลยบอกว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์เลือดเย็นมาก เพราะรู้ตรงนี้มาตั้งนานแล้ว 7 เดือนนี่นานมั้ย ทั้งๆที่ยุ่งอยู่กับเรื่องเดียงกันคือเรื่องมาบตาพุด รู้ว่ามันเสี่ยงทรุดพังระเบิดลุกลามได้ ... คงกลัวครับว่า การหยุดโรงแยกก๊าซ แล้วมันจะกระทบเศรษฐกิจ แต่ถ้าเกิดสึนามิไฟ ล่ะ ประเทศไทยจะต้องใช้เวลากี่ปีที่จะฟื้นตัว เพราะชอบบอกกันจัง ว่ามีเงินลงทุนตรงนี้หลายแสนล้าน ไอ้ที่ลงทุนไปแล้วด้วย นั่นเท่าไหร่ มันจะไม่ใช่แค่แบบไฟไหม้ห้างใน กรุงเทพฯ ที่มาบตาพุดพอเกิดเหตุแล้ว ผมอยากรู้ว่า หมอพรทิพย์จะต้องรอเวลากี่วันถึงจะกล้าเข้ามาเก็บซาก คงต้องรอจนก๊าซอันตรายต่างๆจำนวนมาก มันเจือจางก่อน ถึงเวลาหรือยังครับ ที่ทำไม...เราต้องจินตนาการถึง เรื่องร้ายที่สุด เพื่อให้เรารู้จักระมัดระวัง ไม่เปิดโอกาสให้มันเสี่ยง แบบที่เจโทรทำไงครับ สมาคมนักลงทุนญี่ปุ่น พอรับรู้เรื่องนี้แล้ว ตอบจดหมายทันทีเลย เพราะรู้ว่ามันไม่ปกติ แต่ไม่รู้ว่า เขากดดันอะไรรัฐบาลกับเรื่องนี้บ้าง เพราะเราได้ทำจดหมายขอบคุณจดหมายที่ตอบมา และขอให้เขาหาช่องทางที่เหมาะสมดำเนินการหยุดความเสี่ยงสูงมากนี้ โดยไปเร่งรัดรัฐบาลจัดการปัญหาความเสี่ยงของโรงแยกก๊าซ ปตท. - อยากรู้อะไรอีกช่วยถาม แล้วผมจะตอบแบบบ้านๆง่ายๆ หรือจะโทรมาคุยก้อได้ครับ ไม่ว่ากัน

ภาครัฐ นายกรัฐมนตรี รมต. อีกหลายคน รับรู้เรื่องนี้ รวมทั้ง นายสาธิต สส. ระยอง ซึ่งทุกส่วนของรัฐ เก็บข้อมูลจำนวนมากเข้าแฟ้มไว้แล้ว / รอเกิดเหตุ รัฐบาลพร้อมจัดงบเยียวยา แต่เงินไปไม่ถึง มือผู้ประสพภัย จัดงบเยียวยา งานถนัดที่อยากจัดบ่อยๆ เยียวยาบ่อยๆ การแก้ปัญหา คงทำแบบแก้น้ำแล้ง คือนั่งรอเวลาให้ฝนตกลงมา น้ำท่วมปีก่อน เงินเยียวยังแจกไปไม่ถึง ปีนี้กำลังจะท่วมอีกแล้ว

เหตุที่รัฐบาล แก้ปัญหาด้วยการประกาศสภาวะฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยมีเครื่องมือจำนวนมาก ประชาชนจำนวนมาก สื่อจำนวนมาก เจ้าหน้าที่รัฐจำนวนมาก และใช้งบประมาณจำนวนมาก - แต่ทำไม ... ยังปล่อยให้เกิด - อดีตทำให้เรารู้ว่าปัจจุบันจะต้องตัดสินใจอย่างไร กับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง

เผาราชประสงค์ และสถานที่ราชการต่างๆ น่าจะเป็นเรื่องที่ทุกส่วนต้องตระหนัก ว่าเรื่องนี้รัฐบาลเองและกลุ่มนักธุรกิจต่างๆ รับรู้กันมานานมากกว่า 4 เดือนว่าจะเกิดเหตุการณ์ขึ้น ถามว่า มีการระวังป้องกันอย่างไร รัฐบาลเองบอกว่าประชาชนอย่ายุ่งจะเป็นเรื่องลุกลาม สุดท้ายรัฐบาลก้อป้องกันไม่ได้ ครั้นจะชดเชยอะไรๆ รัฐบาลก้อไม่สามารถทำได้ และยังมีอีกหลายฝ่ายออกมาว่า ทำไมต้องเอาเงินภาษีประชาชนมาชดเชย ข้อผิดพลาด การดำเนินการที่ผิดพลาดของรัฐบาล และตรงนี้เองที่บอกว่า โรงงานต่างๆในมาบตาพุด นักลงทุนต่างๆ รวมทั้งหอการค้าต่างๆ ที่ต้องออกมารักษาผลประโยชน์ของตัวเอง คงรวมทั้งนักธุรกิจ พ่อค้าแม่ขาย ในมาบตาพุดด้วย อุตส่าห์ขวนขวาย หาเงินสร้างตัวตน สร้างความรุ่งเรือง กันมาแบบเหนื่อยยากยาวนาน ถ้าวันหนึ่งมันต้องมอดไหม้ ไปในทะเลเพลิง ก้อเป็นเพราะวันนี้ ไม่ได้ออกมาเรียกร้องให้ ปตท. หยุดเพื่อปลดปล่อยความเสี่ยง หรือจะอยู่กับความเสี่ยงกันไป จึงอยากให้ดู เหตุไฟไหม้ราชประสงค์และสถานที่ราชการต่างๆ ที่หลายส่วนหลายฝ่าย คิดว่ามันไม่น่าเกิดมันก้อเกิดไปแล้ว

(เผาราชประสงค์ = ความประสงค์ของพระราชา ถูกเผาผลาญ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น