วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

ปัญหาตรงนี้ มันใหญ่กว่าเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะขณะนี้ ... เสี่ยงหายนะภัย

ภาครัฐ ทุกส่วนทุกฝ่ายรับรู้ แต่เย็นชาเฉยเมย มองกันแต่เรื่องปัญหาปากท้อง ทั้งที่...เสี่ยงสูงมากที่จะก่อเหตุอันตรายกับชีวิตผู้คนประชาชนจำนวนมาก และผู้ออกมาแจ้งเตือน บอกถึง สิ่งที่พวกตนสร้างเสร็จไปแล้วนั้น ว่าแข็งแรงไม่เพียงพอ

ถึงเวลานั้น เด็กๆ จะหนีไปตรงไหน ใครรู้รึยัง ผู้ใหญ่รู้ทางหนีทีไล่ แล้วเด็กๆ ล่ะ


สังคม เรียกร้องหา พยายามบ่มเพาะความมีจิตอาสา มีจิตสาธารณะ และเสียสละของผู้คนประชาชน แต่พอมี ผู้ออกมาดำเนินการ กลับมองว่าเป็นผู้เรียกร้องผลประโยชน์ รีดไถ ทั้งที่ได้ทำเพราะความกลัวและละอายที่จะต้องรู้สึกผิดบาปกับสิ่งต่างๆที่ดำเนินการไปแล้วนั้น ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุต้นตอที่จะก่อเหตุหายนะขึ้น รวมทั้งยังมีความพยายามหยุดยั้งเหตุภัยนี้ โดยส่งต่อให้หลายภาคส่วนของสังคม รวมทั้งขบวนการศาลปกครอง แต่ขณะนี้ ทุกฝ่ายกลับเงียบเฉยเย็นชา ทั้งที่สามารถระงับหรือบรรเทาเหตุได้ ซึ่งทางกลุ่มฯ ได้ส่งเรื่องราวนี้ ซ้ำๆ ไปยังหลายภาคส่วนแล้วดังนี้

นายกรัฐมนตรีและภาครัฐ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง
ขบวนการศาลปกครอง และนำกราบเรียนเสนอต่อ ประธานศาลปกครองสูงสุด
ประธานและคณะกรรมการ 4 ฝ่าย คณะอนุรับฟังประชาพิจารณ์ และกรรมการองค์การอิสระ
สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของ จังหวัดระยอง
ประธานคณะกรรมาธิการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งของสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
สื่อมวลชนต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต สื่อสิ่งพิมพ์
เครือข่ายประชาชนต่างๆ เครือข่ายสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมทั้งผู้ฟ้องคดีมาบตาพุด
ผู้นำ องค์กร-ชุมชน ต่างๆ 80 องค์กร ในพื้นที่มาบตาพุด และใกล้เคียง
องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ เจโทร(กรุงเทพ)
สมาชิก และประธานหอการค้าต่างๆ ทั้งใน และต่างประเทศ
องค์กรที่เกี่ยวข้อง และไม่เกี่ยวข้องอื่นๆ
ยื่นฟ้องศาลปกครองระยอง เรื่องการอนุมัติ-ดำเนินการก่อสร้างโรงงานเสี่ยง ศาลไม่รับคำฟ้อง
ยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ... อุทธรณ์ ขอให้ช่วยชีวิตผู้คนประชาชน ในพื้นที่เสี่ยงหายนะภัย

วันนี้ ... มีคนมาประท้วง เรื่องมาบตาพุด หลงดีใจ ที่แท้มาคนล่ะเรื่อง

ถ้าทุกโรงงานอุตสาหกรรม ก่อสร้างเลียนแบบ ปตท. ร่วมภาครัฐ - มักง่ายก่อสร้างโรงงานไม่แข็งแรง เร่งรีบเร่งร้อน ภายใน 2-3 ปี ประเทศนี้ จะมีโรงงาน ไม่แข็งแรง เต็มบ้านเต็มเมือง เหมือนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ที่อนุมัติถูกต้องตามกฎหมาย ก่อสร้างไม่แข็งแรงเพียงพอ รอวันทรุดพัง สร้างความเดือดร้อน ก่อเหตุหายนะภัย เพราะเป็นโรงงานสารเคมีอันตราย-ก๊าซไวไฟ

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

มาบตาพุด ที่ผู้คนในประเทศนี้ ไม่เข้าใจ เรื่อง...สิ่งแวดล้อม

นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เปิดเผยว่า เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก พร้อมด้วยเครือข่ายทุกภาคส่วนทั่วประเทศ ที่คัดค้านการประกาศ 11 ประเภทกิจการรุนแรง จะร่วมชุนนุมในวันที่ 30 กันยายนนี้ ตั้งแต่เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป บริเวณด้านหน้าศูนย์ราชการ จ.ระยอง โดยคาดว่าจะมีประชาชนใน จ.ระยอง และทั่วประเทศกว่า 3,000 คน เข้าร่วมชุมนุม เพื่อผลักดันให้รัฐบาลยกเลิกประกาศ 11 ประเภทกิจการรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน และให้มีการทบทวนใหม่ รวมทั้งผลักดันให้รัฐบาลจัดทำผังเมืองแนวป้องกันระหว่างโรงงานกับชุมชน และการแก้ไขลดปัญหามลพิษ โดยจะชุมนุมเป็นเวลา 3 วัน หลังจากนั้นจะพิจารณายกระดับการเคลื่อนไหวต่อไปหากยังไม่มีการทบทวนตามข้อเรียกร้อง
ที่ผ่านมา มีกระแสข่าวว่านายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ประกาศดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มผู้ชุมนุม หากเกินขอบข่ายกฎหมาย ทั้งนี้ นายสุทธิ ยืนยันว่า การชุมนุมยังคงเป็นไปตามกำหนดการ และจะควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวว่า นายกอร์ปศักดิ์ จะลงพื้นที่มาบตาพุดในวันที่ 30 กันยายนนี้ ด้วยเช่นเดียวกัน

กอร์ปศักดิ์ - เคยตอบว่า หมดหน้าที่เรื่องมาบตาพุดแล้ว จะมาทำอะไรแถวนี้ อีก ระวังนะ จะทำให้มาบตาพุด เดือดร้อน แบบ คกก.4 ฝ่าย มาทีไร ก๊าซรั่ว จนผู้คนเจ็บป่วย หลายร้อย คนไม่มีความจริงใจ อย่าลงมาเลยครับ ชาวบ้านเดือดร้อน

มาบตาพุด ที่บ่อยครั้ง ที่ถูกนำไปกล่าวขานถึง ในทางที่เลวร้ายด้านสิ่งแวดล้อม
แต่ ชาวบ้าน ชุมชน ผู้คนแถวนี้ กับมองว่า การมีโรงงานใหม่สร้าง ขยายโรงงาน จะมีคนงาน จะมีการหมุนเวียน มีคนเช่าบ้าน มีคนกินข้าว มีคนซื้อของ ...
หลายๆ เดือนมานี้ มีคนในระยอง คนกรุงเทพ มาขอให้ระงับ การดำเนินการต่างๆของโรงงาน อ้างว่าไม่ทำตาม กม. ยืดเยื้อยืดยาว ค่อนปี แม้ว่า วันนี้ที่ผู้คนในประเทศ มองปัญหามาบตาพุด ว่าเป็น ปัญหาระงับโครงการโรงงานต่างๆ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เลิกให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ วันที่มีคนไม่กี่คน ที่อ้างว่าเป็นตัวชุมชนต่างๆ ในมาบตาพุด ไปขอเป็น 1 ใน คกก.4 ฝ่าย เพราะอ้างว่า ไม่มีคนมาบตาพุดอยู่ในคณะกรรมการ เลย มีคนเอากุ้งย่าง อาหารทะเล ระยอง ไปให้นายกชิม กินแล้วไม่เห็นผื่นขึ้นหน้า แบบที่หลายๆคนบอกเลย ถึงตรงนี้ ... เชื่อหรือว่า เป็นกลุ่มนักธุรกิจด้านการท่องเที่ยว - โรงแรม ผมเชื่อว่า โรงแรมนั่นล่ะใช่ ... เพราะมีโรงงานมาก ต้องมีคนมาพักโรงแรมมาก คงคิดแค่นั้น ...

แล้วอะไร 11 ประเภทโครงการ ที่กำหนดเรื่องราวต่างๆ ข้อกำหนดต่างๆ ที่เอื้อภาคอุตสาหกรรม ถึงวันนี้ ทำไง ให้จบได้ แบบมีฉันทามติ สั้นๆง่ายๆ ของบางส่วน ที่บอกเอา 7 มารวม เป็น 18 นั่นคือจบ

บางคนบอกไม่ใช่ ... เอาแค่ นายก เชิญ กลุ่มรักสิ่งแวดล้อมไปนั่งคุย ออกทีวี แล้วมีการรับปากรับคำบ้าง ให้เป็นพิธี นั่นก็จบ

ถึงวันนี้ ... ใครจะจบแบบไหน เรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องกรอบเวลา เรื่องกระดาษ เรื่่องข้อกฎหมาย เรื่องที่บอกว่า โรงงานมาบตาพุด ที่เหมือนป้ายโฆษณาเสี่ยง ทำถูก กม. แต่ไม่แข็งแรง ผุดกันเป็นดอกเห็ดพิษ ฝนตกหนักพายุลมแรง เสี่ยงพังถล่ม กลายเป็นเรื่องที่ผู้คนไม่ใส่ใจ ... เคยถามว่า สนใจกันเฉพาะเรื่อง เคลื่อนไหวเเฉพาะบางรายการหรือเปล่า ถึงวันนี้ ความสงสัยมันยังอยู่ตรงนั้น

คนมาบตาพุดเสี่ยงตาย ไม่มีคนสนใจ แต่จะประท้วงเรียกร้องข้อกำหนด ที่หลายส่วน ของ 4 ฝ่าย หมกสารพัดเม็ด ที่ตบๆ ตัวเลขข้อความบางอย่าง มันจะจบแบบฉันทานุมัติ

วันนี้ มีคนประชดว่า "รอให้มันตูมตาม!" อะไรๆ จะได้ชัดเจนขึ้น เห็นความจริงใจ ความสนใจของหลายภาคส่วนในประเทศนี้ กันเสียที จะได้รู้ว่า หลายๆเรื่องที่มีปัญหา ในประเทศนี้ เพราะเรามีกลุ่มคนที่อาสาออกมาดูแล ... แล้ว แต่ ... ดูบางอย่างบางประเด็นเท่านั้น

เครือข่ายปชช.ตะวันออกประกาศชุมนุมหน้าศูนย์ราชการ ต่อต้านประกาศ 11 ประเภทโครงการรุนแรง

วันที่ 25 กันยายน ที่โรงแรม มาดิน่า ถนนริมน้ำ ต.ท่าประดู่ อ.เมืองระยอง นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก แถลงข่าวการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านประกาศ 11 ประเภทโครงการรุนแรงต่อชุมชน ในวันที่ 30 กันยายนนี้ ที่บริเวณ หน้าศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ถนนสุขุมวิท โดยมีเครือข่ายประชาชนจากทุกภาคเข้าร่วมการชุมนุม เพื่อผลักดันให้รัฐบาลยกเลิกประกาศดังกล่าวและให้มีการทบทวนใหม่ รวมทั้งผลักดันให้รัฐบาลจัดทำผังเมืองแนวป้องกันระหว่างโรงงานกับชุมชน และการแก้ไขลดปัญหามลพิษ

นายสุทธิ กล่าวว่าได้รับรายงานว่าจะมีกลุ่มบ้านฉาง อ.บ้านฉางและต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง ออกมาคัดค้านการชุมนุมและจะยื่นหนังสือให้นายสยุมพร ลิ่มไทย ผวจ.ระยอง ในวันที่ 29 กันยายนที่ศูนย์ราชการ ทางเครือข่ายประชาชนฯพร้อมที่จะเข้าไปเจรจาเพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง และอยากทราบว่าการที่ออกมาคัดค้านการชุมนุม-ครั้งนี้ รู้ปัญหาเรื่อง 11 ประเภทโครงการรุนแรงมากน้อยขนาดไหน และรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสองมากน้อยขนาดไหน คาดว่าน่าจะมีกลุ่มทุนบางกลุ่มบงการหนุนหลังการคัดค้านการชุมนุม รวมทั้งนักการเมืองบางคนในจังหวัดระยองและกลุ่มข้าราชการบางกลุ่มที่ให้การสนับสนุนกลุ่มคัดค้าน ออกมาเคลื่อนไหวและขับไล่การชุมนุมของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก

นายสุทธิ กล่าวว่าเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ออกรณรงค์ให้ประชาชนทุกอำเภอในจังหวัดระยองที่เห็นด้วยกับเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ให้เดินทางมาร่วมชุมนุมกับเครือข่ายประชาชนฯในวันที่ 30 กันยายนที่บริเวณหน้าศูนย์ราชการ จ.ระยอง เป็นเวลา 3 วัน หากยังไม่มีการทบทวนการชุมนุมก็จะมีการยกระดับการเคลื่อนไหวต่อไป.

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ความมั่นคงทางพลังงาน กับ ชีวิตคนมาบตาพุดบนความเสี่ยง เพื่อความสถาพร ด้านเศรษฐกิจของชาติ

ภาพการระเบิดของ ท่อส่งก๊าซ ในซานฟรานซิสโก 10 ก.ย.53

ชีวิตคนมาบตาพุด ไม่ใช่เงินเบี้ย ในบ่อน ที่รัฐบาลจะยอมเท หมดทั้งตำบล เพื่อความสถาพรด้านเศรษฐกิจ ได้เสียตรงนี้ ชีวิตคนนะครับ ไม่ใช่ผักไม่ใช่หญ้า และถึงวันนี้ ต้องถามรัฐบาลว่าการกินผักกินหญ้าบาปมั้ย เพราะผักหญ้าก้อมีชีวิต ถาม ... เพื่อตรวจสอบความเป็นมนุษย์ ทำไมเลือดเย็น! มองเห็นคนมาบตาพุดไม่ต่างกับเบี้ยกับหอยบนโต๊ะพนัน

อิทัปปัจจยตา เมื่อประมาณ 10 วันก่อน มีอุบัติเหตุไฟไหม้ในโรงแยกก๊าซที่ 6 และเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา มีการซ้อมแผนอพยพ แต่ทำกันเฉพาะคนในโรงงาน แล้วชาวบ้าน ล่ะครับ รู้เรื่องนี้มั้ย เพราะปิดเงียบกันหมด ไหนครับสัญญาณเตือนภัย! คุม ... อยู่หรือครับ ในเมื่อกลางทะเล ยังปล่อยให้ระเบิด ทั้งๆที่ ปตท. รู้ ล่วงหน้า มานานกว่า 2 เดือนครึ่ง

โรงแยกก๊าซ ใหม่ ของ ปตท. โรงแยกก๊าซที่ 6 ที่วันนี้ น่าจะเป็นหนึ่ง ใน 18 ประเภทกิจกรรมหรือโครงการ เสนอโดย คกก.4 ฝ่าย ที่จะส่งผลกระทบรุนแรง เพราะการทรุดพังจากการไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด อาจเกดระเบิดลุกลามร้ายแรง แต่ก้อไม่อยู่ในนั้น ทั้งๆที่หลายภาคส่วนรับรู้เรื่องนี้มากันนานมากแล้ว คงเพราะเป็น ปตท. แล้วการพูดประเด็นนี้ มันเรื่องใหญ่มาก ที่บอกว่า มันกระทบเศรษฐกิจ กระทบหลายภาคส่วนจำนวนมาก ที่ยังต้องเกื้อกูล! อยู่กับ ปตท. คงเป็นแบบนั้น

พลังงาน สั่งซ้อมใหญ่ป้องกันก๊าซฯ ขาดแคลนวันนี้ หวั่นไทยเสี่ยงวิกฤติด้านเชื้อเพลิง เหตุใช้ก๊าซฯ ผลิตไฟฟ้าสูงถึง 70%

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า วันนี้ (10 ก.ย.) กระทรวงพลังงานจะจัดซ้อมแผนรองรับวิกฤติพลังงาน กรณีก๊าซธรรมชาติขาดแคลนขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องจากปัจจุบันไทยใช้ก๊าซฯ ผลิตไฟฟ้าสูงถึง 70% ของพลังงานทั้งหมด จึงมีความเสี่ยงสูงต่อระบบไฟฟ้าของไทยมาก หากเกิดภาวะก๊าซฯ ขาดแคลน แม้จะกำหนดแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือพีดีพี 2010 เพื่อกระจายการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้น แต่ยังถือไทยตกอยู่ในภาวะเสี่ยงด้านพลังงานแล้ว

ดังนั้นจำเป็นต้องวางแผนรับมือล่วงหน้า หากเกิดภาวะก๊าซฯ ขาดแคลนขึ้น และก๊าซฯ ไม่สามารถเข้าโรงแยกก๊าซฯ ได้ จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมี, เอ็นจีวี แอลพีจี (ก๊าซหุงต้ม) หากปริมาณก๊าซฯ มีไม่เพียงพอรัฐบาลต้องตัดสินใจแก้ปัญหาว่าจะนำก๊าซฯ ไปเพื่อผลิตแอลพีจีหรือผลิตไฟฟ้า

ทั้งนี้การซ้อมแผนดังกล่าว จะมีหน่วยงานด้านพลังงานงาน ทั้งหมดมาร่วมจำลองเหตุการณ์ และแก้ปัญหา เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม ทั้ง กลุ่มเชฟรอน บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) รวมทั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือเรคกูเลเตอร์

"การจำลองเหตุการณ์ครั้งนี้ จะเป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นจริงและเลวร้ายที่สุด เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมเรียนรู้การอยู่ร่วมกับภาวะการใช้ก๊าซฯ และส่งสัญญาณให้รู้ว่าถึงเวลาต้องเริ่มกระจายความเสี่ยงเชื้อเพลิง โดยเชื่อว่าไทยคงเลี่ยงไม่พ้นที่ต้องใช้ก๊าซฯ ผลิตไฟฟ้า โดยผู้เข้าร่วมจำลองเหตุการณ์ จะมีอำนาจตัดสินใจแก้ปัญหา หลังจากนี้กระทรวงพลังงานเตรียมสร้างกลไกซึ่งเป็นองค์กรที่ชัดเจนขึ้นมาปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ก๊าซฯ ขาดแคลนอย่างเป็นระบบ"