ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือแอลพีจี ในประเทศ หลังจากที่โรงแยกก๊าซโรงที่ 6 ของ ปตท. ได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดนั้น ได้เพิ่มความสามารถในการนำเข้าก๊าซแอลพีจีด้วยการบริหารจัดการคลังก๊าซเขาบ่อยาให้รับก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้นจาก 88,000 เป็น 110,000 ตันต่อเดือน
ตกลง พลังไทย พลังงานใคร - ตามไปอ่านต่อ * ผลประโยชน์ประชาชน ที่ประชาชนควรต้องรับรู้ * |
เขียนโดย สาวันณุ |
วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม 2010 เวลา 12:43 |
ชวนอ่าน เอกสารเผยแพร่ ของคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในคณะกรรมธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมภิบาล วุฒิสภา เรื่องพลังงาน ของคนไทย ที่คนไทยอาจยังไม่ทราบ อ่าน <- โหลดไปอ่าน และส่งต่อ |
เรื่อง ราคาก๊าซ - รายงานเก่า ที่ยังอ้างอิงได้
โดย
อ.วีระชัย ถาวรทนต์ weerachais@yahoo.com (weerachais@yahoo.com)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มีคำถามมากมายในกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายที่จะตรึงก๊าซหุงต้ม ต่อไปอีก ทั้งๆที่ต้องจ่ายค่าชดเชยราคาก๊าซ มหาศาล ทั้งในรูปที่มาจากกองทุนน้ำมันและรัฐ ทำไมไม่ใช่ความรับผิดชอบของ ปตท. * แก้ไขเพิ่มเติม
ก่อนอื่นต้องขออนุญาตย้อนไปในสมัยที่ยังทำงานในฐานะอนุกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้เคยให้ความเห็นต่อผู้แทนของกระทรวงพลังงานมาโดยตลอดว่า ผู้ส่งออกก๊าซหุงต้มตามมาตรา 7 นั้นมีกำไรเกินควร โดยสูงมากเกือบกิโลกรัมละ 8 บาท ในขณะที่เมื่อขายในประเทศมีค่าการตลาดเพียง 3.25 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นเงินกำไรส่วนเกินปีละเกือบ 10,000 ล้านบาท
ทำไมไม่เก็บภาษีส่งออกหรือหาวิธีการอื่นๆ ที่จะนำกำไรส่วนเกินเหล่านั้นซึ่งไม่ต้องเสียภาษีมาช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้ในประเทศให้ได้ใช้ก๊าซหุงต้มในราคาที่ถูกลง แต่กลับไม่มีคำตอบใดๆจากกระทรวงพลังงานเลย ในวันที่ 3 มิถุนายน 2549
ผมก็ได้เรียกร้องเรื่องนี้ผ่านรายการวิทยุอีกครั้งในคลื่น 90.5 โดยผมคิดว่าคนไทยน่าจะได้รับทราบความจริงกันบ้าง ดังนั้น จึงเป็นที่มาของบทความฉบับนี้ที่จะบอกกล่าวให้ประชาชนได้เข้าใจอย่างแท้จริง
ก๊าซหุงต้ม (LPG) มาจาก 2 ทาง กล่าวคือ เป็นผลพลอยได้ (by product, เรียกของเหลือจากการผลิตก็ได้) ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันในสัดส่วนประมาณ 40% ส่วนที่เหลือประมาณ 60% ซึ่งเป็นส่วนหลักนั้นได้จากผลพลอยได้ (by product) ที่เหลือมาจากการแยกก๊าซธรรมชาตินั่นเอง
เป็นหลักการที่ใช้มาตลอดและเป็นที่ยอมรับ ตัวอย่างเช่น ราคาก๊าซธรรมชาติที่ ปตท. ขายให้การไฟฟ้า คิดจากราคาเนื้อก๊าซเฉลี่ยที่ปากหลุม บวกกับค่ากำไร หรือ margin แล้วบวกกับต้นทุนส่วนเพิ่มที่คิดบนค่าผ่านท่อ
โดยหลักการของการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติตั้งแต่ปากหลุมนั้น ใช้วิธีคิดจากต้นทุน หรือ cost plus นั่นคือเอาต้นทุน บวกด้วยกำไรพอสมควร
ประเด็นก็คือว่า ก๊าซหุงต้ม (LPG) เมื่อเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ หรือผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน ต้นทุนส่วนเพิ่มจริงๆ นั้นเกือบไม่มีเลย เพราะการคิดต้นทุนการแยกก๊าซธรรมชาติ กับกำไรบางส่วนได้รวมอยู่ในราคาก๊าซธรรมชาติที่ขายให้การไฟฟ้า หรือขายให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ไปแล้ว
อีกด้านหนึ่งเช่นเดียวกันต้นทุนต่างๆ ของโรงกลั่นน้ำมันก็ได้สะท้อนอยู่ในค่าการกลั่นน้ำมัน และสะท้อนอยู่ในราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อเป็นดังที่กล่าว ก็อาจพอสรุปได้ว่า ก๊าซหุงต้ม (LPG) มีต้นทุนเพื่อให้ได้มาต่ำมาก เพราะต้นทุนส่วนใหญ่ได้ถูกสะท้อนไปกับราคาขายก๊าซธรรมชาติ และราคาน้ำมันสำเร็จรูปแล้ว
แต่โครงสร้างการตั้งราคาขายก๊าซหุงต้ม (LPG) กลับสวนทางอย่างสิ้นเชิงกับการตั้งราคาขายก๊าซธรรมชาติ โดยเอาราคาประกาศปิโตรมิน ของทางตะวันออกกลาง ที่ซาอุดีอาระเบีย เป็นเกณฑ์ หักด้วยค่าใช้จ่ายในการขนส่งจากซาอุฯ มากรุงเทพฯ คงที่ที่ 16
ราคาตามประกาศ ปิโตรมิน (ตั้งเป็นตุ๊กตา) 500
หักค่าขนส่ง - 16
คิดที่เพดาน 315
คิดอัตราแลกเปลี่ยน 40 บาทต่อ
ภาษีสรรพสามิต 2.17 บาทต่อกิโลกรัม
ภาษีเทศบาล 0.217 บาทต่อกิโลกรัม
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ชดเชย) -2.5301 บาทต่อกิโลกรัม
ราคาขายส่ง ณ คลังก๊าซ 12.4569 บาทต่อกิโลกรัม
(รัฐต้องชดเชยค่าขนส่งอีก 2-4 บาทต่อกิโลกรัม)
ค่าการตลาด 3.2534 บาทต่อกิโลกรัม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1.0997 บาทต่อกิโลกรัม
ราคาขายปลีก (รวม VAT) 16.8140 บาทต่อกิโลกรัม
ถึงแม้ว่าจะมีการตรึงราคาอยู่ทำให้รัฐต้องสูญเงินไปโดยเฉลี่ย 5 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับการชดเชยของกองทุนน้ำมันและค่าขนส่ง แต่ค่าการตลาดที่ผู้ค้าได้รับนั้นสูงถึง 3.25 บาทต่อกิโลกรัม เหมือนการันตีกำไรให้เอกชน โดยที่รัฐได้รายได้จากภาษีเพียง 3.4867 บาทต่อกิโลกรัม แต่รัฐกลับต้องชดเชยสูงถึงประมาณ 5 บาทต่อกิโลกรัม รัฐไม่ได้อะไรเลย
ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นเอกชนผู้ส่งออก ตามมาตรา 7 อาทิเช่น ปิคนิค, ปตท. ,สยามแก๊ส, worldgas, ยูนิค ,คาลเท็กซ์ คงส่งออกกันพอควร (ปตท.อาจจะมีหน้าที่หลักที่จะต้องจัดให้ผู้ใช้ในประเทศมีก๊าซหุงต้มใช้เพียงพอก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงส่งออก) วิธีการจัดสรรโควตาส่งออกในอดีตก่อนปี 2549 นั้น ใช้วิธีตกลงกัน จัดสรรกันเองในกลุ่มผู้ค้าตามมาตรา 7 โดยมีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเป็นเจ้าภาพในการตกลงกัน
จากตัวเลขเห็นได้เลยว่าได้กำไรขั้นต่ำอยู่แล้วประมาณเกือบ 200
คงต้องมีผู้ได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้ เป็นประเด็นที่นำสืบต่อไปน่าจะไม่ยาก เพราะผู้ค้าก๊าซหุงต้มตามมาตรา 7 ก็มีจำกัด อาทิเช่น ปิคนิคแก๊ส, ปตท.,สยามแก๊ส, worldgas, ยูนิค, คาลเท็กซ์ เป็นต้น ฉะนั้นน่าจะพอเห็นภาพพอควร และจะสามารถนำไปสู่วิธีที่จะทำให้ราคาก๊าซหุงต้มลดลงในระยะสั้น และระยะยาวดังนี้
1. จัดเก็บค่าโควตาการส่งออกก๊าซหุงต้ม (LPG) เหมือนกับการเก็บค่าพรีเมียมข้าวในอดีต แล้วออกกฎหมายนำมูลค่าเงินที่เก็บได้นำมาลดราคาค่าก๊าซหุงต้มที่ขายในประเทศ ทดลองคิดเก็บค่าโควตาการส่งออกที่ 3 บาทต่อกิโลกรัม เอกชนยังได้เยอะอยู่ถ้าส่งออก เพราะไม่ต้องเสียภาษีในประเทศเลย คำนวณง่ายๆ ดังนี้ เก็บค่าโควตาส่งออกที่ 3 บาทต่อกิโลกรัม หรือ 3,000 บาทต่อตัน จากปริมาณส่งออกโดยเฉลี่ยที่ 900,000 ตันต่อปี สำหรับปริมาณการใช้ในประเทศอยู่ที่ประมาณ 2.1 ล้านตันต่อปี มีประมาณ 1.155 ล้านตันใช้ในครัวเรือน (55%) ส่วนที่เหลือก็ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และขนส่ง
ถ้านำกำไรส่วนเกินจากการส่งออกดังกล่าวมาชดเชยให้ผู้ใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือนเท่านั้น โดยที่การชดเชยจากกองทุนน้ำมันยังเป็นเหมือนเช่นในปัจจุบัน ผลจะทำให้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือนจะลดลง 2.3 บาทต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 34.5 บาทต่อถัง สำหรับถังขนาด
ดังนั้น ในกรณีดังกล่าวนี้ก็จะสามารถลดราคาลงได้เท่ากับ 34.50 บาทต่อถัง นั่นคือประชาชนจะสามารถซื้อได้ที่ราคา 220.50 บาทต่อถัง (ไม่รวมค่าขนส่งถึงบ้าน) หรือถ้าจะนำกำไรส่วนเกินเหล่านี้มาชดเชยเงินที่กองทุนน้ำมันชดเชยอยู่ก็จะเป็นประโยชน์ ทำให้ไม่ต้องอ้างว่าขณะนี้รัฐได้ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ผลก็คือสามารถปล่อยลอยตัวได้เลยและประชาชนไม่ได้รับผลกระทบ
2. ในระยะยาว เห็นจะต้องเข้าไปสู่การปรับโครงสร้างการตั้งราคาก๊าซหุงต้ม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องอาศัยคณะกรรมการจากหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาถกเถียงกัน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องอาศัยหลักการการตั้งราคาที่ให้สะท้อนต้นทุนส่วนเพิ่มที่แท้จริง ไม่ใช่กำหนดเพดานไว้ที่ 315
ในเมื่อโครงสร้างก๊าซธรรมชาติตั้งแต่ต้นทางจากอ่าวไทยนั้นใช้หลักการต้นทุนเป็นตัวตั้งราคา แต่พอมาเป็นก๊าซหุงต้มซึ่งเป็นผลพลอยได้แท้ๆ กลับเปลี่ยนไปใช้ราคาที่แพงขึ้น หรือเป็นราคากลางที่ซาอุฯ เหล่านี้ไม่เป็นธรรมกับคนไทยเจ้าของประเทศอย่างแน่นอน
3. ค่าการตลาดที่สูงถึง 3.25 บาทต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 1.625 บาทต่อลิตรนั้น ควรจะพิจารณาทบทวนลดลง เพราะสูงมากเมื่อเทียบกับน้ำมันสำเร็จรูปที่ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1 บาทต่อลิตร อีกทั้งบางช่วงยังไม่ถึง 1 บาทต่อลิตรเลย ทำไมต้องทำให้เอกชนที่เป็นผู้ค้าก๊าซหุงต้มมีกำไรเกินปกติด้วย
กล่าวโดยสรุปพวกเราคนไทยน่าจะพอคิดได้ว่าการบริหารจัดการด้านพลังงานของประเทศนั้น มีผลประโยชน์ซ่อนอยู่กลับกลุ่มคนบางกลุ่ม ไม่ใช่เป็นประโยชน์ของคนไทยทั้งประเทศ น่าจะถึงเวลาแล้วที่พวกเราคนไทยควรที่จะเรียกร้องการปรับโครงสร้างธุรกิจพลังงานทั้งระบบอย่างจริงจัง เอาไว้ในบทความต่อๆ ไป จะเริ่มตีแผ่โครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ และโครงสร้างค่าไฟฟ้ากันต่อไป
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ปตท.พลังไทย เพื่อใคร? - รายงานเก่าที่อ้างอิงได้
ฝ่ายเผยแพร่เพื่อการมีส่วนร่วม เรียบเรียง
“มีคนเคยตั้งคำถามกับเราว่า กำไรของ ปตท. กลับคืนไปที่ใคร?”
ที่... ปากท้อง ที่... สมอง ที่... รอยยิ้ม ที่.... ลมหายใจ ที่... ชีวิต ........
ผู้คนทั่วไปคงคุ้นหูคุ้นตากับโฆษณาของ ปตท. ซึ่งเผยแพร่ให้ดูทางทีวีตลอดช่วงปีที่ผ่านมาเป็นอย่างดี อย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ นี่เป็นโฆษณาที่ทำออกมาได้ดีอย่างยิ่ง ทั้งภาพและเสียงชวนให้ใครๆ เคลิบเคลิ้มคล้อยตามไปกับเนื้อหาที่สื่อออกมาให้เห็นถึงคุณูปการของผู้บริหาร ปตท. และรัฐบาล ซึ่งทำให้กับประชาชนคนไทยทั้งประเทศ จนรู้สึกซาบซึ้งจนน้ำตาเล็ดน้ำตาไหล
แต่หากได้รับรู้ข้อมูลต่อไปนี้ ความรู้สึกของคุณอาจเปลี่ยนไป
ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน นักวิชาการอิสระ๑ ซึ่งทำงานวิเคราะห์วิจัยให้ภาคประชาชนในเรื่องพลังงาน ได้ทำรายงานการศึกษาในเรื่องของการแปรรูป ปตท. โดยชี้ให้เห็นว่า ปตท. หรือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่ถูกแปรรูปโดยใช้ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ และโอนสิทธิประโยชน์ อำนาจรัฐให้แก่บริษัท ทั้งสิทธิในการผูกขาดกิจการท่อก๊าซ สิทธิในการเวนคืน สิทธิในการยกเว้นภาษีต่างๆ เมื่อมีการเปิดขายหุ้นเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๔ นั้น หุ้นถูกจองหมดภายในเวลา ๑:๑๗ นาที ซึ่งหุ้นที่ขายในขณะนั้นราคา ๓๕ บาทต่อหุ้น ปัจจุบันราคาหุ้น ปตท. ได้พุ่งสูงขึ้นมาอยู่ที่ ๒๐๘ บาทต่อหุ้น เป็นการเพิ่มสูงขึ้นถึง ๖ เท่าภายในเวลาเพียง ๔ ปีเท่านั้น
เธอได้ระบุไว้ในรายงานว่า บทเรียนจากการแปรรูป ปตท. นั้น คือ
๑. เป็นการแปลงทรัพย์สมบัติชาติและอำนาจอธิปไตย ให้เป็นทุนของคนกลุ่มหนึ่ง จากเดิม ปตท. เป็นองค์กรของรัฐที่ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ กลับกลายเป็นบริษัทเอกชนซึ่งดำเนินการเพื่อกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้น ปตท. ได้กลายเป็นแหล่งแสวงหาผลประโยชน์ของญาติสนิทและผู้ใกล้ชิดของผู้นำรัฐบาล ดังที่ระบุไว้ว่า “จากข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ปตท.และรายชื่อคณะกรรมการ ปตท.เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่มาดำรงตำแหน่งระดับสูงของ ปตท. นั้นส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการ และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในรัฐบาล โดยเฉพาะตระกูลชินวัตร เช่น คณะกรรมการ ปตท. นาย
๒. เป็นการแปรรูปสิทธิผูกขาดให้กลายเป็นใบ อนุญาตตลอดชีพให้บริษัทเอกชนล้วงกระเป๋าผู้บริโภค แม้ปัจจุบัน ปตท.จะมีสถานะเป็นบริษัท แต่ในการแปรรูป ปตท.นั้น ได้มีการโอนสิทธิประโยชน์ในฐานะรัฐวิสาหกิจและอำนาจรัฐบางอย่างให้แก่ ปตท. ด้วย ที่สำคัญได้แก่ สิทธิในการผูกขาดกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สิทธิในการเวนคืน และสิทธิในการยกเว้นภาษีต่างๆ เป็นต้น ดังจะเห็นได้ว่า ปัจจุบัน ปตท.ยังคงเป็นผู้ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวในการจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย จึงแทบจะปราศจากความเสี่ยงในการลงทุน
๓. อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคำมั่นสัญญาของรัฐบาล รัฐบาลเคยให้คำมั่นสัญญาไว้กับประชาชนก่อนจะแปรรูปว่า จะแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากธุรกิจส่วนอื่นภายใน ๑ ปี เพื่อเปิดทางให้มีการแข่งขันลดการผูกขาดการจัดหาก๊าซ และจะจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสาขาก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้าที่มีพระราชบัญญัติรองรับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค แต่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น
๔. ผลประโยชน์นักเล่นหุ้นสำคัญกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม สำหรับนักลงทุนนั้นรัฐกลับประกันผลตอบแทนการลงทุนขยายท่อก๊าซให้อย่างงาม (IRROE = ๑๖ เปอร์เซ็นต์) โดยนายแพทย์
๕. อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจ “ธรรมาภิบาล” ของรัฐบาลผ่านตลาดหุ้น เพราะธรรมาภิบาลผ่านกลไกของตลาดหุ้นไม่ใช่หลักประกันของประชาชน ข้ออ้างที่ว่า ปตท.ยังเป็นรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” นิยามไว้เพียงว่า รัฐจะต้องถือหุ้นในบริษัทอย่างต่ำ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ณ ปัจจุบัน ปตท. มีหุ้นส่วนเป็นของเอกชนถึง ๔๘ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งที่เหลือเป็นของรัฐบาลเพียงแค่ ๕๒ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อีกทั้งเรื่องการรั่วไหลของผลประโยชน์ซึ่งเคยเป็นของ ปตท. อันได้แก่ ผลกำไรนับแต่มีการแปรรูป จำนวน ๑๙๐,๒๘๔ ล้านบาท ซึ่งควรตกเป็นของรัฐ กลับต้องแบ่งไปให้เอกชนทั้งในรูปของเงินปันผล จำนวนกว่า ๑๗,๐๐๐ ล้านบาท และในรูปแบบของราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น จาก ๓๕ บาทต่อหุ้น เป็น ๒๐๘ บาทต่อหุ้น (ณ วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๘) ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ ๒๓๔,๐๐๐ ล้านบาท๒
รวมไปถึงการที่เจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารของกระทรวงพลังงานซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงในการดูแลผลประโยชน์ในเรื่องพลังงาน และปากท้องของผู้ใช้พลังงาน กลับทำงานโดยหวังเบี้ยประชุมในการประชุมแต่ละครั้ง (ครั้งละไม่ต่ำกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท) และเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทมากกว่ารักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
และนอกจากผู้ถือหุ้นบริษัท ปตท. ที่ได้ รับประโยชน์เป็นกอบเป็นกำจากการแปรรูป ปตท. แล้ว พนักงานบริษัท ปตท. เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้ว่า ค่าจ้างพนักงาน ปตท. ในปี ๒๕๔๓ ที่ได้รับเฉลี่ย ๘๑๗,๐๐๐ บาท/คน/ปี เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย ๑,๑๔๒,๐๐๐ บาท/คน/ปี ในปี ๒๕๔๖ หรือเพิ่มขึ้นถึง ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลาเพียง ๓ ปี
สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนโดยตรง ซึ่งนั่นคือ
น้ำมัน ก่อนการแปรรูป ปตท.เคยมีบทบาทหลักในการตรึงราคาน้ำมันในภาวะที่ราคาในตลาดโลกสูง ซึ่งเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ ไม่ใช่คิดถึงผลประโยชน์ของ ปตท.เป็นตัวตั้ง แต่หลังจากแปรรูป ปตท.แล้ว เมื่อรัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมัน รัฐต้องใช้กองทุนน้ำมันในการตรึงราคาน้ำมัน ซึ่งขณะนั้น (มีนาคม ๒๕๔๘) ปรากฏว่ากองทุนน้ำมันมีหนี้สะสมจากการตรึงราคาน้ำมันถึง ๗ หมื่นล้านบาทแล้ว ในขณะที่การบริโภคน้ำมันไม่ได้ลดลงตามกลไกราคาที่แท้จริง หนี้สินก้อนมหึมานี้จะกลายเป็นภาระของผู้บริโภคในอนาคต เพราะเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง รัฐบาลก็จะไม่สามารถลดราคาน้ำมันในประเทศได้ เนื่องจากต้องหาเงินไปชดเชยกองทุนน้ำมัน โดยสรุปแล้ว ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากการตรึงราคาน้ำมันก็คือ ปตท. ในฐานะผู้ขายน้ำมัน
ก๊าซหุงต้ม ก่อนการแปรรูป รัฐบาลใช้นโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้มเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ก๊าซในราคาถูก แต่ในปี ๒๕๔๔ ซึ่งมีการแปรรูป ปตท. รัฐบาลได้ประกาศราคาก๊าซหุงต้มลอยตัว ทำให้ราคาสูงขึ้นเป็นลำดับ จากราคาถังละ ๑๖๐ บาท ปัจจุบันราคาถังละเกิน ๓๐๐ บาทแล้ว ก๊าซหุงต้มถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชั้นล่าง และส่วนหนึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถแท็กซี่ แต่ก๊าซหุงต้มถือเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และ ปตท.กำลังหาช่องทางที่จะจำหน่ายเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นอีก
อีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันธุรกิจของปตท. มีเป้าหมายหลักอยู่ที่กำไรสูงสุดโดยการผลักภาระให้ประชาชนก็คือ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๗ ปตท.ได้ลดการส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยให้แก่ กฟผ.ปริมาณ ๑๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพื่อนำก๊าซจำนวนดังกล่าวไปให้แก่ภาคอุตสาหกรรมเอกชน ซึ่งได้ราคาสูงกว่า กฟผ. ทำให้ กฟผ. ต้องใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าแทนเป็นเวลา ๑๐ เดือน โดยต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น ๑,๕๐๐ ล้านบาททำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าเอฟทีเพิ่มขึ้น ๑๕๐ – ๒ สตางค์ต่อหน่วย (นสพ.กรุงเทพธุรกิจ, ๒๒ พ.ย.๔๗) ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นหากรัฐบาลได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ก่อนแปรรูป โดยการเปิดให้มีการแข่งขันในธุรกิจจัดหาก๊าซ และมีการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมากำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ
สรุปแล้ว บทเรียนจากกรณี ปตท. คือ การแปรรูป... คือ การปล้นเงียบ และปล้นอย่างถูกกฎหมาย อย่างสง่างาม แล้วเราควรจะปล่อยให้ กฟผ. เจริญรอยตาม ปตท.?
คงต้องขอปิดท้ายด้วย โฆษณา ปตท. โดย ทีมงาน ผู้จัดกวน ที่ว่า
“เราอยากให้ทุกคนรู้ว่า กำไรของกลุ่มบริษัท ปตท. ๓๐ เปอร์เซ็นต์ กลับไปสู่คนบางจำพวก
เป็นงบประมาณในการพัฒนาครอบครัวกลุ่มผู้ถือหุ้น
ซึ่งเป็นการขูดรีดเลือดเนื้อประชาชนจากกำไรมหาศาลของโรงกลั่นและก๊าซธรรมชาติ
ปตท. แข็งแรงเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของนายทุน
บริษัท ปตท. จำกัด (บางคน)
พลังไทย เพื่อใคร?”
เรียบเรียงจาก
- บทเรียนจากการแปรรูป ปตท. โดย ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน นักวิชาการอิสระ
- ประสบการณ์จากกรณี ปตท. แปรรูป...ประชาชนได้อะไร? กลุ่มพลังไท/กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต
- www.manager.co.th
--------------------------------------------------------------------------------
« เมื่อ: 27 มกราคม 2010, 01:23:16 PM »
--------------------------------------------------------------------------------
ใครดูรายการของคุณ
ได้คุยเรื่องน้ำมันในประเทศไทย ฟังเเล้วช๊อคจริงๆครับเพื่อนๆ
ทางคุณสัญาได้เชิญอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงพลังงานมาเล่าให้ฟัง
ซึ่งผู้ใหญ่ท่านนี้เป็นข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพลังงานในสมัยพลเอกเปรม
ได้ฟังท่านเล่าเเล้วผมขนลุก...ครับ
ผมเข้าใจผิดมาตลอดว่าเมืองไทยไม่สามารถผลิตนำมันได้เองต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
ซึ่งท่านบอกว่าเมืองไทยมีกำลังผลิตได้ 1,000,000 บาร์เรล/วัน(ปตท.)
เเละเมืองไทยใช้น้ำมันวันละ 700,000 บาเรล/วัน
เเละเมืองไทยส่งออกน้ำมันประมาณ 100,000 บาเรล/วัน
ฟังเเล้วเพื่อนคิดยังงัยครับ
เเละที่เเย่กว่านั้น..น้ำมันที่ส่งออกไปขายในต่างประเทศราคาถูกกว่าที่ขายในเมืองไทยหลายบาทถ้าเทียบต่อลิตร
ตอนนี้มาเลเซียใช้น้ำมันเบนซินเเละดีเซลประมาณลิตรละ 20 บาทต้นๆ
ท่านบอกว่าสาเหตุที่ทำให้น้ำมันราคาเเพง เพราะว่าอธิบดีหรือผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงพลังงานถือหุ้นบริษัทโรงกลั่น
ทำให้ไม่มีการเข้ามาจัดการเเละดูเเล
ราคาที่ปรับขึ้นทีละ .50 บาทเป็นการขึ้นจากโรงกลั่นซึ่งราคาที่ปรับขึ้นไม่ได้มาจาก cost ต้นทุน
เเต่ป็นราคาที่ตั้งขึ้นมาลอยๆ โดยอ้างอิงจากตลาดที่ผันผวนมากที่สุด
ในที่นี้ท่านยกตัวอย่างตลาดสิงคโปร์ เเต่จริงๆเราซื้อจากตะวันออกกลาง
เเละอีกอย่างที่น่าตกใจ ท่านบอกว่าในประเทศไทยมี stock น้ำมัน 2 เดือนเเละหมุนเวียนอย่างนี้เรื่อยๆ
พอเวลากระทรวงปรับน้ำขึ้นพวกพ่อค้าเอาน้ำมันใน stock มาปรับขึ้นด้วย
คิดดูเอาเองว่าเป็นเงินเท่าไหร่
ไทยใช้ 700,000 บาเรล/วัน ( 1 บาเรล =
2 เดือนกี่ลิตร ลิตรละ .50 บาท ลองคูณดู
บริษัทที่ได้กำไรเยอะมากคือ ปตท เพราะมีโรงกลั่น 5 โรง อีก 2 โรงเป็นของเอกชน
รวมในประเทศไทยมีโรงกลั่น 7 โรง เป็นของ ปตท 5 โรง
เเล้วท่านสรุปกำไรของปตทในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ประมาณปี 2540-2544 ปตท กำไรปีละ 22,000 ล้านบาทครับ
ฟังเเล้วเป็นงัยครับพี่น้อง...
กำไรเท่ากับงบประมาณ 1 กรมเลยทีเดียว
เเละที่สุดยอดกว่านั้น ปี 2545-2550 ปตทกำไรเพิ่มเป็น 50,000ล้านบาท/ปี
เเละที่สุดๆ คือ ในปี 2548 กำไร 195,000 ล้านบาท
ฟังเเล้วอยากให้ลูกทำงานบริษัท ปตท มั้ยครับเพื่อนๆ
กำไรดังกล่าวมาจากอะไรลองคิดดูครับ
ประชาชนตาดำๆอย่างเราเสียค่าน้ำมันลิตรละ 36 บาท
ถ้าเป็นรัฐบาลก่อนๆ น้ำมันขึ้น 3 บาท รัฐมนตรี นายก ต้องก้นร้อนเเล้ว
เเล้วรัฐบาลน ี้ล่ะ..ตอนนี้ขึ้นไปกี่บาทเเล้ว เพื่อนๆลองคิดดูเเล้วกัน
ถ้า ปตท ลดกำไรลงเท่ากับ 20,000 ล้านบาท/ปี
เเค่นี้เราก็ใช้นำมันลิตร 20 บาทเเล้วครับ
(นี่เเหละเหตุผลที่ไม่อยากให้เเปรรูปอุตสาหกรรมพวกนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน)
นี่คือเหตุผลว่าทำไมพนักงานการไฟฟ้าถึงได้ประท้วงเวลามีการเเปรรูป
เพราะมันจะเป็นเหมือนน้ำมัน ซึ่งพอเข้าตลาดหุ้นจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนตามมา
อธิบดี รัฐมนตรี เมียอธิบดี เมียรัฐมนตรี ถือหุ้นโรงกลั่น
ทำให้ไอ้พวกนี้ไม่เข้าไปดูเเลเเละจัดการอย่างจริงจัง
ทำให้น้ำมันเเตะลิตรละ 40 บาทเเล้ว ณ ปัจจุบัน
มาร่วมมือกันดีไหม...
ด้วยการเติม esso, shell
และถ้าจะให้ดีกว่านี้..เราต้องร่วมมือกันไม่ซื้อมากกว่าที่จำเป็นต้องใช้
ถ้าทุกครั้งเราเคยเติม 1000 บาทหรือเต็มถ้ง.. คราวนี้เราจะไม่เติมมากกว่าที่เราจำเป็นต้องใช้
ตัวอย่างเช่น วันนี้จะวิ่ง
จะวิ่งอีก
จะวิ่งอีก
อย่าเติมเยอะ...
ไม่ต้องไปตุนเพราะกลัวว่าพรุ่งนี้จะขึ้นราคา
คราวนี้สต็อกน้ำมันในคลังก็จะล้น
เพราะปริมาณที่เคยขายทุกวันก็จะถูกเลื่อนให้ต้องเก็บไปขายในอนาคต
ถ้ามันยังอยากขายก็ต้องลดราคาลงมา ให้มันรู้ว่าไผเป็นไผ
เคยมีคนศึกษากรณีไข่ไก่แพง และได้ลองทำล้กษณะนี้ได้ผลมาแล้ว
สั่งสอนให้บทเรียนมันหน่อย เริ่มลงมือปฏิบัติการได้เลย
ไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย ขอเพียงช่วยกันกระจายข่าวไปให้มากที่สุด
สามัคคีคือพลัง...
ส่งมาให้อ่านกันเพราะอยากให้ราคาน้ำมันลดลงจริงๆ
พวกเราโดนโอเปครวมหัวขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรม ก็น่าจะมีมาตรการที่จะต่อสู้ ตอบโต้กลับไปบ้าง
ข้อเสนอนี ้ก็น่าจะเป็นข้อเสนอหนึ่งที่ถ้าร่วมกันทำจริงๆ ก็น่าจะแสดงอะไรออกมาได้บ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น