วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

7 ความเสี่ยง ทรุดพังของโรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. จากเดิมแค่ 5 ทำไมเพิ่มมาอีก 2 เสี่ยง

จากความเสี่ยงเดิมที่ทำรายละเอียดไว้ ตั้งแต่ทำกรณีศึกษา ครั้งแรก เมื่อเดือน ธันวาคม 2552 ขณะนี้ หลังจากมีข้อมูลเพิ่มเติม และมีเหตุการณ์ น้ำท่วมโรงแยกก๊าซ ทั้งที่ฝนตกไม่หนักมาก แต่คงเป็นเพราะดินชุ่มน้ำมาก เนื่องจากฝนตกติดต่อกันหลายวัน น้ำหลากลงมาอย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่ฝนไม่ตกหนักมากนัก แต่ตกติดต่อกันหลายชั่วโมง ซึ่ง 5 ความเสี่ยงเดิม ที่เคยชี้แจงไว้มีดังนี้

  1. การเลือกใช้ ฐานรากตื้น ซึ่งข้อเสียคือ มีโอกาสที่จะทรุดตัวสูง
  2. การก่อสร้างบนพื้นที่ปรับถมใหม่ โดยไม่ตอกเสาเข็ม ฐานรากมีโอกาสทรุดตัวสูง จากดินยุบตัว
  3. การใช้ค่าความสามารถในการรับน้ำหนักของดินสูงมาก ถึง 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับโรงงานอื่นๆในมาบตาพุด แม้จะอ้างว่ามีการสุ่มทดสอบแล้ว เพราะดินมีความเสี่ยงในตัวเองในสภาวะ-การณ์ต่างๆ รวมทั้ง ชั้นดินที่หาความแน่นอนอะไรไม่ได้
  4. การก่อสร้างที่เร่งรัดมากและทำในช่วงฤดูฝน ควบคุมคุณภาพงานดิน ได้จริงหรือ
  5. ความเชื่อมั่นสูงว่า งานกระดาษมีมาตรฐานสูง การจ้างชาวต่างชาติมาควบคุมงานมาก่อสร้าง จนละเลยที่จะตรวจสอบติดตาม

และ 2 ความเสี่ยงใหม่ ที่เพิ่มขึ้นคือ

  1. การปกปิด หรือไม่เปิดเผยข้อมูล ความสามารถรับน้ำหนักของดินสูงมาก (30 ตัน/2) ที่ใช้ในการออกแบบฐานราก ซึ่งการควบคุมงานดิน จำเป็นที่จะต้องควบคุมให้ได้ตามสมมุติฐานในการออกแบบ รวมทั้งการก่อสร้าง ฐานรากส่วนบนดินถมของโครงสร้างที่ลึกกว่า จำเป็นต้องใช้วัสดุพิเศษหรือวัสดุที่มีการออกแบบ ชนิดและความแข็งแรงของคอนกรีต และเหล็กเสริมถูกระบุไว้ในแบบ ซึ่งกรณีมีเสาเข็ม จะต้องระบุ ความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็ม กรณีไม่มีเสาเข็ม ต้องระบุความสามารถในการรับน้ำหนักของดิน
  2. กรณีน้ำท่วม บอกลักษณะทางภูมิศาสตร์-ธรณีวิทยาของดินและชั้นดิน ที่อยู่ในร่องน้ำหลาก หรือท่วมขัง ซึ่งไม่น่าจะแข็งแรงมาก และมีโอกาสที่จะเผชิญเหตุน้ำท่วมอีกในอนาคต

ความเสี่ยงหลายประการนี้ ที่เป็นเหตุผลสำคัญว่า ทำไมจึงมีความเสี่ยงสูงมาก เพราะมีมากถึง 7 เสี่ยง ทั้งนี้ไม่รวมการหมกเม็ดต่างๆ ในการออกแบบ หรือการก่อสร้าง เพราะขณะนี้ ยังไม่ปักใจเชื่อว่า การออกแบบทำด้วย วิธี Ultimate Design คือการเลือกใช้สถานะของการพังของวัสดุ เพื่อมาใช้ออกแบบ ซึ่งถ้าเลือกออกแบบวิธีนี้ จะใช้ค่ารับน้ำหนักประลัยของดิน มาใช้ออกแบบ คือที่ 90 ตัน/2 ซึ่งกรณีกดน้ำหนักดินจะทรุดตัวลง 1 นิ้ว หรือเป็นจุดที่บอกว่าพัง กรณีนี้ ถ้าเราสร้างถังเก็บน้ำจะสร้างได้สูง ประมาณตึก 25 ชั้น โดยไม่ต้องตอกเสาเข็มเลย แต่เดี๋ยวก่อน เพราะต้องมีค่าความปลอดภัย เท่ากับ 3 ซึ่งบอกว่า จะสร้างถังน้ำได้สูงแค่ ตึก 8 ชั้น โดยไม่ตอกเสาเข็มแล้ว จะไม่ทรุดตัวเลย แม้แค่ 1 เซนติเมตร ว๊าววววว ถึงตอนนี้ ต้องเอาไปลงหนังสือแปลกแต่จริง มั้ยครับ จริงๆแล้วตรงนี้ อยู่ใน เสี่ยงที่ 3 ถ้ามองกันแบบหยาบๆ แต่ข้อเท็จจริงเรื่องรายละเอียดของวิธีการออกแบบแตกต่างกัน เพราะแรงตามแนวราบ แรงลม แรงสั่นไหว ไดนามิค ไซคลิก แล้วก้อสารพัดแรง ที่จะต้องเอามาร่วมในการคำนวณด้วย แล้วถ้าให้ละเอียดจริงๆ ต้องคำนวณเมื่อดินมีสภาพอ่อนตัวมากที่สุดด้วย หรือดินที่ชุ่มน้ำ

รายละเอียดเดิม เรื่อง 5 ความเสี่ยง

5 ความเสี่ยง-ปัจจัยเรื่องการทรุดของฐานรากตื้น กับการตัดสินใจเลือกใช้ฐานรากไม่ตอกเสาเข็ม

เรื่องราวความกังวลห่วงใย ของวิศวกรที่เข้าไปก่อสร้าง - ไม่ใช่ของคนที่เข้าไปขายอาหารในหน่วยงานก่อสร้าง ซะหน่อย ที่จะไม่รู้ไม่เข้าใจว่า ที่ทำกันนั้นมันเสี่ยงอย่างไร ถ้าเป็นอาคารสำนักงาน ทำกันแบบเสี่ยงๆ คงไม่มีใครว่าอย่างไร แต่นี่มัน โรงงานก๊าซ โรงงานสารเคมี ถ้าทรุดแล้วดึงกัน มันจะพังเหมือนเสาไฟฟ้าล้ม เสาไฟฟ้าล้มแค่ตัดไฟ ทุกอย่างก้อจบ (เสาไฟฟ้า เค้ายังต้องตอกเสาเข็ม) และถ้าก๊าซ-สารเคมีรั่ว มันจะรั่วแบบควบคุมไม่ได้ มันมีอันตรายอะไร กับคนแถวกรุงเทพฯ หรือคนแถวประจวบ แต่ ... สำหรับ คนมาบตาพุด ที่ต้องนอนผวา!!! ล่ะ เห็นกันอย่างไร

" อยู่ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่เลวร้าย มีผลรุนแรงต่อสุขภาพแล้ว ยังต้องอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงอีก "

เช่นกรณีที่ไฟใหม้กลางทะเล จนควบคุมไม่ได้ ก้อปล่อยให้มันใหม้ไป จนเป็นอันตรายต่อสัตว์ต่างๆในทะเล-นก และทำลายสภาวะแวดล้อม เป็นวงกว้าง นั่นมันอยู่กลางทะเล ... นะ

อยู่กลางทะเล ... นะ


ฐานรากตื้น หมายถึง ฐานรากที่ไม่มีเสาเข็ม ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการทรุดตัว ทั้งนี้โครงสร้างที่ใช้รองรับระบบท่อ, ถังเก็บและเครื่องจักร ที่เกี่ยวข้องกับ ก๊าซ-สารเคมีอันตราย ซึ่งมีความเสี่ยงอยู่แล้วว่าอาจจะเกิดการรั่วหรือการระเบิด การเสี่ยงในการทรุดตัวนั้นจึงเท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นจากความเสี่ยงเดิม และการก่อสร้างบนพื้นที่ปรับ-ถมใหม่ โดยไม่ใช้เสาเข็มนั้น เป็นการเสี่ยงมากขึ้นอีก ซึ่งอาจจะอธิบายทางวิศวกรรมโยธา ได้ดังนี้ คือ

ข้อเสียประการแรก ของการเลือกใช้ฐานรากตื้น คือ เสี่ยงต่อการทรุดตัว ของโครงสร้าง ความเสี่ยงที่ 1

ข้อเสียประการแรก ของการก่อสร้างบนที่ถมใหม่ คือ เสี่ยงต่อการทรุดตัว ของโครงสร้าง ความเสี่ยงที่ 2

ดังนั้นการใช้ฐานรากตื้น บนพื้นที่ปรับถมใหม่ จึงมีเพิ่มเป็น 2 ความเสี่ยง

ลักษณะการทรุดตัวของโครงสร้าง มีดังนี้ การทรุดตัว = การทรุดตัวในทันที + การทรุดตัวต่อเนื่อง

การทรุดตัวในทันที คือ การที่โครงสร้างรับแรงใดๆ แล้วเกิดการทรุดตัว เนื่องจากการรับน้ำหนักของดิน

การทรุดตัวต่อเนื่อง คือ การทรุดอันเนื่องจากลักษณะคุณสมบัติของดินแต่ละชั้น แต่ละชนิด สภาวะน้ำใต้ดิน สภาวะอากาศ การเรียงตัวใหม่-ซึ่งมาจากหลายๆสาเหตุ แต่จะมากขึ้นสำหรับส่วนที่รับแรงสั่น การสูญเสียเนื้อดิน-ความชื้น หรือการอิ่มตัวไปด้วยน้ำ ซึ่งอาจจะทำให้การทรุดตัวตามปกตินั้นเกิดเร็วขึ้น เช่นช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน

การรับแรงใดๆ คือ การรับแรงตามแนวดิ่ง แนวราบ แรงจากการสั่น ทั้งไดนามิกและไซคลิก ที่สูงสุดในแต่ละคาบ

ดิน ความหมายหนึ่งคือ วัสดุที่ไม่มีลักษณะความเป็นเนื้อเดียวกัน (non-homogeneous material)การรับแรงในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน อาจจะต่างกันโดยสิ้นเชิง การสุ่มสำรวจเป็นการดำเนินการเพียงให้เกิดความมั่นใจ แต่ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นเหมือนกันทั้งหมดในเรื่องความแข็งแรงในการรับน้ำหนักที่ 90 ตัน/ม2 การนำมาใช้เป็นกรอบหลักในการออกแบบ จึงเท่ากับ ใช้ข้อมูลที่มีความเสี่ยง ความเสี่ยงที่ 3

จึงเป็นที่มาว่า ทำไม วิศวกรโยธา ที่ก่อสร้างโรงงานต่างๆ ต่างคิดเหมือนกันว่า เป็นโครงการก่อสร้างที่มีความเสี่ยงในการทรุดตัวสูงมาก สำหรับการเลือกใช้ฐานรากตื้น รับโครงสร้างระบบท่อ-ถังเก็บ-เครื่องจักร ขนาดใหญ่ เพราะมีมากกว่า 3 ความเสี่ยง กับเรื่องการทรุด-วิบัติในทางวิศวกรรมโยธา ซึ่งความเสี่ยงที่ 4 คือ แผนงานที่มีความเร่งรัดสูง และทำในช่วงฤดูฝน การควบคุมดูแลเป็นระบบเปิด ทำได้ไม่ทั่วถึงทุกจุดของงาน ซึ่งรายงานกับข้อเท็จจริงอาจไม่ใช่เรื่องเดียวกัน

ความเสี่ยงที่ 5 คือ ความมั่นใจสูง ว่าการจ้าง บริษัทข้ามชาติ มาก่อสร้างโรงงานให้ มี ฝรั่งเป็นที่ปรึกษา จนคิดว่า ไม่น่าจะผิดพลาด และคิดว่าความห่วงใยกังวล เป็นเรื่องไร้สาระ ทำแบบผ่านๆขอไปที ความจริงแล้ว ปัญหาการทรุดตัวของดิน อาจใช้เวลายาวนานที่จะติดตาม ดินแช่น้ำนานแค่ไหนจึงเสียกำลัง ดินทรุดเพราะการสั่น สั่นนานแค่ไหนมันจะทรุด และทรุดแค่ไหน จะพังหรือวิบัติ

ตามไปดู เรื่อง BEARING CAPACITY & SHALLOW FOUNDATION

http://environment.uwe.ac.uk/geocal/foundations/founbear.htm

1998 Esso Longford Gas Plant Explosion

สาเหตุระบุชัดว่า มาจากการออกแบบห่วย!!!








ลองตามไปอ่านดูhttp://en.wikipedia.org/wiki/1998_Esso_Longford_gas_explosion

ลอกมาให้อ่านแค่ส่วนหนึ่ง
In 1998, the Longford gas plant was owned by a joint partnership between Esso and BHP. Esso was responsible for the operation of the plant. Esso was a wholly owned subsidiary of US based company Exxon, which has since merged with Mobil, becoming ExxonMobil. BHP has since merged with UK based Billiton becoming BHP Billiton.
Built in 1969, the plant at Longford is the onshore receiving point for oil and
natural gas output from production platforms in Bass Strait. The Longford Gas Plant Complex consists of three gas processingplants and one crude oil stabilisation plant. It was the primary provider of natural gas to Victoria, and provided some supply to New South Wales.

A Royal Commission was called into the explosion at Longford, headed by former High Court judgeDaryl Dawson. The Commission sat for 53 days, commencing with a preliminary hearing on 12 November 1998 and concluding with a closing address by Counsel Assisting the Royal Commission on 15 April 1999.
Esso initially blamed the accident on worker negligence, in particular Jim Ward, one of the panel workers on duty on the day of the explosion.
There is no evidence that Esso blamed the operator.
The findings of the Royal Commission, however, cleared Ward of any negligence or wrong-doing. Instead, the Commission found Esso fully responsible for the accident:
The causes of the accident on 25 September 1998 amounted to a failure to provide and maintain so far as practicable a working environment that was safe and without risks to health. This constituted a breach or breaches of Section 21 of the
Occupational Health and Safety Act 1985.
Other findings of the Royal Commission included:


  • the Longford plant was poorly designed, and made isolation of dangerous vapours and materials very difficult; สาเหตุระบุชัด ออกแบบห่วย!!!
  • inadequate training of personnel in normal operating procedures of a hazardous process;
  • excessive alarm and warning systems had caused workers to become desensitised to possible hazardous occurrences;
  • the relocation of plant engineers to Melbourne had reduced the quality of supervision at the plant;
  • poor communication between shifts meant that the pump shutdown was not communicated to the following shift. Certain managerial shortcomings were also identified:
  • the company had neglected to commission a HAZOP (HAZard and OPerability) analysis of the heat exchange system, which would almost certainly have highlighted the risk of tank rupture caused by sudden temperature change;
  • Esso's two-tiered reporting system (from operators to supervisors to management) meant that certain warning signs such as a previous similar incident (on 28 August) were not reported to the appropriate parties;
  • the company's "safety culture" was more oriented towards preventing lost time due to accidents or injuries, rather than protection of workers and their health.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น