ข่าวกดดันศาล - ที่จะขอให้หยุดเพื่อให้มีการตรวจสอบ ซ่อมสร้าง เสริมความแข็งแรง มีการขบวนการติดตาม จนหมดความเสี่ยง ที่จะก่อหายนะภัย
คาดไทยหนีไม่พ้นนำเข้าแอลพีจีถาวร ผู้ค้าจ่อขอขยับราคา 3-4 บาท
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
3 ตุลาคม 2553 20:41 น.
3 ตุลาคม 2553 20:41 น.
จับตาไทยอาจต้องนำเข้าแอลพีจีถาวร หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ แม้โรงแยกก๊าซฯ 6 เกิด แต่การใช้ยังคงขยับเพิ่มขึ้น ขณะที่โรงแยกฯ 7 เกิดยาก เหตุก๊าซฯ เหลือน้อย แถมเจอมาตรการตรึงราคา ธพ.ถกประเมินแผนนำเข้าสัปดาห์นี้ แย้มราคาภาคครัวเรือนอาจได้เฮ แต่ภาคขนส่งและอุตสาหกรรมจุก ด้านผู้ค้าแอลพีจีจ่อขอขยับราคา 3-4 บาทต่อถัง 15 กิโล หลังสิ้นมาตรการตรึงราคาก.พ.54
นายพีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้จะเรียกประชุมโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อประเมินภาพรวมความจำเป็นในการนำเข้าแอลพีจี (ก๊าซหุงต้ม) ว่าจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใด หลังโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งที่ 6 ของบมจ.ปตท. เตรียมจะผลิตได้ในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้ โดยคาดว่าไทยคงยังต้องนำเข้าแอลพีจีระดับหนึ่ง นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังจะนำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการพิจารณาปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีภายหลังหมดมาตรการตรึงราคาช่วงสิ้นก.พ.2554
”รัฐบาลย้ำเสมอว่าจะยังต้องให้ความสำคัญในการดูแลแอลพีจีในภาคครัวเรือน โดยให้แยกราคาเฉพาะภาคขนส่งและอุตสาหกรรม เมื่อมีโรงแยกก๊าซ 6 ก็ยิ่งง่ายขึ้นที่จะดู เพราะนำเข้าจะลดลงอยู่แล้ว แต่ท้ายสุดโครงสร้างราคาจะออกมาแบบใดคงอยู่กับนโยบายการเมืองด้วย”นายพีระพลกล่าว
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันการนำเข้าแอลพีจี (ก๊าซหุงต้ม) ของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 แสนตันต่อเดือน ขณะที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งที่ 6 ของบมจ.ปตท. มีกำลังผลิตเพียง 1 แสนตันต่อเดือน ดังนั้น เบื้องต้นไทยยังต้องนำเข้าแอลพีจี 5หมื่นตันต่อเดือน และหากรัฐบาลไม่มีการปรับโครงสร้างราคา หลังหมดมาตรการตรึงราคาแอลพีจีก.พ.2554 ก็จะยิ่งส่งเสริมการใช้ให้สิ้นเปลือง และท้ายสุดการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นปัญหาหนักในระยะยาว โดยส่วนตัวเห็นว่าควรจะปรับขึ้นทุกภาคส่วนเพื่อไม่ให้กิดการลักลั่น
สำหรับการเกิดโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งที่ 7 ในอนาคต คงจะเป็นเรื่องลำบาก เนื่องจากการลงทุนจะไม่คุ้มค่า หากรัฐบาลยังกำหนดเพดานราคาหน้าโรงแยกฯ ไม่ให้เกินระดับ 330 เหรียญต่อตัน ขณะเดียวกันปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่พิสูจน์แล้วจะสามารถใช้ได้เฉลี่ยเพียง 17 ปีเท่านั้น ประกอบกับการจะเกิดขึ้นจะต้องมีความต้องการที่มากพอ คือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จะมารองรับ ซึ่งมีปัญหาว่าจะเกิดในพื้นที่ใด เพราะพื้นที่แถบมาบตาพุดคงจะเกิดลำบาก
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปีมา ผู้ค้ามาตรา 7 ได้พิจารณาลดการอุดหนุนค่าขนส่งแก่โรงบรรจุก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากมีภาระในการดูแลค่าซ่อมบำรุงถังและต้นทุนต่างๆ เพิ่มขึ้น
เช่นเดียวกันโรงบรรจุและร้านจำหน่ายที่มีต้นทุนทั้งค่าขนส่งและค่าแรงที่เพิ่มขึ้น แต่ค่าการตลาดแอลพีจียังคงเท่าเดิม เนื่องจากรัฐบาลประกาศตรึงราคาจนถึงก.พ.2554 โดยภาพรวมขณะนี้มีการแบกรับภาระรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 3-4 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ดังนั้น สมาคมฯ จึงอยู่ระหว่างรวบรวมเพื่อที่จะเสนอรัฐบาลพิจารณาปรับราคาให้ผู้ประกอบการในส่วนนี้หลังหมดมาตรการตรึงราคา
นายพีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้จะเรียกประชุมโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อประเมินภาพรวมความจำเป็นในการนำเข้าแอลพีจี (ก๊าซหุงต้ม) ว่าจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใด หลังโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งที่ 6 ของบมจ.ปตท. เตรียมจะผลิตได้ในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้ โดยคาดว่าไทยคงยังต้องนำเข้าแอลพีจีระดับหนึ่ง นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังจะนำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการพิจารณาปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีภายหลังหมดมาตรการตรึงราคาช่วงสิ้นก.พ.2554
”รัฐบาลย้ำเสมอว่าจะยังต้องให้ความสำคัญในการดูแลแอลพีจีในภาคครัวเรือน โดยให้แยกราคาเฉพาะภาคขนส่งและอุตสาหกรรม เมื่อมีโรงแยกก๊าซ 6 ก็ยิ่งง่ายขึ้นที่จะดู เพราะนำเข้าจะลดลงอยู่แล้ว แต่ท้ายสุดโครงสร้างราคาจะออกมาแบบใดคงอยู่กับนโยบายการเมืองด้วย”นายพีระพลกล่าว
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันการนำเข้าแอลพีจี (ก๊าซหุงต้ม) ของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 แสนตันต่อเดือน ขณะที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งที่ 6 ของบมจ.ปตท. มีกำลังผลิตเพียง 1 แสนตันต่อเดือน ดังนั้น เบื้องต้นไทยยังต้องนำเข้าแอลพีจี 5หมื่นตันต่อเดือน และหากรัฐบาลไม่มีการปรับโครงสร้างราคา หลังหมดมาตรการตรึงราคาแอลพีจีก.พ.2554 ก็จะยิ่งส่งเสริมการใช้ให้สิ้นเปลือง และท้ายสุดการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นปัญหาหนักในระยะยาว โดยส่วนตัวเห็นว่าควรจะปรับขึ้นทุกภาคส่วนเพื่อไม่ให้กิดการลักลั่น
สำหรับการเกิดโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งที่ 7 ในอนาคต คงจะเป็นเรื่องลำบาก เนื่องจากการลงทุนจะไม่คุ้มค่า หากรัฐบาลยังกำหนดเพดานราคาหน้าโรงแยกฯ ไม่ให้เกินระดับ 330 เหรียญต่อตัน ขณะเดียวกันปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่พิสูจน์แล้วจะสามารถใช้ได้เฉลี่ยเพียง 17 ปีเท่านั้น ประกอบกับการจะเกิดขึ้นจะต้องมีความต้องการที่มากพอ คือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จะมารองรับ ซึ่งมีปัญหาว่าจะเกิดในพื้นที่ใด เพราะพื้นที่แถบมาบตาพุดคงจะเกิดลำบาก
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปีมา ผู้ค้ามาตรา 7 ได้พิจารณาลดการอุดหนุนค่าขนส่งแก่โรงบรรจุก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากมีภาระในการดูแลค่าซ่อมบำรุงถังและต้นทุนต่างๆ เพิ่มขึ้น
เช่นเดียวกันโรงบรรจุและร้านจำหน่ายที่มีต้นทุนทั้งค่าขนส่งและค่าแรงที่เพิ่มขึ้น แต่ค่าการตลาดแอลพีจียังคงเท่าเดิม เนื่องจากรัฐบาลประกาศตรึงราคาจนถึงก.พ.2554 โดยภาพรวมขณะนี้มีการแบกรับภาระรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 3-4 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ดังนั้น สมาคมฯ จึงอยู่ระหว่างรวบรวมเพื่อที่จะเสนอรัฐบาลพิจารณาปรับราคาให้ผู้ประกอบการในส่วนนี้หลังหมดมาตรการตรึงราคา
กรณีศึกษาต่อไปนี้ บอกอะไร ให้เห็น-เข้าใจเรื่องความเสี่ยงสูง
กรณีศึกษาการก่อสร้างเจดีย์วัดเขาสุกิม
การเลือกใช้ฐานรากตื้น เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ ทางเลือกที่จะสร้างถาวรศาสนสถาน
สรุปว่า - เลือกใช้เสาเข็มเจาะ
ดินแข็งถึงแข็งมาก ดินแน่นถึงแน่นมาก ค่าดินรับน้ำหนัก 40 ตัน/ม2
ก่อสร้างบนพื้นที่ดินไม่มีการปรับถมใหม่ ในการก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้น
ของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นครราชสีมา
จากภาพตัวอย่างด้านบนทั้งหมด ทำให้เห็นภาพความเสี่ยง ของโรงแยกก๊าซ ปตท. ที่ไม่ยอมตอกเสาเข็มโดยอ้างว่าดินแข็งแรงมากกว่าโรงงานอื่นๆ ในพื้นที่มาบตาพุด ถึง 3 เท่า
โรงแยกก๊าซ ปตท. อ้างว่าดินแข็งแรงมากรับน้ำหนักได้ 90 ตัน/ม2
และใช้เพียง 30 ตัน/ม2 ในการออกแบบ จึงไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มทั้งหมด
ไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ก้อผ่านไป แต่ถ้ามีปัญหาหยุดไม่ได้คุมไม่อยู่
ประเทศนี้จะมีปัญหา จึงไม่ใช่แค่ปัญหาสิ่งแวดล้อม
และชีวิตผู้คนประชาชนในพื้นี่เสี่ยงหายนะภัยเท่านั้น
หยุดสักพัก เพื่อการครวจสอบ-ติดตาม-แก้ไข อย่าฝืนดันทุรังกันต่อไปเลย
การปรับถมดินใหม่ ก่อนการทดสอบดิน
ไม่ต่างกับการถมดินสร้างบ้านจัดสรร
มีการถมดินใหม่ประมาณ แสนคิว
และกดทดสอบในชั้นดินถมที่ความลึก 1.5 ม.
ได้ค่ารับน้ำหนัก สูงกว่า 120 ตัน/ม2
แต่ใช้เพียง 90 ตัน/ม2 เพื่อใช้ในการออกแบบฐานราก
***
ดูภาพเปรียบเทียบ การใช้ค่ารับน้ำหนักของดินที่โคราช 20 ตัน/ม2 ที่ใช้ในการออกแบบ
กับของโรงแยกก๊าซ ปตท. ที่ใช้ 30 ตัน/ม2
พื้นที่เป็นแอ่งน้ำที่อ้างว่าดินแข็งแรงที่สุด
เหตุก๊าซระเบิดในที่ต่างๆของโลกที่มักควบคุมยากอย่างยิ่งยวด แม้ทุกที่มีมาตรฐานสากล
สนพ.เผยความต้องการใช้ก๊าซ “แอลพีจี” ปี 54 ยังขยายตัวสูง 8-9% ชี้ ต้นตอปัญหาความไม่ชัดเจนการขยายโรงแยกก๊าซที่ 6 ทำให้ไทยมีภาระนำเข้าก๊าซเพิ่มขึ้น คาดต้องนำเข้า 4-5 หมื่นตัน/เดือน แม้โรงแยกก๊าซที่ 6 จะเดินหน้าได้ แต่คงไม่เพียงพอในการจัดสรรให้ประชาชน
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เผยหลังหารือร่วมกับกรมธุรกิจพลังงาน โรงกลั่นน้ำมัน และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ เพื่อประเมินปริมาณการผลิตและการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) แล้ว พบว่า ปริมาณการใช้ปีหน้าจะยังขยายตัวที่ระดับ 8-9% และยังจำเป็นต้องนำเข้าไม่ต่ำกว่า 40,000-50,000 ตันต่อเดือน แม้โรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 6 จะกลับมาเดินเครื่องผลิตได้ในอีก 2 เดือนข้างหน้าก็ตาม แต่เนื่องจากปริมาณก๊าซแอลพีจีส่วนใหญ่จากโรงแยกก๊าซที่ 6 จะนำไปใช้ป้อนโรงงานปิโตรเคมีเป็นหลัก
สำหรับราคาก๊าซแอลพีจีในตลาดโลกปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมัน โดยสูงถึง 690 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ซึ่งส่งผลให้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องจ่ายส่วนต่างการนำเข้าให้แก่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพิ่มมากขึ้น แต่ภาพรวมยังไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการเรียกเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยปัจจุบันเงินกองทุนเชื้อเพลิงที่ไหลเข้ายังอยู่ระดับ 700-800 ล้านบาทต่อเดือน
ขณะที่การใช้ก๊าซแอลพีจีในส่วนของภาคอุตสาหกรรมพบว่ายังโตถึง 10% ภาคครัวเรือน 8-9% ส่วนภาคขนส่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง กระทรวงพลังงานยังมั่นใจว่าในปีหน้าจะสามารถเดินหน้าโครงการเปลี่ยนแอลพีจีในแท็กซี่เป็นเอ็นจีวีพบเป้าหมาย 20,000 คัน
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานมีนโยบายจะตรึงราคาแอลพีจีจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 และตามนโยบายนายกรัฐมนตรีกำหนดให้แยกราคา โดยให้ราคาภาคการขนส่ง และภาคครัวเรือนเป็นราคาแอลพีจีที่เกิดจากการผลิตก๊าซในประเทศ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมจะมีการลอยตัวตามตลาดโลก แนวทางนี้อาจจะทำให้การใช้ภาคอุตสาหกรรมไม่ขยายตัวมากนัก และยังเป็นการลดภาระเงินกองทุนที่จ่ายค่าชดเชยการนำเข้าแอลพีจีอีกด้วย
นอกจากนี้ สนพ.ยังร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดตัวโครงการนำร่อง เพื่อผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลระดับชุมชน โดยทาง สนพ.ได้สนับสนุนเงินจากกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 46 ล้านบาทในโครงการนี้ ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติสนับสนุนให้เอกชนผลิตอุปกรณ์แก๊สซิไฟเออร์ ในการนำเศษไม้ เศษพืชในชุมชน มาเผาแล้วได้เชื้อเพลิงทดแทนแอลพีจี ซึ่งสามารถนำไปผลิตไฟฟ้า หรือใช้ในอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี ที่ใช้ความร้อนในการดำเนินการ เช่น โรงแรม อุตสาหกรรมอาหาร โดยเบื้องต้นมีการดำเนินการ 11 โครงการ
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เผยหลังหารือร่วมกับกรมธุรกิจพลังงาน โรงกลั่นน้ำมัน และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ เพื่อประเมินปริมาณการผลิตและการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) แล้ว พบว่า ปริมาณการใช้ปีหน้าจะยังขยายตัวที่ระดับ 8-9% และยังจำเป็นต้องนำเข้าไม่ต่ำกว่า 40,000-50,000 ตันต่อเดือน แม้โรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 6 จะกลับมาเดินเครื่องผลิตได้ในอีก 2 เดือนข้างหน้าก็ตาม แต่เนื่องจากปริมาณก๊าซแอลพีจีส่วนใหญ่จากโรงแยกก๊าซที่ 6 จะนำไปใช้ป้อนโรงงานปิโตรเคมีเป็นหลัก
สำหรับราคาก๊าซแอลพีจีในตลาดโลกปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมัน โดยสูงถึง 690 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ซึ่งส่งผลให้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องจ่ายส่วนต่างการนำเข้าให้แก่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพิ่มมากขึ้น แต่ภาพรวมยังไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการเรียกเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยปัจจุบันเงินกองทุนเชื้อเพลิงที่ไหลเข้ายังอยู่ระดับ 700-800 ล้านบาทต่อเดือน
ขณะที่การใช้ก๊าซแอลพีจีในส่วนของภาคอุตสาหกรรมพบว่ายังโตถึง 10% ภาคครัวเรือน 8-9% ส่วนภาคขนส่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง กระทรวงพลังงานยังมั่นใจว่าในปีหน้าจะสามารถเดินหน้าโครงการเปลี่ยนแอลพีจีในแท็กซี่เป็นเอ็นจีวีพบเป้าหมาย 20,000 คัน
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานมีนโยบายจะตรึงราคาแอลพีจีจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 และตามนโยบายนายกรัฐมนตรีกำหนดให้แยกราคา โดยให้ราคาภาคการขนส่ง และภาคครัวเรือนเป็นราคาแอลพีจีที่เกิดจากการผลิตก๊าซในประเทศ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมจะมีการลอยตัวตามตลาดโลก แนวทางนี้อาจจะทำให้การใช้ภาคอุตสาหกรรมไม่ขยายตัวมากนัก และยังเป็นการลดภาระเงินกองทุนที่จ่ายค่าชดเชยการนำเข้าแอลพีจีอีกด้วย
นอกจากนี้ สนพ.ยังร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดตัวโครงการนำร่อง เพื่อผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลระดับชุมชน โดยทาง สนพ.ได้สนับสนุนเงินจากกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 46 ล้านบาทในโครงการนี้ ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติสนับสนุนให้เอกชนผลิตอุปกรณ์แก๊สซิไฟเออร์ ในการนำเศษไม้ เศษพืชในชุมชน มาเผาแล้วได้เชื้อเพลิงทดแทนแอลพีจี ซึ่งสามารถนำไปผลิตไฟฟ้า หรือใช้ในอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี ที่ใช้ความร้อนในการดำเนินการ เช่น โรงแรม อุตสาหกรรมอาหาร โดยเบื้องต้นมีการดำเนินการ 11 โครงการ