รายงานการทดสอบดิน ของโรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. และการเปรียบเทียบกับโรงงานอื่นๆ
รายงานการทดสอบดิน และการเปรียบเทียบ
3 โครงการในพื้นที่มาบตาพุด และอ้างอิง 1 โครงการ
1. โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ของ ปตท. PTT-GSP6 - ถ.สุขุมวิท หลังปั้ม ปตท. มาบตาพุด
2. โรงงาน พีทีทียูติลิตี้ PTT-UTILITIES - ถ.สายทางหลวง 3191 นิคมไออาร์แอล
3. โรงงานส่วนขยายของเอชเอ็มซี - ถ.ไอหนึ่ง ในนิคมมาบตาพุด
4. อ้างอิง โรงงานแพร็กแอร์ ที่อยู่ใน พื้นที่โรงแยกก๊าซ ปตท. ก่อสร้างฐานรากโดยการใช้เสาเข็มเจาะ
การเปรียบเทียบกับ 2 โครงการ คือ โครงการ เอชเอ็มซี และ โครงการ พีทีที ยูติลิตี้
พอสรุปเป็นข้อเปรียบเทียบได้ดังนี้คือ
กรณีออกแบบฐานรากมีเสาเข็ม
เปรียบเทียบ เสาเข็มเจาะ ขนาด 60 ซ.ม.ของ โครงการ เอชเอ็มซี
โรงแยกก๊าซ ปตท. ค่ารับน้ำหนัก อยู่ ระหว่าง 60-85 ตัน/ต้น
ที่ความลึกประมาณ 10-14 ม.
โรงงานเอชเอ็มซี ค่ารับน้ำหนัก อยู่ ระหว่าง 45-65 ตัน/ต้น
ที่ความลึกประมาณ 14-18 ม.
เปรียบเทียบ เสาเข็มตอกสี่เหลี่ยม ขนาด 40x40 ซ.ม. ของ โครงการ พีทีทียูติลิตี้
โรงแยกก๊าซ ปตท. ค่ารับน้ำหนัก อยู่ ระหว่าง 55-75 ตัน/ต้น
ที่ความลึกประมาณ 10-14 ม.
โรงงานพีทีทียูติลิตี้ ค่ารับน้ำหนัก อยู่ ระหว่าง 70-82 ตัน/ต้น
ที่ความลึกประมาณ 10-15 ม.
สรุป – ค่าดินกับการรับน้ำหนักของเสาเข็ม มีค่ามากกว่า โครงการเอชเอ็มซี ประมาณ 30% และน้อยกว่าโครงการ พีทีทียูติลิตี้ 10-15%

ภาพการเตรียมพื้นที่ ถมดินบดอัดปรับระดับ
แล้วเสร็จเมื่อ เดือน มกราคม 2551

รายงานการสำรวจ-ทดสอบดิน ของโรงแยกก๊าซ ที่ 6 ของ ปตท.
เมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ค่ารับน้ำหนักจากการเจาะสำรวจ ส่วนที่ขีดสีเขียว ต่ำกว่า 30 ตัน/ม2

ค่ารับน้ำหนักจากการเจาะสำรวจ ส่วนที่ขีดสีเขียว ต่ำกว่า 30 ตัน/ม2

ค่ารับน้ำหนักจากการเจาะสำรวจ ส่วนที่ขีดสีเขียว ต่ำกว่า 30 ตัน/ม2 นั้น
หลังจากที่มีการปรับปรุงดินแล้ว ให้ทั้งหมด รับน้ำหนักได้ 30 ตัน/ม2

การทดสอบโดยกดน้ำหนัก หรือ PLATE BEARING TEST ทำ 5 จุด
ที่ใช้อ้างอิงว่า ดินสามารถรับน้ำหนักประลัยได้มากกว่า 120 ตัน/ม2 4 จุด
และประมาณ 45 ตัน/ม2 1จุด
(น้ำหนักประลัย หมายถึงเมื่อกดแล้วดินจะทรุดตัวลง 1 นิ้ว)
แผนผังบริเวณที่ปรับปรุงดิน ถม-บดอัดใหม่
ถมบดอัดใหม่ ด้วยลูกรังและหินคลุก ในพื้นที่เจาะสำรวจแล้วได้ค่าต่ำกว่า 30 ตัน/ม2

รายงานการสำรวจ-ทดสอบดินของโรงงาน พีทีทียูติลิตี้
ได้ค่ารับน้ำหนักของเสาเข็มเพื่อออกแบบฐานราก



รายงานการสำรวจ-ทดสอบดินของโรงงาน พีทีทียูติลิตี้
ได้ค่ารับน้ำหนักของเสาเข็มเพื่อออกแบบฐานราก
และกำหนดให้ใช้ค่ารับน้ำหนักปลอดภัยของดิน
เท่ากับ 9.76 ตันต่อตารางเมตรหรือน้อยกว่า
สำหรับใช้ในการออกแบบฐานรากตื้น (ไม่มีเสาเข็ม)


รายงานการสำรวจ-ทดสอบดินของโรงงาน เอชเอ็มซี
ได้ค่ารับน้ำหนักของเสาเข็มเพื่อออกแบบฐานราก
และกำหนดให้ใช้ค่ารับน้ำหนักปลอดภัยของดิน 4-11 ตันต่อตารางเมตรต่างพื้นที่


โรงงานแพร็กแอร์ ที่อยู่ใน พื้นที่โรงแยกก๊าซ ปตท. ก่อสร้างฐานรากโดยการใช้เสาเข็มเจาะ


ภาพเปรียบเทียบความแข็งแรงของดิน

* งานถมดิน ตามรูปไม่มีการควบคุมให้ได้ค่ารับน้ำหนักของดิน 30 ตัน/ม2*
ตามการออกแบบ เพราะถมกลับด้วยดินเดิม ซึ่งงานลักษณะนี้
มีอยู่จำนวนมาก และมีความเร่งรัดสูง ในการถมบดอัด
และการก่อสร้างทำในช่วงฤดูฝน ทำให้การควบคุมยาก


ข่าวเกี่ยวกับ ปัญหาของดิน และฝน – ที่ทำให้ตึกขนาดใหญ่ ล้มทั้งยืน
ตึกถล่มในประเทศจีน : มีการออกแบบและอนุมัติอย่างถูกต้อง การล้มพัง มาจากเหคุฝนตกหนักและในบริเวณที่ก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ มีการขุดย้ายดิน สาเหตุการพังมาจากดินอ่อนตัว ดินไหล และเสาเข็มซึ่งออกแบบมาสำหรับแรงตามแนวดิ่ง และแรงถอน ซึ่งไม่ได้เผื่อแรงเฉือนจากโมเมนต์ส่วนเกินเมื่อทรุดเอียง – “ดังนั้นปัญหาของน้ำกับดิน กับองค์อาคาร เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง”





ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น